เอกสาร การหย่าจดทะเบียนเลิกกันต้องใช้อะไรบ้างครบ 4 เอกสาร?
เอกสารการหย่า
เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า
- พยานบุคคลจำนวน 2 คน
การจดทะเบียนหย่า
การสิ้นสุดการสมรสมี 3 วิธี คือ
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
- การจดทะเบียนหย่า
- ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
- การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน และการจดทะเบียนหย่า ต่างสำนักทะเบียน
- การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า
- กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
* คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
* คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน
- กรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
* คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
* คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด
* คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน
- กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
* หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมี เงื่อนไขให้ไปจด
ทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด
- การหย่า
การจดทะเบียนหย่า
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ
- การรับเรื่อง
– คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร(ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือ หย่าแล้วยื่นคำร้องตามแบบ คร.1 พร้อมหนังสือหย่า
ต่อนายทะเบียน
* ป.พ.พ.ม. 1514,1520,1522
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศห 2541ข้อ 6,8 ผู้รับผิดชอบ “เจ้าหน้าที่”
- ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย
หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 ใบสำคัญการสมรส (คร.3) หรือสำเนาทะเบียนสมรส
2.4 หนังสือหย่าหรือข้อตกลงการหย่า ที่มีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
2.5 พยานอย่างน้อย 2 คน
* ป.พ.พ. ม.1514
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 8,20(1) ผู้รับผิดชอบ “เจ้าหน้าที่”
- ตรวจสอบคุณสมบัติ
3.1 คู่หย่าแสดงความยินยอมที่จะจดทะเบียนหย่า
3.2 คำพิพากษาของศาลซึ่งผู้ร้องนำหลักฐานมาแสดงต่อนายทะเบียน ผู้รับผิดชอบ “เจ้าหน้าที่”
- ผู้มีอำนาจในการจดทะเบียน
– นายทะเบียน (นายทะเบียน/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต หรือผู้รักษาราชการแทน
* กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ผู้รับผิดชอบ “นายทะเบียน”
- ชี้แจ้งผลการจดทะเบียนหย่า
– นายทะเบียนชี้แจงผลของการจดทะเบียนการหย่าให้ผู้ร้องทราบ
- การลงรายการให้ทะเบียน
6.1 ลงรายการด้วยวิธีการพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนหย่า (คร.6) และ ใบสำคัญการหย่า (คร.7) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์
จะให้บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน อำนาจปกครองบุตร หรือเรื่องอื่นให้นายทะเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
6.2 เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนหย่าแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันทีก่อนการสั่งพิมพ์ – กรณีไม่มีการแก้ไขและได้
สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีก อันจะเป็นการป้องกันการแก้ไข หรือลบข้อมูลโดยมิชอบเมื่อเห็นว่าถูกต้องให้
สั่งพิมพ์ทกหะเบียนการหย่า (คร.6) และใบสำคัญการหย่า คร.7 เพื่อให้ผู้ร้องและพยานลงลายมือชื่อใน คร.6 และ คร.7 แล้วมอบ
คร.7 ให้คู่หย่าฝ่ายละ 1 ฉบับ
* ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบรัว พ.ศ.2541 ข้อ 20 ผู้รับผิดชอบ “นายทะเบียน”, “เจ้าหน้าที่” แล้วมอบ คร.7 ให้ คู่หย่าฝ่ายละ 1 ฉบับ
- เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้วให้นายทะเบียนเก็บ
– รักษาทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขทะเบียน โดยมิให้ทำลายเพราะเป็น เอกสารสำคัญ
ทางกฎหมาย ซึ่งใช้รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องนายทะเบียนไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ อีกเพราะมีข้อมูลอยู่ในเครื่องแล้ว
- กรณีเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าหรือระบบการสื่อสารขัดข้อง
– ให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือ การบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียนด้วยมือ ลงในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนการหย่า (คร.6) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนหย่า ดังกล่าวไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่งภายหลังผู้รับผิดชอบ “นายทะเบียน”, “เจ้าหน้าที่”
- การจดทะเบียนการหย่าต่างสำนักทะเบียน
มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
- สำนักทะเบียนแห่งแรกถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือ การบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียนด้วยมือลงในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนการหย่า (คร.6) จากนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 21 ก.
- สำนักทะเบียนแห่งที่สอง
2.1 ถือปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นข้อ 5-8 และ
2.2 ถือปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 21 ข.
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ21 ผู้รับผิดชอบ “นายทะเบียน”, “เจ้าหน้าที่”
ขอบคุณที่มาบทความ:bora.dopa.go.th วันจันทร์, 30 พฤษภาคม 2565
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
นิโรธคือ สมุทัย ประกอบด้วย มรรค คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ ทุกข์คือ สมุทัย หลักธรรม สมุทัย ความคิด การกระทําที่เกิดจาก อริยสัจ 4 ทุกข์ คือ ออนไลน์
วิจัยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ปฐมวัย การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีอะไรบ้าง กล้ามเนื้อเล็ก หมายถึง การพัฒนากล้าม
ปี 2567 เป็นปีแห่งโอกาสและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หลายคนมองหาวิธีที่จะทำให้การเงินของตนเองมั่นคงและสร้างรายได้เพิ่มเติม การบริหารการเงินอย่าง
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างไร อริยสัจ 4 ได้แก่ อริยสัจ 4 คือ อริยสัจ 4 ใน-ชีวิต-ประ-จํา-วัน นิโรธคือ มรรคคือ อริยสัจ 4 ทุกข์ คือ
Feasibility Study คือ การศึกษา Feasibility-Study ความเป็นไปได้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้ ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน ความ
โครงเรื่องหลักของนิทานเวตาลกล่าวถึงตัวละครเอก 2 ตัวคือใคร ภาพเวตาล น ม ส คือ ใคร มีความ เกี่ยวข้อง กับ นิทานเวตาล อย่างไร ผู้ที่เดินทางไปจับเวตาลคือ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 175930: 1174