อาหารปลาหางนกยูง

อาหารปลาหางนกยูง วิธีเลี้ยงให้กินอะไรสีสวยที่ไม่รู้ 2 อาหาร?

Click to rate this post!
[Total: 249 Average: 5]

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง มีชื่อสามัญว่า  Guppy  or  Millions  Fish  or  Live-bearing  Tooth-carp เป็นปลาสวยงามน้ำจืดชนิดหนึ่งที่จัดว่าเป็นปลาติดตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว   ถึงแม้ว่าจะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่มีความสวยงามและว่ายน้ำอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่ต้องตาของผู้เลี้ยงโดยทั่วไป จึงมักจำหน่ายได้ง่ายและจำหน่ายได้ดีตลอดปี ปัจจุบันนิยมเลี้ยงกันมากในตู้กระจก  ภาชนะ  หรือบ่อเลี้ยงปลาภายนอกอาคาร ซึ่งถ้าเป็นบ่อเลี้ยงปลาภายนอกอาคารมักเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำ  เช่น ในกระถางบัว อ่างเลี้ยงสาหร่าย

อาหารปลาหางนกยูง

สำหรับ อาหาร ปลา หางนกยูงจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่าอาหารสดจำพวก ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล ไรทะเล ที่มีชีวิต หรืออาหารปลาสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด อาหารควรให้ 2 เวลา คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าควรเป็นอาหารสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนำไปแช่ด่างทับทิม

การ ให้ อาหาร ปลา หางนกยูง

ถ้าต้องการให้ปลาหางนกยูงที่เลี้ยงมีสีสวยงามควรให้อาหารใด

  • ตอนเช้า ควรเป็นอาหารสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนำไปแช่ด่างทับทิม ขั้นตอนคือนำด่างทับทิมประมาณหยิบมือ ละลายน้ำ นำไรแดง หรืออาหารสดอื่นๆ ลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง
  • ตอนเย็น อาจเปลี่ยนไปให้อาหารสำเร็จรูปแทนได้ เมื่อให้อาหารปลาเสร็จแล้ว ควรดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ให้น้อยไปหรือไม่ สังเกตได้จากปลากินหมดเร็วมาก ก็ให้เพิ่มอีก แต่หากให้อาหารเยอะไปมีเศษอาหารเหลือ ให้ตักทิ้ง อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สิ่งสำคัญ ควรให้อาหารสดจำพวกไรแดง ไรทะเล ดีกว่าให้อาหารสำเร็จรูป เพราะปลาจะได้มีสีสันที่สวยงาม

เตรียมการทำความสะอาด

ให้อาหารปลาหางนกยูง

ขั้นตอนคือนำด่างทับทิมประมาณหยิบมือ ละลายน้ำ นำไรแดง หรืออาหารสดอื่นๆ ลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ตอนเย็นอาจเปลี่ยนไปให้อาหารสำเร็จรูปแทนได้ เมื่อให้อาหารปลาเสร็จแล้ว ควรดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ให้น้อยไปหรือไม่ สังเกตได้จากปลากินหมดเร็วมาก ก็ให้เพิ่มอีก แต่หากให้อาหารเยอะไปมีเศษอาหารเหลือ ให้ตักทิ้ง อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สิ่งสำคัญ ควรให้อาหารสดจำพวกไรแดง ไรทะเล ดีกว่าให้อาหารสำเร็จรูป เพราะปลาจะได้มีสีสันที่สวยงาม

