โรงเรียนทางเลือก แรกมีที่ไหนบ้างใกล้ฉันรศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.?
โรงเรียนทางเลือก ใกล้ฉัน โรงเรียนทางเลือก กรุงเทพ โรงเรียนทางเลือก ประถม โรงเรียนทางเลือก มัธยมปลาย โรงเรียนทางเลือก ภาษาอังกฤษ โรงเรียนทางเลือก
โลกธรรม 8 หรือ เรื่องของโลก 8 ประการ มีความหมายและรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความหมาย
คำว่า “โลกธรรม” แปลว่า ธรรมะประจำโลก แต่ถ้าแปลอย่างนี้ อาจชวนให้เข้าใจผิดคือให้เห็นไปว่า โลกธรรมเป็นข้อปฏิบัติของชาวโลก เพราะคำว่า “ธรรม” ในความรู้สึกของคนทั่วไปมักถือว่าเป็นความดีทั้งนั้น แต่ในทางบาลีซึ่งเป็นที่มาของภาษา คำว่า “ธรรม” แปลได้หลายอย่าง คำว่า “โลกธรรม” นี้ ถ้าจะแปลให้ตรงความมุ่งหมาย ต้องแปลว่า “เรื่องของโลก” ซึ่งเป็นเรื่องราวธรรมดาที่เกิดขึ้นประจำโลก ใคร ๆ ก็ต้องพบ หลีกเลี่ยงไม่ได้
โปรดทำความเข้าใจอย่างนี้ก่อนคือสถานที่ต่าง ๆ มันมีเรื่องของมันประจำอยู่ เช่น ทะเลก็มีคลื่นซัดเข้าฝัง การที่คลื่นซัดเข้าฝังนั้นเป็นเรื่องของทะเล เรื่องของทุ่งนาก็มีคันนา มีวัวควายเรื่องของป่าก็มีต้นไม้ มีเถาวัลย์ เรื่องของภูเขาก็มีกรวดมีหิน ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างเขามีเรื่องของเขาอยู่อย่างนั้น
เรื่องของโรงหนังเขาก็ฉายหนัง เรื่องของโรงลิเกเขาก็แสดงลิเก ไม่ว่าเราจะเข้าไปหรือไม่เขาก็ฉายเขา ก็เล่นตามเรื่องของเขาอยู่อย่างนั้น
โลกที่เราอยู่นี้มันก็มีเรื่องที่เรียกว่า เรื่องของโลกหรือโลกธรรม เราจะมาเกิดในโลกนี้หรือไม่มาเกิดก็ตาม โลกเขาก็มีเรื่องของเขาอยู่อย่างนี้
การเรียนเรื่องของโลกมีประโยชน์มาก คนที่อยู่ในโลกแต่ไม่รู้เรื่องของโลก ย่อมเป็นคนที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะตนต้องการอย่างหนึ่ง แต่โลกกลับมีเรื่องอย่างหนึ่งให้ ซึ่งตนไม่ต้องการ หรือตนต้องการให้โลกเป็นอย่างนี้ แต่โลกกลับเป็นไปเสียอย่างนั้น หนักเข้าก็เสียอกเสียใจเป็นทุกข์ และอาจจะปล่อยตนให้ตกไปในทางชั่วทางเสียได้ การเรียนรู้เรื่องของโลกโดยถูกต้อง เป็นทางทำให้เรามีความทุกข์น้อยลง และตั้งมั่นอยู่ในความดีได้
2. องค์ประกอบ
ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกอยู่ และสัตวโลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่า โลกธรรม
โลกธรรม มี 8 อย่าง คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้รับสรรเสริญ ถูกนินทาได้สุข ได้ทุกข์
โลกธรรม 8 ถ้าจัดเป็นคู่จะได้ว่า มีอยู่ 4 คู่ คือ
1. ได้ลาภ-เสื่อมลาภ
2. ได้ยศ-เสื่อมยศ
3. ได้รับสรรเสริญ-ถูกนินทา
4. ได้สุข-ได้ทุกข์
แต่ถ้าจัดเป็นประเภทจะได้ 2 ประเภท คือ
1. อิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา น่าพึงพอใจ)ได้แก่ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับสรรเสริญได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ (ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพึงพอใจ) ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์
ในโลกธรรม 8 ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา
เนื่องจากการดำรงชีวิตของคนเราต้องอาศัยวัตถุปัจจัยต่าง ๆ เช่น เงิน ข้าว น้ำ เสื้อ ผ้า ยานพาหนะ และบ้านเรือน ตลอดจนปศุสัตว์ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนเราจึงมีความต้องการสิ่งเหล่านี้ทุกคน เมื่อได้มา ก็ถือว่าเป็นลาภและรู้สึกหวงแหนไว้เพื่อตน ครั้นสิ่งที่ตนได้มาเหล่านั้นมีอันพิบัติสูญเสียไป ซึ่งเรียกว่าเสื่อมลาภ จิตใจก็เป็นทุกข์ด้วยความเสียดาย
แต่ไม่ว่าใครจะเสียดายหรือไม่ก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างก็ย่อมเป็นไปตามวิถีทางของมัน คือเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นไป จนแล้วกลับรวย รวยแล้วกลับจน เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะนั่นเป็นเรื่องของโลก
คนที่ไม่ศึกษาเรื่องของลาภตามความเป็นจริง มักจะมีความคิดผิด ๆ เช่น
ฝ่ายผู้ศึกษาเรื่องโลกธรรม ย่อมเข้าใจความเป็นจริงว่า การได้ลาภก็ดี การเสื่อมลาภก็ดี เป็นธรรมดาของโลกสมบัติกับวิบัติเป็นของคู่กัน รู้ตัวอย่างนี้แล้วย่อมพยายามประคองใจของตนไม่ให้ทุกข์จนเกินเหตุ และไม่ให้แส่ไปในทางที่ผิด
ตัวอย่างในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องการได้ลาภและการเสื่อมลาภ
เรื่องกาฬพาหุชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัตผู้เสื่อมลาภสักการะจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
แท้จริง เมื่อพระเทวทัตผูกความโกรธอันไม่บังควรในพระตถาคต แล้วประกอบนายขมังธนู โทษผิดของพระเทวทัตนั้น ได้ปรากฏเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรี ลำดับนั้น คนทั้งหลายจึงพากันเลิกธุวภัตเป็นต้นที่เริ่มต้นไว้แก่เธอเสีย แม้พระราชาก็ไม่ทรงเหลียวแลพระเทวทัตนั้นพระเทวทัตนั้นเสื่อมลาภสักการะจึงเที่ยวขอใน กุลทั้งหลายบริโภคอยู่ ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตคิดว่า จักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้น
