ปลูกทุเรียน

ปลูกทุเรียน กี่ปีพื้นที่ไร่ได้ต้นวิธีที่ไม่มีใครบอก 6 ปลูก?

Click to rate this post!
[Total: 201 Average: 5]

ปลูกทุเรียน

ทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 10 ถึง 46 องศาเซลเซียล มีจำนวนปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีการกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงประมาณ 75 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 (กรมวิชาการเกษตร)

พันธุ์ทุเรียน

ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผลจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มกบ มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน 3 ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)

ทุเรียนกลุ่มกบมี 46 พันธุ์
1. กบแม่เฒ่า
2. กบเล็บเหยี่ยว
3. กบตาขำ
4. กบพิกุล
5. กบวัดกล้วย
6. กบชายน้ำ
7. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น)
8. กบสุวรรณ
9. กบเจ้าคุณ
10. กบตาท้วม (กบดำ)
11. กบตาปุ่น
12. กบหน้าศาล
13. กบจำปา (กบแข้งสิงห์)
14. กบเบา
15. กบรัศมี
16. กบตาโห้
17. กบตาแจ่ม
18. กบทองคำ
19. กบสีนาค
20. กบทองก้อน
21. กบไว
22. กบงู
23. กบตาเฒ่า
24. กบชมพู
25. กบพลเทพ
26. กบพวง
27. กบวัดเพลง
28. กบก้านเหลือง
29. กบตานวล
30. กบตามาก
31. กบทองเพ็ง
32. กบราชเนตร
33. กบแก้ว
34. กบตานุช
35. กบตามิตร
36. กลีบสมุทร
37. กบตาแม้น
38. การะเกด
39. กบซ่อนกลิ่น
40. กบตาเป็น
41. กบทองดี
42. กบธีระ
43. กบมังกร
44. กบ ลำเจียก
45. กบหลังวิหาร
46. กบหัวล้าน

2. กลุ่มลวง มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)

ทุเรียนกลุ่มลวงมี 12 พันธุ์ ได้แก่
1. ลวง
2. ลวงทอง
3. ลวงมะรุม
4. ชะนี
5. ชะนีกิ่งม้วน
6. ชมพูศรี
7. ย่ำมะหวาด
8. สายหยุด
9. ชะนีก้านยาว
10. ชะนีน้ำตาลทราย
11. มดแดง
12. สีเทา

3. กลุ่มก้านยาว มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)

ทุเรียนกลุ่มก้านยาวมี 8 พันธุ์ ได้แก่
1. ก้านยาว
2. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ)
3. ก้านยาวสีนาค
4. ก้านยาวพวง
5. ก้านยาวใบด่าง
6. ทองสุก
7. ชมภูบาน
8. ต้นใหญ่

4. กลุ่มกำปั่น มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)
ทุเรียนกลุ่มกำปั่นมี 13 พันธุ์ ได้แก่
1. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว)
2. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม)
3. กำปั่นแดง
4. กำปั่นตาแพ
5. กำปั่นพวง
6. ชายมะไฟ
7. ปิ่นทอง
8. เม็ดในกำปั่น
9. เห-รา
10. หมอนเดิม
11. หมอนทอง
12. กำปั่นบางสีทอง
13. ลุงเกตุ

5. กลุ่มทองย้อย มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)

ทุเรียนกลุ่มทองย้อยมี 14 พันธุ์ ได้แก่
1. ทองย้อยเดิม
2. ทองย้อยฉัตร
3. ฉัตร
4. ฉัตรสีนาค
5. ฉัตรสีทอง
6. พวงฉัตร
7. ทองใหม่
8. นมสวรรค์
9. ทับทิม
10. ธรณีไหว
11. นกหยิบ
12. แดงรัศมี
13. อีอึ่ง
14. อีทุย

6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด ทุเรียนที่จัดอยู่ใน กลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 5 กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบจะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)

ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี 81 พันธุ์ ได้แก่
1.  กะเทยเนื้อขาว
2. กะเทยเนื้อแดง
3. กะเทยเนื้อเหลือง
4. กระดุมทอง
5. กระดุมสีนาค
6. กระโปรงทอง
7. กระปุกทอง (กระปุกทองดี)
8. ก้อนทอง
9. เขียวตำลึง
10. ขุนทอง
11. จอกลอย
12. ชายมังคุด
13. แดงช่างเขียน
14. แดงตาน้อย
15. แดงตาเผื่อน
16. แดงสาวน้อย
17. ดาวกระจาย
18. ตะพาบน้ำ
19. ตะโก (ทองแดง)
20. ตุ้มทอง
21. ทศพิณ
22. ทองคำตาพรวด
23. ทองม้วน
24. ทองคำ
25. นกกระจิบ
26. บาตรทองคำ (อีบาตร)
27. บางขุนนนท์
28. เป็ดถบ
29. ฝอยทอง
30 พวงมาลัย
31. พวงมณี
32. เม็ดในยายปราง
33. เม็ดในบางขุนนนท์
34. ยินดี
35.. ลำเจียก
36. สีทอง
37. สีไพร
38. สาวชมเห็ด
39. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง)
40. หางสิงห์
41. เหรียญทอง
42. ไอ้เข้
43. อินทรชิต
44. อีล่า
45. อีลีบ
46. อียักษ์
47. อีหนัก
48. ตอสามเส้า
49. ทองนพคุณ
50. ทองหยอด
51. ทองหยิบ
52. นมสด
53. เนื้อหนา
54..โบราณ
55. ฟักข้าว
56. พื้นเมืองเกาะช้าง
57. มะนาว
58. เม็ดในกระดุม
59. เม็ดในก้านยาว
60. เม็ดในลวง
61. เมล็ดพงษ์พันธุ์
62. เมล็ดเผียน
63. เมล็ดลับแล
64. เมล็ดสม
65. เมล็ดอารีย์
66. ย่ามแม่วาด
67. ลวงเพาะเมล็ด
68. ลุงไหล
69. ลูกหนัก
70. สาเก
71. สาวใหญ่
72. หมอนข้าง
73. หมอนละอองฟ้า
74. หลงลับแล
75. ห้าลูกไม่ถึงผัว
76. เหมราช
77. เหลืองทอง
78. อีงอน
79. ไอ้เม่น
80. ไอ้ใหม่
81. กะเทยขั้วสั้น