blog

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง

       การเลี้ยงปลาหาง นกยูงนับเป็นเรื่องง่ายมาก ตัวปลาจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อ หากผู้เลี้ยงหมั่นทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ไล่เศษอาหารที่ตกค้างออกจากบ่ออย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจกระทำทุก 2 – 3 วัน ต่อครั้งก็เป็นการเพียงพอ สำหรับผู้เลี้ยงทั่วไปที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก ควรใช้อาหารปลาสวยงามที่จำหน่ายตามร้านขายปลาสวยงาม โดยไม่จำเป็นต้องเลือกอาหารเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีราคาไม่แพงมากนักก็จะใช้เลี้ยงปลาได้ดี เพราะปลาชนิดนี้กินอาหารได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดี โดยควรให้อาหารวันละ  2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น ส่วนผู้ที่เลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ปลาออกจำหน่าย จำเป็นต้องเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก จะต้องพยายามลดต้นทุนการผลิต อาจเลือกใช้อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลาดุกเล็ก ซึ่งมีราคาถูกและมีธาตุอาหารครบถ้วน นำมาใช้สำหรับเลี้ยงปลาก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้อย่างดี จะใช้เวลาเลี้ยงปลาประมาณ  45 – 60 วัน ก็สามารถส่งจำหน่ายได้ ลูกปลา หางนกยูง กิน อะไร

ถึงแม้ว่าปลาหางนกยูงจะแพร่พันธุ์ง่าย และมีลูกปลาเกิดขึ้นได้ในบ่อเลี้ยงอยู่เสมอ แต่ถ้าปล่อยให้แม่ปลาคลอดลูกเองภายในบ่อเลี้ยง   ในช่วงแรกลูกปลาอาจมีอัตรารอดสูง แต่เมื่อมีจำนวนปลามากขึ้น ลูกปลาในครอกต่อๆไปก็จะมีโอกาสรอดน้อยมาก เพราะจะถูกปลาตัวอื่นๆไล่จับกิน จากการทดลองพบว่าหากไม่มีการใส่พันธุ์ไม้น้ำ หรือให้ที่หลบซ่อนสำหรับลูกปลาที่จะคลอดออกมา ในบ่อเลี้ยงปลาที่มีพ่อแม่ปลาอยู่หลายคู่ ลูกปลาจะมีโอกาสรอดน้อยมาก ยิ่งถ้านำมาเลี้ยงในบ่อขนาดเล็กหรือภาชนะแคบๆ ลูกปลาจะถูกไล่กินจนหมด ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ลูกปลาจึงจะมีโอกาสรอดได้บ้าง โดยจะเหลือรอดครอกละประมาณ 10 – 20 ตัว   ขึ้นกับจำนวนปลาที่มีอยู่ในบ่อ ดังนั้นผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะปลาหางนกยูงเพื่อจำหน่ายอย่างจริงจัง จำเป็นต้องมีการจัดการการเพาะพันธุ์ปลาหาง นกยูงที่ดี  ซึ่งดำเนินการได้หลายวิธีการ ดังนี้

