ภาษีหักณที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบฟอร์มล่าสุดตัวอย่างภาษีล่วงหน้า 50 ทวิ?

Click to rate this post!
[Total: 311 Average: 5]

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax) เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก-ณ-ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก-ณ-ที่จ่าย หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง

ยื่นภาษีหัก-ณ-ที่จ่าย

หัก ณ ที่จ่าย คือ (Withholding tax) คือ เงินที่รัฐบาลจัดเก็บจากบุคคลหรือกิจการ ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ เนื่องจาก ภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ที่รัฐบาลจัดเก็บจากสินค้าไม่สามารถใช้ได้กับธุรกิจให้บริการ เพราะรัฐไม่สามารถทราบได้ถึงจำนวนเงินที่ผู้รับบริการ จ่ายให้กับ ผู้ให้บริการ เนื่องจากเงินที่จ่ายมาจากความพึ่งพอใจในให้บริการของทั้ง 2 ฝ่าย

50 ทวิ คือ

50 ทวิ คือ ชื่อของ ” มาตราทางกฎหมาย ที่บัญญัติขึ้น ” เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 50 ทวิ ที่ใช้เรียกกันทั่วไป ว่า “ใบ 50 ทวิ​ ” หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นเอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย

50 ทวิ

50 ทวิ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง

ภาษีที่ต้องคำนวน หัก ณ ที่จ่าย 

  • กรณีผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.3) หัก ณ ที่จ่าย 3
  • กรณีผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล (ภ.ง.ด.53)
  1. มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)
  2. หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
  3. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การ ของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ ออกใบรับสำหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน
  4. นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

หนังสือรับรองหัก-ณ-ที่จ่าย-ที่ถูกต้อง

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง

การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา  50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

  • ฟอร์มหัก-ณ-ที่จ่ายฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
  • ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน”

กำหนดเวลาออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  1.  กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมนประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ บำนาญ ตามมาตรา 40 (1) (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี (กรณีผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทำงานจนถึงสิ้นปีภาษี) หรือภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี
  2.  กรณีจ่ายเงินได้อื่น ๆกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมนประเภทอื่นๆ ตามมาตรา 40 (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) แห่ง ประมวลรัษฎากรให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

วิธีทำ หัก ณ ที่จ่าย 

วิธีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  1. จัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคำแปลภาษา ไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค หมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม (หาก ไม่ได้จัดทำเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำของเล่มก็ได้)
  2. ให้จัดทำสำเนาคู่ฉบับ (ฉบับที่ 3 นอกเหนือจากฉบับที่ 1 และ2 ) ไว้ด้วย เพื่อใช้เป็น หลักฐานในกรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ชำรุด สูญหาย ให้ผู้มีหน้าที่ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยการออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี
    • การออกใบแทน ต้องมีข้อความว่า ใบแทน” และลงลายมือชื่อรับรองด้วย
  3. รายการประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่จ่ายเพียงประเภทเดียว โดยจะไม่ระบุประเภทอื่นด้วยก็ได้
  4. กรณีผู้มีหน้าที่ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ) และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเขากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุ จำนวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ดังกล่าวของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละประเภทภาษีในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้
  5. การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้ วิธีประทับลายมือชื่อ ด้วยตรายาง หรือจะพิมลายมือชื่อโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือไว้ก็ได้ (SCAN)
  6. กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 50 (4) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่จดแจ้งการหักภาษีไว้ ในฎีกาเบิกเงินและได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ให้ยกเว้นการ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือ แบบฟอร์ม 50 ทวิ excel a4

แบบฟอร์มหัก-ณ-ที่จ่าย-

แบบฟอร์มหัก-ณ-ที่จ่าย-

ใบหัก-ณ-ที่จ่าย

ใบหัก-ณ-ที่จ่าย

ดาวน์โหลด หัก ณ ที่จ่าย ฟรี

หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย pdf

หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย excel

หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย doc

หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ pdf

หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ excel

หนังสือหัก ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ doc

ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย

ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือเอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน

ใบหัก-ณ-ที่จ่าย-

ใบหัก-ณ-ที่จ่าย-

แบบฟอร์มหัก-ณ-ที่จ่าย

แบบฟอร์มหัก-ณ-ที่จ่าย

ด้านผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

  1. ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ ที่อยู่ ของผู้มีหน้าที่หัก
  2. ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ถูกหัก
  3. ทำเครื่องหมาย “ 3” ลงในช่อง “…” หน้าประเภทแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  4. และกรอกรายละเอียดตามประเภทที่จ่ายเงินได้ และต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย

การลงลายมือชื่อ

  • ให้ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • ระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองฯ
  • ประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
  • ประเภทที่ต้อง

เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับยอดเล็ก ๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย

  • หัก 1% สำหรับค่าขนส่งทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก
  • หัก 2% สำหรับค่าโฆษณาการโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%
  • หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต จ้างทำบัญชี ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ
  • หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกที่ต้องหัก 5% เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย

ไม่นำส่ง หรือ นำส่งไม่ครบถ้วน

แบบหักภาษี-ณ-ที่จ่าย

แบบหักภาษี-ณ-ที่จ่าย

  1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำเงินส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิด ร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตาม จำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวน เงินที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี พ้นความรับผิดที่จะชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่าย เงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวน นั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)
  2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปนำส่งภายใน กำหนดเวลา จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี เงินได้

ทวิ 50 คือ

กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ภายในประเทศ 

ม.4(1) เงินเดือน ค่าจ้างฯลฯ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
กรณีทั่วไป -นําเงินได้พึงประเมินที่คาดว่าได้รับทั้งปีหักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่า ลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ แล้วนําไปคํานวณภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีที่ต้องชําระทั้งปีแล้วหาร ด้วยจํานวนครั้งที่จ่าย จะได้จํานวนภาษีที่ต้องหักแต่ละครั้ง *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี กรณีเงินได้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน -นําเงินได้เพราะเหตุออกจากงานหักออกด้วยค่าใช้จ่าย เท่ากับ 7,000 บาท คูณจํานวนปีที่ทํางาน เหลือเท่าใดหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% แล้วนํา เงินที่เหลือไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ที่ได้รับการยกเว้นภาษีไม่ให้นํามาใช้ ในกรณีนี้ “เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก คงเสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ตามปกติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด เวลานําส่ง
ม.50(1)ม,48(5) ภ.ง.ศ. 1/นําส่งภายใน วันที่ 1-7ของเดือน ถัดไปจากเดือนที่จ่าย เงินได้

ม.40(2) การรับทํางานให้ ค่า นายหน้า ฯลฯ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด เวลานําส่ง
ภ.ง.ด.1/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(3) ค่ากู๊ดวิลล์, ลิขสิทธิ์ สิทธิอย่างอื่น ฯลฯ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอีตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ก) เฉพาะดอกเบี้ยจาก พันธบัตร/เงินฝาก/ เงินฝากสหกรณ์/หุ้นกู้ ตั๋วเงิน/เงินให้กู้ยืม

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 นิติบุคคลภาษีเงินได้บุคคล
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์ (ม.42(8)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ในราชอาณาจักร ที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาท/ปี (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(38)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(22)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ก) ผลต่างราคาไถ่ถอน กับราคาจําหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารสิทธิใน หนี้บริษัทหรือนิติ บุคคลบุคคลอื่นเป็น ผู้ออก

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 (เฉพาะผู้รับเงินเป็นผู้ทรงคนแรก)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ค) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ก) เฉพาะเงินได้ทํานองเดียวกับ ดอกเบี้ย -ผลประโยชน์ที่ได้ จากการให้กู้ยืมหรือ สิทธิเรียกร้องในหนี้ ทุกชนิด

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ง) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ ผู้ถือหุ้น

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ง) เงินลดทุนเฉพาะ ส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากําไร และเงินที่กันไว้รวมกัน

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(จ) เงินเพิ่มทุนซึ่งตั้งจาก กําไรที่ได้มาหรือเงิน ที่กันไว้รวมกัน

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ฉ) ผลประโยชน์ที่บริษัท ควบเข้ากัน รับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนหุ้น

