สัญลักษณ์จำนวนความหมายและการใช้งานในชีวิตประจำวัน 4 ตัวอย่าง?
สัญลักษณ์จำนวน เป็นสิ่งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การคำนวณเงินซื้อของจนถึงการวัดเวลา ซึ่งการเข้าใจและใช้สัญลักษณ์จำนวนได้อย่างถูกต้อง จะช่วย
สัตว์เศรษฐกิจ คือ สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน
ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้
อาชีพเลี้ยงสัตว์ จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำกันอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ทั้งเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ โดยการเลี้ยงสัตว์สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพและใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับนานาประเทศ เนื่องจากผลผลิตที่ผลิตได้จากประเทศไทยสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภคและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพตามมาตรฐานทั้งจากยุโรปหรืออเมริกา
ซึ่งในระยะหลังจากที่เกิดภาวะโลกร้อนหรือ “Global Warming” มีการสูญพันธ์ของสัตว์นานาชนิดมากขึ้นมีการก่อกำเนิดของโรคใหม่ๆ ระบาดสู่คนมากขึ้น เช่น ซาร์สหรือไข้หวัดนก ทำให้มีการฆ่าทำลายสัตว์ปีก และไก่ จำนวนมากมหาศาลตามที่เห็นอยู่ในข่าวที่ผ่านมา เราจึงต้องมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้น ทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสมารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการจำหน่ายตามความต้องการของผู้บริโภค เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว สามารถประกอบอาชีพได้
เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีผู้นิยมบริโภคสูง สามารถจำหน่ายได้ง่ายและสม่ำเสมอ เช่น ผึ้งและผลิตภัณฑ์ ตั๊กแตน เป็นต้น ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคอยู่จำนวนมากพอสมควร และมีการลงทุนต่ำ ปัจจุบันมีสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ออกจำหน่ายและส่งเสริมการผลิตด้วยจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สดใส
สัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกชนิดที่นำมาฝากสมาชิกวิชาชีพปริทัศน์ เพื่อเป็นทางเลือกในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจก็คือ ปูม้า โดยธรรมชาติแล้วปูม้าจะมีกระดองกว้าง ระหว่างขอบตามีหยักประมาณสีหยัก ขาสั้นกว่าก้าม ขาคู่ท้ายแบนเป็นรูปใบพาย ตัวผู้มีก้ามยาวกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีฟ้าอ่อน มีจุดสีขาวทั่วไปบนกระดอง พื้นท้องเป็นสีขาว ก้ามสั้นกว่าตัวผู้ กระดองสีน้ำตาลอ่อน มีตุ่มขรุขระไม่มีจุดสีขาวเหมือนตัวผู้ ปลายขามีสีม่วง
ด้วยความที่สังคมไทยมีวิถีชีวิตอยู่คู่กับการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ในปัจจุบันจะมีความทันสมัยใด ๆ เข้ามาแต่บรรดาสัตว์เศรษฐกิจทั้งหลายก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง รวมถึงสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งด้วย ซึ่งหากว่ากันตามตรงสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจของบ้านเราก็มีตัวเลือกอยู่เยอะพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศก็ตาม ลองมาไล่เรียงทำความรู้จักกับสัตว์เหล่านี้ไปพร้อมกันเพื่อโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
อย่างที่กล่าวเอาไว้ในเบื้องต้นว่าความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจหลัก ๆ แล้วคือการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงรวมถึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตขึ้นได้ ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจัดว่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงสามารถเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ได้อย่างสบาย แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันจึงขอแบ่งความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจเอาไว้ 5 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสัตว์เศรษฐกิจ ไม่ได้หมายถึงการนำเอาเนื้อ หรืออวัยวะต่าง ๆ ของพวกมันมาใช้สร้างรายได้เพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรจำนวนมากยังใช้แรงงานจากสัตว์เหล่านี้ในการสร้างผลผลิตเพื่อให้ตนเองเกิดรายได้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เช่น การใช้ควายหรือกระบือในการทำนา แม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องมืออันแสนทันสมัยเอาไว้ช่วยประหยัดต้นทุนและแรงงานมากขึ้น แต่แรงงานจากสัตว์ก็ยังเป็นตัวช่วยให้เกิดการสร้างรายได้ที่ดีไม่เปลี่ยน
ความสำคัญในด้านนี้ถือว่าชัดเจนและตรงประเด็นมากที่สุด นั่นคือเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงสามารถสร้างรายได้จากสัตว์เศรษฐกิจได้แบบตรง ๆ ตัว อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือ สามารถนำสัตว์เหล่านั้นมาทำเงินให้กับตนเองได้ทันทีเมื่อเติบโตเต็มที่ เช่น เนื้อสัตว์, ขนสัตว์, กระดูกสัตว์ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ตัวของผู้เลี้ยงเองอาจไม่ได้เป็นคนนำไปแปรรูป เพียงแค่ส่งต่อให้กับโรงงานหรือบริษัทที่จะรับช่วงต่อ เป็นการสร้างรายได้และเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
