เลิกบริษัทปิดบริษัท รับปิดงบเปล่า 10 ชำระบัญชีวิธีเลิกกิจการ
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
การเขียนบรรณานุกรม ส่วนอ้างอิงในปริญญานิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจในรายละเอียดเบื้องลึกของปริญญานิพนธ์ใช้ในการสืบหาที่มาของความรู้ที่ใช้ประกอบในการทาปริญญานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ โดยให้ใช้คาว่า “บรรณานุกรม” พิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ และใช้การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ด้วยระบบตัวเลข ซึ่งจะนาเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการอ้างอิงมาเรียงตามลาดับตัวเลขที่อ้างอิง โดยไม่ต้องแยกภาษาและประเภทของเอกสาร แต่ให้ใส่ตัวเลขกากับไว้ด้วย รายการเอกสารเหล่านี้จะรวบรวมไว้ในบรรณานุกรมดังตัวอย่างในภาคผนวก ในบทนี้จะกล่าวถึงการใช้เครื่องหมายวรรคตอน การเรียงลาดับบรรณานุกรม และการเขียนบรรณานุกรม ตามลาดับ
1กกจุดประสงค์ของบรรณานุกรม
เนื่องจากจุดประสงค์ประการหนึ่งของบรรณานุกรมคือ ช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นและติดตาม
ใช้งานต่าง ๆ ที่อ้างในวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ ดังนั้น บรรณานุกรมต้องถูกต้องและ
สมบูรณ์ งานทุกงานที่อ้างถึงในเนื้อความต้องปรากฏในบรรณานุกรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
บรรณานุกรมทุกเรื่องต้องมีการอ้างถึงในเนื้อความ ผู้เขียนต้องตรวจสอบและมั่นใจว่างานแต่ละ
เรื่องที่อ้างปรากฏทั้งสองแห่ง ผู้แต่งและปีที่อ้างในเนื้อความต้องตรงกับปีที่อยู่ในบรรณานุกรม
ข้างท้าย ทั้งนี้ เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นแสดงถึงความเลินเล่อและมีผลต่อความเป็นนักวิชาการ
ของผู้เขียน
2กกการใช้เครื่องหมายวรรคตอน
การเขียนบรรณานุกรมมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ เพื่อช่วยแบ่งข้อความดังนี้
1ddเครื่องหมายมหัพภาค (. period) ให้พิมพ์ติดกับคาหน้าแล้วเว้น 2 วรรค
2dd เครื่องหมายจุลภาค (, comma) ให้พิมพ์ติดกับคาหน้าแล้วเว้น 1 วรรค
3dd เครื่องหมายอัฒภาค (; semi colon) ให้พิมพ์ติดกับคาหน้าแล้วเว้น 1 วรรค
4dd เครื่องหมายมหัพภาคคู่( : colons) ให้พิมพ์เว้น 1 วรรคจากคาหน้าแล้วเว้น 1 วรรคจาก
คาหลัง
3กกส่วนต่าง ๆ ของบรรณานุกรม
บรรณานุกรมแต่ละเรื่องหรือแต่ละรายการประกอบด้วย ข้อมูลหลักดังนี้ ผู้แต่ง ปีของงานนั้น
ชื่อเรื่อง และข้อมูลการพิมพ์
บรรณานุกรมของงานแต่ละประเภท ได้แก่ หนังสือ วารสาร แผ่นพับ บทของหนังสือรายงาน
การวิจัย รายงานการประชุม วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ งานที่ไม่พิมพ์เผยแพร่ และงานที่
เผยแพร่ในวงจากัด โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมที่
แตกต่างกันไป สาหรับการสื่อสารระหว่างบุคคลเช่น จดหมาย บันทึก การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
ดังที่กล่าวแล้วว่าจะไม่นา มารวบรวมเป็นบรรณานุกรม
4.กกการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมมีแบบและหลักเกณฑ์แตกต่างกันตามประเภทของเอกสาร เช่น
หนังสือ บทความในหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ปริญญานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสาเนา การสัมภาษณ์ เอกสารที่สืบหาจากเวบไซท์ ฯลฯ นักศึกษา
สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยดูตัวอย่างในภาคผนวก
บรรณานุกรมจาเป็นต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์
สานักพิมพ์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนของบรรณานุกรมนั้น เช่น ครั้งที่พิมพ์
ชื่อชุดหนังสือ และลาดับที่ ในส่วนนี้จะได้นา เสนอรายละเอียด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมงาน
แต่ละประเภท พร้อมทั้งตัวอย่าง
1กกหนังสือddข้อมูลที่จาเป็นต้องมี ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์
สานักพิมพ์ ปี พิมพ์ ข้อมูลอื่นๆ ที่ระบุเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนของบรรณานุกรมนั้น ได้แก่ ครั้งที่
พิมพ์ ชื่อชุดหนังสือ และจานวนหน้าทั้งหมด ซึ่งมีวิธีเขียนดังนี้
ผู้แต่ง.** ชื่อหนังสือ.** เล่มที่หรือจานวนเล่ม(ถ้ามี).**ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).**ชื่อชุด
หนังสือและลาดับที่ (ถ้ามี).** สถานที่พิมพ์: * สานักพิมพ์, * ปีพิมพ์.
