อาหาร
อาหาร ( food ) คือ สิ่งที่บริโภคเข้าไปแล้วให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยไม่มีพิษภัยหรือให้โทษแก่ร่างกายสารอาหาร ( nutrients) คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่ให้คุณค่าต่อร่างกายในด้านต่างๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
- สารอาหาร
การจำแนกสารอาหารสามารถทำได้ดังนี้
- จำแนกโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน
– พวกที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
– พวกที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
- จำแนกตามประเภทของสารเคมี
– พวกที่เป็นอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
– พวกที่เป็นอินทรีย์สาร ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
ประเภทของอาหาร แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี ที่มีอยู่ในอาหารได้ 6 ประเภทคือ
- คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate )
- โปรตีน ( protein )
- ไขมัน ( lipid )
- วิตามิน ( vitamin )
- แร่ธาตุ ( mineral )
- น้ำ ( water )
สารอาหารที่ให้พลังงาน
สารอาหาร ที่ให้พลังงาน ได้แก่
- โปรตีน
- คาร์โบไฮเดรต
- ไขมัน
โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ และพืชบางชนิด ดังนี้
1. โปรตีนที่ได้จากสัตว์ เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง พบมากในเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง หอย นม ไข่ เป็นต้น
2. โปรตีนที่ได้จากพืช พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วลิสง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เต้าฮวย เป็นต้น นอกจากนี้ในข้าวและข้าวโพดก็มีโปรตีนอยู่บ้าง อย่างไรก็ดี โปรตีนที่ได้จากพืชมีคุณภาพต่ำกว่าโปรตีนที่ได้จากสัตว์
ยกเว้น โปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. สร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้แก่ร่างกาย
2. ให้พลังงานแก่ร่างกาย โปรตีน1g จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
3. สร้างน้ำย่อย ฮอร์โมน น้ำมัน และสารภูมิคุ้มกันโรค
4. ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในหลอดเลือด เนื้อเยื่อ และเซลล์
5. ช่วยรักษาสมดุลของกรดและด่างของร่างกาย
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากใน ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวาน
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ให้พลังงานความอบอุ่นแก่ร่างกายคาร์โบไฮเดรต1g จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
2. ช่วยให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
3. เป็นพลังงานสำรอง โดยเก็บสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆ
4. เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายในการขจัดสารพิษในเลือด
ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันมีทั้งประเภทที่ได้มาจากพืช และได้จากสัตว์ ดังนี้
1. ไขมันจากพืช เหมาะสำหรับการบริโภค เพราะจะไม่อุดตันในเส้นเลือด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น
2. ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันวัว น้ำมันปลา เนย นม หากรับประทานมากจะเป็นอันตรายทำให้เป็นโรคหัวใจหรือไขมันอุดตันหลอดเลือด
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ให้พลังงานแก่ร่างกายไขมัน1g จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี
2. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
3. ช่วยป้องกัน การกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในของร่างกาย
4. ช่วยละลายวิตามิน เอ ดี อี และเค เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย
5. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย เช่น เนื้อสมอง เส้นประสาท เป็นต้น
6. เป็นพลังงานสำรอง โดยเก็บสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆ
7. กรดไขมันบางชนิดจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายและการสืบพันธุ์
สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานได้แก่
1. เกลือแร่
2. วิตามิน
3. น้ำ
เกลือแร่ เป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญต่อร่างกาย ได้แก่
แคลเซียม พบมากในนม ผลิตภัณฑ์จากนม สัตว์เล็กๆ ที่กินทั้งตัว เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้พบในไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักบุ้ง คื่นฉ่าย ใบยอ ผักโขม ตำลึง ยอดแค สะเดา เป็นต้น
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน
2. ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท
3. ช่วยให้เลือดแข็งตัว และทำให้เลือดหยุดเมื่อร่างกายได้รับบาดแผล
ฟอสฟอรัส พบมากในแหล่งอาหารเช่นเดียวกับแคลเซียม ที่สำคัญได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ทำงานร่วมกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน
2. ควบคุมการปล่อยพลังงานจากการเผาไหม้ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
3. ควบคุมความเป็นกรดและด่างในเลือด
4. เป็นส่วนประกอบของสมองและไขสันหลัง
เหล็ก พบมากใน ตับ หัวใจ เลือด เนื้อวัว ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบเขียว เช่น โหระพา ผักโขม ผักคะน้า ผักกระถิน เป็นต้น
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. เป็นส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือด
2. เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ โดยทำหน้าที่ขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเลทุกชนิด
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมธัยรอยด์ ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ควบคุมให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ
โซเดียม มีมากในเกลือและอาหารต่างๆที่มีส่วนผสมของเกลือ เช่น น้ำปลา กะปิ ไข่เค็ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอยู่ตามธรรมชาติใน นม เนยแข็ง ไข่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ช่วยทำให้น้ำในเนื้อเยื่อและในหลอดเลือดมีความสมดุล
2. ช่วยทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะการขับถ่ายของเสียทางไตและทางผิวหนัง
วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ให้พลังงานสามารถแบ่งตามละลายได้ 2 กลุ่มคือ
1. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซีและวิตามินบีรวม
2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ, ดี, อี , เค
วิตามินบี 1 ( ไธอามิน)
ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ช่วยในการทำงานของสมองในผู้สูงอายุ มีในข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ธัญพืช ขนมปังโฮลวีท และน้ำผึ้ง
วิตามิน บี 6 ( ไพริดอกซิน)
ช่วยสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายนำพลังงานจากโปรตีนมาใช้ มีในธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ลูกพรุน ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย ปลา เป็ด ไก่ เนื้อสัตว์
วิตามิน บี 12 ( โคโบลามิน)
จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดงกระตุ้นให้ร่างกายมีการใช้พลังงาน และช่วยบรรเทาอาการแพ้ ผื่นคัน มีในผลิตภัณฑ์นมเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล
กรดโฟลิค หรือวิตามิน บี 9
ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผม ผิวหนัง เม็ดเลือด เส้นประสาทและสมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ หากขาดกรดโฟลิคจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของสมอง มีมาก ในผักใบเขียวเข้มเครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
วิตามิน ซี
ป้องกันโรคหวัดและยังจำเป็นสำหรับการสร้างคอลลาเจน ซึ่งมีผลต่อการสมานของบาดแผล วิตามินซี มีมากในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว แอปเปิ้ล
วิตามิน ดี
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เองที่ผิวหนังจากแสงแดด วิตามินดี พบมากในปลา ไข่ เนย
วิตามิน อี
ป้องกันระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจจากการถูกทำลาย ช่วยให้ผิวหนังแข็งแรงและใช้รักษาภาวะมีบุตรยาก ช่วยรักษาแผลและลบเลือนแผลเป็น เราสามารถรับวิตามินอีได้จากจมูกข้าว น้ำมันพืช ผักใบเขียว ผลไม้เปลือกแข็ง
น้ำ เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ช่วยในการย่อยการดูดซึม และการไหลเวียนของสารต่างๆในร่างการ เป็นตัวทำงานสำหรับสารละลาย เคมีต่างๆทั้งที่เป็นอาหาร และสารอื่นๆ ทำให้สามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายได้ช่วยปกป้องเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาเป็นสื่อกลางกระบวนการทางชีวเคมีต่างๆในร่างกาย และรักษาสมดุลกรดด่าง ในร่างกายช่วยในการขนส่งสารต่างๆ ระหว่างเนื้อเยื่อ กับกระแสโลหิตช่วยในการกำจัดของเสียจากร่างกายเป็นปัสสาวะทางไต ทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่างๆ ในร่างกายควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย โดยเฉพาะการระบายน้ำจากผิวหนัง ลมหายใจ ใน คนที่ออกกำลังกาย จะมีการเผาผลาญในร่างกายเกิดความร้อน และขับออกทางเหงื่อ
คำค้น : 5 หมู่ 6 ประเภท 5 ประเภท ไข่1 ฟอง ไข่ไก่1ฟอง ตาราง 100 กรัม ไข่ 1 ฟอง ไข่ไก่ ฟักทอง อะโวคาโด ไข่ขาว 1 ฟอง ไข่ต้ม 1 ฟอง เนื้อหมู 100 กรัม ไข่ ลูกเดือย คือ ควินัว อกไก่ เลือดหมู อัลมอนด์ กระเทียม มะเขือเทศ เนื้อหมู ถั่วเหลือง กระท้อน แก้วมังกร น้ำเต้าหู้ 1 ถุง มะละกอ ไข่ไก่ 1 ฟอง 5 หมู่มีอะไรบ้าง บล็อคโคลี่ 6 ประเภท มี อะไร บาง เนื้อไก่ 100 กรัม ถั่วลูกไก่ 100 กรัม ไข่ต้ม มะม่วง มันฝรั่ง ผัก นม คืออะไร 6 ชนิด ชมพู่ หน่อไม้ ไก่ มือเหลือง ขาด อะไร ชีส น้ำ เปล่า มะยงชิด
ขอบคุณที่มา:bhumibolhospital.rtaf.mi.th
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 174351: 449