แม้แต่ลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจทำให้มั่นคง พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่าภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่ง นทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่ามิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นวานรเผือกชื่อราธะ มีบริวารมาก มีร่างกายบริบูรณ์ส่วนวานรน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อโปฏฐปาทะ พรานผู้หนึ่งจับวานรพี่น้องทั้งสองนั้นได้ จึงนำไปถวายพระเจ้าพาราณสี พระราชาโปรดให้ใส่วานรทั้งสองนั้นไว้ในกรงทอง ให้บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำตาลกรวดปรนนิบัติเลี้ยงดูอยู่สักการะได้มีอย่างมากมาย วานรทั้งสองนั้นได้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ ต่อมา พรานป่าคนหนึ่ง ได้นำเอาวานรดำใหญ่ตัวหนึ่ง ชื่อกาฬพาหุมาถวายพระราชา วานรกาฬพาหุนั้นมาทีหลัง จึงได้มีลาภสักการะมากกว่า ลาภสักการะของวานรเผือกทั้ง องก็เสื่อมถอยไป พระโพธิสัตว์มิได้พูดอะไรเลย เพราะประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ แต่วานรน้องชาย เพราะไม่มีลักษณะแห่งผู้คงที่จึงทนดูสักการะของกาฬพาหุวานรไม่ได้ได้พูดกะพี่ชายว่า ข้าแต่พี่เมื่อก่อน ในราชสกุลนี้ ย่อมให้ของกินมีรสดีเป็นต้นแก่พวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่ได้ เขานำไปให้เจ้าลิงกาฬพาหุเท่านั้น พวกเราเมื่อไม่ได้ลาภสักการะจากสำนักของพระเจ้าธนัญชัย จักทำอะไรอยู่ ณ สถานที่นี้ มาเถิดพี่ พวกเราไปอยู่ป่าเถิด
วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนน้องโปฏฐปาทะ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญสุขและทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เจ้าอย่าเศร้าโศกเลย จะเศร้าโศกไปทำไม
วานรโปฏฐปาทะได้ฟังดังนั้น เมื่อไม่อาจทำความริษยาในลิงกาฬพาหุให้หายไปได้ จึงกล่าวว่า ข้าแต่พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิตแท้ ย่อมรู้ถึงผลประโยชน์อันยังมาไม่ถึง ทำอย่างไรหนอ เราจะได้เห็นเจ้าสาขมฤคผู้ลามก ถูกเขาขับไล่ออกจากราช กุล
วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ลิงกาฬพาหุกระดิกหูและกลอกหน้ากลอกตา ทำให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียวพระทัยอยู่บ่อย ๆ มันจักทำตัวของมันเองให้จำต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ
ฝ่ายลิงกาฬพาหุ พอล่วงไป 2-3 วันเท่านั้น ก็ทำกระดิกหูเป็นต้นต่อหน้าพระราชกุมารทั้งหลาย ทำให้พระราชกุมารทั้งหลายกลัว พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้นตระหนกตกพระทัยกลัว ต่างทรงส่งเสียงร้อง พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกัน ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้วรับสั่งว่า จงไล่มันออกไป แล้วให้ไล่ลิงกาฬพาหุนั้นออกไป ลาภสักการะของวานรขาวทั้งสองก็ได้เป็นปกติตามเดิมอีก
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ลิงกาฬพาหุในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต วานรโปฏฐปาทะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ส่วนวานรราธะในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า การได้ลาภและการเสื่อมจากลาภนั้นเป็นของคู่โลก เกิดขึ้นสลับกันไปมาไม่แน่นอน ผู้เป็นบัณฑิตเมื่อทราบดังนี้แล้ว ย่อมจะไม่ทำความเสียใจให้เกิดขึ้นจนเกินไปในคราวที่ต้องเสื่อมจากลาภ และย่อมจะไม่ประมาทมัวเมาในคราวที่ได้ลาภมา ตั้งจิตของตนให้เป็นกลาง คงที่ ไม่หลงดีใจหรือเสียใจไปตามเหตุการณ์นั้น และไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจหรือไปอิจฉาริษยาใครในคราวที่เห็นผู้อื่นได้ลาภสักการะต่าง ๆ
ยศ แปลว่า ความยิ่ง หรือความเด่น ซึ่งหมายถึงความยิ่งของคน หรือความเด่นของคน
คนเรามีความยิ่งได้ 3 ทาง คือ
1. ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่ เรียกว่า อิสริยยศ
2. ยิ่งด้วยพวกพ้อง เรียกว่า บริวารยศ
3. ยิ่งด้วยชื่อเสียง เรียกว่า เกียรติยศ
รวมความว่า ยศมีอยู่ 3 อย่าง คือ อิสริยยศ บริวารยศ และเกียรติยศ
อิสริยยศ หมายถึงความเป็นใหญ่ เช่น ยศทหาร ยศตำรวจ หรือตำแหน่งหน้าที่ปกครองคนอื่นในทางพลเรือน มณศักดิ์และฐานะตำแหน่งทางสงฆ์ ความเป็นหัวหน้า ความเป็นประมุข หรือแม้แต่ความเป็นผู้มีอิ ระแก่ตัว รวมเรียกว่า อิสริยยศ
บริวารยศ หมายถึงความมีพวกพ้อง คือมีคนรักใคร่เคารพนับถือไม่ว่าจะอยู่ไหน ฐานะเพื่อนฝูงหรือผู้ร่วมงานก็ตาม ถ้ามีความรักใคร่นับถือกัน ก็เรียกว่าเป็นบริวารของกัน ความเป็นคนมีบริวารมาก นับว่าเป็นความเด่นอย่างหนึ่งของคนเรา
เกียรติยศ หมายถึงความเป็นคนมีชื่อเสียง แต่ชื่อเสียงที่นับว่าเป็นเกียรติยศหมายถึงชื่อเสียงที่เกิดจากความดีเท่านั้น เช่น เราทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ หรือมีคุณความดีเป็นที่นิยมของคนทั้งหลาย แล้วผู้คนแซ่ซ้องสรรเสริญ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้มีเกียรติยศ
ยศ เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้กฎธรรมดา คือมีเกิดมีดับ เพราะฉะนั้น ผู้มียศในวันนี้ อาจกลายเป็นผู้ไร้ยศในวันหน้าก็ได้ และโดยทำนองเดียวกัน ผู้ไร้ยศในวันนี้ ถ้าทำความดีให้ยิ่งขึ้นอาจเป็นผู้มียศในวันหน้าก็ได้
คนที่ไม่ศึกษาเรื่องของยศตามความเป็นจริง มักจะกระทำผิดต่อยศได้หลายทาง เมื่อยังไม่มียศก็เร่าร้อนกระวนกระวายเพราะอยากได้ยศ ครั้นเสื่อมยศ ก็เศร้า ร้อยน้อยใจ ประพฤติชั่วช้า ชักตัวออกห่างจากความดี
การรู้เรื่องยศตามความเป็นจริง ย่อมทำให้จิตใจเป็นสุข ไม่เห่อเหิมเสริมตัวเมื่อได้ยศและไม่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายจนเกินไปเมื่อเสื่อมยศ
ตัวอย่างในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องการได้ยศและการเสื่อมยศ
เรื่องที่ 1 เรื่องว่าด้วยยศและเกียรติ
ยศเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อันชนทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชานอบน้อมแล้ว เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า ยศเกียรติเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อันชนทั้งหลายสรรเสริญเกียรติคุณว่าเป็นบัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการห้ามภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้างเป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า เกียรติ
คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไปมีความว่า มัยต่อมา เมื่อภิกษุนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สิกขา เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ยศนั้นและเกียรตินั้นย่อมเสื่อมไปคือ เสื่อมรอบสิ้นไป หมดไปสูญไป ลายไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า ยศและเกียรติ เป็นของที่มีได้ก็เสื่อมได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติตนของคนคนนั้นว่า จะเป็นไปในทิศทางไหน
เรื่องที่ 2 เรื่องว่าด้วยความลำเอียงทำให้เสื่อมจากยศ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความลำเอียง 4 ประการนี้ ความลำเอียง 4 คืออะไร คือลำเอียงเพราะชอบกัน ลำเอียงเพราะชังกัน ลำเอียงเพราะเขลา ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แลความลำเอียง 4 ประการ บุคคลใดประพฤติล่วงธรรมเพราะความชอบกัน เพราะความชังกันเพราะความกลัว เพราะความเขลา ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ลำเอียง 4 ประการนี้ ความไม่ลำเอียง 4 คืออะไร คือไม่ลำเอียงเพราะชอบกัน ไม่ลำเอียงเพราะชังกัน ไม่ลำเอียงเพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภิกษุทั้งหลาย นี้แล ความไม่ลำเอียง 4 ประการ บุคคลใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะความชอบกันเพราะความชังกัน เพราะความกลัว เพราะความเขลา ยศของบุคคลนั้นย่อมเพิ่มพูน เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้นจากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า บุคคลที่ปราศจากความลำเอียงย่อมจะทำให้ยศของเขาเพิ่มพูนขึ้นได้ส่วนบุคคลที่มีความลำเอียงย่อมจะทำให้ยศของเขาเสื่อมลงได้ ดังนั้นให้เราฝึกเป็นผู้ที่ไม่มีความลำเอียงต่อใคร ๆ ก็จะเป็นผลดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
สรรเสริญ ได้แก่การกล่าวขวัญถึงความดี เรากล่าวขวัญถึงความดีของใคร จะต่อหน้าหรือลับหลังผู้นั้นก็ตาม เรียกว่าสรรเสริญผู้นั้น โดยทำนองเดียวกัน ถ้าใครกล่าวขวัญถึงความดีของเรา ก็เรียกว่าเขาสรรเสริญเรา การที่มีผู้สรรเสริญเช่นนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า ได้รับสรรเสริญนินทา ได้แก่การพูดถึงความไม่ดีของผู้อื่นในที่ลับหลัง เช่น การพูดถึงความผิดของใครในที่ลับหลังเขา เรียกว่านินทาเขา และผู้นั้นเป็นผู้ถูกเรานินทา โดยทำนองเดียวกัน ถ้ามีใครพูดถึงความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรา ก็เรียกว่าเขานินนทาเรา และเราเป็นผู้ถูกนินทา
แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า การพูดที่เป็นการนินทานั้นหมายถึงการพูดด้วยเจตนาจะประจานความไม่ดีของเขา ถ้าพูดเพื่อการอย่างอื่น เช่น ครูเล่าถึงความประพฤติชั่วของคนใดคนหนึ่งให้นักเรียนฟัง เพื่อมิให้นักเรียนถือเป็นตัวอย่าง หรือผู้มีหน้าที่หยิบยกความผิดของผู้ใดผู้หนึ่งปรึกษาหารือกัน เพื่อหาทางแก้ไขเป็นต้น ไม่จัดว่าเป็นการนินทา การนินทานั้นจำเพาะพูดด้วยเจตนาประจานเท่านั้น
การสรรเสริญ เป็นที่พอใจของผู้ได้รับ เพราะทำให้ใจเบิกบานมีความสุขส่วนการนินทาไม่มีใครชอบ คือไม่มีใครอยากจะให้คนอื่นมานินทาตัว
แต่เป็นธรรมดาของโลกอีกเหมือนกัน ที่คนเราทุกคนจะต้องถูกโลกธรรมทั้งสองอย่างมากระทบใจ ไม่มีใครเลยที่ได้รับแต่สรรเสริญอย่างเดียว และก็ไม่มีใครอีกเหมือนกันที่ถูกนินทาโดยส่วนเดียว แม้แต่พระพุทธองค์ผู้สิ้นกิเล แล้วไม่คิดชั่วทำชั่ว ก็ยังไม่พ้นจากคนนินทา
คนที่ไม่ศึกษาเรื่องโลกธรรม เมื่อได้รับ รรเสริญย่อมมัวเมาประมาท และเมื่อถูกนินทาย่อมทุกข์ระกำใจ แต่ผู้ได้ศึกษาโลกธรรมตามจริงย่อมเป็นผู้มีสติ คอยตักเตือนตนไม่ให้หวั่นไหวจนเกินไป ในเมื่อถูกนินทา หรือได้รับ รรเสริญก็ตาม
ตัวอย่างในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องการได้รับสรรเสริญและการถูกนินทา
เรื่องที่ 1 เรื่องควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีคนสรรเสริญหรือติเตียนพระรัตนตรัย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความอาฆาต โทมนัสแค้นใจในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายถึงรู้คำที่เป็นสุภาษิตของคนเหล่าอื่นได้ละหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรมหรือติพระสงฆ์ก็ตาม ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ นั้นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั้นก็ไม่มีในเราทั้งหลายและในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ก็ตามเธอทั้งหลายไม่ควรทำความเพลิดเพลินดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักเพลิดเพลินใจดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น ด้วยเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ก็ตามในคำที่เขากล่าวชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น
จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสสอนให้พระภิกษุ รู้จักวิธีวางตนและปฏิบัติตนให้เป็น เมื่อพบกับบุคคลที่อาจติเตียนหรือสรรเสริญต่อพระรัตนตรัยก็ตาม โดเยการค่อยๆ ชี้แจงไปตามความเป็นจริง ให้บุคคลเหล่านั้นได้รับทราบเพื่อไม่เป็นการก่อเวรต่อใครๆ และเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อพระภิกษุเองด้วย ซึ่งเหมาะสมต่อสมณสารูป และสมรภูมิต่อนักปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
เรื่องที่ 2 เรื่องผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบา กชื่ออตุละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
อตุละโกรธพระเรวตะเพรราะท่านไม่พูดด้วย
