ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา สำคัญความลับที่ไม่มีใครรู้ 5 ความรู้?

Click to rate this post!
[Total: 249 Average: 5]

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา

ความหมายของภาษา

คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน

ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย
  2. ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ อวัจนภาษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้วัจนภาษามีความชัดเจนสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากท่าทางแล้วยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ อีกด้วย

ความสำคัญของภาษา

  1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
  2. ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน  การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
  3. ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย  เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
  4. ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์  ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม  กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา  เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น  จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
  5. ภาษาเป็นศิลปะ  มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา  กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน  เช่น  บุคคล  กาลเทศะ  ประเภทของเรื่องฯลฯ  การที่จะเข้าใจภาษา  และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย 

องค์ประกอบของภาษา

ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

  1. เสียง
    นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
  2. พยางค์และคำ
    พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น
    “ ปา” พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
    เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
    เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
    ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
  3. ประโยค
    เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
  4. ความหมาย
    ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
    (1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
    “ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
    (2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
    “ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
    “ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นของตนเองและมีความแตกต่างจากภาษาอื่นที่นำมาใช้ในภาษาไทย การใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องรู้จักภาษาไทยให้ดีเพื่อใช้ถ้อยคำได้อย่างถูกต้องตามลักษณะภาษาไทย

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย มีดังต่อไปนี้
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีคำใช้โดยอิสระไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาล เมื่อต้องการแสดงเพศ พจน์ กาล จะใช้คำอื่นมาประกอบหรืออาศัยบริบท ดังนี้
การบอกเพศ คำบางคำอาจบ่งชี้เพศอยู่แล้ว เช่น พ่อ หนุ่ม นาย พระ เณร ปู่ ลุง เขย เป็นเพศชาย ส่วนแม่ หญิง สาว ชี ย่า ป้า สะใภ้ เป็นเพศหญิง
การบอกเพศนั้นจะนำคำมาประกอบเพื่อบอกเพศ เช่น ลูกเขย ลูกสะใภ้ แพทย์หญิง ช้างพลาย นางพยาบาล บุรุษพยาบาล เป็นต้น

การบอกพจน์ คำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกจำนวน แต่จะใช้คำมาประกอบเพื่อบอกคำที่เป็นจำนวนหรือใช้คำซ้ำเพื่อบอกจำนวน เช่น
เธอเป็น โสด
บ้าน หลาย หลังถูกไฟไหม้
ลูก มาก จะยากจน
เด็กๆ วิ่งเล่นอยู่หน้าบ้าน

การบอกกาล ได้แก่ การบอกเวลาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จะใช้คำมาประกอบคำกริยาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำกริยา เช่น
พ่อได้ไปหาคุณย่ามา แล้ว (บอกอดีตกาล)
เมื่อปีกลายนี้ฉันไปฝรั่งเศส (บอกอดีตกาล)
เขา กำลังมาพอดี (บอกปัจจุบันกาล)
เดี๋ยวนี้เขายังอยู่ที่หัวหิน (บอกปัจจุบันกาล)
พรุ่งนี้ฉันจะไปหาเลย (บอกอนาคตกาล)
ตอนเย็นเธอมาหาฉันนะ (บอกอนาคตกาล)

คำไทยแท้ ส่วนมากมีพยางค์เดียว และมีความหมายสมบูรณ์ในตัว ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที เช่น
คำเรียกเครือญาติ พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง ลุง อา น้า ปู่ ตา ย่า ยาย
คำเรียกสิ่งของ โต๊ะ อ่าง ขวด ถ้วย จาน ชาม ไร่ นา บ้าน มีด
คำเรียกชื่อสัตว์ หมา แมว หมู หมา กา ไก่ งู วัว ควาย เสือ ลิง
คำเรียกธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ร้อน หนาว เย็น
คำสรรพนาม ท่าน ผม เธอ เรา สู เจ้า อ้าย อี
คำกริยา ไป นั่ง นอน กิน เรียก
คำลักษณะนาม ฝูง พวก กำ ลำ ต้น ตัว อัน ใบ
คำขยายหรือคำวิเศษณ์ อ้วน ผอม ดี เลว สวย เก่า ใหม่ แพง ถูก
คำบอกจำนวน อ้าย ยี่ สอง หนึ่ง พัน ร้อย แสน ล้าน มาก น้อย

