ภาษาถิ่น

พจนานุกรมพูดภาษาถิ่น 4 ภาค 100 MEANING เหนือใต้อีสานดังนี้จบ

Click to rate this post!
[Total: 280 Average: 5]

ภาษาถิ่น 4 ภาค

ภาษาไทยถิ่น ในประเทศไทยคนแต่ละภาคหรือแต่ละท้องถิ่นจะมีภาษา ที่ใช้ในการสื่อสารเป็นการ เฉพาะ เรียกว่าภาษาไทยถิ่น หรือภาษาท้องถิ่น หรือภาษาถิ่น ซึ่งแบ่งกว้างๆเป็น 4 ถิ่น คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นกลาง และภาษาไทยถิ่นใต้ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ภาษากลาง และภาษาใต้

ภาษาไทยถิ่นใช้ในการพูดมากกว่าการเขียนแต่ละภาษาอาจแตกต่างกัน ด้านเสียงคำและการใช้คำอย่างไรก็ดีคนไทยโดยทั่วไป ฟัง ผู้ ใด้ พูดภาษาไทยถิ่นแล้วย่อมทราบว่าผู้นั้นพูดภาษาไทยถิ่นใด

ภาษาไทยถิ่นของแต่ละภาคยังแยกย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาไทยถิ่นใต้ ยังมีภาษาที่ย่อยแตกต่างไปบ้าง เช่น ภาษาสงขลา ภาษานคร (นครศรีธรรมราช) ภาษาตากใบ (อำเภอในจังหวัดนราธิวาส) ภาษาสุราษฎร์ (สุราษฎร์ธานี) ผู้กำเนิดในท้องถิ่นใดผู้ที่สามารถใช้ภาษาไทยถิ่นใด ได้ควรภูมิใจในภาษาไทยถิ่นของตน ร่วมกันใช้สื่อสารในท้องถิ่น และในโอกาสอันควรรวมทั้งร่วมรักษาไว้ เป็นสมบัติของชาติต่อไป

เนื่องจากภาษาไทยถิ่นสามารถสะท้อนเรื่องราวประสบการณ์และวัฒนธรรมแขนงต่างๆของท้องถิ่นแสดงเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของผู้คนสังคมในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภาคได้เป็นอย่างดี

ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยมาตรฐานถือเป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีภาษาไทยถิ่นต่างๆ กันตามภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีหรือกาหนดให้ภาษาไทยถิ่นใดถิ่นหนึ่งเป็นภาษากลาง เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารร่วมกันทั่วประเทศ

ภาษากลางภาษาไทยกลาง หรือภาษาไทยมาตรฐาน ปัจจุบันถือเอาภาษาไทยกลางสำเนียงกรุงเทพฯ เป็นมาตรฐาน ใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการทั้งในวงราชการ สถานศึกษา สื่อมวลชนโดยทั่วไป และสถาบันต่างๆ ในสังคมไทยโครงการสื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรันราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ภาษาถิ่น 4 ภาค

ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ

และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น

ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่น ภาคกลาง

ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง   และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน

ภาษาถิ่น ภาคเหนือ

หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ

คำ

ความหมาย

คำ

ความหมาย

กิ๋น

กิน

กาด

ตลาด

กาดมั่ว

ตลาดเช้า

กาดแลง

ตลาดเย็น

กะเลิบ

กระเป๋า

เกือก

รองเท้า

เกี้ยด

เครียด

ขนาด

มาก

ขี้จุ๊

โกหก

ขี้ลัก

ขี้ขโมย

เข

บังคับ

ขัว

สะพาน

คุ้ม

วัง

เคียด

โกรธ

ง่าว

โง่

จั๊ดนัก

มาก

จ้อง, กางจ้อง

ร่ม, กางร่ม

เชียง

เมือง

ตุง

ธง

ตุ๊เจ้า

พระ

เต้า

เท่า

เตี่ยว, ผ้าเตี่ยว

กางเกง

บะเขือส้ม

มะเขือเทศ

บะกล้วยแต้ด

มะละกอ

ป้อ

พ่อ

ปิ๊ก

กลับ

ไผ

ใคร

ผ้าหัว

ผ้าขาวม้า

ม่วน

สนุก

เมื่อย

เป็นไข้, ไม่สบาย

เยียะ

ทำ

ละอ่อน

เด็ก

ลำ

อร่อย

สึ่งตึง

ซื่อบื้อ

หัน

เห็น

หื้อ

ให้

อุ๊ย

คนแก่

แอ่ว

เที่ยว

ฮัก

รัก

ฮู้

รู้

ภาษาถิ่น ภาคอีสาน

ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน

คำ

ความหมาย

คำ

ความหมาย

กะปอม

กิ้งก่า

กะต้า

ตะกร้า

เกิบ

รองเท้า

ข่อย

ฉัน, ผม

ข้อง

ติด, คา

คึดฮอด

คิดถึง

จังซั่น

อย่างนั้น

จังซี่

อย่างนี้

จังได๋

อย่างไร

จั๊ก

รู้

จ้อย

ผอม

จือ, จือจำ

จำ, จดจำ

แซบอีหลี

อร่อยจริง ๆ

เซา

หยุด

ซวด ๆ

ปรบมือ

โดน

นาน

ด๊ะดาด

มากมาย

ตั๊วะ

โกหก

แถน

เทวดา

เทื่อ

ที, หน, ครั้ง

ท่ง

ทุ่ง

ทางเทิง

ข้างบน

เบิ่ง

ดู

บักเสี่ยว

เพื่อนเกลอ

บักหุ่ง

มะละกอ

บักสีดา

ฝรั่ง

ผู้ใด๋

ใคร

ฟ้าฮ่วน

ฟ้าร้อง

ม่วน, ม่วนหลาย

สนุก, สนุกมาก

แม่น

ใช่

ย่าง

เดิน

ยามแลง

เวลาค่ำ

แลนหนี

วิ่งหนี

เว้าซื่อ ๆ

พูดตรงไปตรงมา

หนหวย

หงุดหงิด

อ้าย

พี่

เฮ็ด, เฮ็ดเวียด

ทำ, ทำงาน

ฮอด, เถิง, คิดฮอด

ถึง, คิดถึง

ภาษาถิ่น ภาคใต้

ภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป

พูด ภาษา ใต้

ภาษาไทยถิ่นใต้  (โดยย่อว่า ภาษาใต้) หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ภาษาหนาแน่นบริเวณสิบสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีบางส่วนกระจายตัวไปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตตะนาวศรีในประเทศพม่า และบริเวณรัฐเกอดะฮ์ รัฐปะลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวห้าล้านคน และอีกราว 1.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง ได้แก่กลุ่มชนเชื้อสายจีน เปอรานากัน มลายู อูรักลาโวยจ และมานิ  

นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีกลุ่มภาษาไทที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาตากใบ ภาษาสะกอม และภาษาพิเทน เพราะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้หรือภาษามลายู 