อตุละนั้นเป็นอุบาสกชาวกรุงสาวัตถี มีอุบาสกเป็นบริวาร 500 คน วันหนึ่ง พาพวกอุบาสกเหล่านั้นไปวิหาร เพื่อต้องการฟังธรรม ใคร่จะฟังธรรมในสำนักพระเรวตเถระ ไหว้พระเรวตเถระแล้วนั่ง ก็ท่านผู้มีอายุนั้น เป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้น เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนราชสีห์ ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น เขาโกรธว่า “พระเถระนี้ ไม่กล่าวอะไร” จึงลุกขึ้นไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อพระเถระกล่าวว่า “พวกท่านมาด้วยต้องการอะไร” จึงกล่าวว่า “ท่านขอรับ ผมพาอุบาสกเหล่านี้เข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม พระเถระไม่กล่าวอะไรแก่ผมนั้นเลย ผมนั้นโกรธท่านจึงมาที่นี้ ขอท่านจงแสดงธรรมแก่ผมเถิด” ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงนั่งเถิดอุบา กทั้งหลาย” แล้วแสดงอภิธรรมกถาอย่างมากมาย
อตุละโกรธคนผู้พูดมาก
อุบาสกโกรธว่า “ชื่อว่าอภิธรรมกถา ละเอียดยิ่งนักสุขุมยิ่งนัก พระเถระแสดงอภิธรรมอย่างเดียวมากมาย พวกเราต้องการอะไรด้วย พระอภิธรรมนี้” ดังนี้แล้ว ได้พาบริษัทไปยังสำนักพระอานนทเถระ
แม้เมื่อพระเถระกล่าวว่า “ทำไม อุบาสก” จึงกล่าวว่า “ท่านขอรับพวกผมเข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม ไม่ได้แม้แต่การสนทนาและปราศรัยในสำนักของท่าน เลยโกรธ แล้วจึงมายังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แม้พระเถระนั้น ก็แสดงอภิธรรมอย่างเดียวละเอียดนัก มากมายแก่พวกผม พวกผมโกรธแม้ต่อพระเถระนั่นว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยอภิธรรมนี้ แล้วจึงมาที่นี้ ขอท่านจงแสดงธรรมกถาแก่พวกผมเถิด ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงนั่งฟังเถิด พระเถระแสดงธรรมแก่พวกเขาแต่น้อย ๆ ทำให้เข้าใจง่าย
อตุละโกรธคนผู้พูดน้อย
พวกเขาโกรธแม้ต่อพระเถระแล้ว ก็ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพวกเขาว่า “อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน”
พวกอุบาสกกราบทูลว่า เพื่อต้องการฟังธรรม พระเจ้าข้า
พระบรมศาสดาตรัสว่า ก็พวกท่านฟังธรรมแล้วหรือ
พวกอุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เบื้องต้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาพระเรวตเถระ ท่านไม่กล่าวอะไรกับพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์โกรธท่านแล้ว จึงไปหาพระสารีบุตรเถระ พระเถระนั้นแสดงอภิธรรมแก่พวกข้าพระองค์มากมาย พวกข้าพระองค์กำหนดอภิธรรมนั้นไม่ได้ จึงโกรธ แล้วเข้าไปหาพระอานนทเถระ พระเถระนั้น แสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์น้อยนัก พวกข้าพระองค์โกรธแม้ต่อท่าน แล้วมาในที่นี้
การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า
พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า “อตุละ ข้อนั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว ชนทั้งหลายติเตียน ทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ แผ่นดินใหญ่ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประทับนั่งแ ดงธรรมในท่ามกลางบริษัท 4 บางพวกนินทา บางพวก สรรเสริญ ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียนจึงชื่อว่า เป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิต สรรเสริญแล้ว ชื่อว่าเป็นอัน รรเสริญ” ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
“อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของเก่า นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้ ชนทั้งหลายย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้ หากว่าวิญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ใครเล่าย่อมควรเพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว”
ในกาลจบเทศนา อุบาสกเหล่านั้นทั้ง 500 ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล
จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า ไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่เคยถูกนินทาและไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่เคยได้รับการสรรเสริญ กล่าวคือ ทั้งที่ผ่านมาในอดีต ในปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตคนเราทุกคนบนโลกนี้จะต้องได้รับทั้งการถูกนินทาและได้รับการสรรเสริญด้วยกันทั้งสิ้นไม่มีเว้นแม้แต่ผู้เดียว ดังนั้น ให้เราทุกคนทำใจให้เป็นกลาง หัดมองและทำความเข้าใจในความจริงข้อนี้ ก็จะทำให้เป็นผู้ที่ไม่ต้องประสบกับทุกข์เพราะถูกนินทา และไม่ประมาทมัวเมาขาดสติเมื่อได้รับคำสรรเสริญจากผู้อื่น
โลกธรรมคู่นี้ เป็นคู่รวมยอด คือสภาพความเป็นอยู่ของคนเรา เมื่อว่าอย่างรวมยอดแล้วมีอยู่สอง ภาพ คือสุขกับทุกข์ แม้โลกธรรมสามคู่ข้างต้น ถ้าจะว่าถึงผลกันแล้วก็รวมลงในข้อนี้ด้วยเหมือนกัน การที่คนเราอยากได้ลาภ อยากได้ยศ อยากได้รับสรรเสริญ ที่แท้ก็คืออยากได้สุข และที่พากันเกลียดความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ และการถูกนินทา ที่แท้ก็คือการเกลียดทุกข์
สุข และ ทุกข์ ในโลกธรรมข้อนี้หมายถึงความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจากเหตุสารพัดอย่าง เหตุที่ทำให้เกิดสุข เช่น รู้สึกแข็งแรง หายป่วย มีความร่ำรวยสอบได้ ชนะการแข่งขัน ฯลฯ ส่วนเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เช่น เจ็บป่วย ถูกจับกุมฟ้องร้อง ถูกทวงหนี้ อบตก ถูกดุ ถูกด่าพรากจากของรักสูญเสีย ฯลฯ
คนทุกคนชอบความสุข ไม่ชอบความทุกข์ แต่ธรรมดาของโลกบังคับทำให้การดำรงชีวิตต้องประสบกับความทุกข์บ้างความสุขบ้าง ต่างแต่ว่าใครจะมีอย่างไหนมากอย่างไหนน้อยและอย่างไหนจะมาถึงเราก่อนหรือหลังเท่านั้น
สิ่งที่แน่นอนที่สุด คือ ความสุขกับความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่เราสลับกันไป เมื่อเรามีความสุขก็พึงทราบเถิดว่า หมดสุขนั้นแล้วความทุกข์ก็จะมา และเมื่อเราอยู่ในทุกข์ก็พึงปลอบใจตนเองไว้ว่า ต่อจากทุกข์นั้นก็จะเป็นความสุข เช่นเดียวกับกลางวันกลางคืนที่เกิดขึ้น ลับกันไปเมื่อเราเห็นกลางวันก็รู้ว่าต่อจากกลางวันก็จะเป็นกลางคืน และเมื่อกลางคืนมาก็รู้ว่ากลางวันก็จะตามหลังกลางคืนมาด้วย