1)ddผู้แต่งหรือบรรณาธิการddถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ลง ชื่อสกุล ตามด้วย
อักษรตัวย่อของชื่อต้นและชื่อกลาง (ถ้ามี) ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) แบ่งชื่อสกุลและ
อักษรย่อของชื่อต้นกับชื่อกลาง เช่น
Reynolds, F. E.
Fontana, D., Jr.
ถ้าผู้แต่งเป็นชาวไทย ให้ลงชื่อก่อนแล้วตามด้วยนามสกุล ในกรณีที่เขียน
เอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ อาจใช้แนวทางเดียวกันกับผู้แต่งชาวต่างประเทศได้
ถ้าผู้แต่งชาวไทย มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ให้พิมพ์ชื่อ ตามด้วยเครื่องหมาย
จุลภาค (,) และ ฐานันดรศักดิ์ หรือ บรรดาศักดิ์ เช่น
ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา
วิจิตรวาทการ, หลวง
ถ้าผู้แต่ง 2 คน หรือมากกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 6 คน ลงชื่อผู้แต่งทุกคน ให้ใช้คา
ว่า และ หรือ , and ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย แต่ถ้ามีผู้แต่ง 6 คน หรือมากกว่านั้นขึ้นไปให้ใช้คาว่า
และคนอื่นๆ สาหรับภาษาไทย และให้ใช้ et al. หรือ and others สาหรับภาษาต่างประเทศ เช่น
Fukutake, T., and Morioka, K.
Hanson, H., Borlaug, N. E., and Anderson, R. G.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ สุชาติ สวัสดิศรี
Stevenson, H. W., et al.
Wilson, K., and others.
วิญญู อังคณารักษ์ และคนอื่นๆ.
ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน ควรคานึงถึงแนวทางดังต่อไปนี้ด้วย คือ ต้องพยายามให้
ผู้อ่านไม่สับสนระหว่างสถาบันที่อ้างถึงนั้นกับสถาบันอื่นๆ ทั้งนี้ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐบาล อย่างน้อย
ต้องอ้างถึง ระดับกรม หรือเทียบเท่าและเขียนอ้างชื่อหน่วยงานระดับสูงมาก่อน โดยให้ เขียนกลับ
คานาหน้า เช่น
มหาดไทย, กระทรวง. กรมการปกครอง.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. กรมสามัญศึกษา.
สาธารณสุข, กระทรวง. กรมควบคุมโรคติดต่อ.
การปกครอง, กรม.
ประชาสัมพันธ์, กรม.
ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้เขียนชื่อเรื่องในตาแหน่งของผู้แต่ง
ถ้าเป็นหนังสือที่มีบรรณาธิการ และผู้อ้างอิงต้องการอ้างถึงหนังสือทั้งเล่ม ให้
เขียนชื่อ บรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คาว่า บรรณาธิการ สาหรับเอกสารภาษาไทย และคาว่า ed.
หรือ eds. แล้วแต่กรณีสาหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ เช่น Forbes, S. M., ed.
ปิดท้ายชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการด้วยเครื่องหมาย มหัพภาค ( . ) เช่น ตีรณ
พงศ์มฆพัฒน์ และจารุมาอัชกุล, บรรณาธิการ.
