เลิกบริษัทปิดบริษัท รับปิดงบเปล่า 10 ชำระบัญชีวิธีเลิกกิจการ
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
ข้อควรรู้เรื่อง เลิกจ้าง! สิ่งที่นายจ้างต้องรู้ และ ลูกจ้างต้องเตรียมตัว
จากวิกฤตการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานหรือบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานออกจากหน่วยงานองค์กร ไม่ว่าจะหน่วยงานองค์กรขนาดเล็กใหญ่ก็ต้องประสบกับความไม่มั่นคงเรื่องการจ้างงานด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเกิดวิกฤตกับหน่วยงานองค์กร ทำให้หลายคนต้องตกงาน ขาดรายได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์เหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
ไม่ว่าพนักงานหรือลูกจ้างจะลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักเลยก็คือนายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทราบกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล อาทิเช่นในระหว่างที่พนักงานถูกเลิกจ้างจากบริษัทเกิดวิกฤตก็จะต้องได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือกรณีหากพนักงานหรือลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีสิทธิที่จะสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ หรือกรณีที่ลูกจ้างหรือพนักงานตัดสินใจลาออกเองก็จะมีค่าชดเชยตามกฎหมายจากประกันสังคมเช่นกัน
การลาออกมีการยินยอมทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้าง เพราะถือว่าบริษัทหรือหน่วยงานไม่ได้ทำการปลดพนักงานออกเอง แต่หากพนักงานหรือลูกจ้างมีประกันกันสังคมที่ได้ทำกับบริษัทหรือหน่วยงานองค์กรก็จะสามารถขอค่าชดเชยระหว่างการว่างงานได้เช่นกัน แปลง่าย ๆ ว่า ผู้จ่ายค่าชดเชยจะไม่ใช่นายจ้างหากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเอง โดยจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์การลาออกเมื่อมีเอกสารหนังสือลาออกจากหน่วยงานหรือองค์กร
นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรได้ทำการปลดพนักงานหรือลูกจ้างและจะต้องทำการจ่ายค่าชดเชนให้พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่สำคัญคือนายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายคุ้มครองแรงงานวางหลักคุ้มครองลูกจ้าง หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานหรือลูกจ้างเพิ่มอีก 1 เดือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โดยการจ้างงานจะต้องเป็นเอกสารหนังสือจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างแน่นอนเรียกว่าสัญญาปลายปิด (Fixed Terms Contract) เป็นลักษณะหนังสือสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน เมื่อครบกำหนดสัญญานายจ้างไม่ต้องบอกล่วงหน้าหรือบอกเลิกสัญญาจ้างอีก หากหนังสือจ้างไม่กำหนดเวลาจ้างแน่นอนจะเรียกว่าเป็นสัญญาปลายเปิด ในกรณีสัญญาจ้างแบบนี้ หากมีการเลิกจ้างจะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนหรือ 1 คราว เพื่อให้มีผลเลิกจ้างในเดือนหรือคราวถัดไป ตัวอย่างหัวข้อหนังสือเลิกจ้างอาทิเช่น
ในกรณีที่นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีการจ่ายค่าจ้างต่อเดือน 2 ครั้ง เช่น มีการจ่ายค่าจ้างวันที่ 15 และวันสุดท้ายของเดือน ลักษณะนี้นายจ้างอาจจะบอกล่วงหน้าก่อน 1 คราว คืออย่างน้อยต้องแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างหรือแจ้งเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างตั้งแต่อย่างน้อยวันสุดท้ายของเดือน เช่น นายจ้างหรือบริษัทหน่วยงานองค์กรต้องการเลิกจ้างพนักงาน 15 ก.พ.2564 ต้องการบอกเลิกจ้างอย่างน้อยวันที่ 31 ม.ค. 2564 ซึ่งถือเป็น 1 คราว คิดจากรอบการจ่ายเงินเดือน หรือในกรณีที่ไม่ได้บอกล่วงหน้ากับพนักงานหรือลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างต่อเดือนให้กับพนักงานหรือลูกจ้างแทน ซึ่งจะเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างนี้ว่า “ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือ “ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” นั้นเอง
อย่างไรก็ตามการแจ้งล่วงหน้าเพื่อปลดพนักงานหรือเลิกจ้างจะสามารถแจ้งด้วยหนังสือหรือแจ้งทางวาจาก็ได้เช่นกัน แต่เพื่อให้เป็นหลักฐานและเป็นธรรมแก้ทั้งสองฝ่ายควรจะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีที่สุดนั้นเอง
ความแตกต่างของการลาออกและเลิกจ้างคือความยินยอมของทั้งสองฝ่ายจะไม่เหมือนกัน หากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเองจะถือว่าได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย หากหน่วยงานหรือบริษัทองค์กรเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างนั้นหมายถึงพนักงานหรือลูกจ้างอาจจะยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ได้เช่นกัน
ทั้งนี้หากพบว่ากรณีพนักงานหรือลูกจ้างได้กระทำความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กร หรือกระทำความผิดบางอย่างนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างได้โดยไม่บอกล่วงหน้า ได้แก่
ทั้งนี้หากเป็นไปตามข้อ 6) – 13) นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้าง หรือปลดพนักงานลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นความผิดอันร้ายแรงต่อนายจ้างนั้นเอง ตัวอย่างเอกสารหนังสือที่ปลดพนักงานลูกจ้าง อาทิเช่น