ผู้ไม่รับรู้ในโลกธรรมตามความเป็นจริง ย่อมหลงใหลเมื่อได้สุข และน้อยเนื้อเสียใจจนถึงกับฆ่าตัวตาย หรือทำผิดคิดชั่วเมื่อเผชิญกับความทุกข์
ตัวอย่างในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องการได้รับความสุขและการได้รับความทุกข์
เรื่องที่ 1 เรื่องพระมหากัสสปะไม่ยึดติดกับความสุขที่ได้รับ
ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์ รับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “โดยกาลล่วงไปกึ่งเดือนเราจักหลีกไปสู่ที่จาริก”
การที่พระพุทธองค์ทรงมีรับสั่งดังนี้ ด้วยทรงประสงค์ว่า “ภิกษุทั้งหลายจักทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรและย้อมจีวรเป็นต้นของตนแล้ว จักไปตามสบาย ด้วยอาการอย่างนี้” นี้เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีพระประ งค์จะเสด็จจาริกไปกับพวกภิกษุ ก็เมื่อภิกษุจีวรทั้งหลายแล้ว
พวกภิกษุว่าพระเถระละญาติและอุปัฏฐากไปไม่ได้
พวกภิกษุยกโทษว่า “เพราะเหตุไร พระเถระจึงซักจีวร ในพระนครนี้ ทั้งภายในและภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ 18 โกฏิ บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดไม่เป็นญาติของพระเถระ พวกนั้นเป็นอุปัฏฐาก พวกใดไม่เป็นอุปัฏฐาก พวกนั้นเป็นญาติ ชนเหล่านั้นย่อมทำความนับถือ (และ) สักการะแก่พระเถระด้วยปัจจัย 4 พระเถระนั้น จักละอุปการะมีประมาณเท่านั้น ไป ณ ที่ไหนได้แม้หากพึงไปได้ ก็จักไม่ไปเลยจากซอกชื่อมาปมาทะ
ดังได้สดับมา พระศาสดาเสด็จถึงซอกใดแล้ว ย่อมตรัสบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรที่พระองค์พึงให้กลับอีกว่า “เธอทั้งหลายจงกลับเสียแต่ที่นี้ อย่าประมาท” ซอกนั้นชาวโลกเรียกว่า “ซอกมาปมาทะ” คำนั่นภิกษุทั้งหลายกล่าวหมายเอาซอกมาปมาทะนั้น
รับสั่งให้พระมหากัสสปะกลับ
แม้พระบรมศาสดาเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกพลางดำริว่า “ในนครนี้ทั้งภายใน ทั้งภายนอกมีมนุษย์อยู่ 18 โกฏิ อันภิกษุจะต้องไปในที่ทำการมงคลและอวมงคลของมนุษย์ทั้งหลายมีอยู่ เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้ เราจักให้ใครหนอแลกลับ”
ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า “ก็พวกมนุษย์เหล่านั้น เป็นทั้งญาติเป็นทั้งอุปัฏฐากของกัสสป เราควรให้กั ปกลับ” พระองค์ตรัสกะพระเถระว่า “กัสสป เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้ ความต้องการด้วยภิกษุในที่ทำมงคลและอวมงคลทั้งหลายของพวกมนุษย์มีอยู่ เธอกับบริษัทของตน จงกลับเถิด” พระเถระทูลว่า “ดีละพระเจ้าข้า” แล้วพาบริษัทกลับ
ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเห็นไหมละ พวกเราพูดประเดี๋ยวนี้เองมิใช่หรือ คำที่พวกเราพูดว่า ‘เพราะเหตุไร พระมหากัสสปะจึงซักจีวร ท่านจักไม่ไปกับพระศาสดา’ ดังนี้นั่นแลเกิด (เป็นจริง) แล้ว”
ทรงชี้แจงเหตุที่พระมหากัสสปะกลับ
พระศาสดาทรงบสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จกลับประทับยืน ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวชื่ออะไรกันนั่น” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์ กล่าวปรารภพระมหากัสสปเถระพระเจ้าข้า” ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตามแนวความที่ตนกล่าวแล้วนั่นแล
พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าว (หา) กัสสปว่า ‘ข้องแล้วในตระกูลและในปัจจัยทั้งหลาย’ (แต่ความจริง) เธอกลับแล้ว ด้วยทำในใจว่า ‘เราจักทำตามคำของเรา (ตถาคต)’ ก็กัสสปนั่น แม้ในกาลก่อน เมื่อจะทำความปรารถนานั่นแล ก็ได้ทำความปรารถนาว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่ข้องในปัจจัย 4 มีอุปมาดังพระจันทร์สามารถเข้าไปตระกูลทั้งหลายได้’ กัสสปนั่น ไม่มีความข้องในตระกูลหรือในปัจจัยทั้งหลาย เราเมื่อจะกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ ก็กล่าวอ้างกัสสปให้เป็นต้น”
พระศาสดาตรัสบุรพจริตของพระเถระ
ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระบรมศาสดาว่า “ก็พระเถระตั้งความปรารถนาไว้เมื่อไรพระเจ้าข้า”
พระศาสดา. พวกเธอประสงค์จะฟังหรือ ภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า
พระบรมศาสดา ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในที่สุดแห่งแสนกัลปแต่กัลปนี้ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก” ดังนี้แล้ว ตรัสความประพฤติในกาลก่อนของพระเถระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ท่านตั้งความปรารถนาไว้ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ตรัสเปรียบพระเถระด้วยพระยาหงส์
ก็พระศาสดาครั้นตรัสบุรพจริตของพระเถระนี้ให้พิ ดารแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายเพราะอย่างนี้แล เราจึงกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ อ้างเอากัสสปบุตรของเราให้เป็นต้น ชื่อว่าความข้องในปัจจัยก็ดี ตระกูลก็ดี วิหารก็ดี บริเวณก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา บุตรของเราไม่ข้องในอะไร ๆ เลย เหมือนพระยาหงส์ ร่อนลงในเปือกตม เที่ยวไปในเปือกตมนั้นแล้ว ก็บินไปฉะนั้น” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
“ท่านผู้มีสติย่อมออก ท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น”
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า พระมหากัสสปะผู้เป็นพระอรหันต์หมดกิเล แล้ว ย่อมไม่ข้องคือไม่ยึดติดอาลัยอาวรณ์ในสิ่งต่าง ๆ ที่อำนวยความสุขแก่ท่าน เมื่อมีอยู่ก็ใช้ด้วยความไม่ประมาทมัวเมาหรือยึดติด เมื่อต้องจากสิ่งอำนวยความสุขความสะดวกต่าง ๆ ที่เคยมีไป ท่านก็ไม่รู้สึกทุกข์หรือหวั่นไหวแต่ประการใดเลย เพราะท่านเป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมแล้วนั่นเอง
เรื่องที่ 2 เรื่องนางมัลลิกาไม่มีความเสียใจแม้ต้องประสบกับความทุกข์ใหญ่หลวง
