วิธีคิดประกันสังคมสำหรับลูกจ้างรายวัน 8 ในการจัดการเงินสมทบ
การทำความเข้าใจการ คิดประกันสังคมสำหรับลูกจ้างรายวัน อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับหลายคน บทความนี้จะช่วยอธิบายอย่างละเอียด พร้อม ตัวอย่าง ที่เข้าใจ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงอันเก่าแก่ของประเทศไทย ประกอบด้วยโบราณสถาน และโบราณวัตถุ มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัดในอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม บรรยากาศของอยุธยาเมืองเก่า ประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากวัดสมัยอยุธยามีจำนวนมากมายด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและทรงคุณค่า เนื่องจากวัดเก่าอยุธยา สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยเมื่อครั้นเป็นราชธานีกรุงเก่าเมื่อครั้งอดีตของไทย ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 417 ปี ทำให้มีวัดอยุธยาสวยๆที่ได้รับขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาให้เป็นเมืองมรดกโลก ในปีพ.ศ. 2534 โดยองค์กรยูเนสโก เป็นผู้ประกาศขึ้นทะเบียน ประกอบด้วย โบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญต่างๆที่ตั้งอยู่ใน วัด โบราณ และเป็นวัดที่อยุธยาเกือบทั้งหมด
วัดดังในอยุธยา สามารถจัดโปรแกรมเที่ยวได้อย่างสบายๆ เพียงในวันเดียวไหว้พระให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต วัด ใน พระนครศรีอยุธยา มีมากกว่า 30 วัดกันเลยทีเดียว และที่สำคัญวัดในจังหวัดอยุธยาให้คุณค่าสร้างความสุขทางจิตใจ ชื่นชมแล้วเกิดความสุขทางตาประกอบด้วย วัดในอยุธยา ที่น่าสนใจรวมสถานที่ท่องเที่ยววัดอยุธยา ราชธานีเก่าของไทย เมืองมรดกโลก แม้ว่าจะถูกทำลายจากภัยสงคราม แต่ก็ยังคงเหลือโบราณสถานโบราณวัตถุของในแต่ละยุคสมัย ทำให้วัดอยุธยา ถ่ายรูปสวย และกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเมืองเก่าอยุธยาที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติว่าเป็นวัดน่าเที่ยวอยุธยา
มีวัดสวยๆในอยุธยามากมายที่มีคุณค่าแก่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์การเที่ยววัดในอยุธยาเป็นมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่ง ใช้เวลาเพียงหนึ่งวันเที่ยวไหว้พระอยุธยา ทั้งวัดเก่าแก่ วัดโบราณอยุธยา วัดดังในอยุธยา วัดสําคัญในอยุธยา โบราณสถานโบราณวัตถุ เจดีย์อยุธยา เรียกได้ว่า สามารถท่องเที่ยววัดทั้งหมดในอยุธยาได้ตลอดทั้งวัน จะเช่ารถตุ๊กตุ๊กโดยสาร ปั่นจักรยานเอง ขี่มอเตอร์ไซค์ หรือการขับรถชื่นชมความอลังการก็เป็นการพักผ่อนที่น่าประทับใจพร้อมๆกับได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย
มารู้จักวัดเก่าแก่ในอยุธยา และประวัติข้อมูลการก่อสร้างพระเก่าอยุธยา รวมถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตเมืองหลวงที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติไทย
วัดทอง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ตำบลขวัญเมือง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองอยุธยาประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอบางปะหันประมาณ 3 กิโลเมตร ตามตำนานการสร้างวัดกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.2139 หลังจากสมเด็จพระนเรศวร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาขึ้นครองราชย์ ได้ทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง เป็นแม่กองในการสร้างวัดนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ทรงมาประทับก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ เมื่อครั้งเสด็จกลับมาจากการประกาศอิสรภาพ ที่เมืองแครง พระองค์ทรงปลงกองทัพพักทหารก่อนเสด็จเข้ากรุงศรีอยุธยา ณ สถานที่แห่งนี้ และได้พระราชทานนามว่า “วัดสุวรรณขวัญเมือง”