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็น
บุคคลธรรมดา บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะการโอนหุ้นฯ ภาษีเงินได้บุคคล นอกตลาดหลักทรัพย์ (ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ยกเว้นภาษีตาม
กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(23))
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนตั๋วเงินหรือตราสาร แสดงสิทธิเป็นหนี้

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็น
บุคคลธรรมดา บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 ภาษีเงินได้บุคคล (ยกเว้นภาษีเฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารฯ ที่ไม่มีดอกเบี้ย ในกรณีผู้ทรง ธรรมดา คนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(30) (ข))
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ข) เงินปันผล/ เงินส่วนแบ่งกําไร

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ กองทุนรวม/ สถาบันการเงิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 10
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(จ) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(5)(6)(7)(8)

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
หน่วยงานรัฐ องค์การของรัฐ/ องค์การ ปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 1 กรณีจ่ายเงิน 10,000 บาทขึ้นไป
*จ่ายเงินซื้อพืชผลเกษตรจากเกษตรกร ไม่ต้องหัก หักภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินจากการประกวดแข่งขัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(จ) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(5)(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน ทุกชนิด

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
– หักภาษีร้อยละ 5 ภาษีเงินได้บุคคล
– หักภาษีร้อยละ 1 กรณีค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
– ท.ป.4/2528 ข้อ 6(1)
– ท.ป.4/2528 ข้อ 6(4)
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(6) วิชาชีพอิสระตาม ประมวลรัษฎากร

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 7(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(7)(8) การรับเหมาที่รับเหมา ลงทุนจัดหาสัมภาระ ค่าจ้างทําของ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 8(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) รางวัลในการประกวด/ แข่งขันชิงโชค

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) นักแสดงสาธารณะ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินได้ทุกราย นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 5
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(2)(ข) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) ค่าโฆษณา

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 2
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 10 ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) รางวัลส่วนลดหรือ ประโยชน์จากการ ส่งเสริมการขาย

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/2(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) ค่าขนส่งที่มิใช่ขนส่ง

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 1
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/4(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) ค่าบริการอื่นที่มิใช่ค่า บริการโรงแรม ภัตตาคารและค่าเบี้ย ประกันชีวิต

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/1(1) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) ขายอสังหาริมทรัพย์

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินซื้อ อสังหาริมทรัพย์ ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือได้รับมาโดยเสน่หา
นําราคาประเมินกรมที่ดินตั้ง แล้วหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 50 ของราคา ธรรมดา ประเมินผลลัพธ์ได้เท่าใดหารด้วยจํานวนปีที่ถือครอง (นับปีพ.ศ.) จะได้เงินได้ต่อปี แล้วนําเงินได้ต่อปีไปคํานวณภาษีตาม บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีต่อปี แล้วจึงนําจํานวน ปีถือครองคูณภาษีต่อปี จะได้ภาษีต้องชําระทั้งหมดจากการขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น 
*ปีที่ถือครองหากเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี
*เศษของปีนับเป็น 1 ปี
*คํานวณตาม ม.48(4)(ก)
อสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่มรดกหรือมิใช่รับมาโดยเสน่หา/ อสังหาริมทรัพย์มุ่งค้าหากําไร 

-นําราคาประเมินกรมที่ดินตั้ง แล้วหักค่าใช้จ่ายได้ ตามพระราช กฤษฎีกาฉบับที่ 165 ผลลัพธ์ได้เท่าใดหารด้วยจํานวนปีที่ถือครอง (นับ ปีพ.ศ.) จะได้เงินได้ต่อปี แล้วนําเงินได้ต่อปีไป คํานวณภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีต่อปี แล้วจึง นําจํานวนปีถือครองคูณภาษีต่อปี จะได้ภาษีต้องชําระทั้งหมดจากการ ขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น
*ปีที่ถือครองหากเกิน 10 ปี ให้นับ เพียง 10 ปี
*เศษของปีนับเป็น 1 ปี
*คํานวณตาม ม.48(4)(ข)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(5)(ก) เสียภาษีขณะจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมที่กรม ที่ดิน

กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ต่างประเทศ

ม.40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
กรณีทั่วไป 
-นําเงินได้พึงประเมินที่คาดว่าได้รับทั้งปีหักออกด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิแล้วนําไปคํานวณภาษี ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วหารด้วยจํานวนครั้ง ที่จ่าย จะได้จํานวนภาษีที่ต้องหักแต่ละครั้ง
*เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี 
กรณีเงินได้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน 

