พัฒนาการด้านร่างกาย

6 ปี พัฒนาการด้านร่างกาย ปฐมวัยมีอะไรบ้าง รู้ก่อนจะไม่พลาด?

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กวัยอนุบาล (3-6 ขวบ) เป็นวัยที่มีลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางสติปัญญา คือ เป็นวัยที่สามารถใช้สัญลักษณ์แทนสิ่ง ของ วัตถุ และสถานที่ได้ เริ่มมีทักษะในการใช้ภาษาที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ มีความคิดคำนึง มีความตั้งใจทีละเรื่อง และยังไม่สามารถจะพิจารณาหลายๆเรื่องรวมกันได้ นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ด้วยการที่พ่อแม่ไม่ปิดกั้นหนทางในการสร้างสรรค์ของเด็ก

แต่ครอบครัวหรือผู้ใหญ่รอบตัวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีความใฝ่รู้ ได้แสดงความสามารถ กล้าแสดงความคิดเห็น โดยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรู้จักคิด ฝึกให้สังเกตสิ่งรอบตัว ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ ให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกในเรื่องต่างๆ ให้เด็กได้ฝึกคิดแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง ทั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและความถูกต้องเหมาะสม

พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านสติปัญญา แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้

  1. การคิด
  2. การใช้ภาษาในการสื่อสาร
  3. การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
  4. การนับจำนวน
  5. มิติสัมพันธ์
  6. เวลา ใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  1. การคิด หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การคิดเชื่อมโยงความสัม พันธ์สิ่งของต่างๆ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา
  2. การใช้ภาษาในการสื่อสาร ด้วยการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
  3. การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ ได้แก่ การจำแนกเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง การจัดหมวดหมู่สิ่ง ของ และการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
  4. จำนวน ทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน
  5. มิติสัมพันธ์ คือ การเข้าใจและการอธิบายในเรื่องพื้นที่ ตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง
  6. เวลา ใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาล
พัฒนาการด้านสติปัญญา

เด็กที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นอย่างดี หรือที่เรามักเรียกว่า เด็กฉลาด จะเป็นเด็กช่างสังเกต เรียนรู้เร็ว ชอบตั้งคำถาม ใช้คำศัพท์ได้มากและถูกต้อง มีความคิดเป็นของตัวเอง มีความจำดี ชอบอ่านหนังสือ ชอบเป็นผู้นำ ชอบแสดงความคิดเห็น ชอบวาดภาพตามความคิดของตัวเอง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ ชอบทดลองสิ่งต่างๆ ชอบคิดแก้ปัญหา มีจินตนา การ และชอบสร้างสรรค์สิ่งต่างๆอย่างเป็นอิสระ

         

          ดังนั้น หากผู้ใหญ่รอบตัวให้ความสนใจพัฒนาลูกน้อยให้เติบโตเต็มศักยภาพ จะส่งผลให้ลูกมีศรัทธาต่อตัวเอง มีความเชื่อ มั่นในตัวเอง เห็นว่าตัวเองมีความสามารถ ทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ มีท่าทีต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม มีความสนใจที่จะเรียนรู้และหาวิธีแก้ปัญหา ไม่โวยวายหรือโทษผู้อื่น สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ตามความเป็นจริง เรียนรู้จากการลองผิดลองถูก ลองคิด ลองทำ โดยไม่สนใจกับคำพูดของผู้อื่นหรือความวิตกกังวลต่างๆของตัวเอง นอกจากนี้หากลูกได้มีการทบทวนพิจารณาสิ่งที่ได้ทำไป ด้วยการตรวจสอบการคิดแก้ปัญหาของตนเองอย่างเป็นขั้นตอน เมื่อพบข้อผิดพลาด ก็จะหาทางแก้ไข หรือพิจารณาปรับปรุงแก้ปัญหาให้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้ลูกพัฒนาต่อไปได้ดี

ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการด้านสติปัญญาในวัยนี้ สรุปได้ดังนี้
  1. เป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ ใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ วัตถุ และสถานที่ มีทักษะในการอธิบาย สามารถเล่าประสบการณ์ของตนได้
  2. สามารถวาดภาพในใจได้ ลักษณะพิเศษของเด็กวัยนี้ คือ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้างจินตนาการและการประ ดิษฐ์ แต่บางครั้งอาจไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงออกจากความจริงได้ ผู้ใหญ่จะต้องพยายามช่วยเหลือ
  3. มีความตั้งใจทีละอย่าง ยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณาหลายๆอย่างผสมกัน ไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายอย่างปนกัน จะแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน
  4. ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว ยังค่อนข้างสับสน ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร และความสามารถในการจัดลำดับ การตัดสินใจของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล

ข้อแนะนำในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้กับลูก ได้แก่

จัดกิจกรรมที่ปลูกฝังการคิด ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (มอง ฟัง สัมผัส ชิมรส ดมกลิ่น) เลียนแบบการกระทำและเสียงต่างๆที่ได้ยิน พาลูกไปทัศนศึกษา ชวนลูกเขียนภาพ ระบายสี ปั้นดิน และให้ลูกได้มีโอกาสพูดอธิบายผลงานของตนเอง

ฝึกฝนการใช้ภาษาในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน ได้พูดแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น อธิบาย เล่านิทานให้ลูกฟัง อ่านคำคล้องจอง คำกลอนต่างๆ

เด็กฝึกพัฒนาร่างกาย

เด็กฝึกพัฒนาร่างกาย

ส่งเสริมทักษะการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ ด้วยการพาลูกสำรวจ อธิบายความเหมือน-ความต่างของสิ่งต่างๆ สนทนากับลูกเกี่ยวกับลักษณะของวัตถุสิ่งของนั้นๆ นำสิ่งของมาจับคู่ จำแนก จัดกลุ่ม เปรียบเทียบ เรียงลำดับ คาด คะเน ตั้งสมมติฐาน ทำการทดลอง สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ

สอนเรื่องจำนวน ทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน ด้วยการฝึกเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน นับสิ่งของต่างๆ จัดโต๊ะอาหาร จับคู่อุปกรณ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ช้อนกับส้อม จานกับผ้ารองจาน เป็นต้น

อธิบายเรื่องมิติสัมพันธ์ คือ ความเข้าใจในเรื่องตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง และพื้นที่ ด้วยการเล่นทราย กรอกน้ำ ต่อบล็อก ปีนป่ายเครื่องเล่นสนาม สำรวจสถานที่ อธิบายตำแหน่งที่อยู่ ทิศทางของสิ่งต่างๆ

เชื่อมโยงระยะเวลากับการกระทำ ทบทวนกิจวัตรประจำวันที่ทำ เปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ ด้วยการให้ลูกทำกิจกรรมประจำวันตามลำดับอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยสังเกตอากาศแต่ละวัน และสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับสภาพอากาศนั้น

ครอบครัวมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย หากครอบครัวเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม ลูกได้รับความสัมพันธ์ที่อบอุ่นจากพ่อแม่ พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกิจกรรมต่างๆกับลูก บุคคลในครอบครัวดำเนินชีวิตเป็นสุข พ่อแม่ได้จัดเวลา จัดสถานที่ ให้ลูกเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย และเล่นอย่างปลอดภัย ลูกก็จะมีพัฒนาการที่เติบโตสมวัย มีอารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใส ส่งผลให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุด พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป แนวทางในการอบรมเลี้ยงดูลูก