หากนายจ้างต้องการชี้แจงเพื่อตักเตือนความผิดในครั้งแรกเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้าง อย่างการกระทำความผิดของลูกจ้างในข้อ 11) เป็นต้น โดยจะยังไม่ได้เป็นการเลิกจ้างหรือปลดพนักงานทันที นายจ้างสามารถใช้เอกสาร “หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่” เพื่อเป็นหลักฐานต่อการกระทำในความคิดครั้งแรกของลูกจ้างได้ ซึ่งความคิดนั้นจะยังไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่มีผลให้เลิกจ้างได้ในทันที อย่างไรก็ตามว่าด้วยเรื่องการกระทำความผิดซ้ำที่ได้ตักเตือนจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
ข้อควรรู้ คือ เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างควรไปยื่นเรื่องขอค่าชดเชยที่ประกันสังคมในเรื่อง “สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน” โดยจะแบ่งเป็นกรณี
การเลิกจ้างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 จะถือเป็นการเลือกจ้างการเหตุผลทางเศรษฐกิจ เป็นการเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตามค่าชดเชยจากประกันสังคมที่พนักงานหรือลูกจ้างจะได้รับเมื่อลาออกหรือถูกเลิกจ้างในช่วงนี้จะมีอัตราค่าชดเชยที่สูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการชดเชยเยียวยาแก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ด้วยเช่นกัน
เมื่อทำความเข้าใจเรื่องการลาออกและเลิกจ้างไปแล้วมาดูเรื่องค่าชดเชยที่จะได้รับกรณีการถูกเลิกจ้างกันบ้าง
เมื่อไรก็ตามที่มีการเลิกจ้างงานเกิดขึ้นนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยค่าจ่าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุด โดยต้องจ่ายเงินตามกฎหมายการจ้างงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับจากวันที่เลิกจ้างงาน หากพบว่านายจ้างมีการผิดนัดไม่ชำระจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้ลูกจ้างจำนวนเงินดอกเบี้ย 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัดได้ ซึ่งเป็นเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ได้ปรับปรุงเพื่อลูกจ้าง
เรื่องการร้องทุกข์ของ ลูกจ้าง หากพบว่าได้รับความ ไม่เป็นธรรม
ว่าด้วยเรื่องความเป็นธรรมของลูกจ้าง ลูกจ้างสามารถร้องทุกข์ได้ เมื่อพบว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างตามกฎหมาย โดยลูกจ้างสามารถนำคดีความที่เกิดขึ้นไปฟ้องกรมแรงงานได้ กรณีที่ลูกจ้างจะสามารถร้องทุกข์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้มีดังนี้
สรุป
การเลิกจ้างหรือลาออกเป็นเรื่องทางกฎหมายแรงงานที่ควรรู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย นายจ้างควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ในขณะที่ลูกจ้างเองก็ต้องปฏิบัติติตามตามสัญญาด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงร่วมกัน เกิดการจ้างงานแล้ว ทั้งนายจ้างจะต้องชี้แจงรายละเอียดงานอย่างชัดเจนให้ลูกจ้างรู้ และลูกจ้างจะต้องอ่านเงื่อนไขข้อตกลงก่อนการเซ็นสัญญาทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างงานหรือเลิกจ้างก็ตาม ซึ่งหากไม่ได้มีการอ่านข้อตกลงเงื่อนไขให้ดีก่อน เช่นกรณีเมื่อต้องเลิกจ้างหรือปลดพนักงาน พนักงานหรือลูกจ้างได้ยินยอมเซ็นเอกสารลาออกแทนที่จะเป็นหนังสือเลิกจ้าง ทำให้นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างก็ได้เช่นกัน ดังนั้นการเรียกร้องสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อมามีหลักฐาน นายจ้าง ลูกจ้าง พยาน ครบทุกองค์ประกอบรวมกัน หากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงก็สามารถฟ้องร้องทุกข์ได้ที่กรมแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน
บริษัทเลิกจ้างพนักงาน อาจมาจากหลายเหตุผล การเลิกจ้าง หรือปลดพนักงาน หากเป็นการเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ลูกจ้างอาจทำการ ฟ้องกรมแรงงานได้ เพราะฉะนั้นการจะเลิกจ้างต้องดูกฎหมายแรงงานเลิกจ้างให้ดีก่อนจะเลิกจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย
หนังสือเลิกจ้าง
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
การมี อาชีพในฝัน คือหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตมีเป้าหมายและความหมายมากขึ้น เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องของรายได้ แต่เป็นการเชื่อมโยงกับ ความสุข ความพอใจ และ
USB-C คือ มาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในวงการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย ดีไซน์แบบสมมาตร ที่เสียบได้ทั้งสองด้าน ทำให้ใช้งานง่ายและลด
129 คำอวยพรวันเกิดสำหรับเพื่อนสนิทวันเกิดเพื่อนสั้นๆกวนๆฮาๆคำอวยพรวันเกิดสำหรับเพื่อนสนิทที่คุณสามารถใช้เพื่อแสดงความรักและความห่วงใยในวันพิเศษ
การเรียนรู้การบวกและลบจำนวนเต็มเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้น ป.4 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนเริ่มเข้าใจแนวคิด
จรรยาบรรณ มีอะไรบ้าง จรรยาบรรณนักเรียน จรรยาบรรณพยาบาล จรรยาบรรณคือ จรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณบริษัท จรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณวิศวกร
หลักคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ทําอะไรก่อน โจทย์ บวก ลบ คูณ หาร ไม่มีวงเล็บ โจทย์ ลำดับการคำนวณ โจทย์หลักการนับเบื้องต้น ม.5 พร้อมเฉลย แบบฝึกหัด