รัฐประศาสนศาสตร์ 5 PUBLIC ADMINISTRATION จบมาทำงานอะไร?
ที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนซึ่งมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือ
อักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ ,รูปสระ และรูปวรรณยุกต์ ซึ่งให้แทนเสียงพยัญชนะ ,เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตามลำดับ หากพูดถึงพยัญชนะไทยนั้นจะมีทั้งหมด 44 รูป 21 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้
พยัญชนะไทย 44 รูป 21 เสียง ดังนี้
ส่วนสระมีทั้งหมด 21 รูป 32 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้
21 รูป ประกอบด้วย
32 เสียง ประกอบด้วย
และวรรณยุกต์มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง
ซึ่งลำดับการเรียงพยัญชนะจะเริ่มต้นด้วย พยัญชนะ กอไก่ เป็นตัวที่ 1 และพยัญชนะไทยตัวที่ 44 คือ ฮอนกฮูก ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงองค์ประกอบของอักษรไทยว่าจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
หลายคนอาจสงสัย อักษรไทยมีกี่ตัว หรือภาษาไทยมีกี่ตัว คำว่าอักษรไทยมีความหมายเดียวกันกับคำว่าพยัญชนะไทยหรือเปล่า วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันให้กระจ่าง
พยัญชนะไทยเป็นองค์ประกอบของอักษรไทย เพราะอักษรไทยประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พยัญชนะ ,สระ และวรรณยุกต์ ดังกล่าวข้างต้น โดยทั้ง 3 ส่วนทำหน้าที่ต่างกัน และเมื่อนำ 3 ส่วนนี้มาผสมเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นพยางค์ หลายๆ พยางค์จะเกิดเป็นคำ หลายๆ คำก็จะเกิดเป็นประโยคในที่สุด
หน้าที่ของพยัญชนะ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งวิธีการแยกส่วนนั้นไม่ใช่เป็นการเรียงvพยัญชนะและตัดทอนเป็นส่วนๆ แต่ใช้วิธีดูจากบริบทและหน้าที่ของพยัญชนะนั้นๆ ดังต่อไปนี้
1.1 พยัญชนะต้นประสม หรือที่เรียกว่าพยัญชนะควบกล้ำแท้ เช่นคำว่า คลอง ,กลับ ,กลาง ,ตรัง เป็นต้น
1.2 พยัญชนะต้นเดี่ยว หรือที่เรียกว่าพยัญชนะไม่ควบกล้ำ หรือควบกล้ำไม่แท้ เช่นคำว่า บ้าน ,รัก ,ทราย ,ทราบ เป็นต้น
ซึ่ง 8 ตัวสะกดนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 มาตรา คือ ตัวสะกดตรงมาตรา และตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
– ตัวสะกดตรงมาตรา ได้แก่ กง กม เกย เกอว เช่นคำว่า โรง ,สาม ,สวย ,เปรี้ยว เป็นต้น
– ตัวสะสดไม่ตรงมาตรา ได้แก่ กก กด กบ กน เช่นคำว่า โรค ,พิษ ,ภาพ ,บุญ เป็นต้น
หน้าที่ของสระ ประกอบด้วย 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
สระเสียงสั้น เช่น อะ อิ อุ อึ
ยกตัวอย่าง กะทะ ,ปิติ ,ดุ ,บึกบึน เป็นต้น
สระเสียงยาว เช่น อา อี อู อื
ยกตัวอย่าง ตา ,มีดี ,เชิดชู ,มือถือ เป็นต้น
ยกตัวอย่าง ผัวะ ,เพียะ ,เสีย ,เพลีย เป็นต้น
หน้าที่ของวรรณยุกต์ จะเสมือนเป็นเสียงในภาษาไทย หรือที่หลายๆ คนเรียกหน้าที่ของวรรณยุกต์ว่าเป็นเสียงดนตรี จะประกอบไปด้วย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง ดังตัวอย่างข้างล่างนี้
สำหรับเสียงสามัญจะไม่ปรากฎรูป การใช้วรรณยุกต์ที่ต่างกัน ส่งผลให้การอ่านออกเสียงและความหมายของคำเปลี่ยนไป เช่นคำว่า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า แค่เปลี่ยนเครื่องหมายวรรณยุกต์ ทั้งการอ่านออกเสียงและความหมายของคำต่างกันโดยสิ้นเชิง
การเรียงลำดับตัวอักษรไทย จะเรียงตามรูปไม่ใช่เรียงตามเสียง เช่นคำว่า หนา อยู่หมวด ห ไม่ใช่ หมวด น ซึ่งสามารถนำตัวอักษรไปเทียบกับตารางพยัญชนะที่เรียง ก-ฮ เพื่อดูลำดับตัวอักษรไทย และอย่างที่อธิบายถึงอักษรไทยไว้ข้างต้นสามารถตอบคำถามที่ว่า “ตัวอักษรไทยมี่กี่ตัว” คำตอบคือ มีพยัญชนะ 44 ตัว ,สระ 21 ตัว และวรรณยุกต์ 4 ตัว
พยัญชนะไทย 44 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รูปพยัญชนะ และเสียงพยัญชนะ สามารถแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
– อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
ยกตัวอย่างคำเช่น ไข่ ,ฃ(ขวด) ,ฉิ่ง ,ฐาน ,ถุง ,ผึ้ง ,ฝา ,เศรษฐี ,สาป ,หาย เป็นต้น
– อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
ยกตัวอย่างคำเช่น ก่อ ,จำ ,ดุ ,ตาม ,บิน ,ไป ,อาบ เป็นต้น
– อักษรต่ำ มี 24 ตัว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อักษรต่ำคู่ และอักษรต่ำเดี่ยว
อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ
ยกตัวอย่างคำเช่น คัน ,ชัก ,พาน ,ภูมิ ,ธง เป็นต้น
อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว
ยกตัวอย่างคำเช่น งมงาย ,นา ,มา ,รัก ,ยักษ์ ,ลาน ,วันวาน เป็นต้น
๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้
๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่
แม่กน มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น ญ ณ ร ล
แม่กง มี ง เป็นตัวสะกด
แม่กม มี ม เป็นตัวสะกด
แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด
แม่กก มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ
แม่กด มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ
แม่กบ มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ
เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น
/ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ /ด/ บาท ชาติ คาด กฎหมาย ปรากฏ
/บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ /ง/ ทาง องค์
/น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ /ม/ คำ ธรรม
/ย/ ได ใย ชัย อาย /ว/ เสา สาว
๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น
๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว
๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์
๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ
๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู )
๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)
๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมัน และทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้
ที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนซึ่งมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือ
หากคุณสนใจที่จะเติมเต็มความฝันในการขี่มอเตอร์ไซค์ มีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อเตรียมพร้อม ขั้นแรก ศึกษาข้อกำหนดสำหรับการขอใบอนุญาตรถจักรยาน
Click to rate this post! [Total: 1 Average: 5] วิธีดูหม […]
IPL IPL คืออะไร ? IPL สามารถกำจัดอะไรได้บ้าง ความแตกต่างระหว่าง IPL กับ การเลเซอร์ ก่อนทำ IPL ต้องเตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนการักษาเป็นอย่างไร ความ
การฝึกสมาธิเป็น การเดินทางระยะยาว ที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ คุณไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบตั้งแต่วันแรก เริ่มจากเล็ก ๆ และฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างนิสัยแห่ง
10 ประโยชน์ของกล้วย ประโยชน์ของกล้วยหอม ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า ประโยชน์ของกล้วยส้ม ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า 4 วัย 10 ประโยชน์ของกล้วยหอม ประ