ใน ร.ศ.127 หรือ พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาประทับที่วัดนี้เมื่อคราวเสด็จประพาสต้น และทรงโปรดให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์(พร เดชะคุปต์) เป็นหัวหน้าในการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง
โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ เปิดให้ผู้สนใจเข้าไหว้พระอยุธยา
วัดช้าง เป็นวัดในอดีตที่ยังไม่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการก่อสร้าง แต่จากการศึกษาพบว่า รูปแบบภายในวัดนั้นมีความคล้ายคลึงกับวัดมเหยงคณ์ โดยหลัก ๆ ที่มีเจดีย์ใหญ่ที่เรียกว่า เจดีย์ช้างล้อม มีข้อสันนิษฐานว่า เจดีย์ได้รับอิทธิพลจากสมัยสุโขทัย เพราะนิยมสร้างวัดที่มีเจดีย์ลักษณะนี้ ซึ่งในปัจจุบันที่มีชื่อเสียงก็คือ วัดช้างรอบเมืองกำแพงเพชร ในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนอกเหนือจากการพบรูปปั้นช้างจำนวนมากแล้ว ยังมีประติมากรรมประเภท ยักษ์ สิงห์ หงษ์ และแผนผังยังคล้ายกันกับวัดช้างรอบเมืองกำแพงเพชร
ตามคติการสร้างเจดีย์ช้างล้อมหรือช้างคำ นิยมสร้างกันมากในศิลปะสุโขทัย ส่วนศิลปะอยุธยาพบเพียง 2 แห่ง คือ ที่วัดมเหยงคณ์และวัดช้าง และยังพบว่ามีการสร้างแบบเจดีย์สิงห์ล้อมอีก 2 แห่ง คือ วัดธรรมิกราชและ วัดแม่นางปลื้ม โดยเชื่อว่าเจดีย์ทั้ง 4องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตอนต้น
เนื่องจากวัดช้างตั้งอยู่ใกล้ๆกับ วัดมเหยงคณ์และหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ทำให้ได้ข้อมูลว่าวัดช้างมีความสำคัญควบคู่กับวัดมเหยงคณ์ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ช่วงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ที่เชื่อว่าเป็นการสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่เจ้าอ้าย และเจ้ายี่ พระเชษฐาของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ก็อาจเป็นได้
และเป็นสถานที่ โบราณอยุธยา ถึงแม้ในปัจจุบันวัดช้างเป็นวัดร้าง และจะไม่ใช่ 9 วัดดังในอยุธยาและไม่ปรากฏการสร้างวัดช้างว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากขนาดของเจดีย์ประธานที่มีขนาดใหญ่แสดงให้เห็นว่า วัดช้างน่าจะเคยเป็นวัด ใหญ่ อยุธยาในสมัยรุ่งเรืองและเป็นสถานที่ สําคัญในอยุธยา พอๆกับวัดมเหยงคณ์ ทำให้สันนิษฐานกันว่าผู้ที่สร้างวัดช้างน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์เช่น เดียวกับวัดมเหยงคณ์
วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ใน ตำบลบ้านแพรก ลักษณะที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมชื่อ วัดบ้านแพรกตะวันตก เพราะอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำลพบุรี ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดโบสถ์โพธิ์หอม วัดโบสถ์ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2313
ตั้งอยู่ริมคลองประตูข้าวเปลือก ฝั่งตะวันตก ถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเฑียรราช ทรงผนวชอยู่และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์อีกหลายพระองค์ ทั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ ภายในโบสถ์จะมีพระประธานองค์สีทองสุกเปล่งประกายชื่อ “พระบรมไตรโลกนารถ” บริเวณก่อนถึงตัวโบสถ์เป็นศาลาชั้นเดียว มีพระพุทธรูปพระพุทธปฎิมากรให้ได้กราบสักการระบูชาและได้มาทําบุญอยุธยา ใกล้ๆกับวัดราชประดิษฐาน อยุธยามีวัดท่าทราย สภาพเป็นวัดร้าง แต่ยังคงความขลัง สวยงามเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าถูกสร้างในรัชสมัยเดียวกัน
มีวัดศักดิ์สิทธิ์ อยุธยา มากมายที่รู้จักกนเป็นอย่างดี และไม่รู้จัก ซึ่งการไหว้พระวัดอยุธยา ควรเริ่มจากวัดที่รู้จักและเดินทางสะดวกกว่า เนื่องจากว่าจอยู่ใกล้ๆกัน ภายในละแวกเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ การไหว้พระอยุธยา ได้ท่องเที่ยว สนุก อิ่มบุญ ไปพร้อมๆกกัน มาออกเดินทางไปด้วยกันเลย !!!!!
ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร เป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุนี้ก็ได้ถูกทำลายลงหลังจากสงครามการเสียกรุงในครั้งที่ 2
สิ่งที่น่าสนใจของวัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกของเกาะเมือง เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2173 เพื่อสร้างอุทิศผลบุญให้แก่พระราชมารดา
สิ่งที่โดดเด่นมากที่สุดของเมืองโบราณอยุธยาในวัดไชยวัฒนาราม คือ “พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ” ปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่บริเวณกลางวัดพอดี มีลักษณะเป็นปรางค์จัตรุมุข อยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มุมฐานทั้ง 4 ด้านก็มีปรางค์ประจำทิศอยู่ทั้งสี่มุม ยอดปรางค์ทำเป็นรัดประคดซ้อน 7 ชั้น ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ลักษณะคล้ายกับปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น
เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอีกวัดหนึ่งสันนิษฐานว่าริ่มก่อสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณการสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.1920 และมีประวัติศาสตร์บันทึกการมีอยู่ของวัดนี้ในสมัยอยุธยาอีกหลายครั้ง เรียกชื่อเดิมว่า “สามพิหาร” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี 1930 มีชื่อว่า สามวิหาร คือมีวิหาร 3 หลัง คือ วิหารพระนอน วิหารพระนั่ง (พระพุทธรูป อยุธยาปางมารวิชัย) และวิหารพระยืนที่ไม่ปรากฏในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำป่าสัก ทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ในตำบลคลองสวนพลู ของอำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญวัดหนึ่งของอยุธยา มีชื่อเสียงระบือไปทั่วประเทศโดยเฉพาะ “หลวงพ่อโตหรือเจ้าพ่อซำปอกง” ที่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างให้ความเคารพนับถือมาช้านาน เมื่อมายังวัดแห่งนี้จะไม่แปลกที่จะต้องพบเจอผู้คนจำนวนมากที่ไหลเวียนมานมัสการหลวงพ่อโตกันอย่างเนืองแน่น ถือกันว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้าง
การก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาและไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิงและในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้ว่า ได้มีการสถาปนาพระพุทธรูปพุทธชื่อ ”พระเจ้าพแนงเชิง”
พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
ขนาดหน้าตักกว้าง : 14.20 เมตร
สูง : 19.20 เมตร
วัสดุ : ปูนปั้นลงรักปิดทอง
วัดพนัญเชิง คือ เรื่องราวของโศกนาฏกรรมตำนานรัก ตามพงศาวดารเหนือ ที่บันทึกไว้ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์ผู้ครองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้น ณ บริเวณพระราชทานเพลิงพระศพ พระนางสร้อยดอกหมาก พระราชธิดาบุญธรรมของพระเจ้ากรุงจีน ที่ยกให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง
ปัจจุบันมีตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมากริมแม่น้ำป่าสัก สถานที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก หรือชาวจีนเรียกว่า “จู๊แซเนี้ย”
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันตก ที่ตำบลสำเภาล่ม ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อครั้งที่ทรงอพยพมาอยู่กรุงศรีอยุธยาในช่วงก่อนที่จะมีการสถาปนา