-นําเงินได้เพราะเหตุออกจากงานหักค่าใช้จ่ายเท่ากับ 7,000 บาท คูณจํานวนปีที่ทํางาน เหลือเท่าใดนัก ค่าใช้จ่ายได้อีก 50% แล้วนํา เงินที่เหลือไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกที่ได้รับการยกเว้นภาษีมิให้ นํามาใช้
*เงินได้ 100,000 บาทแรก คงเสียภาษีร้อยละ 5 ตามปกติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(1) ภ.ง.ด.1/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(2) การรับทํางานให้ ค่านายหน้าฯลฯ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(1) ภ.ง.ด.1/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(3) ค่ากู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์/สิทธิ อย่างอื่น ฯลฯ

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ก) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ก) เฉพาะดอกเบี้ยจาก พันธบัตร/เงินฝาก/ เงินฝากสหกรณ์หุ้นกู้ ตัวเงิน/เงินให้กู้ยืม

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อเรียกธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จากสหกรณ์ (ม.42(8)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารใน ราชอาณาจักรที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาท/ปี (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(38)
-ยกเว้นภาษีกรณีพันธบัตรที่องค์การของรัฐหรือสถาบัน
การเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของไทยจัดตั้งขึ้นฯ เป็นผู้ออกจําหน่ายในต่างประเทศและผู้รับมิได้อยู่ใน ประเทศไทย (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(21))
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40 (4)(ก) ผลต่างราคาไถ่ถอน กับราคาจําหน่าย ตัวเงินหรือตราสาร สิทธิในหนี้บริษัทหรือ นิติบุคคลอื่นเป็นผู้

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 (เฉพาะผู้รับเงินเป็นผู้ทรงคนแรก)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ค) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4) (ก) เฉพาะ เงินได้ทํานองเดียวกับดอกเบี้ย / ผลประโยชน์ที่ได้ จากการให้กู้ยืมหรือ สิทธิเรียกร้องในหนี้ ทุกชนิด

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ง) เงินลดทุนเฉพาะส่วน ที่จ่ายไม่เกินกว่ากําไร และเงินที่กันไว้รวมกัน

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(จ) เงินเพิ่มทุนซึ่งตั้งจาก กําไรที่ได้มาหรือเงิน ที่กันไว้รวมกัน 

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ฉ) ผลประโยชน์ที่บริษัท ควบเข้ากัน รับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่า เงินทุน

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จาก การโอนหุ้น

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 เฉพาะการโอนหุ้นฯ นอกตลาดหลักทรัพย์ (ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวง 126 ข้อ 2(23)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ก) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนตัวเงินหรือตราสารแสดงสิทธิเป็นหนี้

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกราย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15 (ยกเว้นภาษีเฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารฯ ที่ไม่มี ดอกเบี้ย ในกรณีผู้ ทรงคนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วตามกฎกระทรวง 126 ข้อ 2(30)(ข))
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(ข) ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(4)(ข) เงินปันผล/ เงินส่วนแบ่งกําไร

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ กองทุนรวม/ สถาบันการเงิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 10
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(2)(จ) ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(5)(6)(7)(8)

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
หน่วยงานรัฐ องค์การของรัฐ/ องค์การ ปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 1
*หักภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินได้ ในการประกวดแข่งขัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(4) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(5)(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน 

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(3) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(6) วิชาชีพอิสระ ตามประมวลรัษฎากร

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
-หักภาษีตามบัญชีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-หักภาษีร้อยละ 10 กรณีนักแสดงภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์ที่ถ่าย ภาพยนตร์ในไทย และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณา คําขออนุญาต ถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(2) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

ม.40(8) ค่าจ้างนักแสดง

ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลําเนาในต่างประเทศ
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ
หักภาษีร้อยละ 15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง
ม.50(3) ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย excel


สรุปตาราง หัก ณ ที่จ่าย

คำคุณศัพท์ใช้เพื่ออธิบายสิ่งต่าง ๆ
ปก ฝันว่าเก็บดอกมะลิ
220288
ประโยชน์ของดิน
คำสรรพานาม
ปก Leadership Learning
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 148937: 1530