เรื่องโดยย่อมีดังนี้…
พันธุลเสนาบดีถูกฆ่าพร้อมทั้งบุตร
อยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์แพ้ความด้วยคดีโกงในการวินิจฉัย เห็นพันธุละกำลังเดินมาร่ำร้องกันใหญ่ แจ้งการกระทำคดีโกงของพวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัย แก่พันธุละนั้น
พันธุละไปสู่โรงวินิจฉัย พิจารณาคดีนั้นแล้ว ได้ทำผู้เป็นเจ้าของนั่นแล ให้เป็นเจ้าของมหาชนให้สาธุการเป็นไปด้วยเสียงอันดัง
พระราชาทรงสดับเสียงนั้น ตรัสถามว่า “นี่อะไรกัน” เมื่อทรง ดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงโสมนัสให้ถอดพวกอำมาตย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงมอบการวินิจฉัยแก่พันธุละเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา พันธุละก็วินิจฉัยโดยถูกต้อง จำเดิมตั้งแต่วันนั้นมา พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยรุ่นเก่า ไม่ได้ค่าจ้าง มีรายได้น้อย ยุยงในราชตระกูลว่า “พันธุละปรารถนาเป็นพระราชา”
พระราชาทรงเชื่อคำของอำมาตย์เหล่านั้น มิได้อาจจะทรงข่มพระหฤทัยได้ ทรงดำริอีกว่า “เมื่อพันธุละถูกฆ่าตายในที่นี้นั่นแล ความครหาก็จักเกิดแก่เรา” ทรงมีรับสั่งให้บุรุษที่แต่งไว้โจมตีปัจจันตนครแล้วรับสั่งให้หาพันธุละมา ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “ทราบว่า จังหวัดปลายแดน โจรกำเริบขึ้น ท่านพร้อมทั้งบุตรของท่านจงไปจับโจรมา” แล้วทรงส่งนายทหารผู้ใหญ่ซึ่งสามารถเหล่าอื่น ไปกับพันธุลเสนาบดีนั้นด้วยพระดำรัสว่า “พวกท่านจงตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร 32 คน ในที่นั้นแล้วนำมา”
เมื่อพันธุละนั้นพอถึงจังหวัดปลายแดน พวกโจรที่พระราชาทรงแต่งไว้ กล่าวกันว่า “ทราบว่า ท่านเสนาบดีมา” แล้วพากันหลบหนีไป
พันธุลเสนาบดีนั้น ยังประเทศนั้นให้สงบราบคาบแล้ว ก็กลับมา ลำดับนั้น ทหารเหล่านั้นก็ตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมกับบุตรทั้งหมดในที่ใกล้พระนคร
นางมัลลิกาเทวีไม่มีความเสียใจ
วันนั้น นางมัลลิกาเทวีนิมนต์พระอัครสาวกทั้ง องพร้อมทั้งภิกษุ 500 รูป ครั้นในเวลาเช้า พวกคนได้นำหนังสือมาให้นาง เนื้อความว่า “โจรตัดศีรษะสามีพร้อมทั้งบุตรของท่าน” นางรู้เรื่องนั้นแล้ว ไม่บอกใคร ๆ พับหนังสือใส่ไว้ในพกผ้า อังคา ภิกษุสงฆ์เรื่อยไป
ขณะนั้นสาวใช้ของนางถวายภัตแก่ภิกษุแล้ว นำถาดเนยใสมา ทำถาดแตกตรงหน้าพระเถระ พระธรรมเสนาบดีกล่าวว่า “สิ่งของมีอันแตกเป็นธรรมดา ก็แตกไปแล้ว ใคร ๆ ไม่ควรคิด”
นางมัลลิกานั้น นำเอาหนังสือออกจากผ้า เรียนท่านว่า “เขานำหนังสือนี้มาให้แก่ดิฉันเนื้อความว่า ‘พวกโจรตัดศีรษะสามีพร้อมด้วยบุตร 32 คน’ ดิฉันแม้ ดับเรื่องนี้แล้ว ก็ยังไม่คิดเมื่อ (เพียง) ถาดเนยใสแตก ดิฉันจักคิดอย่างไรเล่า เจ้าข้า”
พระธรรมเสนาบดีกล่าวคำเป็นต้นว่า “ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ ไม่มีนิมิต ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ ทั้งฝดเคือง ทั้งน้อย และชีวิตนั้นซ้ำประกอบด้วยทุกข์” แสดงธรรมเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะได้ไปวิหารแล้ว
ฝ่ายนางมัลลิกาให้เรียกบุตรสะใภ้ทั้ง 32 คนมาแล้วสั่งสอนว่า “สามีของพวกเธอไม่มีความผิด ได้รับผลกรรมในชาติก่อนของตน เธอทั้งหลายอย่าเศร้าโศก อย่าปริเทวนาการ อย่าทำการผูกใจแค้นเบื้องบนพระราชา”
จารบุรุษของพระราชา ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว กราบทูลความที่ชนเหล่านั้นไม่มีโทษแด่พระราชา พระราชาทรงถึงความ ลดพระหฤทัยเสด็จไปนิเวศน์ของนางมัลลิกานั้น ให้นางมัลลิกาและหญิงสะใภ้ของนางอดโทษแล้ว ได้พระราชทานพรแก่นางมัลลิกา นางกราบทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ลูกสะใภ้ 32 คนของหม่อมฉัน และตัวหม่อมฉัน กลับไปเรือนแห่งตระกูลเถิด”
พระราชาทรงรับแล้ว นางมัลลิกาส่งหญิงสะใภ้ 32 คน ไปสู่ตระกูลของตน ๆ ด้วยตนเองส่วนนางได้ไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนในกุสินารานคร…
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า นางมัลลิกาเป็นผู้เข้าใจในโลกธรรมเป็นอย่างดี ว่าต้องมีเกิดมีดับ มีความสูญเสียไปเป็นธรรมดาสุขและทุกข์เป็นของคู่โลก เกิดขึ้นหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้นเมื่อต้องประสบกับทุกข์อย่างใหญ่หลวงจากการสูญเสียหลวงจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง คือสามีและบุตรชายทั้ง 32 คน นางก็ยังคงรักษาใจให้เป็นปกติอยู่ได้ เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถทำให้เรื่องจบลงด้วยดีได้ในที่สุด ไม่ได้เคียดแค้น ผูกพยาบาท หรือตีอกชกต่อย ร่ำไห้พิไรรำพันกับความทุกข์ที่ได้รับในครั้งนี้แต่อย่างใด มกับเป็นพุทธศาสนิกชนที่ฝึกฝนอบรมตนเองมาแล้วเป็นอย่างดี
3. ข้อควรรู้
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คืออะไร ?
จิตหวั่น คือความหวั่นหวาดกังวล กลัวว่าจะประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ
จิตไหว คือความปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักที่ชอบใจ
โลกธรรม คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นประจำโลก ใคร ๆ ก็ต้องพบ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสบ มีอยู่ 8 ประการ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
ก. ฝ่ายที่คนทั่วไปปรารถนาอยากได้ คือ
ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ ยังไม่ได้ก็คิดหา ครั้นหาได้แล้วก็คิดหวง หวงมาก ๆ เข้าก็หึง การที่จิตมีอาการ หวงห่วงหึง นี่แหละ เรียกว่า จิตไหว
ข. ฝ่ายที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตน คือ
ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อยังมาไม่ถึงจิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้วก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึงอะไร ?