ข้อสังเกต 
**คำที่มีมากพยางค์มักไม่ใช่คำไทยแท้ มีมูลรากมาจากภาษาอื่น
**ภาษาไทยอาจมีคำมากพยางค์ได้โดยวิธีการปรับปรุงศัพท์ โดยนำวิธีการลงอุปสรรคประกอบหน้าคำอย่างภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย ความหมายยังคงเดิม แต่กลายเป็นคำมากพยางค์ เช่น ประเดี๋ยว ประท้วง อีกวิธีหนึ่งคือ การกลายเสียงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา เช่น มะม่วง กลายเป็น หมากม่วง

คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น
มาตราแม่กก ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก
มาตราแม่กด ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด
มาตราแม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ
มาตราแม่กน ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน
มาตราแม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง
มาตราแม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม
มาตราแม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย
มาตราแม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว

คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย และบางคำยังมีการใช้ตัวการันต์เพื่อไม่ต้องออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นอีกด้วย เช่น
ภาษาบาลี มัจฉา อังคาร อัมพร ปัญญา
ภาษาสันสกฤต อาตมา สัปดาห์ พฤศจิกายน พรหม
ภาษาเขมร เสด็จ กังวล ขจร เผอิญ
ภาษาอังกฤษ ฟุต ก๊าซ ปอนด์ วัคซีน

ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์ต่างกันทำให้ระดับเสียงต่างกันและคำก็มีความหมายต่างกันด้วย การที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ คือภาษาไทยขยายตัวทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น
ขาว ข่าว ข้าว เสือ เสื่อ เสื้อ

ภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ำ ทำให้เกิดความไพเราะ ดังเห็นได้ชัดในบทร้อยกรอง
ภาษาไทยมีพยัญชนะที่มีพื้นเสียงต่างกัน เป็นอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ และมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เป็นเสียงสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา เป็น 5 ระดับเสียง ทำให้เลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง 

การสร้างคำ คำไทยเป็นคำพยางค์เดียวจึงไม่พอใช้ในภาษาไทย จึงต้องมีการยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ แล้วยังมีการสร้างคำใหม่ๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ การสมาส เป็นต้น 

การเรียงลำดับคำในประโยค ภาษาไทยถือว่าการเรียงคำในประโยคมีความสำคัญมาก ถ้าเรียงคำผิดที่ความหมายของประโยคจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะตำแหน่งของคำจะเป็นตัวระบุว่าคำนั้นมีหน้าที่และมีความหมายอย่างไร เช่น
คนไม่รักดี ไม่รักคนดี
พี่สาวให้เงินน้องใช้ น้องสาวให้เงินพี่ใช้

คำขยายในภาษาไทยจะเรียงหลังคำที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่คำที่แสดงจำนวนหรือปริมาณ จะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังคำขยายก็ได้ เช่น
เขาเดิน เร็ว (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย)
เขาสวมเสื้อ สีฟ้า (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย)
มากหมอก็ มากความ (คำบอกปริมาณอยู่หน้าคำที่ขยาย)
เขามาคน เดียว (คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ขยาย)

คำไทยมีคำลักษณนาม ซึ่งเป็นคำนามที่บอกลักษณะของนามข้างหน้า ซึ่งคำลักษณนามมีหลายชนิด ได้แก่
ลักษณะนามบอกชนิด เช่น ขลุ่ย 2 เลา
ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ 3 มวน
ลักษณะนามบอกหมวดหมู่ เช่น ทหาร 5 หมวด 

ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและมีจังหวะในการพูด หากแบ่งวรรคตอนไม่ถูกต้องความหมายจะไม่ชัดเจน หรือมีความหมายเปลี่ยนไป เช่น
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายความว่า นิ่งเสียดีกว่าพูด
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียตำลึงทอง หมายความว่า ยิ่งนิ่งยิ่งเสียมาก

ภาษาไทยเป็นคำที่มีการใช้คำเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส ลักษณะภาษาไทยในลักษณะนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษา และเป็นศิลปะของการใช้ภาษาโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมการใช้ภาษาที่เรียกว่า “ คำราชาศัพท์

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ใบส่งสินค้าชั่วคราว
สิทธิและความยุติธรรมแรงงาน
เครื่องรางฮ่องกงการเงิน
กฎของลูกเสือ
ganesh
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 180850: 882