2)ddชื่อหนังสือddชื่อหนังสือที่เป็นภาษาต่างประเทศให้ พิมพ์ตัวใหญ่เฉพาะอักษร
ตัวแรก ของชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องรอง(ถ้ามี) ซึ่งมักพิมพ์ตามหลังเครื่องหมาย มหัพภาคคู่ ( : ) และชื่อ
เฉพาะ
พิมพ์ ตัวหนา หรือ ขีดเส้นใต้ หรือพิมพ์ตัวเอน อย่างหนึ่งอย่างใดเพียงแบบ
เดียว หรือใช้ตัวอักษรพิมพ์ปกติตามความนิยมในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็นหนังสือทางด้าน
วิทยาศาสตร์ อาจพิมพ์โดยไม่ใช้ตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ได้ ทั้งนี้ ต้องพิมพ์ชื่อ พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
อื่นๆ ที่เป็นภาษาละติน โดยใช้ตัวเอน ตัวหนา หรือ ขีดเส้นใต้ อย่างหนึ่งอย่างใด
ลงข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการสืบค้น เช่น ครั้งที่พิมพ์ (3 rd ed.) เล่มที่ (vol.2)
ตามหลังชื่อเรื่องโดยคั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )
จบข้อความส่วนนี้ด้วยเครื่องหมาย มหัพภาค ( . )
ในกรณีที่ชื่อหนังสือที่อ้างอิงมีหลายเล่ม หรือพิมพ์หลายครั้ง หรือเป็นชุด หรือ
มีลาดับที่ให้ลงข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการสืบค้น โดยระบุไว้หลังชื่อเรื่องตามลาดับ โดยแต่ละ
รายการคั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )
3)ddสถานที่พิมพ์และสานักพิมพ์ddให้ระบุชื่อจังหวัดหรือชื่อเมือง ถ้าชื่อเมืองไม่
เป็นที่รู้จักแพร่หลาย หรืออาจทาให้สับสนกับเมืองอื่นให้ระบุชื่อจังหวัดหรือเมืองหรือประเทศที่
สานักพิมพ์นั้นตั้งอยู่
ถ้าในเอกสารนั้น มีชื่อสานักพิมพ์ตั้งอยู่ในเมืองมากกว่า 1 เมือง ให้ เลือกเมือง
แรก
พิมพ์เฉพาะชื่อสานักพิมพ์ ส่วนคาระบุสถานะของสานักพิมพ์ เช่น ห.จ.ก.,
บริษัท, Publishers, Co.,Ltd. หรือ Inc. ให้ตัดออก สานักพิมพ์ที่เป็นของสมาคม มหาวิทยาลัย ให้
ระบุชื่อเต็ม เช่น สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of Tokyo Press เป็นต้น
ถ้าไม่ปรากฏสานักพิมพ์หรือสถานที่พิมพ์ ให้ระบุ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.) อยู่ใน
เครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วแต่กรณี
4)ddปีพิมพ์ddระบุปีที่พิมพ์งานนั้น (สาหรับงานที่ไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ ปีพิมพ์
หมายถึงปีที่ผลิตงานนั้น)
งานที่อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์เผยแพร่ ให้ใช้คาอยู่ในวงเล็บว่า (กาลังจัดพิมพ์)
หรือ (in press)แล้วแต่ภาษาของงานนั้นๆ
ถ้าไม่ปรากฏปีพิมพ์ ให้ระบุตัวอักษรอยู่ในวงเล็บว่า (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
แล้วแต่กรณี
จบด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )
6)ddตัวอย่าง การเขียนรายการบรรณานุกรม หนังสือ ภาษาไทย
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. 2 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร:
สานักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย, 2515.
แน้ช, จอร์ช; วอลดอร์ฟ, แดน; และ ไรซ์, โรเบิร์ต อี. มหาวิทยาลัยกับชุมชน
เมือง. แปลโดย อัปสร ทรัยอัน และคนอื่นๆ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แพร่พิทยา, 2518.
ประชาสัมพันธ์, กรม. รวมบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศลาว. พระ
นคร: กรมประชาสัมพันธ์, 2504.
7)ddตัวอย่าง การเขียนรายการบรรณานุกรม หนังสือ ภาษาอังกฤษ
Fontana, D., Jr. Classroom control: Understanding and building classroom
behavior. London: The British Psychological Society, 1985.
Fukutake, T., and Morioka, K., eds. Sociology and social development in
Asia: Proceedings of the symposium. Tokyo: University of Tokyo Press, 1974.
Thailand. Office of the National Education Commission. A research report on
higher education system : A case study of Thailand. Bangkok: Office of the National Education
Commission, 1977.
2กกหนังสือพิมพ์ในโอกาสพิเศษddหนังสือพิมพ์ในโอกาสพิเศษ เช่น หนังสืองานศพ
งานวันสถาปนา กฐิน หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเอกสารอ้างอิงที่สาคัญ ให้ลงรายการบรรณานุกรม
เหมือนหนังสือธรรมดา โดยเพิ่มเติมรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวไว้ในวงเล็บ ( ) ท้ายรายการ
ตัวอย่างเช่น
ขจร สุขพานิช. เมื่อเซอร์ยอนเบาริงเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี. พระนคร: โรง
พิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2497. (มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ถวาย ม.จ. ชัชวลิต เกษมสันต์ ใน
มงคลสมัยมีพระชนม์ 5 รอบ 12 มิถุนายน 2497).
ครูไทย. เมื่อคอมมิวนิสต์ครองเมือง. ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าว
รวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต. หน้า 96-148. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี, 2520. (คณะรัฐมนตรีจัดพิมพ์ถวายพระเกียรติและสดุดีวีรกรรม).
3กกหนังสือแปลddหนังสือแปล มีแบบและหลักเกณฑ์ในการบันทึกรายการ
บรรณานุกรม ตามลาดับดังนี้
ผู้แต่ง.** ชื่อเรื่อง.** แปลโดย ผู้แปล.** สถานที่พิมพ์:* สานักพิมพ์,* ปี พิมพ์.