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้

คำ

ความหมาย

คำ

ความหมาย

กุบกั่บ

รีบร้อน

กางหลาง

เกะกะ

แกล้ง

ตั้งใจทำ

โกปี้

กาแฟ

ข้องใจ

คิดถึง, เป็นห่วง

ขี้หมิ้น

ขมิ้น

ขี้ชิด

ขี้เหนียว

แขบ

รีบ

ขี้หก, ขี้เท็จ

โกหก

แขว็ก

แคะ

เคร่า

คอย, รอคอย

เคย

กะปิ

ไคร้

ตะไคร้

ครกเบือ

ครก

คง

ข้าวโพด

งูบองหลา

งูจงอาง

ฉ่าหิ้ว

ตะกร้า

ชันชี

สัญญา

เชียก

เชือก

ตอเบา

ผักกระถิน

แตงจีน

แตงโม

โตน

น้ำตก

ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก

โลภมาก,อยากได้

ต่อเช้า

พรุ่งนี้

แต่วา

เมื่อวาน

น้ำเต้า

ฟักทอง

น้ำชุบ

น้ำพริก

เนียน

ละเอียด, ไม่หยาบ

เนือย

หิว, อ่อนแรง

ดีปลี,ลูกเผ็ด

พริก

เปรว

ป่าช้า

ผักแหวน

ใบบัวบก

พุงปลา

ไตปลา

พาโหม

กะพังโหม

ยิก

ไล่

ลอกอ

มะละกอ

ลกลัก

เร่งรีบ,ลนลาน

ลาต้า

อาการบ้าจี้

แลกเดียว

เมื่อตะกี้

ลูกปาด

ลูกเขียด

สากเบือ

สาก

ส้มนาว

มะนาว

หวันมุ้งมิ้ง

โพล้เพล้

หยบ

ซ่อน,แอบ

หล่าว

อีกแล้ว

หลบบ้าน

กลับบ้าน

หัว

หัวเราะ

หวังเหวิด

กังวล,เป็นห่วง

หย่านัด

สับปะรด

หย้ามู้, ยาหมู่,ชมโพ่

ฝรั่ง

หรอย

อร่อย

อยาก

หิว

ภาษาถิ่นตะวันออก
วิเศษ  ชาญประโคน (2550, หน้า 40-41) ได้กล่าวถึง ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น

คำ

ความหมาย

คำ

ความหมาย

กะแต่ง

ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า

เกียน

เกวียน

คุน,แมะ

ยาย

ตะโงน

ตะโกน

พอแรง

มาก

โพง

กระป๋องตักน้ำ

นักนั่ก

มากมาย,เยอะแยะ

ธุ

ไหว้

สงาด

เยอะ, มากมาย

สนุกซ้ะ

สนุกมาก

สะหม่า

ประหม่า

สารพี

ทัพพี

สีละมัน

ลิ้นจี่ป่า

หวด

กิน

หาบ

แบก

ลุ้ย, หลัว

เข่ง

อีโป้

ผ้าขาวม้า

อีแหวก

แมงกะชอน

เอ๊าะ

สาวรุ่น

ฮิ

คำสร้อย

อ๊อกอ้อ

ตุ๊กแก

เอี๊ยว

อ่อน

ตัวอย่าง ภาษาถิ่น

โกหก ภาษา ใต้

  • ขี้หก : โกหก / สับปลับ ความหมาย : พูดจาโกหกกลับไปกลับมาขี้หก

โกหกภาษาเหนือ

  • ขี้จุ๊ : โกหก

มะละกอภาษาใต้ มะละกอภาษาเหนือ

  • ใต้ : ลอกอ,แตหลา
  • เหนือ : บะก้วยเต๊ศ

สับปะรดภาษาเหนือ 

  • ภาคเหนือ เรียกว่า “บะนัด, บะขะนัด, บ่อนัด” 

คิดถึง ภาษา เหนือ

  • ภาคเหนือ : กึ๊ดเติง

ที่มา:
trueplookpanya.com/learning/detail/24904-036976

dltv.ac.th/utils/files/download/9079

คำค้น :  พูด4ภาคของใช้ 4ภาคฉัน ค่ะ/ครับใต้ 4ภาคฉัน บะก้วยเต้ด จักหมายถึง สายฮัด เผื่อน 4ภาคค่ะ/ครับ หัวสีไค ภาษาไทย4ภาค 4ภาคพ่อ 4ภาคป.3 ลําแต้ๆ จัดอยู่ในวิธภาษาใด ไถ่ ลํา สุน เปรียบเทียบ4ภาค ค่ะ/ครับ 4ภาคหมวดเครือญาติ ลอกอ จ้างไม้หมายถึง ปิ๊ก มะปราง ค่ะ/ครับ4ภาค ภาคอีสาน ฮุ้งคาวหมายถึง พระสงฆ์ เก็มๆหมายถึง ซามอ่าง เดือนออกหมายถึง อู้ คํา4ภาคของใช้ แซบ หัวครกแปลว่า สับปะรด4ภาค หัวครก ช้าง น้อยหน่า บุคคลคุ้นเคย วีหมายถึง หวัก ป.2 จ๊าง ดอกกุนหยี เหยี้ยมแปลว่า ภาษาถิ่น 4 ภาค ภาษาถิ่น 4 ภาค 

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
220279
ring
จดทะเบียนการค้า
217375
ประสบการณ์การดูการ์ตูนในโรงภาพยนตร์
isp
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172444: 2151