เป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรม
มีชื่อเต็มว่า : “เพลงรำวงอยุธยาเมืองเก่า”
ขับร้องโดย : คุณชรัมภ์ เทพชัย และคุณดาวใจ ไพจิตร
คำร้อง/ทำนองโดย : คุณสุรินทร์ ปิยะนันท์
ลักษณะเป็นเพลงปลุกใจยอดฮิต ถูกนำมาขับร้องสืบทอดต่อกันมานานแล้ว เพลงนี้ถูกแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 2520 – 2522 เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการปลุกเร้าให้คนไทยสามัคคีกันในภาวะที่รัฐบาลกำลังเผชิญกับปัญหาคอมิวนิสต์
อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน จิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟัง
อยุธยาแต่ก่อนนี้ยัง เป็นดังเมืองทองของพี่น้องเผ่าพงศ์ไทย
เดี๋ยวนี้ซิเป็นเมืองเก่า ชาวไทยแสนเศร้าถูกข้าศึกรุกราน
ชาวไทยทุกคนหัวใจร้าวราน ข้าศึกเผาผลาญแหลกลาญวอดวาย
เราชนชั้นหลังฟังแล้วเศร้าใจ อนุสรณ์เตือนให้ชาวไทยจงมั่น
สมัครสมานร่วมใจกันสามัคคี คงจะไม่มีใครกล้าราวีชาติไทย
ขับร้องโดย : คุณไชยา มิตรชัย
คำร้อง/ทำนองโดย : คุณแอน มิตรชัย
แผ่นดินไทย ไม่เคยไร้พระเจ้าแผ่นดิน เป็นน้ำทิพย์ริน เย็นเกล้า เกษา
ตั้งแต่สมัย สุโขทัยอยุธยา เรื่อยลงมา ถึงกรุงเทพเมืองฟ้าอมร
ประวัติศาสตร์ไทย บอกเล่าไว้ให้โลกเลื่องลือ แผ่นดินนี้คือ ถิ่นที่คลายร้อน
เพื่อนบ้านโหยหิว ซัดเซพเนจร มีที่หลับนอน ข้าวน้ำกินฟรี
ทั่วโลก คงอิจฉาเรา น่าเศร้า เรามีแต่เขาไม่มี
มีความห่วงหา อาทรทุก ๆ นาที มีความปราณี จากองค์พระเจ้าแผ่นดิน
เด็ดดอกบัว จากริมน้ำแล้วนั่งพนม บอกทั้งอินทร์พรหม ให้รู้ว่าผู้ทรงศีล
เหนื่อยนักแล้ว ดวงแก้วของแผ่นดิน โอ้พระภูมินทร์ โลกนี้มีเพียงองค์เดียว
เด็ดดอกบัว จากริมน้ำแล้วนั่งพนม บอกทั้งอินทร์พรหม ให้รู้ว่าผู้ทรงศีล
เหนื่อยนักแล้ว ดวงแก้วของแผ่นดิน โอ้พระภูมินทร์ โลกนี้มีเพียงองค์เดียว
คือ ดอกโสน เป็นไม้ตระกูล Leguminosae เป็นลักษณะไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนโตเร็วลำต้นอวบขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปในภาคกลาง
ลักษณะทางกายภาพ : ดอกมีสีเหลืองเป็นช่อห้อย ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
ความสำคัญ : เมื่อ พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทองตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลเวียงเหล็ก เลือกชัยภูมิที่จะตั้งพระราชวัง เห็นที่ตำบลหนองโสนเหมาะสมเพราะมีต้นโสนมาก ออกดอกเหลืองอร่ามคล้ายทองคำแลสะพรั่งตา ดังนั้นดอกโสนจึงถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด
วัดมเหยงคณ์ตามแผนที่ ประเทศไทย สมัย อยุธยา เป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่เคยสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ สมเด็จพระเจ้าสามพระยา ทรงสร้างขึ้น และได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งในหลายสมัย แต่ได้กลายเป็นวัดร้าง ตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ในปัจจุบันเป็นวัดร้างที่สภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ได้ปรักหักพังไปมาก แต่ก็พอมีเค้าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปะการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬารและระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
แนวคิดทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการสร้างวัดมเหยงคณ์ แผนที่ของประวัติศาสตร์เมืองอยุธยา พบว่าได้แตกออกเป็น 2 แนวทาง คือ
มีการวิเคราะห์กันว่าวัดมเหยงคณ์นั้นถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งอโยธยา แต่ชำรุดทรุดโทรมเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 100 ปี ถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่ จึงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิม
ในสมัยกษัตริย์พระนามว่า พระภูมิมหาราช (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ในปีฉลูเอกศก (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2252) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองตลอดมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310
ปัจจุบัน : พระครูเกษมธรรมทัต หรือพระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี) เป็นเจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เมื่อปีพ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งสำนักกรรมฐานขึ้นในบริเวณวัด
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2484 ได้เข้าไปบูรณะ และเนื้อที่นอกเขตโบราณสถานได้จัดเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน โดยมีประชาชนเข้าไปรับการอบรมเป็นจำนวนมาก ทางวัดมเหยงคณ์ได้จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนามากมาย ได้แก่
กรมศิลปากรได้ให้การการดูแลโบราณสถานของวัด ถากถางพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่ขึ้นปกคลุมโบราณสถานไว้ ปรับบริเวณพื้นที่ในฝ่ายพุทธาวาสและสังฆาวาสให้ร่มรื่นและสงบเงียบจากสิ่งรบกวน กรมศิลปากรเองก็เข้ามาดำเนินการขุดแต่งและปฏิบัติโครงการบูรณะฟื้นฟูดินแดนกลุ่มอโยธยาทำให้สภาพของวัดมเหยงคณ์ ที่เปรียบเสมือนทองคำจมดินอยู่ ได้รับการขัดสีฉวีวรรณให้สุกปลั่ง ปรากฏแก่สายตาของผู้มาพบเห็นได้ชื่นชมและประจักษ์ในคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยตามแผนที่อยุธยาในอดีตในอารามแห่งนี้ได้เต็มที่
สถานที่ตั้งวัดมเหยงคณ์ : ต.หันตรา อ. เมือง จ.อยุธยา หรือ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา ของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ.1893 ถึง พ.ศ.2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ
สันนิษฐานว่าเมื่อเกิดห่าหรือกาฬโรคระบาด พระเจ้ารามาธิบดีจึงย้ายตัวเมืองเข้ามาอยู่ในบริเวณเกาะเมืองในปัจจุบัน และมีผู้สันนิษฐานว่าคงจะเปลี่ยนชื่อเมืองจาก ‘อโยธยา’ เป็น ‘อยุทธยา’ เป็นการแก้เคล็ดหรือล้างอุบาทว์
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
ก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่จากสมุดทะเบียนประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่มที่ 4 นั้นระบุว่าสร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2369 มีบางข้อสันนิษฐานกล่าวว่าบริเวณที่สร้างวัดเกตุแห่งนี้เป็นแนวที่ปักธงรบของกองทัพกรุงศรีอยุธยาที่ต่อสู้กับข้าศึก เนื่องจากคำว่า “เกตุ” ในภาษาบาลีอ่านว่า เก-ตุ แปลว่า ธง ซึ่งหากเป็นจริงตามเหตุผลนี้ก็มีความเป็นไปได้สูงที่วัดเกตุอาจสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ภายในวัดเกตุมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มาแล้วควรกราบไหว้อยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่