รับประทานอาหารตามวัย อาหารและโภชนาการที่ดีในวัยเด็กเล็ก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกตลอดชีวิต ลูกควรได้รับอาหารที่พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย ได้รับอาหารสะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกกินอาหารรสธรรมชาติ ฝึกให้รับประทานได้หลากหลาย และฝึกให้กินผักผลไม้จนเป็นนิสัย ลูกควรได้รับอาหาร 3 มื้อหลัก และอาหารว่างที่มีคุณภาพ 2 มื้อต่อวัน นอกจากนี้ ลูกควรดื่มนมที่มีคุณค่า ได้ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานหรือน้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ เพราะจะทำให้ลูกกินอาหารได้น้อย ทำให้ติดรสหวานและฟันผุได้ พ่อแม่ควรฝึกวินัยการกินอย่างเหมาะสมจนเป็นนิสัยให้กับลูก เวลารับประทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่ดีที่พ่อแม่จะได้พูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับลูก จะช่วยให้ลูกเจริญอาหาร และได้เรียนรู้มารยาทที่เหมาะสม

ฝึกแปรงฟันในเด็กเล็ก

สร้างเสริมสุขนิสัยที่ดี การดูแลให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกปฏิบัติตัวให้มีสุขอนามัยที่ดีจนเป็นนิสัย ด้วยการฝึกให้ลูกปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม เช่น สร้างนิสัยการล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟันอย่างถูกวิธี ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องใช้ รวมถึงที่อยู่อาศัยให้สะอาด ปลอดภัย กำจัดแหล่งขยะให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ

สร้างเสริมสุขนิสัยที่ดี การดูแลให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกปฏิบัติตัวให้มีสุขอนามัยที่ดีจนเป็นนิสัย ด้วยการฝึกให้ลูกปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม เช่น สร้างนิสัยการล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟันอย่างถูกวิธี ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องใช้ รวมถึงที่อยู่อาศัยให้สะอาด ปลอดภัย กำจัดแหล่งขยะให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ

พักผ่อนเพียงพอ พ่อแม่ควรจัดให้ลูกได้นอนหลับเพียงพอ ซึ่งเด็กวัยนี้ควรมีเวลานอนต่อเนื่อง 8-10 ชั่วโมง และนอนกลางวันประมาณ 1-2 ชั่วโมง มีการออกกำลังกายพอสมควร จะส่งผลให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย มีจิตใจที่มั่นคง มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการทำงาน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการปรับตัว และสามารถแก้ไขความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ได้

กระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อเล็ก จัดหาของที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆให้ลูกเล่น หัดขีดเขียนบนกระดาษหรือพื้นทราย ให้ลูกมีโอกาสช่วยงานบ้านง่ายๆ เช่น ซักผ้า เก็บผ้า พับผ้า ช่วยกรอกน้ำใส่ขวด จัดโต๊ะอาหาร เรียงช้อน

กระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ให้ลูกหัดเดินทรงตัวบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือกเล่นโยน-รับและเตะลูกบอลฝึกความแคล่วคล่องว่องไว

พัฒนการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

เปิดโอกาสให้ลูกปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เช่น กินข้าว แปรงฟัน อาบน้ำ ล้างหน้า ใส่รองเท้า แต่งตัว ติดกระดุม รูดซิป สิ่งสำคัญก็คือ เด็กๆเรียนรู้จากการกระทำของตนเอง ลูกจึงควรได้รับโอกาสจับแปรงสีฟัน ช่วยบีบยาสีฟันใส่แปรง และใช้แปรงสีฟันของตนเอง ลูกมีส่วนช่วยหยิบเสื้อผ้าจากตู้ หยิบเสื้อผ้าใส่เอง โดยอาจลองผิดลองถูก หัดรับประทานอาหารเอง หัดจับช้อน ตักอาหารใส่ปากด้วยตัวเอง ซึ่งจะต้องหกเลอะเทอะบ้างเป็นธรรมดา แต่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้ลูกน้อยเกิดการเรียนรู้

เล่นกับลูก ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเล่นเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับเด็ก การเล่นและของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของเด็กวัยนี้

ขอบคุณที่มาบทความ:sites.google.com/site/ochonnun