ศีล5

ศีล 5 CANON หลักธรรมของศาสนาพุทธหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่?

Click to rate this post!
[Total: 243 Average: 5]

ศีล 5

พระพุทธศาสนา คือ ศาสนาประจำชาติไทย ที่อยู่คู่กับประเทศชาติมาอย่างยาวนาน ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ครองประเทศอินเดีย ครั้งเมื่อได้กระทำการสังคายนาในครั้งที่ 3 นั้น หรือราวๆ ในปีพ.ศ. 218 พบว่าพระองค์ทรงดำเนินการจัดส่งพระโสณะและพระอุตตระมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ

ศีล5

ศีล5

หรือแหลมอินโดจีนแห่งนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นดินแดนแผ่นดินนี้ ก็คืออาณาจักรของประเทศไทยเราด้วย ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการเผยแพร่คำสั่งสอน พิธีกรรมและการรับพระพุทธศาสนานิกายหินยาน หรือที่รู้จักกันในชื่อของ นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิม ที่มีความเก่าแก่ มีความยึดพระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งสำหรับ ศีล5 คือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในหลักธรรมของชาวพุทธ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่มนุษยธรรมพึ่งกระทำและยึดถือกัน

  • ศีล 5 แปลง่ายๆ คือ ความปกติ, การรักษาไว้ซึ่งความปกติ เป็นธรรมะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตสำหรับฆราวาสและพุทธมามกะที่นับถือศาสนาพุทธ
  • ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ สำหรับแม่ชี ผู้บวชปฏิบัติธรรมชุดขาว เนกขัมมะ อุบาสกและอุบาสิกา อาจจะรักษาเป็นประจำหรือตั้งใจปฏิบัติทุกวันธรรมสวนะ คือ วันพระ สำหรับในหนึ่งเดือน จะมีวันพระทั้งหมดจำนวน 4 วัน ประกอบด้วย วันพระขึ้น 8 ค่ำ, วันพระขึ้น 15 ค่ำหรือวันเพ็ญ (วันที่พระจันทร์เต็มดวง), วันพระแรม 8 ค่ำ, วันพระแรม 15 ค่ำ แต่ถ้าหากเดือนใดมีลักษณะของเดือนขาด จะมีวันพระแรม 14 ค่ำ แทน

ในสภาพสังคมปัจจุบันหากมนุษย์ประพฤติปฏิบัติรักษา ศีล 5 ข้อ ให้เกิดความเป็นปกติในชีวิตประจำวันขึ้นแล้ว เหตุการณ์วุ่นวาย เรื่องเลวร้าย และปัญหามากมาย การต่อยตีกัน การทำร้าย ตลอดจนการฆ่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันก็ไม่อาจที่จะเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างสำหรับ ศีลข้อ3 หากผู้ประพฤติปฏิบัติ มีความศรัทธาในคนรัก ซื่อสัตย์รักเดียวใจเดียวต่อคู่ครองของตนเอง ไม่ประพฤตินอกใจในทางชู้สาว

ซึ่งต้องไม่มีการกระทำล่วงเกินทั้งทางกายกรรม ทางวจีกรรม และทางมโนกรรม ทั้งการกระทำต่อหน้า การกระทำลับหลัง การที่มีเจตนาในการทำและการที่ไม่เจตนาในการทำก็ตาม ปัญหาต่างๆก็จะเกิดไม่มีทางเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน การคิดนอกใจไม่ว่าบุคคลที่สามจะโสดสนิท จะมีครอบครัวแล้ว หรือจะเป็นบุตรธิดาที่ยังอยู่ในการปกครองดูแลของบิดามารดา (กรณีที่บิดาและมารดาไม่รับรู้หรือไม่ได้อนุญาตเป็นกิจลักษณะ) เรียกการกระทำทั้งหมดนี้ได้ว่า เป็นการผิดต่อศีลธรรม

ซึ่งผู้ที่ล่วงละเมิดอาจทำให้ต้องประสบกับสถานการณ์วิตกกังวลทางจิตใจ ร้อนใจเป็นทุกข์ อยู่ไม่สุข สาเหตุจากกลัวผู้อื่นล่วงรู้พฤติการณ์ ตลอดจนเกิดเป็นความโกรธ สร้างแรงพยาบาทอาฆาต การผูกใจเจ็บ และอาจส่งผลร้ายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้ล่วงละเมิดได้อีกเช่นกัน เนื่องจากตามหลักธรรมของศาสนาพุทธ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นหลักธรรมะสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ทำให้เกิดความเป็นปกติสุขต่อกัน การเคารพสิทธิของความเป็นบุคคลที่มีซึ่งกันและกัน

ตลอดจนการทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้อย่างร่มเย็นและเป็นสุข หากไม่กระทำการผิดศีลธรรมจะเป็นเวลาตอนนอนหลับก็เป็นสุข เวลาตื่นก็ไม่มีความทุกข์ร้อนในใจ การเริ่มต้นด้วยการรักษาศีล 5 เป็นการกระทำขั้นพื้นฐานของเหล่าสาธุชนผู้นับถือศาสนาพุทธ และค่อยๆพัฒนาระดับของการรักษาศีลขึ้นไปเป็นการอาราธณารักษาศีล 8 หรือจะตั้งใจพึ่งศึกษาถึงข้อปฏิบัติของ ศีล 10 ด้วยก็ได้ เนื่องจากเป็น หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่สามารถทำได้ เหนือสิ่งอื่นใดนอกจากจะได้บุญกุศลจากการกระทำแล้ว

ยังสามารถทำให้ทุกๆวันในการดำเนินชีวิตไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ไม่สร้างความตกต่ำให้กับชีวิตของตนเองหรือชีวิตของผู้อื่น และยังสามารถทำให้เกิดความผิดพลาดในชีวิตน้อยลงได้อีกด้วย

การมี ศีล5 สร้างการดำรงชีวิตให้อยู่ในความไม่ผิดปกติ การน้อมนำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้เป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคล เพราะศีล 5 คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ

ซึ่งสามารถทำให้ช่วยเข้าใจเบื้องต้นของคำว่า “ข้อใดคือความหมายของคำว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคล” ได้อย่างลึกซึ้ง หาใช่แต่เฉพาะการนับถือศาสนาพุทธเพียงแต่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น เนื่องจากหลักธรรมศาสนาพุทธ มีความชัดเจน ได้ผลดี

หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ทั้งหมดของศีล 5 ข้อ ประกอบด้วย

ศิล 5 มีอะไรบ้าง

เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะเห็ผนผลหรือไม่

หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ทั้งหมด ของ ศีล 5 ข้อ ประกอบด้วย

ศีลของข้อที่ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการทำลายชีวิตของมนุษย์ ของสัตว์เดียรัจฉานทุกประเภทให้ตกล่วงไป ด้วยอาการบาดเจ็บ และการถึงแก่ชีวิตในที่สุด

ศีลของข้อที่ 2 อทินนาทานา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากถือเอาของที่เจ้าเขามิได้อนุญาตยกให้ ด้วยอาการแห่งการลักขโมย การหยิบฉวย การฉ้อโกง การเบียดบัง

ศีลของข้อที่ 3  กาเมสุมิสฉาจารา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากประพฤติผิดในทางกามคุณ การล่วงละเมิดทางกามการร่วมประเวณี ต่อบุคคลอื่น ทั้งการกระทำแบบเต็มใจตั้งใจ การบีบการบังคับ การข่มขู่ขืนใจ ทั้งการกระทำต่อบุคคลผู้มีครอบครัว การกระทำต่อบุคคลอผู้ไม่มีครอบครัว และการกระทำต่อบุคคลผู้ยังอยู่ในการปกครองของบิดามารดาที่ยังไม่ได้รับการอนุญาต

ศีลของข้อที่ 4 มุสาวาทา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการพูดคำเท็จ การพูดคำโกหก การพูดคำส่อเสียด การพูดคำหยาบคาบ การพูดคำเพ้อเจ้อ การพูดปลิ้นปล้อนใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะของการตลบตะแลง ตลอดจนการพูดในลักษณะของการกล่าวว่าร้ายให้โทษต่อผู้อื่น

ศีลของข้อที่ 5 สุราเมรยมัฌชปะมาทัตถานา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการบริโภคของมึนเมา เช่น เครื่องดื่ม อาหาร สิ่งเสพติด อบายมุข การพนันต่างๆ เพราะสุราเมรัย คือหมายถึง สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งอาการของความประมาท การขาดซึ่งสติสัมปชัญญะแล้วทั้งสิ้น

เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะสามารถทำให้เห็นผลลัพธ์ในทางบวกทันที สามารถอาราธณาหลักธรรมการรักษาศีล 5 ได้ด้วยตนเอง ซึ่งนำมาปฏิบัติเองได้ ทำให้ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่มีพิธีหรือต้องรับศีล 5 ต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น