แน้ช, จอร์ช; วอลดอร์ฟ, แดน; และ ไพรซ์, โรเบิร์ต อี. มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง.
แปลโดย อัปสร ทรัยอัน และคนอื่นๆ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แพร่พิทยา, 2518.
Foucault, M. The archaeology of knowledge. Translated by A. M. S. Smith.
London : Tavistock, 1972.
4กกบทความในหนังสือddบทความในหนังสือในที่นี้อาจหมายถึง ข้อเขียนบทหนึ่งใน
หนังสือเล่มเดียวกันที่มีผู้เขียนหลายคน มีแบบและหลักเกณฑ์ในการบันทึกรายการบรรณานุกรม
ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.** ชื่อบทความ.** ใน * ชื่อบรรณาธิการ (ถ้ามี), * ชื่อเรื่อง, *
เลขหน้า.** สถานที่พิมพ์: * สานักพิมพ์,* ปีพิมพ์.
การลงรายการต่างๆ ส่วนมากใช้หลักเกณฑ์เดียวกับหนังสือ ส่วนการระบุชื่อ
บรรณาธิการ กับ เลขหน้านั้น ให้ทาดังนี้
การระบุชื่อบรรณาธิการให้เขียนชื่อต้น ชื่อกลาง (ถ้ามี) โดยใช้ชื่อย่อ และตามด้วย
ชื่อสกุลตามลาดับ
ถ้ามีบรรณาธิการตั้งแต่ 2 คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นแต่ละชื่อ และใช้คาว่า
และ (and) ก่อนชื่อสุดท้าย
ระบุคาว่า (บรรณาธิการ) หรือ (ed.) หรือ (eds.) ภายในวงเล็บไว้หลังชื่อ เพื่อให้รู้ว่า
บุคคลนั้นเป็นบรรณาธิการ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
ส่วนเลขหน้า หมายถึงเลขหน้าที่ปรากฏในเล่ม ให้ระบุคาว่า หน้า หรือ p.(หน้า
เดียว), pp. (หลายหน้า) และ ตามด้วยตัวเลขหน้า เช่น หน้า 467-468. หรือ pp. 467-468. หลังเลข
หน้าใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (.) เช่น
สุมิตร คุณานุกร. การวางแผนการสอน. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), คู่มือ
อาจารย์ด้านการเรียนการสอน, หน้า 58-69. กรุงเทพมหานคร: หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
Brown, R., and Dyer, A. F. Cell division in higher plants. In F. C. Steward (ed.),
Plantphysiology: An advanced treatise, pp. 49-90. New York: Academic Press, 1972.
5กกบทความในวารสารddบทความในวารสาร มีแบบในการเขียนรายการบรรณานุกรม
การลงรายการชื่อผู้เขียนบทความและชื่อบทความใช้หลักเดียวกับชื่อผู้แต่งหนังสือ ดังนี้
ผู้เขียนบทความ.** ชื่อบทความ.** ชื่อวารสาร * ปี ที่หรือเล่มที่ * (เดือน ปี ): * เลข
หน้า.
1)ddชื่อวารสารddชื่อวารสารใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกในของวารสาร ใช้ตัวหนา
หรือขีดเส้นใต้
เขียนชื่อเต็มโดยใช้ตัวใหญ่ตัวแรกทุกตัว หรือในกรณีใช้ชื่อย่อต้องเป็นชื่อย่อที่
นักวิชาการในศาสตร์สาขานั้นๆ ยอมรับ เช่น Journal ใช้ตัวย่อ J.
หลังชื่อวารสารไม่มีเครื่องหมายใดๆ ยกเว้นชื่อวารสารที่เป็นคาย่อ เช่น J.
Arizona Acad. Sci.
2)ddปีที่ หรือเล่มที่ (volume) ddวารสารที่มีทั้ง ปี ที่ หรือ เล่มที่ (volume) และ ฉบับ
ที่ (number) ให้ระบุให้ครบถ้วนแต่ระบุเฉพาะตัวเลขเท่านั้น ไม่ต้องพิมพ์คาว่า ปี ที่ ,เล่มที่ หรือ
ฉบับที่
วารสารที่ไม่มีปีที่หรือเล่มที่ มีแต่ฉบับที่ ให้ระบุเฉพาะ ตัวเลข ฉบับที่
3)ddเดือน ปีddให้ใช้ตามที่ปรากฏในวารสาร ชื่อเดือนให้สะกดเต็ม ตามด้วย ปี โดย
ใส่ในวงเล็บ หลังเดือนปี ให้ใช้เครื่องหมาย มหัพภาคคู่ ( : ) หลังปีพิมพ์ใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.)