วัดเกตุเป็นวัดโบราณที่มีความงดงาม วัดนี้สถานที่ตั้งอยู่หลัง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย (ทุ่งมะขามหย่อง) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จากเอกสารประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏการสร้างวัดที่แน่นอน แต่ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ที่วัดพระยาแมน และทรงเคยมาบวชที่วัดนี้เมื่อครั้นทรงเป็นขุนนาง
แม้ว่าในปัจจุบันวัดพรนาแมนจะเป็นเยงวัดร้าง แต่จากผลการขุดตรวจของกรมศิลปากร พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญว่า
คือ ต้นหมัน เป็นพันธุ์ไม้ตระกูล Boraginaceae เป็นต้นไม้ขนาดปานกลาง สูงราว 60 ฟุต
ลำต้นลักษณะ : คล้ายกระบอกเนื้อไม้สีเทาปนสีน้ำตาล มีความแข็งปานกลางเปลือกหนาประมาณ 1/2 นิ้ว สีเทาปนน้ำตาลซึ่งมีรอยแตกยาวไปตามลำต้น ใบยาวประมาณ 5 นิ้วกว้างประมาณ 3 นิ้ว เป็นรูปไข่โคนใบคล้ายรูปหัวใจ
ดอก : สีขาว
ผล : เป็นพวงสีเขียวเมื่อสุก
ต้นหมัน : ขึ้นในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต้นหมันเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพราะในประวัติศาสตร์ เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลหนองโสน ได้ขุดพบสังข์ทักษิณาวัตร 1 ขอน อยู่ใต้ต้นหมันอันเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ขับร้องโดย : คุณสุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี
คำร้อง/ทำนองโดย : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
(สร้อย) **กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย ถึงเคยแตกแหลกไป ก็ไม่สิ้นคนดี
เราจะรบศัตรู ต่อสู้ไพรี เราจะกู้เกียรติศรีอยุธยาไว้เอย**
อยุธยาราชธานีศรีสยาม เป็นเมืองงามธรรมชาติช่วยสนอง
บริบูรณ์ลุ่มน้ำและลำคลอง ท้าวอู่ทองทรงสร้างให้ชาวไทย
ครั้งโบราณแพ้พม่าเป็นข้าเขา พระนเรศวรเจ้าทรงกู้ได้
ไล่ศัตรูไปพ้นแผ่นดินไทย ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
ชาวศรีอยุธยามาด้วยกัน เลือดไทยใจมั่นไม่พรั่นหนี
ชีวิตเราขอน้อมยอมพลี ไว้เกียรติศรีอยุธยาคู่ฟ้าดินฯ
สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2375 วัดบ้านสร้างเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อว่า “วัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก” แล้วมากลายสภาพเป็นวัดร้าง เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ตั้งอยู่ที่ : ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ประกอบด้วย
ทุกครั้งที่ได้ไปท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ไปไหว้พระ ที่อำเภออยุธยา อํา เภ อ พระนครศรีอยุธยา จะรู้สึกได้ถึงความมีเสน่ห์ และมนต์ขลังของความเป็นกรุงเก่าแทบทุกครั้ง บ่อยครั้งที่เรามักจะออกเดินทางโดยการศึกษา แผนที่สมัยอยุธยา เพื่อปั่นจักรยานไปชมความงามของ วัด เก่าจนอยากจะย้อนอดีตนั่งไทม์แมชชีนกลับไปดูถึง ความโดด เด่นอยุธยาบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยเจดีย์ทองเหลืองอร่ามไปทั้งเมืองในสมัยอยุธยาคงเสมือนในหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ ของทั้งชาวไทย