คำสอนของศาสนาพุทธ

การนำหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

เรื่องของ ศีล5 เป็นธรรมะเครื่องช่วยการเตือนสติ สร้างสัมปชัญญะ ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกละลายต่อการกระทำความชั่วและการเกรงกลัวต่อการทำบาป เนื่องจากศีล 5 เปรียบเสมือนหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์สัตว์สังคมทุกคน ประโยชน์ของศาสนาที่ดีต่อการนับถือ

คือใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ การควบคุมทางจิตใจ การควบคุมทางคำพูด และการควบคุมทางกาย ทำให้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกันในทางสังคม ซึ่งการมีศีลห้า สามารถช่วยสร้างให้บุคคลมีจิตใจที่เข้มแข็ง แข็งแกร่ง เนื่องจากตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว สามารถช่วยสร้างพลังบุญบารมีได้อย่างน่าอัศจรรย์ให้เกิดขึ้นแก่ในชีวิตได้

การเริ่มลองรักษาศีล 5 ในระยะของการเริ่มประพฤติปฏิบัติช่วงแรกๆ อาจจะเกิดความรู้สึกว่ายาก ท้อแท้ ทำไมถึงยังทำไม่ได้สักที รู้สึกเหน็ดเหนื่อยต่อการฝืนตัวเองหรือรู้สึกขัดแย้งต่อการกระทำตามกิเลสในใจเป็นอย่างมาก ให้ลองเริ่มต้นจากการรักษาหรือปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ข้อ โดยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งครบบริบูรณ์ทั้ง 5 จนกระทั้งเริ่มรักษาอย่างเป็นอาจิณในกิจวัตรประจำวัน และให้ลองเริ่มการพัฒนาสู่การ การถือศีล 8 ในวันพระ ในวันสำคัญๆ หรือในวันหยุดบ้างก็ได้ เพราะทุกอย่างในการลงมือปฏิบัติต้องเริ่มต้นมาจากความเชื่อ ความศรัทธา ความรัก และความสม่ำเสมอ

ศาสนาพุทธ

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

สำหรับพระพุทธศาสนาที่ถูกระบุไว้ในประเทศไทยให้เป็น ศาสนาประจำชาติ เนื่องจากมีผู้นับถือมากที่สุดแล้ว การนับถือที่สืบทอดกันมาจากรุ่นบรรพบุรุษตั้งแต่ในสมัยอดีต ทำให้มีการจัดแบ่งองค์ประกอบของศาสนาพุทธ ไว้ 6 ประการ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและมีความหมายสำหรับการสื่อสารเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ ประกอบไปด้วย

  1. ศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คือ เจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ทรงสละความสุขส่วนตน เพื่อเสด็จออกผนวชและตรัสรู้ เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา กรุงพาราณสี ประเทศอินเดีย
  2. ศาสนธรรม หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม ลักษณะเป็นคัมภีร์แบบมีลายลักษณ์อักษร เรียกว่าพระไตรปิฎก ประกอบด้วย “พระวินัยปิฎก” สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณี เช่น พระภิกษุ ถือศีล 227 ข้อ “พระสุตตันตปิฎก” คือ พระสูตร และพระธรรมเทศนาขององค์พระพุทธเจ้า พระองค์อรหันตสาวก และ “พระอภิธรรมปิฎก” คือ พระอภิธรรม ธรรมะขั้นสูง เป็นภาษาบาลีสันสกฤต
  3. นักบวช สาวก ผู้สืบทอดประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาพุทธ จากการศึกษา การเผยแผ่ การเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติจากพระภิกษุสงฆ์ และพุทธบริษัท4 (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก และอุบาสิกา)
  4. ผู้นับถือศาสนา คือ ศาสนิกชน, พุทธศาสนิกชน, พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ที่ให้ความเคารพ มีความเลื่อมใส และกระทำตามคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิต เช่น การรักษาศีล5, การรักษาศีล8 เป็นต้น
  5. ศาสนวัตถุ ศาสนสถาน สัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ เครื่องหมายที่ปรากฏตามหลักฐานหรือสิ่งที่เป็นเครื่องแสดงยืนยัน ถึงเอกลักษณ์ในพระพุทธศาสนา เช่น วัด, เจดีย์, อุโบสถ, พระวิหาร, พระพุทธรูป, สังเวชชนียสถาน, ศาลาการเปรียญ, หอพระไตรปิฎก เป็นต้น
  6. ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนา เป็นการประกอบกิจกรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมา คือ การรักษาและการให้เกิดดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา เช่น การบรรพชา, การอุปสมบท, การทอดกฐิน, การทอดผ้าป่า, การทำบุญในวันธรรมสวนะ, การตักบาตรทุกๆเช้า, การทำบุญถวายสังฆทาน, การสวดมนต์ ,การกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือวันสำคัญต่างๆในพระพุทธศาสนา เป็นต้น