พันธุ์ส่งเสริม

1. พันธุ์ชะนี
     ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีสวย มีสีเหลืองเข้ม การสุกของเนื้อในผลเดียวกันสม่ำเสมอ ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
     ลักษณะด้อย ออกดอกติดผลไม่ดี มักพบอาการแกน เต่าเผา ไส้ซึม งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะสำหรับแปรรูป

2. พันธุ์หมอนทอง
     ลักษณะเด่น  เนื้อหนา เมล็ดลีบ กลิ่นไม่แรง ติดผลดี ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น (เมื่อสุกงอมเนื้อไม่แฉะ) ไม่ค่อยพบอาการแกน เต่าเผาหรือไส้ซึม คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ในรูปแบบของการแช่แข็ง กวน และทอดกรอบ
    ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อรากเน่า โคนเน่า เนื้อหยาบ สีเนื้อเหลืองอ่อน (ไม่เข้ม) มักพบการสุกไม่สม่ำเสมอ อาจสุกทั้งผล สุกบางพู หรือสุกบางส่วนในพูเดียวกัน

3. พันธุ์ก้านยาว
     ลักษณะเด่น  เนื้อละเอียดเหนียว สีเนื้อสม่ำเสมอ เมื่อสุกงอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ติดผลดี พบอาการแกนเล็กน้อย ติดผลง่าย ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
    ลักษณะด้อย  เปลือกหนา เนื้อไม่ค่อยหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเป็นไส้ซึมง่าย มีอาการเต่าเผาปานกลาง ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าหากมีจำนวนผลมากคุณภาพผลจะไม่ดีและจะทำให้กิ่งแห้งตายในภายหลัง อายุการให้ผลหลังปลูกช้า ผลสุกเก็บได้นาน ก้นผลจะแตกง่าย

4. พันธุ์กระดุม
     ลักษณะเด่น  ออกดอกเร็ว  ผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีและไม่มีปัญหาไส้ซึม อายุการให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดี ผลดก
     ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง ถ้าออกผลล่าช้าไปตรงกับการออกผลของพันธุ์อื่นจะมีปัญหาเรื่องตลาด (กรมวิชาการเกษตร)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

สภาพดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี  และมีหน้าดินลึก เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำขัง และความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5 หากจำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นจะต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริม   ต้องใส่ปุ๋ยคอกรวมถึงต้องมีการดูแลเรื่องการให้น้ำมากเป็นพิเศษ และแหล่งน้ำต้องเพียงพอด้วย

          แหล่งน้ำ  ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี

          อุณหภูมิและความชื้น  ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น  อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดเย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ทำให้ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน (กรมวิชาการเกษตร)

การเตรียมพื้นที่
         ต้องปรับพื้นที่ก่อนที่จะกำหนดผังปลูกและติดตั้งระบบน้ำ โดยปรับพื้นที่ให้ราบไม่ให้มีแอ่งที่น้ำท่วมขังได้ และถ้าเป็นไปได้ควรปรับเป็นเนินลูกฟูกเพื่อปลูกทุเรียนบนสันเนิน ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวด้านละ 9 เมตร ปลูกได้ไร่ละ 20 ต้น หรือ 8 ถึง 10 X 8 ถึง10 เมตร ปลูกทุเรียนได้ประมาณ 16 ถึง 25 ต้นต่อไร่ และการทำสวนขนาดใหญ่ ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนำเครื่องจักรกลต่างๆ ไปทำงานในระหว่างแถว นอกจากนี้ในการวางแนวกำหนดแถวปลูก จะต้องคำนึงถึงแนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่  หรืออาจกำหนดในแนวตั้งฉากกับถนน  หรือกำหนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก และถ้ามีการจัดวางระบบน้ำจะต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วย จากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กำหนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป

วิธีการปลูก
         การปลูกทุเรียนสามารถทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูก    ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างแล้งและยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งวิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น  แต่หากมีฝนตกชุก มีน้ำขังจะทำให้รากเน่าและต้นทุเรียนตายได้ง่าย ส่วนการปลูกโดยไม่ต้องขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีนี้ทำให้มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขังบริเวณโคนต้น แต่ต้องวางระบบน้ำให้ดีก่อนปลูก ซึ่งต้นทุเรียนจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญ คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีขนาดเล็ก  มีระบบรากดี ไม่ขดงอ แต่หากจะปลูกด้วยต้นกล้าขนาดใหญ่ควรตัดแต่งรากที่ขดงอทั้งที่ก้นถุงและด้านข้าง รวมทั้งควรมีการพรางแสงให้กับต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ด้วยตาข่ายพรางแสงหรือ(ทาง) ใบมะพร้าว หรือปลูกไม้ที่ให้ร่มเงา เช่น กล้วย  เป็นต้น

ฤดูปลูก
         หากมีการจัดระบบการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลให้น้ำกับต้นทุเรียนได้สม่ำเสมอช่วงหลังปลูก  และควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน  แต่ถ้าหากจัดระบบน้ำไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องน้ำได้ ควรจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

ใบ
         ทุเรียนเป็นไม้ยืนต้น ไม่มีการผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่กว้าง อาจสูงถึง 20 ถึง 40 เมตรสำหรับต้นที่ปลูกมาจากเมล็ด ส่วนต้นที่ปลูกจากการเสียบยอดอาจสูงถึง 8 ถึง 12 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ยาวประมาณ 8 ถึง 20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมตร ลักษณะของใบมีลักษณะเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดใบกว้างแบบใบเลี้ยงเดียว ขนาดของใบกว้าง 2-3 นิ้ว ยาว 6-8 นิ้วปลายใบแหลม มีก้านใบสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 นิ้ว บนใบสีเขียวแก่ถึงเขียวเข้ม ใต้ใบเป็นสีน้ำตาล เส้นใบทุเรียนสานกัน เป็นร่างแห

