การส่งเสริมการขาย ตัวอย่างกลยุทธ์ออนไลน์ 50 ส่งเสริมการขาย?
การส่งเสริมการขาย
- sales promotion
การส่งเสริมการขาย คือ
การส่งเสริมการขาย คือ (sales promotion) การจูงใจที่เสนอคุณค่าพิเศษ – คนกลาง (ผู้จัดจำหน่าย) หรือหน่วยงานขาย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างยอดขายในทันที จากความหมายนี้สามารถสรุปได้ว่า
- การส่งเสริมการขายเป็นการ ให้สิ่งจูงใจ พิเศษเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ (extra incentive to buy) เช่น คูปอง ของแถม การชิงโชค การแลกซื้อ เป็นต้น
- การส่งเสริมการขายเป็น เครื่องมือกระตุ้น (acceleration tool) กิจกรรมการส่งเสริมการขายมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อจำนวนมากขึ้น และสามารถตัดสินใจซื้อได้ในเวลาทันทีทันใด
- การส่งเสริมการขายใช้ในการจูงใจกลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่ม คือ
- การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (consumer pomotion) เป็นการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย (ultimate consumer) เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อจำนวนมากขึ้น ตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วขึ้น เกิดการทดลองใช้ ถือว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ดึง (pull strategy)
- การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (trade promotion) เป็นการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พ่อค้าคนกลาง (middleman) ผู้จัดจำหน่าย (distributor) หรือผู้ขาย (dealer) ถือว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ผลัก (push strategy)
- การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (sales-force promotion) เป็นการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (salesman) หรือหน่วยงานขาย (sales-force) เพื่อให้ใช้ความพยายามในการขายมากขึ้น ถือว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ผลัก (push strategy)
- การส่งเสริมการขาย
วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย
- การดึงลูกค้าใหม่ (attract new users)
- การรักษาลูกค้าเก่าไว้ (hold current customer)
- การส่งเสริมลูกค้าในปัจจุบันให้ซื้อสินค้าในปริมาณมาก (load present user)
- การเพิ่มอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ (increase product usage)
- การส่งเสริมการขายทำให้ผู้บริโภคเกิดการยกระดับ (trade up)
- การเสริมแรงการโฆษณาในตราสินค้า (reinforce brand advertising)
- วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
กระบวนการติดต่อสื่อสาร (communication process)
- สภาพของการสื่อสาร (communication context) คือ สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นหรือจำกัดการสื่อสารในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การสื่อสารนั้นเด่นชัดหรือคลุมเครือ
- แหล่งข่าว / ผู้ส่งสาร (source / sender) คือ ผู้ที่คัดเลือกสารต่าง ๆ แล้วทำการส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยองค์กรต่าง ๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้รับสารเมื่อมีการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้น
- การเข้ารหัส (encoding) คือ กระบวนการของการแปลความคิดให้เป็นข้อความที่มีความหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ดังนั้นผู้ส่งข่าวสารจะต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อนว่าควรจะสื่อสารอย่างไรผู้รับจึงจะเข้าใจ
- ข่าวสาร (message) กระบวนการเข้ารหัสนั้นจะนำไปสู่ การพัฒนาเป็น “ข่าวสาร” โดยข่าวสารนั้นจะประกอบไปด้วยสารสนเทศหรือความหมายที่แหล่งข่าวต้องการที่จะส่ง
- ช่องทางของการสื่อสาร (communication channel) หรือสื่อ (Medium) คือ สื่อกลางหรือวิธีการที่ใช้นำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์ ภาพยนตร์ นิตยสาร จดหมาย เป็นต้น
- การถอดรหัส (decoding) คือ กระบวนการของผู้รับในการแปลความข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย ที่ผู้รับข่าวสารสามารถนำไปใช้ได้ โดยการถอดรหัสนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การรับรู้ ทัศนคติ และค่านิยมของผู้รับสาร นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม สังคม บทบาท และฐานะก็ยังเป็นอีกตัวหนึ่งที่มามีอิทธิพลต่อการถอดรหัส
- ผู้รับสาร (receiver) หรือจุดหมายปลายทาง (destination) คือ บุคคลที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการให้ได้รับข่าว อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ผู้รับสารต้องมีความสามารถในการฟังให้เข้าใจ อ่านให้รู้เรื่อง และคิดให้เป็นจึงจะสามารถรับข่าวสารและแปลความหมายของข่าวสารได้
- สิ่งรบกวน (noise) คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลของการสื่อสาร เช่น เสียงรถวิ่งไปมา ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม การออกเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น
- การตอบสนอง (response) คือ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสารหลังจากที่ได้รับข่าวสาร
- ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนอง คือการสื่อสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิผลของข่าวสารที่ส่งไป ที่จะบอกให้ผู้ส่งสารทราบว่าสารที่ผู้ส่งส่งไปนั้นเป็นที่เข้าใจของผู้รับมากน้อยเพียงใด
- กระบวนการติดต่อสื่อสาร
ที่มา:sites.google.com/site/groupmarketingsites
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
เครื่องหมายวรรคตอนทั้งหมด เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย เครื่องหมายวรรคตอน ป. 5 เครื่องหมายวรรค ตอน ป. 4 เครื่องหมายวรรคตอน ใช้อย่างไร เครื่อง
สัญญากิจการร่วมค้า doc สัญญากิจการร่วมค้า joint venture สัญญากิจการร่วมค้า ติดอากรแสตมป์ กิจการร่วมค้า ตัวอย่าง แบบฟอร์มจดทะเบียนกิจการร่วมค้า
นอกจากนี้ กระบวนการการสร้างสรรค์และการออกแบบยังควรใส่ใจเรื่องการเก็บรักษาคุณภาพ ทำงานร่วมกันของทีมที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถในด้านต่าง ๆ
กินแอปเปิ้ลตอนไหนดี ประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง โทษของแอปเปิ้ล ประโยชน์ของแอปเปิ้ลเขียว ประโยชน์ของแอปเปิ้ลแต่ละสี กินแอปเปิ้ลทุกวัน ดีไหม แอปเปิ้ล
การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีทั้งหมดกี่ขั้นตอน ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการใช้โปรแกรมประมวลคำ หมายถึงการใช้งานโปรแกรมอะไร ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ หมายถึงอะไร ประโยชน์ของการพัฒนา digital literacy หัวใจสำคัญของ digital literacy มีกี่ข้อและประกอบด้วยอะไรบ้าง ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ข้อใดอธิบายประโยชน์ของการพัฒนา digital literacy ได้ถูกต้องที่สุด นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการศึกษา มีอะไรบ้าง
การใช้น้ำเสียง แสดงอารมณ์ การใช้คําพูด คือ การ ใช้ น้ำเสียง สนทนา กับผู้อื่น ความหมายของการพูด องค์ประกอบของการพูด ความสำคัญของการพูด 5 ข้อ การ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173248: 1175