คงมีข้อสงสัยกันว่า ศีล 5 และศีล 8 ตั้งแต่ศีลของข้อที่ 1 – ศีลของข้อที่ 5 มีความเหมือนหรือแตกต่างกันกันอย่างไร สำหรับความเหมือนกัน คือศีลของข้อที่1, ศีลของข้อที่2, ศีลของข้อที่4 และศีลของข้อที่ 5 ส่วนความแตกต่างของศีลแปดมีอะไรบ้าง คือ

ศีล 8

ศีล 8

ศีล 8 มีอะไรบ้าง

ศีลของข้อที่ 3 อพรหมจริยา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติผิดแก่พรหมจรรย์ คือ การถือครองเพศรักษาพรหมจรรย์ ไม่อาจร่วมประเวณีกับชายหรือหญิง ตลอดจนไม่สามารถถูกหรือแตะเนื้อต้องตัวระหว่างเพศกันได้ เพราะจะทำให้เกิดศีลขาด และศีลข้อนี้ หากอยู่ในเพศของแม่ชี สามเณร หรือนักบวช การกระทำความผิดสำหรับในข้อนี้ ส่งผลในลักษณะที่ค่อนข้างรุนแรง คือ “ปาราชิก” หมายถึง ผู้ที่ต้องพ่ายต่อตนเองไม่สามารถประพฤติปฏิบัติในทางพระธรรมวินัยที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ ทำให้ต้องได้รับโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทนี้ นั้นคือ การสึกจากเพศนักบวชนั้นเอง

ศีลของข้อที่ 6วิกาลโภชนา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงวันแล้วไป จนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ หรือเรียกง่ายๆ สามารถบริโภคอาหารได้ก็ต่อเมื่อ มองเห็นลายมือจากของตนเองจากแสงของธรรมชาติ

ศีลของข้อที่ 7นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการฟ้อนรำ การขับร้องเพลง การประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลและพรหมจรรย์ การทาทัดทรงการประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ เครื่องของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นกิเลสต่อการแต่งตัวให้สวยงดงาม คือการหลีกเลี่ยงการดูหรือการฟังสิ่งบันเทิงรื่นเริง การตกแต่งร่างกาย การทาน้ำหอม การแต่งหน้าทาปาก การปะแป้งเพื่อสร้างความสวยงามให้กับผิวร่างกาย ผิวหน้า และเส้นผม

ศีลของข้อที่ 8อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในมีนุ่นหรือสำลี คือการไม่นอนที่นอนที่นั่งนุ่มๆ เพื่อให้เกิดความสบายมากเกินไปต่อสภาพของร่างกาย

นี่คือสิ่งที่ศีล8 หรืออุโบสถศีล มีมากกว่า การรักษาศีล5 คือ ศีลข้อ 1 – ศีลข้อ 5 (ยกเว้นศีลข้อ 3เท่านั้น) สำหรับศีลของพระภิกษุสงฆ์ ถือศีลจำนวน 227 ข้อ หากได้ศึกษาและประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิตมากขึ้น เป็นคำสั่งสอนที่ใช้ได้จริง มีเหตุและมีผลประกอบกัน ศาสนาพุทธมีมูลเหตุของการเกิดศาสนา

มีหลักฐานปรากฏที่ชัดเจนขององค์พระศาสดา รวมถึงการมีข้อมูล สถานที่จริงขององค์ประกบศาสนาพุทธ สำหรับผู้ที่นำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการดำเนินในชีวิต จะสามารถทราบถึงความสำคัญของการสรุปศาสนาพุทธว่าทำไมจึงมีความมหัศจรรย์ต่อชีวิต ช่วยทำให้มีสติมากขึ้นจากการเจริญสมาธิ มีผู้คนเอ็นดูช่วยเหลือมากยิ่งขึ้นจากการตั้งใจรักษาศีล

จากศีล 8 ตั้งแต่ศีลของข้อที่ 1 – ศีลของข้อที่ 6 มีความเหมือนกันกับศีล 10 ส่วนความแตกต่างของศีล 10 มีอะไรบ้าง และเป็นศีลที่สามเณรรักษา คือมีความแตกต่างกันดังนี้

ศีล 10

ศีล 10

ศิล 10 มีอะไรบ้าง

ศีลของข้อที่ 7นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการพูด การฟัง การฟ้อนรำ การขับร้อง ตลอดจนการประโคมเครื่องดนตรี การดูการเล่นอันข้าศึกแก่พรหมจรรย์