ราก
         ทุเรียนเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรากหาอาหารกันตามผิวดินจนถึงระดับ 50 เซนติเมตร มีรากพิเศษที่เกิดจากบริเวณโคนต้นอยู่มากมายตามผิวดิน แตกออกมาลักษณะตีนตะขาบเรียกว่า”รากตะขาบ” รากแก้วของ ทุเรียนทำหน้าที่ยึดลำต้น ทุเรียนนนท์ส่วนใหญ่ ไม่มีรากแก้วเพราะปลูกจากกิ่งตอน แต่จะมีรากพิเศษแทนหรือรากแขนงที่ แตกจากรากพิเศษที่หยั่งลึกลงไปในดินทำหน้าที่คล้ายรากแก้วและสามารถหยั่งลึกไปถึงระดับน้ำใต้ดินได้ มีรากฝอยเป็น รากหาอาหาร ออกมาจากรากพิเศษที่ทำหน้าที่ดูดอาหารด้วย

ดอก
         ทุเรียนมีลักษณะคล้ายระฆัง มีส่วนของ ดอกครบถ้วนและเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นของดอกแต่ละ ดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยงอยู่ชั้นนอกสุดมีสีเขียวอมน้ำตาล หุ้มดอกไว้มิดชิดโดยไม่มีการแบ่งกลีบแต่เมื่อดอกใกล้แย้ม จึงแยกออกเป็นสองหรือสามกลีบ กลีบรองลักษณะคล้ายหม้อตาลโตนดอยู่ถัดเข้าไปจากกลีบเลี้ยง กลีบดอกสีขาวนวลมี 5กลีบ เกสรตัวผู้มี 5 ชุด ประกอบด้วยก้านเกสร5-8 อัน ทุเรียนมักออกดอกเป็นช่อๆหนึ่งมีตั้งแต่ 1-30 ดอก ดอกมักอยู่รวม กันเป็นพวงๆมี 1-8 ดอก

ผล
         ผลของทุเรียนมีเปลือกหนา มีหนามแหลมแข็งเป็นรูปปิรามิดตลอดผล ทรงของผลทุเรียนมีหลายรูปแบบแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของทุเรียน เช่นพันธุ์กลม (ก้านยาว กระดุม) พันธุ์ก้นป้าน (หมอนทอง ทองย้อย) ฯลฯ ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตรความยาวอยู่ที่ลักษณะของทุเรียน เนื้อของทุเรียนมีสีจำปาหรือเนื้อสีเหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพันธุ์ของทุเรียน

การดูแลรักษาในระยะก่อนให้ผล

การให้น้ำ

         การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีและต่อเนื่อง

การตัดแต่งกิ่ง

         เริ่มตัดแต่งกิ่งหลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 ถึง 1.5 ปี เพื่อให้ต้นทุเรียนมีโครงสร้างและทรงพุ่มที่ดี และการตัดแต่งกิ่งจะต้องเว้นลำต้นเดี่ยว   และเว้นกิ่งประธานกิ่งแรกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และไว้กิ่งให้เรียงเป็นระเบียบ เหมาะแก่การไว้ผลและไม่บดบังแสงแดดซึ่งกันและกัน  และจะต้องควบคุมความสูงของลำต้นไว้ที่ประมาณ 7 เมตร

การใส่ปุ๋ย

         ในปีแรกหลังปลูก ควรใส่ปุ๋ยและทำโคน จำนวน 4 ครั้ง (การทำโคน หมายถึง การกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ถากดินรอบนอกทรงพุ่มมาพูนกลบใต้ทรงพุ่มในลักษณะลาดเอียงจากต้นพันธุ์ออกไปโดยรอบ   และหลีกเลี่ยงการถากดินบริเวณโคนต้นเพราะระบบรากทุเรียนที่อยู่ค่อนข้างตื้นใกล้ผิวดินจะได้รับอันตราย และชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้โรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น) โดยควรใส่ปุ๋ยและทำโคนครั้งที่ 1 หลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นก็ทำต่อเนื่องกันจนถึงสิ้นปี  และควรใส่ปุ๋ยและทำโคนเดือนเว้นเดือน โดยในแต่ละครั้งควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังนี้ ครั้งที่ 1 ถึง 3 ใส่ปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัมต่อต้น ครั้งที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 150-200 กรัมต่อต้น
ปีต่อๆ ไป (ระยะที่ต้นทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต) ควรใส่ปุ๋ยและทำโคนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและหลังฤดูฝน โดยควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังนี้

         ปุ๋ยคอก อัตราเป็นบุ้งกี๋ต่อต้นต่อปี  เท่ากับ 2 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกปีละ 6 บุ้งกี๋ หรือ 13.5 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง (2.25 กิโลกรัม = 1 บุ้งกี๋)

          ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นต่อปี เท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีปีละ 3 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี

การดูแลในระยะให้ผลผลิต

การให้น้ำ 
         ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางใบ  และงดน้ำในช่วงปลายฝนเพื่อเตรียมการออกดอก  เมื่อทุเรียนออกดอกแล้วให้ควบคุมปริมาณน้ำที่จะให้  โดยค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ดอกทุเรียนมีพัฒนาการที่ดี จนเมื่อดอกทุเรียนพัฒนาถึงระยะหัวกำไล (ก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์) ก็ให้ลดปริมาณน้ำลงโดยให้เพียง 1 ใน 3 ของปกติ เพื่อช่วยให้มีการติดผลดีขึ้นและให้น้ำในปริมาณนี้ไปจนดอกบานและติดผลได้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ และต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอตลอดช่วงพัฒนาการของผลทุเรียน

การใส่ปุ๋ย 
ควรใส่ปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินตามผลการตรวจวิเคราะห์ดิน  หรืออาจใส่ปุ๋ยตามแนวทางดังนี้

1. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้นหลังเก็บเกี่ยว
– ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 20 ถึง 50 กิโลกรัมต่อต้น
–  ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน ของเส้นผ่า ศูนย์กลางทรงพุ่ม

2. ใส่ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผล
– เมื่อผลมีอายุ 7 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม

3. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อ
– เมื่อผลมีอายุ 10 ถึง 11 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-50 อัตรา 1 ถึง 2 กิโลกรัมต่อต้น

การตัดแต่งดอก
         ทำการตัดแต่งดอกหลังจากออกดอก 5 สัปดาห์ ควรตัดแต่งช่อดอกบนกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งน้อยกว่า 2 เซนติเมตร) หรือดอกที่อยู่ปลายกิ่งทิ้งให้เหลือเฉพาะดอกรุ่นเดียวกันในกิ่งเดียวกัน ให้มีจำนวนช่อดอกประมาณ 3 ถึง 6 ช่อดอกต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร แต่ละช่อดอกห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร

การตัดแต่งผล
         ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4 ถึง 5 สัปดาห์หลังดอกบาน  ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก   รูปทรงบิดเบี้ยว  และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการออก เหลือผลไว้ประมาณ 2 ถึง 3 เท่าของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์หลังดอกบาน ระยะนี้ผลที่ปกติจะมีการขยายตัวด้านยาว สีผิวเขียวสดใส หนามมีขนาดปกติเรียวเล็ก ถ้าตรวจพบผลที่มีพัฒนาการผิดปกติ มีขนาดเล็ก หนามแดง หรือมีโรคแมลงเข้าทำลาย ให้ตัดทิ้ง (กรมวิชาการเกษตร)

การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน

 ศัตรูที่สำคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็กซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาสำคัญ คือวัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้สารเคมี  โดยต้องระมัดระวังอย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือนและระวังไม่ให้ละอองสารเคมีกำจัดวัชพืชสัมผัสกับต้นทุเรียน (กรมวิชาการเกษตร)

1. โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา
         1.1 โรคเข้าทำลายใบ ให้พ่นสารเมตาแลกซิล หรืออีฟอไซท์อลูมินั่ม หรือกรดฟอสฟอรัส   ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม
         1.2 โรคที่ระบบราก ใช้สารเมตาแลกซิลราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของราก
         1.3 โรคที่ลำต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยปูนแดง หรือ สารเมตาแลกซิล ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้าลำต้น หรือกิ่งในบริเวณตรงข้าม หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค

2. โรคใบติด พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม

3. เพลี้ยไก่แจ้   เมื่อพบยอดทุเรียนถูกทำลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยสารแลมป์ดา ไซฮาโลทริน หรือคาร์บาริลหรือไซเปอร์เมทริน/โฟซาโลน ทุก 7 ถึง 10 วันจนใบแก่

4. ไรแดง พ่นสาร โพรพาไกต์ สลับกับสารเอกซีไทอะซอกซ์

5. หนอนเจาะผล พ่นด้วยสารสะเดา หรือสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน หรือคาร์โบซัลแฟน หรือไซเพอร์เมทรินและโฟซาโลน แต่ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

6. หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน พ่นด้วยสารไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน หรือสารไดอะซินอน แต่ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

7. เพลี้ยแป้ง  หากการตัดแต่งผลอ่อนที่พบเพลี้ยแป้งเผาทำลาย  ให้โรยสารคาร์บาริลรอบโคนต้นป้องกันการแพร่ระบาดของมดดำ  ในกรณีที่พบเพลี้ยแป้งหลังตัดแต่งผลครั้งสุดท้าย  ควรพ่นด้วยสารมาลา-ไธออน ร่วมกับปิโตรเลียมออยล์ หรือใช้สารคลอไพริฟอส พ่นเป็นจุดเฉพาะกลุ่มผลที่สำรวจพบการทำลาย และต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

8. โรคผลเน่า ให้ตัดและเผาทำลายเมื่อพบผลทุเรียนที่เป็นโรค แล้วพ่นด้วยสารอีฟอไซท์อะลูมินั่ม หรือกรดฟอสฟอรัส ให้ทั่วต้นและหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 30 วัน

เทคโนโลยีการผลิตทุเรียน

การเตรียมต้นเพื่อการออกดอก

         ต้นทุเรียนที่พร้อมก่อนการออกดอกคือ ต้นทุเรียนที่ผ่านการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขาโดยมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 1 ชุด มีการสังเคราะห์แสงและสะสมอาหาร ในรูปของสารประกอบคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ มีปริมาณใบมากเพียงพอ และสังเกตได้โดยเมื่อมองจากใต้ต้นขึ้นไป จะเห็นช่องว่าง ระหว่างใบในทรงพุ่มไม่เกินร้อยละ 40 ของพื้นที่ผิวทรงพุ่ม ใบส่วนมากหรือทั้งหมดเป็นใบแก่ กิ่งของแต่ละยอดเริ่มแก่ ทำให้สังเกตได้ชัดเจนว่า ยอดตั้งขึ้นเกือบทุกยอด ต้นทุเรียนที่ได้รับการจัดการดี และมีสภาพพร้อมที่จะออกดอก จึงสังเกตได้จากการที่ต้นมีปริมาณใบพอเหมาะ ใบสมบูรณ์ มีสีเขียวเข้มเป็นมันและแก่ กิ่งของยอดแก่หรือยอดตั้งได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการออกดอก คือ มีช่วงฝนทิ้งช่วง 10-14 วัน อุณหภูมิและความชื้นของอากาศค่อนข้างต่ำ จะทำให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มาก และสม่ำเสมอทั่วทั้งต้น การเตรียมสภาพความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอกจะประสบความสำเร็จได้ดีนั้น ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพของต้นที่เป็นอยู่ ดังนี้