ชาวฝรั่งในสมัยนั้นได้บรรยายจดบันทึกไว้มีหน้าตาเป็นแบบไหน อลังการขนาดไหน งดงามขนาดไหน แต่น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ พระนครศรีอยุธยา เป็นเพียงความทรงจำ และภาพเล่าเรื่องราวกระดาษบันทึก ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยหัวใจ แม้จะเหลือเพียงซากปรังหักพังของสถานที่ต่างๆ ที่มีมากว่าร้อยปี นับเป็นมรดกของโลกในประเทศไทยที่ทรงคุณค่าคู่ควรอย่างยั่งยืนตลอดไป
คำค้น : สายมู ไหว้พระ 9 2565 ไหว้พระ 9 ถ่ายรูปสวย การ์ตูน ขอพร ไหว้พระ 9 2564 แนะนํา แผนที่ คน น้อย ไหว้พระ 9 2563 ริมน้ํา ขอพรการงาน 9 ขอพรเรื่องเงิน ให้อาหารปลา ท้าวเวสสุวรรณ สายมู pantip 9 วัด ไหว้พระ 9 รีวิว ขอพรความรัก ทำบุญ 9 ทําบุญ 9 เศียรพระในต้นไม้ png สวยๆ ศักดิ์สิทธิ์ ขอพรเรื่องงาน ไหว้พระ 9 2562 ภาพวาด ไหว้พระ9 นั่งกระเช้า พระในต้นไม้ ใส่ชุดไทย ถวายสังฆทาน เปิด ไหม ปิดไหม 2564 น่าไป unseen ไหว้พระ 9 วันเดียว แบบ ไม่ งง ถวายสังฆทาน ทํา บุญ 9 พระนอน เที่ยว 9 พระปางห้ามญาติ ใกล้ฉัน ทัวร์ ประวัติ
แหล่งอ้างอิง : https://www.sanook.com/travel/1390156/
https://www.gotoknow.org/posts/652206
https://talk.mthai.com/pr/481323.html
https://sites.google.com/site/watbosthbanphrak/prawati-wad
https://d.dailynews.co.th/article/750538/
https://www.watmahaeyong.org/history/
http://www.ayutthaya.go.th/song.php#.Ybg6xdJBz3g
https://lyricszy.blogspot.com/2017/12/blog-post_403.html
https://ayutthaya.go.th/showatg.php?selatg=17
https://travel.trueid.net/detail/Ljk2xM8Kw2a
http://aypao.go.th/aypao/area.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
https://travel.kapook.com/view189137.html
https://ww2.ayutthaya.go.th/travel/detail/36
https://www.gotoknow.org/posts/630713
thaichaplain.com/buddhasingchaimongkol
http://backpackerthai.blogspot.com/2020/06/blog-post_5.html
https://www.touronthai.com/article/2105
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_1926292
https://travel.kapook.com/view189411.html
https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=258
https://www.faiththaistory.com/phraya-man/
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
การทำความเข้าใจการ คิดประกันสังคมสำหรับลูกจ้างรายวัน อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับหลายคน บทความนี้จะช่วยอธิบายอย่างละเอียด พร้อม ตัวอย่าง ที่เข้าใจ
รายชื่อบริษัทข้ามชาติในไทย บริษัทข้ามชาติ หมายถึง บริษัทข้ามชาติ มี อะไร บาง บริษัทข้ามชาติ ภาษาอังกฤษ บริษัทข้ามชาติที่น่าสนใจ บริษัทข้ามชาติระดับโลก
การพัฒนาทักษะอาชีพ หมายถึง การพัฒนาทักษะอาชีพ ในศตวรรษที่ 21 ตัวอย่างโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ ตัวอย่าง โครงการพัฒนาทักษะอาชีพ doc กิจกรรมพัฒ
Find My iPhone เป็นเครื่องมือที่ มีประโยชน์ สำหรับการค้นหาและรักษาความปลอดภัยของ iPhone ที่อาจหลงลืมหรือสูญหาย ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตำแหน่ง
ประเพณีเกี่ยวกับศาสนามีอะไรบ้าง ประเพณีเกี่ยวกับศาสนาพุทธ ปลา มงคล ประจำวันเกิด วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนา มี อะไร บ้าง พิธีกรรม ต่างๆ ของคนไทย
คู่มือการบริหาร จัดการหนี้ แผนบริหารจัดการหนี้ ตาราง จัดการหนี้ การบริหารจัดการหนี้ หมายถึง การวางแผนการใช้เงินในชีวิต ประ จํา วัน การจัดการหนี้สินที่มีประ