ศีลของข้อที่ 8มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการทัดทรงประดับตกแต่งดอกไม้ การใช้เครื่องของหอมเครื่องประทินทาผิวอันก่อให้เกิดข้าศึกแก่พรหมจรรย์

ศีลของข้อที่ 9อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการนั่ง การนอนเหนือเตียงอันสูงใหญ่ ภายในบรรจุด้วยนุ่นและสำลี และเป็นอาสนะที่สวยงามวิจิตรด้วยลวดลายต่าง ๆ

ศีลของข้อที่ 10ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี ” ความหมาย การละเว้นจากการรับเงินทอน

โทษของสุรา 6 ประการ

การดื่มสุราเป็นประจำนอกจากผิดศีลในข้อ 5 ด้วยแล้วยังมีโทษของสุรา 6 ประการ ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ต่อชีวิต และต่อทรัพย์สิน เนื่องจากการขาดสติในการดำรงชีวิต ทำให้สามารถเกิดความยับยั้งชั่งใจ เกิดความกล้ามากกว่าในยามที่เป็นเหตุการณ์ปกติ

1. สุราเป็นเหตุของความสูญเสียทางทรัพย์สิน
2. สุราเป็นเหตุนำมาแห่งการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย และถึงชีวิต
3. สุราเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมายมาย เช่น โรคตับแข็ง, โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น ล้วนเป็นเหตุผลให้ถึงขั้นชีวิตก่อนวัยอันควร
4. สุราเป็นเหตุแห่งการเสียชื่อเสียง การดื่มสุราทำให้ความละอายลดน้อยลง สามารถทำอะไรที่ไม่เคยทำ แสดงพฤติกรรมที่ค่อนข้างน่ารังเกียจได้มากกว่าในสภาวะยามปกติ ทำให้ชื่อเสียงที่สร้างมาเสียหาย ตลอดจนขาดความน่าเชื่อถืออีกด้วย
5. สุราเป็นเหตุของความไม่รู้จักอาย สามารถทำเรื่องราวต่างๆ ที่นอกเหนือความคาดคิด อยู่เหนือการสั่งการ เพื่อเมื่อน้ำเมาเข้าปากไปในปริมาณที่มากๆ ความอาย อีคิวและไอคิว จะลดน้อยลงตามด้วย
6. สุราเป็นเหตุของการบั่นทอนกำลังปัญญา การสั่งการของสมอง จิตใจ มีความล่าช้าลง เนื่องจากอาการมึนเมา ความไม่ระมัดระวังตัวเองเกิดขึ้นได้ง่ายมาก สร้างความประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่ายขึ้น

โทษของสุรา

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทใด

พระพุทธศาสนา มีความเป็นเอกลักษณ์ การรักษาศีล5 ตามคำสั่งสอนขององค์พระพุทธเจ้า เมื่อได้ลงมือปฏิบัติเอง ก็จะเกิดความรู้ขึ้นเอง สามารถเห็นแจ้งด้วยปัญญาและเกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะเป้าหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ แม้จะเป็นทางพระนิพาน แต่สำหรับเพศฆราวาสแล้ว เป้าหมายสูงสุดคือการมีชีวิตที่มีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำมาหากินไม่ติดขัด เป็นที่รักและยกย่องของผู้อื่น มีสติกำลังทางความคิดในการแก้ไขปัญหา

ศาสนา

ศีล คือ พื้นฐานของความประพฤติดีงาม การปฏิบัติตามหลักศีลห้า ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แม้ว่าพระพุทธองค์จะ นิพานไปนานมากกว่า 2,500 กว่าปีแล้ว แต่โอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ” แปลความหมาย ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม หมายถึง ผู้กระทำกรรมดีอยู่ในศีลธรรม เป็นเครื่องคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากสถานการณ์หนักๆให้กลับกลายเป็นเบาลง เพราะคุณค่าของศาสนาพุทธ คือ หลักปฏิบัติที่เสริมสร้างสติ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดความพยาบาท ความโกรธเกียจกัน หลักธรรมของศาสนาพุทธ หัวใจของหลักปฏิบัติของศาสนาพุทธ มุ่งเน้น ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งถ้าเรียก ตามหลักพุทธธรรม พุทธโอวาท

  1. การทำกุศลให้ถึงความพร้อม
  2. การไม่กระทำบาปอกุศลทั้งปวง
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส่

การที่ศาสนาพุทธสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน คุณธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์ทรงเป็นต้นแบบที่มีคุณธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านของความเพียร การกระทำความดีเป็นที่ตั้ง การไม่เบียดเบียนซึ่งเป็นส่วนสำคัญตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 165365: 2029