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึง ภาพจิตของผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้ว มีใจตั้งมั่นเกิดความมั่นคงหนักแน่นดุจขุนเขา เป็นอุเบกขาวางเฉยได้
เมื่อพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ จิตก็ไม่หวั่น
เมื่อพบกับความได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ เป็นสุข จิตก็ไม่ไหว
เพราะรู้เท่าทันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนอะไร ลาภ มีได้ก็เสื่อมได้ ยศตำแหน่งใหญ่โตก็ไม่ใช่ของเราตลอดไปสรรเสริญ นินทาสุข ทุกข์ ทุกคนต้องพบทั้งนั้น และในที่สุดก็ต้องเสื่อมหายไปเป็นธรรมดาตามกฎของไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสามัญลักษณะ คือลักษณะประจำของทุกสรรพสิ่งในโลก
ของต่าง ๆ ในโลกก็มีคุณสมบัติต่างกันไป เช่น ทองก็มีสีออกเหลือง ๆสะท้อนแสงมีประกายแวววาว กระจกก็ใสคนเราก็มีชีวิตจิตใจรู้จักคิด เพชรก็แข็ง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม จะมีลักษณะ 3 ประการ ที่เหมือนกันหมดคือ
1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่หยุดอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เช่น บ้านเรือนก็ต้องเก่าคร่ำคร่าทรุดโทรมไป คนเราวันนี้กับเมื่อวานก็ไม่เหมือนกัน มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา
2. ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเป็นทุกข์ร้องไห้น้ำตาตกเท่านั้น แต่หมายถึงการคงอยู่ใน ภาพเดิมไม่ได้ ต้องแตกดับเพราะเมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ แล้วมันก็ต้องแตกดับ เช่น บ้านก็ต้องพัง คนเราก็ต้องตาย แม้โลกที่เราอยู่นี้ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และวันหนึ่งก็ต้องทำลายลง
3. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้บังคับบัญชาไม่ได้ เช่น ตัวเราจะบังคับไม่ให้แก่ก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้ป่วยไข้ก็ไม่ได้ บ้านบังคับไม่ให้เก่าก็ไม่ได้ แต่ตัวของเราถ้ามาแยกธาตุกันจริง ๆ แล้วก็จะพบว่าประกอบขึ้นด้วยเลือด เนื้อ กระดูก ฯลฯ เท่านั้น หาตัวตนจริง ๆ ไม่เจอ เป็นเพียงการประชุมแห่งธาตุประกอบกันขึ้นมาชั่วคราว พอตายธาตุต่าง ๆ ก็แยก ลายจากกัน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
คนทั้งโลกมองไม่เห็นไตรลักษณ์ จึงลุ่มหลงมัวเมายินดียินร้ายหวั่นไหวในโลกธรรม ต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอดมา
ผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้ว ท่านเห็นธรรมกายเห็นพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมขันธ์อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ มีลักษณะเป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ตามใจนึก จึงไม่ใยดี
ในโลกธรรม ไม่ขุ่นมัว ไม่หลงใหล ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ซึ่งเป็นของไม่เที่ยงอยู่ในกฎของไตรลักษณ์
ท่านจะได้ลาภ ได้ยศ มีคนสรรเสริญยกย่อง หรือเป็นสุข ท่านก็เฉย ๆ จิตไม่ไหว
ท่านจะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้าย หรือตกทุกข์ ท่านก็เฉย ๆ จิตไม่หวั่น
คนทั่วไปเวลาป่วยไข้ มักเกิดความทุกข์ทั้งกายทั้งใจ แต่ผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วใจจรดอยู่ในพระนิพพาน จะเกิดความทุกข์อะไรอันเนื่องมาจากสังขารนี้ก็ตาม ทุกข์นั้นจะหยุดอยู่แค่กาย กินเข้าไปไม่ถึงใจท่าน ท่านมีจิตที่มั่นคงตลอด
รวมความว่า โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้ายปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้นส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่าสิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น
ข้อเตือนใจ
โบราณท่านสอนว่า อยากจะรู้ว่าใครถึงคราวตกทุกข์ได้ยากแล้วจะพิลาปรำพันโอดครวญแค่ไหน ให้ดูอย่างนี้
ถ้าคนนั้นเวลาดีใจ ได้ของถูกใจ ก็หัวเราะฮ่า ๆ ก็รู้เลยว่า เมื่อถึงคราวเสียใจ เสื่อมลาภเขาก็จะร้องไห้โ ๆ เป็นช้างร้องเชียว
ตรงกันข้าม ถ้าเวลาดีใจเขาก็แค่ยิ้ม ๆ ก็รู้เลยว่าถึงตอนเสียใจ อย่างมากก็คงจะแค่กัดฟันหรืออึดใจสักอึด องอึดแล้วก็หาย นี่เป็นอย่างนี้
ท่านจึงให้ข้อเตือนใจไว้ว่า “ถ้าดีใจก็จงยิ้มเพียงมุมปากเดียว เมื่อถึงคราวเสียใจจะได้ไม่ถึงกับร้องไห้”
และยังให้กำลังใจสำหรับผู้ตกอยู่ในความทุกข์อีกว่า
ยิ่งมืดเท่าไร แสดงว่ายิ่งดึก
ยิ่งดึกเท่าไร ก็แสดงว่ายิ่งใกล้สว่าง
เพราะฉะนั้น จะเจอความทุกข์ขนาดไหน ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาปานใดสู้ทนทำความดีไปเถิด ยิ่งเจอหนักมากขึ้นแ ดงว่ามันใกล้จะพ้นแล้วละ เหมือนยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง
นอกจากนี้เราทุกคนจะต้องตั้งใจฝึกสมาธิภาวนากัน จนใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายรมกายในตัว ใช้ธรรมกายพิจารณาอริยสัจ 4 และทำพระนิพพานให้แจ้งให้ได้ จึงจะมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมอย่างแท้จริง
สมดังกับที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ใน โลกธรรมสูตร ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการ 8 ประการเป็นไฉน คือ ลาภ 1 ความเสื่อมลาภ 1 ยศ 1 ความเสื่อมยศ 1 นินทา 1 สรรเสริญ 1สุข 1 ทุกข์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้แลย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการนี้
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ 1 ความเสื่อมลาภ 1 ยศ 1 ความเสื่อมยศ 1 นินทา 1 สรรเสริญ 1สุข 1 ทุกข์ 1 เป็น ภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝังแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง
4. อานิสงส์
ผู้ที่ศึกษาจนรู้และเข้าใจในเรื่องโลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้แล้ว ย่อมจะทำให้
1. เกิดสติปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริงตามธรรมดาของโลกว่า ทุกอย่างมีเกิดก็มีดับแปรเปลี่ยนไม่คงที่ ทำให้เมื่อต้องประสบกับความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์ก็ไม่เป็นทุกข์เสียใจจนเกินไป หรือเมื่อต้องประสบกับการได้ลาภ ได้ยศ ได้รับสรรเสริญ ได้สุขก็ไม่มัวเมาประมาท แต่กลับใช้สิ่งที่ดีที่ตนได้มา มาสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นต่อไป
2. เป็นคนมีใจคอหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อธรรมดาของโลกทั้ง 8 ประการดังกล่าวทำให้สามารถเป็นหลักใจของผู้อื่นได้ เป็นบุคคลที่น่าเข้าใกล้ น่าคบหา น่าเอาเยี่ยงอย่าง
3.สามารถบรรลุธรรมได้ง่าย เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อโลกธรรมทั้ง 8สามารถปล่อยวางเรื่องราวต่าง ๆ ออกไปจากใจได้เร็ว ทำจิตให้เป็นอุเบกขาได้อย่างชาญฉลาด
4. ขจัดกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ได้โดยง่าย เพราะเมื่อต้องประสบกับสิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา น่าพีงพอใจ) ก็ไม่ทำให้เกิดความโลภขึ้นมาในใจหรือเมื่อต้องประสบกับสิ่งที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพีงพอใจ) ก็ไม่ทำให้เกิดความโกรธขึ้นมาในใจ และเมื่อต้องประสบกับอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ตาม ก็ไม่ประมาทหลงใหลมัวเมาขาดสติ จนทำให้กิเล เพิ่มพูน
5. แนวการประยุกต์ใช้
ทุกคนในโลกเรานี้ ล้วนหนีความจริงไม่พ้น ไม่ว่าจะหลบไปอยู่ที่ไหน ๆ ก็ตาม โลกธรรม 8 ประการ เป็นสัจธรรมที่ทุกคนจะต้องพานพบอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะมีฐานะมีตำแหน่งใหญ่โตเพียงใดก็ตาม
เมื่อเราผิดหวังไม่สมหวังในชีวิตหน้าที่การงาน แม้จะสู้ทำดีอย่างที่สุดแล้วก็ตาม เราก็ควรจะนำเอาความเสียใจนั้นมาเป็นกระสายยารักษาใจของเรา ตามหลักของ “โลกธรรม 8” คือภาพที่ทุกคนในโลกนี้จะต้องพบเจอ และ โลกธรรม 8 นั้นคือ
1. ลาภ
เมื่อมีลาภคนเราก็จะฟูใจ เพลิดเพลินจนขาดสติปัญญา เราต้องไม่ขาดสติ และหมั่นพิจารณาว่ามันไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนสักวันหนึ่งมันก็จะจากเราไป
2. ยศ
คนเราพอมียศมีตำแหน่งก็มักจะเหลิง หยิ่งผยอง เราต้องมี ติพิจารณาตามความเป็นจริงว่าที่เขาให้ตำแหน่งเรามาก็เพราะเขาเห็น ว่าเรามีประโยชน์ เมื่อวันหนึ่งข้างหน้ามีคนที่เก่งกว่าเรา หรือเราหมดประโยชน์ เขาก็จะปลดเราออก
3. สรรเสริญ
คนเราส่วนมากบ้ายอ พอมีคนยกย่องสรรเสริญเข้ามักจะเหลิง หลงตัวเอง คิดเข้าข้างตัวเอง เราต้องใช้ ติพิจารณาว่าที่เขายกย่องสรรเสริญเราวันนี้ เพราะเขาได้ประโยชน์จากเราแต่วันหนึ่งข้างหน้าเราก็จะไม่มีประโยชน์สำหรับเขา
4.สุข
ในยามมีความสุข คนเรามักจะประมาท เพลินในสุข เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้ถ่องแท้ถึงเหตุปัจจัยว่า วันหนึ่งข้างหน้าความสุขที่เราได้รับอยู่นี้อาจจะกลายเป็นความทุกข์หรือเมื่อปัจจัยที่ทำให้สุขหมดไป เราก็จะพบกับความทุกข์
5. เสื่อมลาภ
เมื่อขัดสนคนเรามันจะโทษโชควาสนา แต่ทางที่ถูกเราต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าที่เราขัดสนไม่มีลาภนี้เพราะอะไร เราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง!
6. เสื่อมยศ
เมื่อมียศมีคนนับหน้าถือตา พอเสื่อมยศก็หมดคนที่จะนับหน้าถือตา เราก็ไม่ควรจะโศกเศร้าเสียใจ ควรจะพิจารณาด้วยสติปัญญาตามความเป็นจริงว่า เมื่อมีประโยชน์ กับเขาอยู่เขาก็นับหน้าถือตา พอหมดราคาเขาก็ย่ำยีนินทา
7. นินทา
ทุกคนในโลกนี้ไม่มีใครต้องการให้คนอื่นนินทา แต่ก็ไม่มีใครไม่ถูกนินทา แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังถูกนินทา เราควรทำใจให้สงบว่า การนินทาเป็นโลกธรรม คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลกนี้ เขานินทาเราตัวเขาก็ถูกคนอื่นนินทาเช่นกัน
8. ทุกข์
ไม่มีใครในโลกนี้ที่ต้องการความทุกข์ ทุกคนต่างก็ปรารถนาความสุข แต่สุขทุกข์เป็นโลกธรรมที่ทุกคนจะต้องพบ เมื่อความทุกข์วิ่งเข้ามาหา เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้เห็น จริงตามเหตุปัจจัยของมันว่า เพราะเราทำได้ยังไม่ดีพอจึงมีความทุกข์เกิดขึ้น เพราะเรายังไม่เก่งพอจึงมีความทุกข์ตามมา เมื่อเรากำจัดต้นตอความทุกข์ได้ ความสุขก็จะเกิดขึ้น
การพิจารณาโลกธรรมตามความจริง ย่อมเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจ เมื่อเกิดความเศร้าความผิดหวังขึ้น ก็ย่อมจะช่วยบรรเทาความเศร้าเสียใจได้ และสามารถฝ่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ สร้างสรรค์ชีวิตให้มีความสุขได้
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราผิดหวังไม่สมหวัง เราควรพิจารณาตามหลักของ “โลกธรรม 8” แล้วยึดเอาความเป็นจริง เป็นปัจจัยเยียวยารักษาใจของเราให้หายทุกข์เหมือน “หนามยอกเอาหนามบ่ง” หากทำได้เช่นนี้แล้วเราก็ย่อมจะสามารถนำ นาวาชีวิตฝ่าคลื่นฝ่ามรสุมไปได้อย่างแน่นอน¹
ความสำคัญของหลักพุทธธรรม, พร้อมกับได้ศึกษาหลักโลกธรรมทั้ง 8 คือได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมจากยศ สุข ทุกข์ นินทา และสรรเสริญ ตัวอย่างของผู้ติดในลาภ, ผู้ไม่ติดในลาภ, ผู้ติดในยศ
นินทา-สรรเสริญ สุข-ทุกข์ จะไม่ให้โลกธรรมเข้ามาหาตัวเองเป็นไปไม่ได้… พิจารณาดูใจ ชำระใจ ไม่ให้ยินดี ไม่ให้ยินร้าย ในเรื่องทั้งหลายทั้งปวง ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น”
ที่มา:
https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=15432
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com