  1. แยกเพาะในบ่อเพาะขนาดเล็ก ใช้บ่อหรือภาชนะขนาดเล็กพื้นที่ประมาณ  1 ตารางฟุต แยกเลี้ยงปลาบ่อละ  1 คู่ ไม่ควรเลี้ยงปลาเกิน 1 คู่ เพราะปลาเพศเมียจะค่อนข้างมีความดุร้าย ในการไล่ล่าลูกปลาที่พึ่งคลอดจากแม่ปลาตัวอื่น ใส่พันธุ์ไม้น้ำพวกสาหร่ายหรือจอกที่มีรากยาวๆลงในบ่อเพาะ เพื่อเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลา เพราะเมื่อลูกปลาคลอดออกมาก็จะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ตามสาหร่ายหรือรากของจอก ช่วยให้รอดพ้นจากการถูกแม่ปลาจับกินได้ เป็นวิธีการเพาะที่ใช้ได้ผลดี และจะสามารถคัดปลาทั้งเพศผู้และเพศเมียที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการมาผสมกันได้ จากนั้นคอยหมั่นแยกลูกปลาที่ได้ออกไปอนุบาล  ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ต้องใช้พื้นที่มาก และค่อนข้างใช้เวลาในการดูแล
  2. แยกเฉพาะแม่ปลาที่ท้องแก่ใกล้คลอดมาจากบ่อเลี้ยง เป็นวิธีการที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาจำนวนมากไว้ในบ่อเลี้ยง แล้วหมั่นสังเกตหาปลาที่มีท้องแก่ จากนั้นจึงแยกเฉพาะแม่ปลาที่มีท้องแก่ คือมีท้องขยายใหญ่มากออกมาเพียงตัวเดียว นำไปใส่ในภาชนะเล็กๆที่มีช่องตาให้ลูกปลาลอดออกไปได้ คล้ายกับเป็นห้องรอคลอดซึ่งมีผลิตออกมาจำหน่ายโดยเฉพาะ แต่ค่อนข้างจะมีราคาแพง ซึ่งอาจใช้ภาชนะอื่นทดแทนได้ เช่น ใช้ตะกร้าแขวนสำหรับใส่แปรงสีฟันในห้องน้ำ โดยมักจะแขวนภาชนะนั้นจำนวนหลายอัน ไว้ในตู้กระจกหรือในกะละมังใบเดียวกัน แม่ปลาที่ถูกคัดออกมามักจะคลอดลูกภายใน 1 – 3 วัน ยิ่งเมื่อดำเนินการไปนานๆ แม่ปลาจะมีความเคยชิน ก็มักจะคลอดลูกภายใน 1 วัน หลังจากที่แยกมาปล่อยลงในที่สำหรับคลอด ลูกปลาจะลอดช่องตาของภาชนะออกไปรวมกันในตู้หรือกะละมัง แยกลูกปลาไปอนุบาลแล้วนำแม่ปลาไปเลี้ยงพักฟื้น 3 วันจึงปล่อยกลับลงบ่อเลี้ยง จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่ให้ผลดีที่สุด เพราะลูกปลามีอัตราการรอดมากที่สุดและทำได้ค่อนข้างสะดวก แต่อาจไม่เหมาะสมที่จะใช้กับฟาร์มผลิตขนาดใหญ่
  3. แยกเลี้ยงในภาชนะที่มีช่องตาขนาดที่ลูกปลาจะรอดออกไปได้ เป็นวิธีการที่คัดแยกพ่อแม่พันธุ์ปลาจำนวนมาก มาเลี้ยงในภาชนะที่มีช่องตาขนาดที่ลูกปลาจะรอดออกไปได้ แต่พ่อแม่ปลาจะไม่สามารถรอดออกไปได้   เป็นภาชนะขนาดปานกลาง เช่น กระชัง  ตะกร้า  หรือกระจาด ซึ่งจะนำไปกางหรือวางในภาชนะหรือบ่ออีกทีหนึ่ง กระชัง ตะกร้า หรือกระจาดนี้จะใช้เลี้ยงปลาได้ใบละ  5 – 7  คู่ ไปจนถึง 50 คู่ เมื่อแม่ปลาคลอด ลูกปลาจะสามารถว่ายหนีผ่านช่องตะกร้าออกไปสู่ภายนอก เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีเช่นกัน ปลาที่เลี้ยงอยู่ในตะกร้าแต่ละใบจะให้ลูกสัปดาห์ละ 1 ครอกเป็นอย่างน้อย ก็แยกลูกปลาออกไปอนุบาลได้ เป็นวิธีที่นิยมกระทำกันมากในฟาร์มที่ผลิตลูกปลาเพื่อจำหน่าย โดยใช้ตะแกรงพลาสติกทำเป็นกระชังขนาดประมาณ 0.5 – 1 ตารางเมตรวางในบ่อซิเมนต์ ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาลงในกระชัง 20 – 30 คู่ ลูกปลาที่คลอดออกมาจะว่ายหนีออกจากกระชังได้ดี ทำให้สามารถผลิลูกปลาได้ค่อนข้างมาก  ข้อเสียของวิธีนี้  คือ เศษอาหารมักจะลงไปตกค้างอยู่ก้นภาชนะมาก  ทำให้ปลาติดเชื้อได้ง่าย ต้องหมั่นทำความสะอาด

ปัญหาการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง                   

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง คือ ลูกปลาที่ได้มามีลักษณะไม่ตรงตามต้องการ หรือมีลักษณะไม่เหมือนกับพ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เพาะ แต่มักจะมีลักษณะด้อยกว่าพ่อแม่ปลา คือมีความสวยงามไม่เท่าพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ  คือ

  1. พ่อแม่พันธุ์ที่นำมาใช้เพาะอาจเป็นปลาครอกเดียวกัน  การนำปลาเลือดชิดมาผสมกัน ลูกปลาที่ได้จะแสดงลักษณะด้อยออกมามากขึ้น จึงทำให้ลูกปลามีลักษณะไม่สวยงามเท่าพ่อแม่พันธุ์
  2. ปลาเพศเมียที่คัดแยกมาเพาะอาจได้รับน้ำเชื้อจากปลาเพศผู้ตัวอื่นมาแล้ว   เพราะในขณะที่ปลาตั้งท้อง ถึงแม้ว่าปลาจะได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้แล้ว แต่ปลาเพศผู้ตัวอื่นๆก็จะมาผสมกับแม่ปลาไปเรื่อยๆ น้ำเชื้อที่ถูกส่งเข้ามาในรังไข่ใหม่นี้จะตกค้างและมีชีวิตอยู่ได้นาน เมื่อปลาคลอดลูกออกไปแล้ว ไข่ที่เจริญมาใหม่ก็จะถูกผสมโดยน้ำเชื้อที่ตกค้างอยู่เหล่านี้ ทำให้แม่ปลาดังกล่าวไม่ได้รับการผสมกับปลาเพศผู้ที่คัดมา ดังนั้นเมื่อแม่ปลาคลอดลูกแล้วอาจต้องเลี้ยงแยกไว้ ปล่อยให้คลอดลูกอีกครอกซะก่อน จึงค่อยนำไปผสมกับปลาเพศผู้ที่คัดไว้
  3. ขาดการดูแล  ลูกปลาที่เกิดขึ้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ไม่ดีพอ อาจได้รับอาหารไม่สมบูรณ์หรือไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ปลามีความแคระแกรนรูปทรงไม่สวยงามได้

ลูกปลา หางนกยูง กิน อะไร

ลูกปลาที่แยกออกมาจากบ่อเพาะหรือแม่ปลาที่คลอดแล้ว นำมาเลี้ยงในภาชนะหรือบ่อขนาดปานกลาง มีความจุประมาณ 30 – 100 ลิตร ขึ้นกับจำนวนลูกปลา แล้วเลี้ยงด้วยอาหารผง (อาหารอนุบาลลูกปลาดุก)โดยให้บริเวณผิวน้ำ ลูกปลาจะสามารถกินอาหารผงได้เป็นอย่างดี เพราะปลาหางนกยูงเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย หมั่นทำความสะอาดก้นบ่อและถ่ายน้ำเสมอๆเช่นเดียวกับบ่ออนุบาลลูกปลาทอง เพื่อเร่งให้ลูกปลาเจริญเติบโตเร็ว จะเลี้ยงด้วยอาหารผงประมาณ 15 วัน ลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้นจนสามารถนำไปปล่อยเลี้ยงรวมกับปลาขนาดใหญ่ในบ่อเลี้ยงได้อย่างปลอดภัย

ขอบคุณที่มาบทความ:sites.google.com/site/kvsdahwykeing/home

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

การ์ตูนและศาสนา
ชื่อเล่น-ลูกสาว
หมื่นประมาท
อุดหนุนบุตร
พริก
ปก 10 วิธีการดูแลสุขภาพ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 174978: 1553