เลขฝันว่าเขียนหนังสือจับปากกาไม่เสร็จใส่กระดาษ 7 NUMBER ครบจบ?
ฝันว่าจับปากกาเขียนหนังสือ ฝันว่าเขียนหนังสือ เลขเด็ด ฝันว่าเขียนหนังสือไม่เสร็จ ฝันว่านั่งเขียนหนังสือ ฝันว่าเขียนหนังสือ flash mini ฝันว่าเขียนกระดาษ ฝันว่า
ตัวเลขในวัฒนธรรมจีน ในวัฒนธรรมจีน มีความเชื่อว่าตัวเลขบางตัวเป็นตัวเลขแห่งความโชคดีหรือเป็นเลขมงคล (auspicious; 吉利) และมีบางตัวเลขเป็นเลขแห่งความโชคร้ายหรือเป็นเลขอวมงคล (inauspicious; 不利) ตามคำในภาษาจีนที่ตัวเลขนั้นมีการออกเสียงคล้ายคลึง โดยเชื่อว่าเลข 0, 6, 8 และ 9 ล้วนเป็นเลขมงคลเนื่องจากเป็นคำพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายในเชิงบวก
เลข 0 (零 หรือ 檸, พินอิน: líng or níng) มีความหมายว่าทั้งหมด (all) และยังทำให้เลขจำนวนเงินที่ลงท้ายด้วยเลขนี้มีค่ามากขึ้น
เลข 2 (二 หรือ 两, พินอิน: èr or liăng) เป็นตัวเลขที่มักได้รับการยอมรับว่าเป็นเลขที่ดีในวัฒนธรรมจีน โดยมีคำกล่าวที่ว่า: “สิ่งที่ดีมักมาเป็นคู่”. และมักพบว่ามีการซ้ำตัวอักษรในชื่อสินค้า เช่น ความสุข ซึ่งมีตัวอักษรว่า 囍 (ความสุขเป็นคู่ หรือสองเท่า) ซึ่งมาจากตัวอักษร 喜 (ความสุข) สองตัวรวมกัน ในภาษาจีนกวางตุ้งมาตรฐาน เลขสอง (jyutping: ji6 or loeng5) เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า “ง่าย” (易) และคำว่า “สดใส” (亮) ในตอนเหนือของประเทศจีน เลขนี้เมื่อใช้เป็นคำคุณศัพท์ยังสามารถหมายความว่า “โง่”[1]
เลข 3 (三, พินอิน: sān, jyutping: saam1) มีเสียงคล้ายกับตัวอักษรคำว่า “เกิด” ในภาษาจีน (生, พินอิน: shēng, jyutping: saang1) และถือเป็นเลขนำโชค
เลข 5 (五, พินอิน: wŭ) มีความสัมพันธ์กับธาตุทั้งห้า (Wu Xing; 五行) ซึ่งประกอบด้วยน้ำ ไฟ ดิน ไม้ และโลหะ ในหลักปรัชญาจีน นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระจักรพรรดิจีนอีกด้วย อาทิ ประตูจัตุรัสเทียนอันเหมินที่เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามประกอบด้วยช่องโค้ง (arches) 5 ช่อง เป็นต้น
เลข 6 เป็นตัวแทนของความร่ำรวยในภาษาจีนกวางตุ้งเนื่องจากมีการออกเสียงคล้ายกับตัวอักษร 祿 (Lok) ซึ่งหมายถึงเงินเดือน เลข 6 (六, พินอิน: liù) ในภาษาจีนกลางก็อ่านออกเสียงเหมือนกับตัวอักษร “溜 (strong current)” (พินอิน: liù) และคล้ายกับตัวอักษร “流 (flow)” (พินอิน: liú) จึงถือเป็นเลขที่ดีสำหรับธุรกิจ
เลข 7 (七, พินอิน: qī) เป็นเลขมงคลสำหรับความสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของ “การร่วมกัน” นอกจากนี้ยังเป็นเลขนำโชคที่ดีที่สุดในโลกตะวันตกด้วย ซึ่งมักจะหาได้ยากสำหรับเลขที่มีความหมายที่ดีทั้งในวัฒนธรรมจีนและในวัฒนธรรมตะวันตกพร้อมๆ กัน โดยเลขนี้มีเสียงคล้ายกับอักษรจีนคำว่า 起 (พินอิน: qǐ) ซึ่งมีความหมายว่า เกิดขึ้น และอักษร 气 (พินอิน: qì) ที่มีความหมายว่า สาระสำคัญของชีวิต
เลข 49 ซึ่งเป็นเลขที่มาจากเลขยกกำลังของเลข 7 มักพบในนิทานพื้นบ้านของจีน และพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเต๋าและพุทธในวัฒนธรรมจีน ตัวอย่างเช่น มีความเชื่อที่ว่าวิญญาณของผู้เสียชีวิตจะยังคงวนเวียนอยู๋บนโลก 49 วัน[2] ดังนั้นพิธีบังสุกุลครั้งที่สองจึงมักจัดขึ้นในวันครบรอบ 49 วันนี้[3]
นอกจากนี้ยังมีบางพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเลข 49 ที่ใช้ชื่อเรียกที่มาจากเลข 7 ว่า “7-7-49” (七四十九) โดยไม่ใช้เลข “49” โดยตรง
คำว่า “แปด” (八 พินอิน: bā) มีเสียงอ่านคล้ายคลึงกับคำว่า 發 ซึ่งหมายถึง “ความรุ่งโรจน์” หรือ “ความร่ำรวย” (發, พินอิน: fā – ย่อมาจากคำว่า “發財”, พินอิน: fācái) และในภาษถิ่น ตัวอักษรคำว่า “แปด” และคำว่า “โชคลาภ” ก็มีการออกเสียงที่ใกล้เคียงกัน เช่น ในภาษาจีนกวางตุ้ง ออกเสียง “baat3” และ “faat3” เป็นต้น
นอกจากนี้เลขแปดคู่ “88” ยังมีภาพคล้ายกับคำว่า 囍 “shuāng xĭ” (“ความสุขสองเท่า หรือ double joy)”, พินอิน: shuāng xǐ) โดย 喜 “xĭ” มีความหมายว่า “ความปิติยินดี” หรือ “ความสุข”
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าถ้ามีเลข 8 มากเท่าไร ก็จะโชคดีมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างการใช้เลข 8 ซึ่งถือเป็นเลขมงคลหรือเลขนำโชคในหลายๆ กรณี ดังนี้
เลข 9 (九, พินอิน: jiŭ, jyutping: gau2) มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจักรพรรดิจีน โดยถูกนำมาใช้บ่อยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก อาทิเช่น ก่อนที่จะมีระบบการสอบขุนนาง (imperial examination) ข้าราชการถูกจัดอยู่ในระบบราชการเก้าขั้น (nine-rank system) โดยมีสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ (nine bestowments) ให้เป็นรางวัลจากองค์พระจักรพรรดิเพื่อให้ข้าราชการมีความจงรักภักดี ในขณะที่การประหารเก้าชั่วโคตร (nine familial exterminations) เป็นการลงโทษที่รุนแรงสาหัสยิ่งกว่าโทษประหารชีวิต รวมทั้งเสื้อคลุมขององค์พระจักรพรรดิยังมีลายเป็นรูปมังกรเก้าตัว และตำนานเทพเจ้าจีน (Chinese mythology) กล่าวถึงมังกรเก้าตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี
นอกจากนั้นเลข 9 ยังเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “ยาวนาน” (久) จึงมักถูกใช้ในพิธีการแต่งงาน
ขอบคุณที่มาบทความ:th.wikipedia.or