ในกรณีที่เอกสารนั้นไม่มีปีที่ หรือเล่มที่ (volume) และฉบับที่ (number) แต่มี
เดือน ปีพิมพ์ ให้ใช้ชื่อเดือน ตามหลัง ปี
4)ddเลขหน้าddระบุหน้าที่บทความนั้นตีพิมพ์ว่า เริ่มจากหน้าใดถึงหน้าใด โดยไม่มี
คาว่า หน้า
ถ้าบทความพิมพ์ต่อในหน้าอื่นของวารสารฉบับเดียวกัน ระบุเลขหน้าที่ปรากฏ
ทั้งหมดโดยใช้เครื่องหมาย จุลภาค (,) คั่น หลังเลขหน้า ให้ใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.) เช่น
ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ, สมคิด แก้วสนธิ และทองอินทร์ วงศ์โสธร. การสอน
แบบต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ 6 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2519): 34-49.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518. ราชกิจจานุเบกษา 92 (6
กุมภาพันธ์ 2518): 1-78.
Alexander, C. A city is not a tree. Architectural Forum 122 (April 1968): 58-
62; (May 1965): 58-91.
6กกบทความในหนังสือพิมพ์ddรายการบรรณานุกรมของบทความในหนังสือพิมพ์คล้าย
กับรายการบรรณานุกรมของบทความในวารสารต่างกันตรงที่ไม่มีการระบุปีที่ หรือ เล่มที่ แต่ระบุ
วันที่ ของหนังสือพิมพ์เพิ่มเติม ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนบทความให้ลาดับด้วย ชื่อบทความ.
วัน เดือน ปี . ชื่อหนังสือพิมพ์: เลขหน้า.
ชื่อผู้เขียนบทความ (ถ้ามี).** ชื่อบทความ.** ชื่อหนังสือพิมพ์ * (วัน เดือน ปี ):*
เลขหน้า.
ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยให้ลง วัน เดือน ปี ตามลาดับ ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์
ภาษาต่างประเทศ ให้ลง วัน เดือน ปี ตามลาดับ
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. ข้าวไกลนา. สยามรัฐ (12 มกราคม 2519): 3.
Savareia, E. What’s right with sight and sound journalism. Saturday Review (2
October 1976): 18-21.
7กกบทความในสารานุกรมddการเขียนรายการบรรณานุกรมบทความในสารานุกรม
คล้ายกับรายการบรรณานุกรมบทความในวารสาร
ผู้เขียนบทความ.** ชื่อบทความ.** ชื่อสารานุกรม * เล่มที่ * (ปี พิมพ์): * เลขหน้า.
เจริญ อินทรเกษตร. ฐานันดร. สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 11 (2515-2516):
6912-6930.
Kaplan, L. Library cooperation in the United States. Encyclopedia of Library and
Information Science 15 (1975): 241-244.
8กกบทวิจารณ์หนังสือในวารสารddบทวิจารณ์หนังสือในวารสาร มีแบบการเขียน
บรรณานุกรม ดังนี้
ผู้เขียนบทวิจารณ์.** วิจารณ์เรื่อง * ชื่อหนังสือที่วิจารณ์.** โดย* ชื่อผู้แต่ง
หนังสือ.**ชื่อวารสาร * ปีที่ *(เดือน * ปี):* เลขหน้า.
เกศินี หงสนันท์. วิจารณ์เรื่อง การวัดในการจัดงานบุคคล. โดย สวัสด์ิ สุคนธรังสี.
วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 14 (กรกฎาคม 2517): 379-381.
Millar, T. B. Review of Three and a half powers: The new balance in Asia, by H.
C. Hinton. Pacific Affairs 49 (Spring 1976): 114-115.
9กกวารสารสาระสังเขปddบางครั้งการเรียบเรียบวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระจะ
อ้างถึงเฉพาะสาระสังเขป ที่พิมพ์ในวารสารสาระสังเขป(บทคัดย่อ) เช่น Dissertation Abstracts,
Chemical Abstracts, หรือ Psychological Abstracts ฯลฯ ในกรณีเช่นนี้ ให้ระบุว่าสาระสังเขปนั้น
มาจากแหล่งใด
Misumi, J., and Fujita, M. Effects of PM organizational development in
supermarket organization. Japanese Journal of Experimental Social Psychology 21 (1982): 93-
10กกวิทยานิพนธ์ddการเขียนรายการบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ให้ระบุชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ชื่อวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญา ชื่อสาขาหรือภาควิชา คณะ ชื่อ
มหาวิทยาลัย ปีพิมพ์
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์.** ชื่อวิทยานิพนธ์.** ระดับปริญญา,* ชื่อสาขาวิชาหรือ
ภาควิชา * คณะ * ชื่อมหาวิทยาลัย, * ปีพิมพ์.