  1. ต้นที่มีสภาพความสมบูรณ์ค่อนข้างพร้อม เป็นต้นที่มีลักษณะโครงสร้างของทรงพุ่มค่อนข้างดี ทรงพุ่มเป็นรูปฉัตร มีกิ่งที่ขนาดพอดีเป็นจำนวนมาก โดยกิ่งนั้นไม่ใหญ่เกินไป (เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งมากกว่า 8 นิ้ว) หรือกิ่งมีขนาดเล็กเกินไป (เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งน้อยกว่า ¾ นิ้ว) มีปริมาณใบมาก และมีใบแก่ที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ต้นประเภทนี้สามารถเตรียมความพร้อมได้ง่าย โดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและกิ่งขนาดเล็ก ออกไป ซึ่งมักเป็นกิ่งที่มีใบอยู่ด้านนอกของทรงพุ่ม และมีอยู่เป็นจำนวนมาก
  2. ต้นที่มีสภาพค่อนข้างโทรม เป็นต้นที่มีโครงสร้างของทรงพุ่มไม่ค่อยดี มีสัดส่วน ของใบต่อกิ่งน้อยกว่าต้นประเภทแรก คือ มีปริมาณน้อย ใบมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีไม่เขียวเข้ม โดยปกติต้นประเภทนี้มักเป็นต้นที่มีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 15 ปี) การใส่ปุ๋ย ให้น้ำ หรือการจัดการด้านอารักขาพืช ในฤดูการผลิตที่ผ่านมาไม่เหมาะสม และมีการไว้ผลมากจนต้นมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เกิดผลกระทบต่อระบบราก ทำให้ระบบรากไม่สมบูรณ์ การจัดการเพื่อเตรียมสภาพความพร้อมของต้นจึงต้องมีการกระตุ้น พัฒนาการของระบบรากเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ระบบรากฟื้นตัวมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้ในการดูดซับธาตุอาหารและน้ำ การกระตุ้นพัฒนาการของระบบรากนี้จะต้องกระทำก่อนการใส่ปุ๋ยและให้น้ำ
  3. ต้นที่มีใบเหลืองเฉพาะบางกิ่ง เป็นลักษณะอาการเฉพาะ ต้นที่มีใบเหลืองเฉพาะบางกิ่งจะมีสภาพทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ต้นทุเรียนจะแสดงอาการขาดน้ำ สังเกตได้จากใบทุเรียนจะมีอาการสลดและใบตก ตั้งแต่ช่วงสายๆ หรือตอนบ่าย ซึ่งบ่งชี้ถึงการเข้าทำลาย ของโรครากเน่าและต้นเน่า เนื่องจากเชื้อราไฟทอปเทอรา ดังนั้น การเตรียมสภาพความพร้อมของต้นประเภทนี้จะต้องดำเนินการ ต่างจากต้น 2 ประเภทแรก คือ
    • การรักษาโรค โดยวิธีการตรวจหาตำแหน่งที่เป็นโรค ด้วยการสังเกตจากสีเปลือกลำต้นหรือกิ่ง โดยตำแหน่งที่เป็นโรคนั้น เปลือกจะมีสีคล้ำกว่าสีเปลือกปกติ และสังเกตเห็นคราบน้ำเป็นวง หรือไหลเป็นทางลงด้านล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้า ที่มีอากาศชุ่มชื้น อาจเห็นเป็นหยดน้ำปุดออกมาจากบริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง การรักษาโรคกิ่งและต้นเน่านี้ ทำได้โดยใช้มีดหรือสิ่งมีคมถากเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกบางๆ เพื่อให้ทราบขอบเขตของแผลที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายอย่างชัดเจน แล้วใช้สารเมทาแลกซิล (Metalaxyl) ชนิดผงร้อยละ 25 อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือสารฟอสเอทิลอะลูมินัม (Phosethyl aluminum) ชนิดผงร้อยละ 30 ในอัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ทาตรงบริเวณที่ถากออกให้ทั่ว และตรวจสอบแผลที่ทาไว้หลังจากการทาด้วยสารเคมีครั้งแรก 15 วัน หากรอยแผลยังไม่แห้ง มีลักษณะฉ่ำน้ำ ให้ทาซ้ำ ด้วยสารเคมีชนิดเดิมจนกว่าแผลจะแห้ง
    • ชะลอการหลุดร่วงของใบ ต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่า ต้นเน่านี้ ใบจะมีอาการเหลืองและหลุดร่วงไป เนื่องจากโรคทำให้เกิดการขัดขวางการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตภายในท่อน้ำ และท่ออาหาร จนต้นเกิดอาการทรุดโทรม โดยปกติ การฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ของต้นหลังจากเกิดโรคทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และมักไม่ทันต่อการผลิตในฤดูการผลิต ถัดไป แต่ถ้าดำเนินการรักษาโรคและหยุดการลุกลามของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชะลอการหลุดร่วงของใบ โดยฉีดพ่นต้นด้วย สารประกอบกึ่งสำเร็จรูปที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก (สูตรทางด่วน) หรือฉีดพ่นต้นด้วยสารเคมีที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง กัน จะช่วยให้ต้นทุเรียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
    • การจัดการอื่นๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ และการอารักขาพืช ให้ดำเนินการเช่นเดียวกันกับการเตรียมสภาพความพร้อมของต้นทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวถึงแล้ว
  4. ต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุเหล็กและธาตุแมกนีเซียม โดยทั่วไปในส่วนอื่นของลำต้นจะมีสีเขียวและลักษณะเป็นปกติ แต่จะพบอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาด ถ้าเป็นใบอ่อน ใบจะ มีขนาดเล็กกว่าปกติ แผ่นใบและเส้นกลาง ใบจะเหลืองซีดทั้งแผ่น ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก ถ้าเป็นใบเพสลาด อาการเหลืองจะเป็นที่แผ่นใบ แต่เส้นกลางใบจะเป็นสีเขียวลักษณะคล้ายใบหอก คือ แถบกว้างจาก ขั้วใบ แล้วเรียวแหลมลงไปจนถึงปลายใบ ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุแมกนีเซียม อาจพบอาการทั้ง 2 ประเภทผสมผสานกันอยู่ในต้นเดียวกัน โดยมากจะพบในต้นทุเรียนที่ปลูกในดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ที่มีธาตุ แมกนีเซียมและธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำ ต้นทุเรียนที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาดข้างต้น เกิดจากการจัดการบางอย่างผิดพลาด คือ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย เร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านสาขาโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยที่มีธาตุรอง หรือธาตุปริมาณน้อยร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้พัฒนาการของยอดเกิดขึ้นมาก ธาตุไนโตรเจนที่มีมากเกินไปจะลดอัตราการดูดซับธาตุแมกนีเซียมลง และเมื่อต้นทุเรียนขาดธาตุแมกนีเซียมก็จะมีผลทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ลดลงด้วย จึงทำให้ต้น ทุเรียนแสดงอาการขาดทั้งธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กไปพร้อมๆกัน ในกรณีที่เกิดอาการใบเหลืองดังกล่าวแล้ว อาการใบเหลือง จะสามารถหายได้เองเมื่อใบแก่ขึ้น แต่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน อาจทำให้เกิดปัญหา ในการเตรียมความพร้อมของต้นให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการออก ดอกได้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขโดยการฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม ปัญหาต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาด ควรแก้ปัญหาโดยวิธีการป้องกันจะเหมาะสมกว่า กล่าวคือ ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ
  5. ต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด สาเหตุเกิดจากการช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไม่ถูกวิธี คือการที่เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เช่น กลุ่มพาราควอต กลุ่มไกลโฟเซต หรือกลุ่มอื่นใน อัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ ฉีดพ่นเพื่อกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของทุเรียน ปริมาณสารเคมีส่วนเกินสัมผัสกับรากทุเรียนที่กำลังพัฒนาอยู่ใกล้กับผิวดินและรากบางส่วน ทำให้แห้งตาย อาการใบเหลืองดังกล่าวจะพบ หลังจากการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น การจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ระบบรากของทุเรียนมีพัฒนาการก่อน ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วตามด้วยการจัดการ อื่น เช่น การตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ และการอารักขาพืช
  6. ต้นที่มีใบเหลืองทั้งต้น ต้นทุเรียนประเภทนี้จะมีใบที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ใบมีลักษณะด้าน ไม่สดใสเป็นมัน ใบเหลืองทั้งแผ่นใบและเส้นกลางใบ อาจมีลักษณะการขาดน้ำเกิดร่วมด้วย ต้นทุเรียนที่มีอาการประเภทนี้จะพบมากในต้นที่ปลูกจากต้นกล้า ที่รากงอหรือรากขด ปลูกลึก มักมีน้ำขังอยู่ที่โคนต้น หรืออาจมีการถมดินบริเวณโคนต้น ค่อนข้างสูง และมีการระบายน้ำไม่ดี ต้นทุเรียนที่มีสภาพแบบนี้ หากมีการไว้ผลมากในฤดูการผลิตที่ผ่านมา อาการใบเหลืองจะเกิดรุนแรงมากขึ้นในฤดูการผลิตต่อมา ซึ่งสาเหตุหลักของอาการประเภทนี้มักเกิดจากมีโรครากเน่าเข้าทำลายตรงบริเวณรากที่งอหรือขด ซึ่งรากจะเบียดชิดกัน จนเกิดรอยแผล เชื้อราไฟทอปเทอราจะเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้ เกิดอาการรากเน่า และมีการขยายขนาดของแผลเน่าอยู่เสมอ ส่งผลให้รากฝอยบางส่วนแห้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดน้ำและธาตุอาหารลดลง ดังนั้น การจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องรักษาโรครากเน่าไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นพัฒนาการของระบบรากให้สำเร็จ ก่อนการจัดการอื่นๆ