จริง ๆ แล้วสัตว์ทุกชนิดล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้โลกใบนี้เกิดความสมบูรณ์ทั้งสิ้น ดังนั้นความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจอีกอย่างก็คือ ช่วยให้ธรรมชาติยังคงอยู่ได้อย่างเป็นปกติ ตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ๆ ในการช่วยให้ความสมดุลของธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืชผัก เป็นต้น ตรงนี้เองจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ได้จากสัตว์เหล่านี้ไม่ใช่แค่ตัวพวกมันเพียงอย่างเดียว แต่ของเสียต่าง ๆ ยังสร้างประโยชน์เพื่อให้ธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้โลกใบนี้ยังคงอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย
เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจกันแล้ว คราวนี้อยากอธิบายในส่วนของความหมายเพื่อให้รู้จักกันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น สัตว์เศรษฐกิจ หมายถึง บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งตามธรรมชาติและถูกมนุษย์เลี้ยงดู ซึ่งปริมาณของสัตว์เหล่านี้มีจำนวนเยอะจนมีการนำเอามาสร้างรายได้ให้กับตนเองและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ปกติแล้วในทุก ๆ ประเทศเองก็จะมีสัตว์เศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สำหรับประเทศไทยของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเองก็มีการใช้งานสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้เพื่อสร้างรายได้รวมถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ มาอย่างยาวนานมาก ๆ ซึ่งถ้าพูดถึงสัตว์เหล่านี้มักนึกถึงสัตว์ทั่ว ๆ ไปที่พบเห็นว่าถูกนำเอาอวัยวะต่าง ๆ มาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น เนื้อหมู, เนื้อไก่, เนื้อปลา แต่ในความเป็นจริงเมื่อโลกพัฒนามากขึ้นจะสังเกตว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็พยายามที่จะสร้างประเภทของสัตว์เศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อเป็นการกระจายรายได้ รวมถึงการใช้สัตว์ป่ามาแปรสภาพให้เกิดรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ใช้สัตว์ป่าเองจะมีการกำหนดปริมาณและความเหมาะสมในการล่าเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นสูญพันธุ์
ดังนั้นด้วยความที่หลายฝ่ายเป็นกังวลใจว่าสัตว์ป่าที่อดีตเคยอาศัยอยู่ในป่าจะโดนไล่ล่าจนไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ทัน จึงมีนโยบายให้สามารถนำสัตว์บางชนิดมาเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจโดยตรงได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดเอาไว้เช่นกัน ไม่ใช่ว่าจะเลือกเลี้ยงอย่างไรก็ได้
จากการกล่าวถึง 2 หัวข้อใหญ่ ๆ ทั้งเรื่องความสำคัญ และสัตว์เศรษฐกิจ หมายถึงอะไร คราวนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องของประเภทสัตว์เหล่านี้ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน รวมถึงคนไทยเองก็ได้อิ่มท้องจากการบริโภคสัตว์เหล่านี้ด้วย โดยสัตว์เศรษฐกิจ มีอะไรบ้างนั้น ลองตามมาดูกันเลย
สัตว์กลุ่มแรกเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีที่สุดหากพูดถึงสัตว์เศรษฐกิจ เพราะลักษณะที่เด่นชัดของพวกมันคือจะเน้นการกินหญ้าและทำปากเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องนี้มีหลายชนิด เช่น
ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากนำส่วนต่าง ๆ ของพวกมันมาใช้งานเพื่อสร้างรายได้ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องแยกประเภทให้เสียเวลา เพราะจริง ๆ แล้วก็คือ สุกร หรือ หมู ที่ทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในอดีตถ้าเป็นหมูพันธุ์พื้นเมืองของไทยจริง ๆ แล้วจะมีขนาดเล็ก แม้ว่าแต่ละครั้งจะออกลูกได้เยอะ และทนต่อสภาพอากาศแต่เวลานำไปขายจริง ๆ กลับไม่ค่อยได้ราคามากนัก จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์ต่างประเทศมาผสม
ส่วนใหญ่แล้วสัตว์เศรษฐกิจก็ถือเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงและยกระดับเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับความนิยมในการนำไปบริโภค ทั้งนี้ในเมืองไทยสามารถแบ่งประเภทสัตว์ปีกยอดนิยมในการเลี้ยงได้ดังนี้
ปิดท้ายกันด้วยสัตว์เศรษฐกิจที่ต้องอาศัยน้ำในการเลี้ยงดู นั่นคือกลุ่มสัตว์น้ำที่มีความหลากหลายมาก ๆ ไม่ใช่แค่ปลาเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นน้ำจืดกับน้ำเค็มอีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มสัตว์น้ำจืดจะนิยมเลี้ยงกันทางภาคกลาง แต่ถ้าเป็นน้ำเค็มจะมีทั้งการจับจากทะเลและการเลี้ยงริมทะเลตามแถบจังหวัดชายฝั่งนั่นเอง โดยขอแยกให้เห็นภาพดังนี้
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเมืองไทยของเรายังจำเป็นต้องพึ่งพาสัตว์ต่าง ๆ ในการหาเลี้ยงชีพ สร้างรายได้ รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงสรุปได้ว่าถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่พื้นที่จุดต่าง ๆ ในเมืองไทยมีความเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจหลากหลายชนิด ไม่ต้องนำเข้าให้เสียเงินแพง ๆ ในทางกลับกันยังสามารถสร้างเงินให้กับผู้คนและสร้างเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต มีเงินเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายใจ อาชีพที่ยังคงเป็นเสาหลักให้เมืองไทยเรื่อยมาแม้เวลาจะผ่านมานานแค่ไหนก็ตาม
ขอบคุณที่มาบทความ:sites.google.com/site/naeanataw22512016/ วันศุกร์, 13 พฤษภาคม 2565 ,arda.or.th/ วันศุกร์, 13 พฤษภาคม 2565