1)ddชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์ddใช้หลักเดียวกับชื่อผู้แต่ง
2)ddชื่อวิทยานิพนธ์ddใช้หลักเดียวกับชื่อบทความในวารสาร ใช้ตัวหนาหรือ
ขีดเส้นใต้ และตามหลังชื่อวิทยานิพนธ์ด้วยเครื่องหมาย มหัพภาค (.)
3)ddระดับปริญญาddใช้คาว่า วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master’s
Thesis) สาหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและใช้คาว่าวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
(Doctoral dissertation) สาหรับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ตามด้วยสาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ
และชื่อมหาวิทยาลัย หลังข้อความนี้ ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
4)ddปีพิมพ์ddใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกของวิทยานิพนธ์ หลังปีพิมพ์ ใส่
เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ชุติมา สัจจานันท์. การสารวจสถานภาพการทางานของบัณฑิต (ปีการศึกษา
2502-2516) และมหาบัณฑิต (ปีการศึกษา 2507-2516) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518.
Buppha Devahuti. Use of computer in serials control in Thai libraries.
Master’s Thesis, Department of Library Science, Graduate School, Chulalongkorn University,
1975.
11กกรายงานการประชุมทางวิชาการddรายงานการประชุมทางวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่ใน
ลักษณะบทความ หรือบทหนึ่งในหนังสือรวมบทความ ให้ลงรายละเอียดในลักษณะเดียวกับ
รายการบรรณานุกรมของบทความในหนังสือ โดย ชื่อของการประชุมที่เป็นภาษาตะวันตก เช่น
ภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของแต่ละคาให้เขียนตัวใหญ่ทุกตัว ยกเว้นคาบุพบท(preposition)
คาสันธาน (conjunction) และคานาหน้านาม (article) ไม่ต้องพิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่ เว้นแต่คา
ดังกล่าวจะเป็นคาแรกของการประชุม
ผู้เขียนบทความ. ** ชื่อบทความ. ** ใน * ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม(ถ้า
มี), * ชื่อรายงานการประชุมทางวิชาการ, * เลขหน้า. ** สถานที่พิมพ์ :* สานักพิมพ์,*ปีพิมพ์.
Smith, D. R.; Aitken, J.; and Sweet, G. B. Vegetation amplification: An aid to
optimizing the attainment of genetic gains from Pinus radiata. In S. L. Krugman and M. Katsuta
(eds.), Proceedings Symposium on Flowering Physiology, XVII IUFRO World Congress, pp.
117-123. Japan, 1984.วิทย์ วิศทเวทย์. จริยธรรมในสังคมไทยในทัศนะของนักปรัชญา. ในรายงานการ
สัมมนาจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน, หน้า 103-112. 28-29 เมษายน 2522 ณ สถาบันเทคโนโลยี
แห่งเอเชีย จังหวัดปทุมธานี.
12กกจุลสาร เอกสารอัดสาเนา และเอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์อื่นๆddการเขียนรายการ
บรรณานุกรมใช้แบบเดียวกับหนังสือ และให้วงเล็บคาว่าอัดสาเนา หรือ (Mimeographed) ,
(พิมพ์ดีด) หรือ (Typewritten) , (เอกสารไม่ตีพิมพ์) หรือ (Unpublished Manuscript) แล้วแต่
กรณีและแล้วแต่ภาษาของสิ่งที่อ้างอิง ว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ โดยพิมพ์อยู่ในวงเล็บ
ไว้ ท้ายสุด ของบรรณานุกรม
วรรณี เมืองเจริญ. การให้ข้อติชมทางการศึกษา สาหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร: หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520. (อัดสาเนา)
ศิลปากร, กรม. ระเบียบการเข้าค้นคว้าเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร.
กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2517. (อัดสาเนา)
Economic and Social Commission for Asia and the Pacific. ESCAP trade
promotion centre: What it is, what it does, 1976-1977. Bangkok: ESCAP, 1976. (Mimeographed)
13กกการสัมภาษณ์กกการสัมภาษณ์ มีแบบเขียนบรรณานุกรมดังนี้
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.** ตาแหน่ง * (ถ้ามี).** สัมภาษณ์, * วัน * เดือน * ปี .
แม้นมาส ชวลิต. ผู้อานวยการกองหอสมุดแห่งชาติ. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2519.
Ross, R. Associate Director, Cornell University Libraries. Interview, 5 May
1980. Visidh Prachuabmoh. Director, Institute of Population Studies, Chulalongkorn University.
Interview, 25 February 1977.