การจัดการเพื่อส่งเสริมการออกดอก 
         ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์และมีสภาพความพร้อมดี เมื่อผ่านช่วงฝนแล้งที่ต่อเนื่องนานเกิน 10 วัน ต้นทุเรียนจะออกดอกในปริมาณมากและเป็นดอกรุ่นเดียว กัน ซึ่งจะสะดวกและง่ายต่อการจัดการเพื่อให้มีการติดผล การตัดแต่งผล การไว้ผลเพื่อ เพิ่มปริมาณผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพ ผลผลิต แต่ถ้าต้นทุเรียนมีสภาพความพร้อมไม่ดีพอในขณะที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม หรือต้นทุเรียนมีสภาพความพร้อมดีมาก แต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีความ เหมาะสมน้อย ต้นทุเรียนก็จะออกดอกในปริมาณน้อย และเป็นดอกหลายรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นทุเรียนที่มีอายุมาก กิ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้เป็นปัญหาในด้านการจัดการ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเสริม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอกในปริมาณมาก และเป็นดอกรุ่นเดียวกัน

การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล
         การติดผลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการกำหนดปริมาณผลผลิตต่อต้น ดังนั้น หากต้องการที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. ตัดแต่งดอกให้เป็นดอกรุ่นเดียวกัน ตัดแต่งดอกรุ่นที่มีปริมาณน้อยออกให้เหลือดอกเพียงรุ่นเดียวในแต่ละกิ่ง หรือเป็นดอกรุ่นเดียวกันทั้งต้น ในกรณีที่ดอกมีปริมาณมาก ให้ตัดแต่งและเหลือดอกไว้เป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน ๒๐ ดอก แต่ละกลุ่มห่างกันพอเหมาะตามตำแหน่งที่คาดว่าจะไว้ผล ในกรณีที่มีดอกหลายรุ่น และแต่ละรุ่นมีปริมาณ ดอกจำนวนใกล้เคียงกัน ให้พิจารณาตัดแต่งให้เหลือเป็นดอกรุ่นเดียวกันในแต่ละกิ่ง โดยกระจายปริมาณของดอกทั่วต้นให้เหลือจำนวนพอประมาณ การตัดแต่งดอกควรดำเนินการ ในระยะมะเขือพวง (ประมาณ 30 วัน หลังจากเกิดดอกในระยะไข่ปลา)
  2. จัดการน้ำเพื่อช่วยการติดผลและขึ้นลูก การจัดการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำในช่วงพัฒนาการต่างๆของดอกและผลอ่อน มีบทบาทสูงในการช่วยลด ปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนได้เป็นอย่างดี และเพิ่มการติดผลและขึ้นลูกของทุเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ดอกทุเรียนในระยะเหยียดตีนหนูต้องให้น้ำในปริมาณสูง แต่ลดปริมาณน้ำลงประมาณร้อยละ 40 ในช่วงระยะดอกขาวจนถึงระยะผลอ่อนอายุ 1 สัปดาห์ หลังดอกบาน รักษาปริมาณความชื้นในดินให้สม่ำเสมอโดยให้น้ำครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้ง และเมื่อปลายยอดเกสรตัวเมียที่ติดอยู่กับผลอ่อนเริ่มไหม้และแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ จึงเริ่มเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้ขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงเน้นการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผลอ่อนมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังดอกบาน และปลายยอดเกสรตัวเมียที่ติดอยู่กับผลอ่อนมีลักษณะแห้งเป็นสีดำ จึงเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้มากขึ้นตามคำแนะนำ และรักษาสภาพความชื้นในดินให้สม่ำเสมอไปจนผลอ่อนมีอายุ 5 สัปดาห์หลังดอกบาน ในกรณีที่มีฝนตกปริมาณมาก ในช่วงเวลาใกล้ดอกบาน ให้พยายามรักษาสภาพความชื้นในดินและความชื้นบรรยากาศ ภายใต้ทรงพุ่มให้สม่ำเสมอ โดยการให้น้ำทุกๆ วัน แต่ในปริมาณวันละไม่มากนัก กวาดเศษซากของดอกที่ร่วงออกให้หมดจาก บริเวณผิวดินใต้ทรงพุ่ม เพื่อช่วยในการถ่ายเท อากาศตรงบริเวณผิวดินให้ดีขึ้น จะช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนได้ในระดับหนึ่ง
  3. การช่วยผสมเกสร การติดผลน้อยของทุเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นปัญหาที่สำคัญ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรจากทุเรียนต่างพันธุ์จึงเป็น การช่วยทำให้กระบวนการถ่ายละอองเกสรประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิสนธิ ปริมาณการติดผลจึงเพิ่มขึ้น ผลทุเรียนที่เกิดจากการช่วยผสมเกสร จะมีการเจริญเติบโตเร็ว รูปทรงดี พูเต็ม คุณภาพเนื้อดี สีเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่างจากพันธุ์แม่ ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ต่อผลเพิ่มขึ้น
  4. ฉีดพ่นด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต การช่วยผสมเกสรเป็นสิ่งจำเป็น การปฏิบัติต้องใช้เวลาและแรงงาน จึงจะทำให้การผสมเกสรนั้นได้ผลดีตามต้องการ ในกรณีเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนตั้งแต่ 3-15 ไร่ การช่วยผสมเกสร สามารถปฏิบัติได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ ก็จะมีปัญหาในด้านการปฏิบัติ จำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการอื่น พบว่า การฉีดพ่นใบทั่วทั้งต้นด้วยสารแพกโคลบิวทราโซล ในอัตรา 500 ส่วนต่อล้านส่วน ในช่วงที่ดอกทุเรียน อยู่ในระยะกระดุมหรือหัวกำไล จะช่วยทำให้ มีการติดผลได้ในปริมาณสูงเช่นเดียวกับการ ช่วยผสมเกสร และคุณภาพของผลผลิตไม่แตกต่างกัน 

การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต 
         หลักการสำคัญคือการจัดการให้ผลอ่อน มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการชะงัก หรือชะลอการพัฒนาอันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การส่งธาตุอาหารในรูปของสารประกอบคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งผลิตในต้นไปเลี้ยงผลอ่อนไม่เพียงพอ การขาดน้ำ หรือสาเหตุอื่นๆ โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้

  1. การตัดแต่งผล ต้องทำอย่างน้อย 3 ครั้ง เริ่มจากตัดแต่งผลอ่อนที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออก เหลือแต่ผลอ่อนที่มีลักษณะรูปทรงสมบูรณ์ ขั้วผล ใหญ่ การตัดแต่งผลอ่อนครั้งแรก ต้องทำให้ เสร็จภายในสัปดาห์ที่ หลังดอกบาน 4โดยปริมาณผลที่เก็บไว้ควรมีมากกว่าจำนวนผลที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณร้อยละ 20
  2. การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมสอดคล้องกับช่วงพัฒนาการของผลจะช่วยเพิ่ม ผลผลิตและเพิ่มคุณภาพได้ ช่วงแรกใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17+2 เมื่อผลอ่อนมีอายุระหว่าง 5-6 สัปดาห์ หลังดอกบาน และใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 เมื่อผลอ่อนมีอายุระหว่าง 7-8 สัปดาห์ หลังดอกบาน การใส่ ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรในช่วงที่กำหนดนี้ จะช่วยเพิ่มขนาดผลเนื้อมีการพัฒนาได้ดี และสุกแก่ (เข้าสี) ได้เร็วขึ้น
  3. การจัดการเสริมด้วยปุ๋ย “สูตรทางด่วน” ช่วยให้ผลอ่อนของทุเรียนเจริญเติบโตดี ผลแก่เร็ว มีคุณภาพสูง ควรฉีด “สูตรทางด่วน” ติดต่อกันทุกสัปดาห์จำนวน 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 5 สัปดาห์หลังดอกบานเป็นต้นไป
  4. การป้องกันการแตกใบอ่อน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างพัฒนาการของผลอ่อนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากมีการแตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนาก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของ ผลติดตามมา
  5. การโยงผลทุเรียน วิธีการโยงผลทุเรียนที่ถูกต้องสามารถลดการร่วงของผล และกิ่งหักหรือกิ่งฉีกเนื่องจากลมแรงได้ การโยงผลทุเรียนต้องผูกเชือกโยงกับกิ่งทุเรียนให้เลยตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างขั้วผลกับกิ่งไปทางด้านปลายยอดของกิ่ง โดยพยายามสอดดึงเชือกโยงเหนือกิ่งทำมุมกว้างในแนวขนานกับกิ่งนั้น แล้วดึงปลายเชือกผูกรั้งกับต้นให้ตึงพอประมาณ สังเกตได้จากกิ่งนั้นยกระดับสูงขึ้นเล็กน้อย และสามารถเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างเป็นอิสระ เชือกโยงกิ่งหรือผลทุเรียนต้องเป็นวัสดุที่ทนทานต่อแรงดึงค่อนข้างสูง ควรใช้เชือกโยงหลายสีในกรณีที่มีผลทุเรียนหลายรุ่นในต้นเดียวกัน
  6. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระหว่าง ที่ผลอ่อนกำลังพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น หากละเลยจะทำให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลทุเรียนลดลง โรคและแมลงที่สำคัญ ได้แก่ โรคผลเน่า หนอนเจาะผล ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย 

ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทย

   ในอดีตประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ 4 เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ 9 เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม โดยแบ่งเป็นผลผลิตจากพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

  • ทุเรียนก่อนฤดูในพื้นที่จังหวัดระยอง และจันทบุรี เกษตรกรประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนก่อนฤดูในเชิงการค้า โดยใช้สารแพกโคลบิวทราโซลเร่งให้ทุเรียน ออกดอกได้ในเดือนสิงหาคม และสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ยังทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ก่อนที่ผลผลิตตามฤดูกาลปกติจะออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
  • ทุเรียนล่าในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และชุมพร เกษตรกรในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน ประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนล่า และมีผลผลิตออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมได้ เช่นกันกับเกษตรกรในจังหวัดชุมพรสามารถผลิตทุเรียนล่าออกสู่ตลาดได้ในเดือนกันยายน-ตุลาคม
  • ทุเรียนทวาย เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนทวายสามารถทยอยตัดผลผลิตสู่ตลาด ได้ตลอดทั้งปีโดยพิจารณาจากภาวะการตลาด เช่น เทศกาลต่างๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการผลิตมิให้ผลผลิตออกมาในช่วงที่เป็นฤดูการผลิตปกติระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาผลิตผลทุเรียนตกต่ำ

การผลิตทุเรียนก่อนฤดู
         การผลิตทุเรียนก่อนฤดูทำได้โดยการฉีดพ่นต้นทุเรียนด้วยสารแพกโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 1,000-1,500 ส่วนต่อล้านส่วน ความเข้มข้นของสารที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของต้นทุเรียน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์มากซึ่งจะสังเกตได้จากใบแก่มีขนาดใบใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนมากหลายชั้นใบในช่วงที่ผ่านมา ความยาวข้อระหว่างใบแต่ละชั้นมาก ให้ฉีดพ่นด้วยความเข้มข้นสูง ในการฉีดพ่นต้องใช้สารจับใบทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารแพกโคลบิวทราโซลของพืชให้ดีขึ้น

การผลิตทุเรียนล่า
         การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดู การผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม (ภาคใต้) วิธีการผลิตทุเรียนล่าอาจกระทำได้โดย (ก) ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ (ข) โดยการทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 ที่ออกตามมาในระยะหลัง (ค) เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียนในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช

การผลิตทุเรียนทวาย
         ทุเรียนทวาย คือ ทุเรียนที่ทยอยสุกแก่ออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนทวาย โดยใช้หลักการดังนี้

    • ราดสารแพกโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา 20-80 กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอย ออกดอกตามกิ่งประเภทต่างๆทั้งปี
    • เลือกกิ่งเพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ
    • จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอก ผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง
    • จากการใช้สารแพกโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cytokinin) อยู่ด้วย 2-3 ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง 

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

 เลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะผลทุเรียนแก่แล้วเท่านั้น โดยสังเกตจากลักษณะของผลและนับอายุ

ลักษณะผลเมื่อทุเรียนแก่

  • สีเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียวแกมเทา แต่ผลที่อยู่นอกทรงพุ่มที่โดนแสงแดดมากจะมีสีน้ำตาลมากกว่าผลที่อยู่ในทรงพุ่ม
  • ก้านผลสีเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สาก ตรงรอยต่อของระหว่างก้านผลตอนบนกับก้านผลตอนล่าง(ปลิง) จะบวมใหญ่ เห็นรอยต่อชัดเจน
  • ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาล หนามกางออกร่องหนาค่อนข้างห่าง
  • สังเกตรอยแยกบนพูจะเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นพันธุ์ก้านยาวจะเห็นไม่ชัด
  • ชิมปลิง ทุเรียนแก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออกจะพบน้ำใสๆ ไม่ข้นเหนียว เหมือนทุเรียนอ่อน ชิมดูจะมีรสหวาน
  • การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ
  • ทั้งนี้เมื่อผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่สุกและร่วง  ก็เป็นสัญญาณเตือนว่าทุเรียนที่เหลือซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันเริ่มแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว

การนับอายุ
การนับอายุทุเรียนนั้นจะนับจำนวนจากวันหลังจากดอกบานจนถึงวันที่ผลแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ คือ

  • พันธุ์กระดุม         ใช้เวลา 90 ถึง100 วัน
  • พันธุ์ชะนี            ใช้เวลา 110 ถึง120 วัน
  • พันธุ์ก้านยาว       ใช้เวลา 120 ถึง 135 วัน
  • พันธุ์หมอนทอง    ใช้เวลา 140 ถึง 150 วัน

การนับอายุนี้อาจจะคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ เช่น อากาศร้อนและแห้งแล้งทุเรียนจะแก่เร็วขึ้น หากมีฝนตกชุกและความชื้นสูงทุเรียนจะแก่ช้า ดังนั้นเพื่อสะดวกในการจดจำและไม่เกิดความผิดพลาดในการตัดทุเรียนอ่อน เกษตรกรควรจดบันทึกวันที่ดอกบาน และทำเครื่องหมายรุ่น ดังนี้

  • จดบันทึกวันที่ดอกทุเรียนบานของแต่ละพันธุ์ และแต่ละรุ่น
  • ทำเครื่องหมายรุ่นไว้ในขณะที่มีการโยงกิ่งด้วยเชือก และควรใช้สีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งแต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตัดทุเรียนที่แก่มีคุณภาพดี

วิธีการเก็บเกี่ยว

  • การตัดผลทุเรียน ควรตัดเหนือปลิงของก้านผลด้วยมีดคมและสะอาด  และส่งผลทุเรียนลงมาจากต้นเพื่อให้คนที่รอรับอยู่ด้านล่างบริเวณโคนต้น  ระวังอย่าให้ผลตกกระทบพื้น วิธีที่นิยมใช้ในการเก็บเกี่ยวคือการใช้เชือกโรยหรือใช้กระสอบป่านตระหวัดรับผล
  • ห้ามวางผลทุเรียนลงบนพื้นดินในสวนโดยตรง เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผลเน่าติดไปกับผลทุเรียน  และควรทำความสะอาด คัดคุณภาพ คัดขนาดก่อนจำหน่าย

คำค้น : วิธี กี่ปี วิธี ภาคอีสาน พื้นที่ ประเทศไทย 2564 4×4 1 ไร่ได้กี่ต้น เมล็ด การเตรียมพื้นที่ ดินลูกรัง 1 ไร่ กี่ต้น ในกระถาง ดูวิธี กี่ปีได้กิน ภาคอีสาน รู อุบล โคราช 5 ไร่ การเลือกพื้นที่ ภาคเหนือ จีน เชียงใหม่ มือใหม่ พื้นที่ ประเทศไทย 2565 เตรียมที่ 3 ต้น ขอนแก่น ให้รอด วิธี หมอนทอง เตรียมพื้นที่ วิธี ภาคเหนือ 2 ต้นคู่ ดินทราย ลําปาง อีสาน พื้นที่ ประเทศไทย 2562 พื้นที่ ประเทศไทย 2563 วิธี ภาคกลาง 10×10 สุรินทร์ ดินเหนียว วิธี ระยะห่าง การเตรียมที่ ดู ในบ้าน ห่างกี่เมตร วิธี จากเมล็ด ในเข่ง

 

ที่มา:arda.or.th

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
217853
ปก การซื้อสินค้าออนไลน์
หนี้สงสัยจะสูญ
217717
220763
เงินปันผลจ่าย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172697: 1201