อ่านงบการเงิน

วิธีอ่านงบการเงินปากกาสิ่งนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณครบจบ 3 สี?

อ่านงบการเงิน ไม่ยาก

งบต่างๆในความหมายของบริษัทจำกัด

อ่านงบการเงิน
อ่านงบการเงิน

งบดุล Balance Sheet

งบดุลของบริษัทจำกัด จะมีส่วนที่แตกต่างไปจากกิจการอื่นๆ ในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นคือส่วนที่เป็นเจ้าของทั้งหมดหรือส่วนที่เป็นทุนของบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นที่แสดงในงบดุลจะประกอบไปด้วยรายละเอียดต่างๆดังนี้

ทุนเรือนหุ้น ทุนเรือนหุ้นจำแนกออกเป็น

  • ทุนจดทะเบียน หมายถึงทุนที่จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายโดยแสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนแต่ละชนิด
  • ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หมายถึงหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกชำระมูลค่าแล้วให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิด และในกรณีที่มีการให้สิทธิพิเศษใดแก่หุ้นบุริมสิทธิก็ให้แสดงไว้ด้วย
  • หุ้นทุนที่ได้รับคืน หมายถึงหุ้นทุนที่บริษัทได้เคยออกใบหุ้นไปแล้ว ต่อมาได้รับคืนและปัจจุบันยังถืออยู่ในมือ และเนื่องจากกฎหมายไทยปัจจุบันห้ามไม่ให้บริษัทเป็นเจ้าของถือหุ้นตนเองหรือรับจำนำหุ้นของตนเอง ดังนั้นจึงไม่ปรากฏรายการนี้ในงบดุลตามมาตรฐานงบการเงิน

ส่วนเกินทุน ส่วนเกินทุน หมายถึง ส่วนที่เกินจากทุนที่นำมาลง ส่วนเกินทุนนี้อาจเกิดจากผู้ถือหุ้นเองหรือบุคคลภายนอกก็ได้ โดยทั่วไปส่วนเกินทุนนี้ประกอบด้วย

  • ส่วนเกินมูลค่าหุ้น หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจ่ายเพื่อซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำรองตามกฎหมาย บริษัทไม่สามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผล
  • ส่วนเกินทุนอันเนื่องจากการตีราคา ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เพิ่ม ตามปกติบริษัทจะแสดงรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลด้วยราคาทุนที่ซื้อมาหักด้วยค่าเสื่อราคาสะสม แต่บางครั้งราคาตลาดสูงกว่าราคาทุนมาก จึงจำเป็นต้องตีราคาเพิ่มเพื่อให้สินทรัพย์แสดงราคาปัจจุบัน เนื่องจากสินทรัพย์ของบริษัทยังไม่ได้ถูกจำหน่ายออกไป ดังนั้นกำไรที่เกิดจากการตีราคาเพิ่มเป็นกำไรที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง จึงไม่สามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลได้แต่ในทางปฏิบัติแล้วการหากำไรที่เกิดจากการตีราคาเพิ่มเป็นเรื่องยุ่งยาก ดังนั้นรายการส่วนเกินทุนนี้จึงไม่ปรากฏในงบดุลของบริษัท
  • ส่วนเกินทุนที่ได้จากการบริจาค หมายถึงส่วนเกินทุนที่เกิดจากผู้ถือหุ้นหรือบุคคลภายนอกบริจาคสินทรัพย์ให้บริษัท ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้นจะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

กำไรสะสม กำไรสะสมหมายถึงกำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานหักด้วยเงินปันผล ของปีก่อนๆสะสมไว้ หรือบางครั้งเกิดการขาดทุนก็นำมาหักออกจากกำไรสะสม กำไรสะสมแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  • กำไรสะสมที่จัดสรรแล้ว หมายถึงกำไรสะสมที่สำรองไว้เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆได้แก่
    • สำรองตามกฎหมาย หมายถึงเงินสำรองที่กันไว้จากกำไรสุทธิก่อนจ่ายเงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    • สำรองอื่น หมายถึงเงินสำรองที่จัดสรรจากกำไรสุทธิเพื่อการใดๆตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น เพื่อรักษาระดับเงินปันผล เพื่อขยายกิจการเป็นต้น
  • กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร หมายถึงกำไรสะสมและกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันคงเหลือหลังจากจัดสรร

งบกำไรขาดทุน Income Statement

งบกำไรขาดทุนของบริษัทจำกัดจะแสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุนก่อนรายการพิเศษ กำไรหรือขาดทุนสุทธิ และกำไรต่อหุ้น

รายการพิเศษ รายการพิเศษหมายถึงเหตุการณ์หรือรายการธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างจากรายการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นประจำในธุรกิจ แต่เป็นรายการที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อย

  • ลักษณะของรายการพิเศษ ลักษณะที่ควรจะถือเป็นรายการพิเศษได้นั้นจะต้องมีลักษณะ 2 ประการ คือ
    • ลักษณะไม่ปกติ หมายถึงเหตุการณ์หรือรายการธุรกิจควรจะมีขั้นความไม่ปกติสูง หรือรายการที่เกิดขึ้นนี้เป็นรายการที่ผิดปกติ และเห็นได้ชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้องโดยบังเอิญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามปกติของธุรกิจ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่กิจการดำเนินอยู่ ในการพิจารณาถึงเหตุการณ์ปกติธรรมดากิจการจะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของกิจการด้วย
    • เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หมายถึงเหตุการณ์หรือรายการธุรกิจควรเป็นชนิดซึ่งไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคนอันใกล้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่กิจการดำเนินอยู่
  • ลักษณะที่ไม่เข้าข่ายรายการพิเศษ รายการที่ไม่เข้าข่ายเป็นรายการพิเศษคือรายการที่มีลักษณะปกติหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกอันเป็นผลของกิจกรรมปกติธรรมดา ตัวอย่างได้แก่
    • การลดหรือตัดจำหน่ายลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ การให้เช่าอุปกรณ์งบกำไรขาดทุน 1
    • กำไรหรือขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนหรือโอนเงินตราต่างประเทศ
    • กำไรหรือขาดทุนจากการยกเลิกผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งของกิจการ
    • กำไรหรือขาดทุนอื่นๆจากการขายหรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เช่นโรงงาน
    • การปรับปรุงสัญญาก่อสร้างระยะยาวตามเกณฑ์คงค้าง
  • การแสดงรายการพิเศษในงบกำไรขาดทุน ในการแสดงรายการพิเศษในงบกำไรขาดทุนนั้นควรปฏิบัติดังนี้
    • ควรใช้หัวข้อ รายการพิเศษ เพื่อระบุให้เห็นชัดเจนถึงผลของเหตุการณ์หรือรายการธุรกิจซึ่งเข้าเกณฑ์เป็นรายการพิเศษ
    • ควรมีคำอธิบายหัวข้อและแสดงจำนวนเงินเหตุการณ์หรือรายการธุรกิจพิเศษสำหรับแต่ละรายการ
    • ควรแสดงรายการพิเศษเป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักภาษีเงินได้แล้ว
  • มาตรฐานการบัญชีและการรายงาน เป็นผลการดำเนินงานเป็นข้อมูลสำคัญซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ใช้งบการเงิน การแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนคือ ให้แสดงรายการพิเศษโดยเปิดเผยให้ทราบถึงลักษณะของรายการและจำนวนเงินพร้อมกับภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวอาจแสดงไว้ในตัวงบกำไรขาดทุนหรือในหมายเหตุประกอบของงบการเงินด้วย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 160027: 441