14กกเอกสารที่อ้างถึงในเอกสารอื่นddการอ้างเอกสารซึ่งมีผู้กล่าวไว้ในเอกสารอื่นโดยที่
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ มิได้เคยอ่านหนังสือเล่มนั้น มีแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมดังนี้
ถ้าขึ้นต้นด้วยชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องเอกสารอันดับแรก ใช้ว่า “อ้างถึงใน” หรือ
“cited in” หน้าชื่อผู้แต่งชื่อเรื่องเอกสารอันดับรอง เช่น
อนุมานราชธน, พระยา. แหลมอินโดจีนสมัยโบราณ. พระนคร: สานักพิมพ์คลัง
วิทยา. 2479, อ้างถึงใน สายจิตต์ เหมินทร์. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปะลิส ของไทย
ให้แก่อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
แผนกวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2507.
French, L. S. “Is it really friendly?” PITT (February 1985): 19, อ้างถึงใน ศรีอร
เจนประภาพงศ์. ทัศนคติของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2529. หน้า 44.
15กกสื่อไม่ตีพิมพ์ddการเขียนรายการบรรณานุกรมสื่อไม่ตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนวัสดุ
ประเภทสไลด์ เทปบันทึกเสียง ฟิลม์สตริป ภาพยนตร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ เทป
บันทึกภาพ แฟ้ มข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีแบบการเขียนดังนี้
ชื่อผู้จัดทา.** (หน้าที่รับผิดชอบ-ถ้ามี).** ชื่อเรื่อง * [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ].** สถานที่
ผลิต: * หน่วยงานที่เผยแพร่,*ปีที่เผยแพร่
Mihalyi, Louis J. Landscape of Zambia [Slides]. Santa Barbara, Calif.: Visual
Education,1975.An Incident in Tiananmen Square [Films.16 mm, 25 min.]. Gate of Heaven
Films, San Francisco, 1990.
พ จน์ ส ารสิ น . ความอยู่รอดของเศรษ ฐกิจไท ย [บ ท วิท ยุออกอากาศท างส ถ านี
วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]. 13 เมษายน 2520.
16กกสื่อไม่ตีพิมพ์ระบบออนไลน์ddเป็นระบบการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ใช้
หลักการ Google Shortenner
5กกการเรียงลาดับบรรณานุกรม
บรรณานุกรมในวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ จะประกอบด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย
และภาษาต่างประเทศโดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
1กกแยกรายการภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกกโดยนาบรรณานุกรมภาษาไทยขึ้น
ก่อน เรียงจนจบแล้วจึงตามด้วยบรรณานุกรมภาษาต่างประเทศ (ไม่นิยมแยกบรรณานุกรมตาม
ประเภทของงาน เช่น หนังสือ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น)
2กกบรรณานุกรมภาษาไทยกกให้เรียงตามลา ดับอักษรตัวแรกที่ปรากฏ โดยใช้หลักการ
เรียงเช่นเดียวกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อักษรตัวแรกที่ปรากฏอาจเป็นชื่อผู้แต่ง ชื่อ
บทความหรือชื่อหนังสือในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง
3กกการเรียงลาดับบรรณานุกรมภาษาต่างประเทศกกมีวิธีการดังนี้
1(กกเรียงตามลาดับอักษรของชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก โดยเรียงทีละตัวอักษร เช่น
Allen, B. L.
Allen, R. B.
Allwood, C. M.
2(กกชื่อที่ขึ้นต้นด้วย M’ Mc หรือ Mac ให้เรียงตามอักษรที่ปรากฏ โดยไม่คานึงถึง
เครื่องหมาย’ และการออกเสียงที่เหมือนกัน เช่น
MacGregor, D.
McCleland, J. L.
McDonald, J.
3(กกชื่อสกุลที่มีคา นา หน้าและคา บุพบท เช่น de la du van von ฯลฯ เรียงตามกฎ
ของภาษานั้น ถ้าทราบว่าคานาหน้าเป็นส่วนหนึ่งของชื่อสกุล ให้ถือว่าเป็นชื่อสกุล
Davis, C. H.
De Mey, M.
Dervin, B.
Van Der Veer, G. C.
Van Zuaren, F. J.
Verplanken, B.
แต่ถ้าคา นา หน้าคา นั้นไม่เป็นที่คุ้นเคย เช่น Helmholtz มากกว่าจะเป็น von
Helmholtz ให้ถือคานาหน้านั้นเสมือนชื่อกลาง Holmholtz, H. L. F. von.
4.5.4กกงานหลายเรื่องโดยผู้แต่งคนแรกคนเดียวกัน
1(กกงานที่มีผู้แต่งคนเดียวกันปีต่างกันให้เรียงตามปี
Denin, B. (1991).
Denin, B. (1994).
2(กกงานที่มีผู้แต่งหลายคนเหมือนกัน ปีต่างกัน ให้เรียงตามปี
Carroll, J. M., and Olson, J. R. (1988).
Carroll, J. M., and Olson, J. R. (1990).
3(กกให้เรียงงานที่มีผู้แต่งคนเดียวก่อนงานที่มีผู้แต่งร่วม หลังจากนั้นให้เรียงตาม
อักษรชื่อผู้แต่งคนต่อ ๆ ไป
Wilson, T. D. (1994).
Wilson, T. D., and Shaw, D. D. (1990).
Wilson, T. D., Temple, L., and Show, D. D. (1989)
5กกงานหลายเรื่อง โดยผู้แต่งคนเดียวกันและปีเดียวกันกกให้เรียงตามอักษรตัวแรกของ
ชื่อเรื่อง โดยไม่คา นึงถึงคา นา หน้านาม a an the
Saracevic, T. (1991a). Nature of interaction…
Saracevic, T. (1991b). A study of information…
ข้อควรระวังคือปีที่อ้างถึงในเนื้อความจะต้องตรงกับบรรณานุกรม คือมี a b กากับ
ตรงกัน
6กกงานที่ผู้แต่งชื่อสกุล เหมือนกันแต่ชื่อตัวต่างกันกกให้เรียงตามชื่อย่อที่ตามมา
Ramsey, H. L. (1983).
Ramsey, R. J. (1990).
ข้อควรระวังคือ ในการอ้างถึงชื่อผู้แต่งในเนื้อความ ให้ลงชื่อย่อผู้แต่งกากับด้วย
7กกงานที่ผู้แต่งเป็นสถาบันกกให้เรียงตามอักษรตัวแรกของชื่อสถาบันที่สะกดเต็ม โดย
ชื่อหน่วยงานใหญ่มาก่อนหน่วยงานย่อย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สานักวิชาเทคโนโลยีสังคม. (2540).
8กกงานที่ไม่ปรากฏผู้แต่งกกให้เรียงตามชื่อหนังสือ ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความ ยกเว้นแต่
ว่างานนั้นระบุว่า Anonymous ให้ใช้คา ว่า Anonymous แทนชื่อผู้แต่ง และนับเรียงจากคานี้
คำค้น : คือ เว็บไซต์ รายงาน หนังสือ apa การ เขียน จาก เว็บไซต์ หลาย เว็บ ตัวอย่าง ตัวอย่าง ภาษาอังกฤษ ออนไลน์ วิจัย วารสาร วิธี เขียน จาก เว็บ การ เขียน เว็บไซต์ ไม่มี ผู้ แต่ง เขียน หนังสือ ตัวอย่าง เว็บไซต์ การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง การ เขียน จาก เว็บไซต์ รูป แบบ รูป แบบ การ เขียน แบบ apa การ เขียน วารสาร วิธี เขียน เว็บไซต์ เขียน จาก เว็บ เรียง การ เขียน ที่ ถูก ต้อง หมาย ถึง วิธี การ เขียน จาก เว็บไซต์ เว็บไซต์ ตัวอย่าง ตัวอย่าง รายงาน เขียน เว็บ โครงงาน วิทยานิพนธ์ อินเทอร์เน็ต อ้างอิง รายงาน การ พิมพ์ การ เขียน แบบ apa อินเตอร์เน็ต ภาษา ไทย การ อ้างอิง งาน วิจัย เขียน เว็บไซต์ ตัวอย่าง การ เขียน เว็บไซต์ การ ทำ วิธี เขียน รายงาน หนังสือ ภาษา ไทย การ เขียน อ้างอิง และ โครงการ จาก หนังสือ
ที่มา:catc.or.th/masterofmanagement/docs/thesistemplate/Detail_chapter_4.pdf
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
วิธีการขยายพันธุ์พืชมีอะไรบ้าง การขยายพันธุ์พืช 10 วิธี การขยายพันธุ์พืชมีกี่วิธี การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด การขยายพันธุ์พืชดอก การขยายพันธุ์พืชคืออะไร การ
การนอนหลับที่มีคุณภาพมีผลต่อ สุขภาพกายและจิตใจ เป็นอย่างมาก การนอนไม่พออาจนำไปสู่ปัญหา สุขภาพร่างกาย และ ความเครียด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ
ตัวอย่าง สระเสียงสั้น ยาว เขียน สะกด คํา ที่ ประสมสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว เช่น โต๊ะ สระเสียงสั้น เสียงยาว ป. 2 สระเสียงยาวมีอะไรบ้าง ตาราง สระเสียงสั้น
อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพราะเหตุใดกันอริยสัจ 4 ถือเป็นหัวใจของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเป็นหลักธรรมที่แสดงถึง
ความยุติธรรมในองค์การ ปัญหาความยุติธรรมในสังคมไทย นโยบายและการบริหารงานยุติธรรม หนังสือ ความยุติธรรมทางกฎหมาย คือ ความยุติธรรม คือ การบริหาร
ไฟล์สมุดรายรับรายจ่าย สมุดรายรับรายจ่าย ทําเอง สมุดบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน สมุดบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า สมุดบัญชีรายรับรายจ่าย excel ตัวอย่างสมุด