บริษัทจำกัด

2 วิธีจดจัดตั้ง จดทะเบียนบริษัทจํากัดรู้ก่อนจดเองได้?

บริษัทจํากัด

บริษัทจำกัด คือ (Company limited or corporatino) กิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทเพื่อกระทำกิจกรรมทางธุรกิจร่วมกัน ทั้งนี้ผู้ก่อการทั้ง 3 คนต้องลงชื่อซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น เป็นกิจการขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ที่เข้าชื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิ และต้องจดทะเบียนเป็นนนิติบุคคล

จดทะเบียนบริษัท 1 คน

จดทะเบียนบริษัท 1 คน

บริษัทจำกัด เป็นกิจการตั้งขึ้นในรูปแบบนิติบุคคลด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ทุนของธุรกิจแบ่งออกเปนจำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน โดยมีมูลค่าหุ้นจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท โดยแบ่งหุ้นออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) หุ้นสามัญ (Common stock) และ 2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock) ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทจำกัดเรียกว่า

  1. ผู้ถือหุ้น (share-holder) มีสถานะเป็นเจ้าของกิจการ
  2. และจะไดรับผลตอบแทนในรูปแบบที่เรียกว่า เงินปันผล (Dividend)

ผู้ถือหุ้นทุนคนไม่มีสิทธิเข้ามาจัดการงานบริษัทเว้นแต่ได้รับตั้งแต่จากที่ประชุมให้เป็นกรรมการ เนื่องจากหน้าที่บริหารงานบริษัทกระทำการโดยคณะกรรมการชุดหนึ่งที่แต่งตั้งจากผู้ที่หุ้นในที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และในการเปลี่ยนหุ้นนั้น กระทำการได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้ลงทุนรายอื่นต่อไปโดยไม่ต้องเลิกบริษัท

การจัดตั้งบริษัท

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่า การประกอบกิจการในรูปแบบจดทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมากการระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว

บริษัท คือ

บริษัท คือ

ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วยบริหารงานที่มีประสิทธิภาพโดยผู้บริหารที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง การจัดตั้งบริษัทแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท
  2. ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

1. ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

  1. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้แล้ว
  2. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
  3. ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุมจัดตั้งบริษัท (นัดไม่น้อยกว่า 7 วัน)
  4. ประชุมตั้งบริษัท
  5. คณะกรรมการเรียกให้ชำระค่าหุ้น ตามที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น
  6. จัดทำคำขอจดทะเบียน/ ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
  7. นายทะเบียนรับจดทะเบียน

การจัดตั้งบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท

2. ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท

  1. ผู้เริ่มก่อการ/ผู้ถือหุ้น/กรรมการ คนใดคนหนึ่งจองชื่อนิติบุคคล
  2. ผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
  3. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
  4. ประชุมจัดตั้งบริษัท
  5. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้น ตามที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น
  6. จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ/ ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
  7. นายทะเบียนรับจดทะเบียน

วิธีการจดทะเบียนบริษัท

  1. ผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ร่วมกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
  2. จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
  3. ประชุมจัดตั้งบริษัท (โดยไม่ต้องออกหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท) เพื่อพิจารณากิจการต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข่าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม (มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนได้) และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข่าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจกำร ที่ได้ประชุมกันนั้น
  4. ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
  5. กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่ำหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่ำหุ้นหรือไม่น้อยกว่า ร้อยละยี่สิบห้ำของมูลค่ำหุ้น ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้ และผู้เข่าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ ชำระเงินค่ำหุ้น เสร็จเรียบร้อยแล้ว

เมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัทแล้วได้หนังสือบริคณห์สนธิแล้ว

  1. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
  2. เมื่อมีการจองซื้อหุ้นหมดแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อประชุม จัดตั้งบริษัท การออกหนังสือนัดประชุมจะต้องห่างจากวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน (หรือก่อนวันประชุม อย่างน้อย 7 วัน)
  3. จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท ดังนี้
    • 1 องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ทั้งหมดและนับจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด (จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนก็ได้)
    • 2 วาระการประชุม
      • รับรองบัญชีรายชื่อฐานะและสำนักของผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น พร้อมทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคน ได้ลงชื่อซื้อไว้
      • พิจารณาตั้งข้อบังคับของบริษัท
      • พิจารณ าให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ท าไว้ และค่าใช้จ่าย ที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท
      • พิจารณาเรื่องหุ้น
      • พิจารณาเลือกตั้งกรรมการชุดแรกและกำหนดอำนาจกรรมการ
      • พิจารณาเลือกตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทั้งกำหนดค่าสินจ้าง(การตั้งผู้สอบบัญชี รับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสำนักงาน ตรวจสอบบัญชีไม่ได้)
  4. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
  5. คณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
  6. เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน
  7. การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและ ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป หากต่อไปต้องการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดำเนินการจัดประชุม ผู้จองซื้อหุ้นใหม่

ข้อมูลที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัท

  1. ชื่อของบริษัท (ตำมที่ได้จองชื่อไว้) *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
  2. ที่ตั้ง สำนักงำนแห่งใหญ่ / สำขำ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด) พร้อมเลขรหัสประจำบ้านของที่ตั้ง สำนักงาน, E-mail, หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือกรรมกำร และหรือชื่อหรือที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ที่ใช้ในการประชำสัมพันธ์ หรือประกอบธุรกิจ
  3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจกำรค้ำ
  4. ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่ำหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
  5. ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชำชน หรือบัตรอื่น ๆ (กรณีเป็นชำวต่างชำติ) อำชีพ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้
  6. ชื่อ ที่อยู่ อำยุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชำชน หรือบัตรอื่น ๆ (กรณีเป็นชำวต่ำงชำติ) ของพยำน 2 คน
  7. ชำระค่าอำกรแสตมป์หนังสือบริคณห์สนธิ เป็นเงิน 200 บาท
  8. ข้อบังคับและ ชำระค่ำอำกรแสตมป์เป็นเงิน 100 บาท (ถ้ามี)
  9. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียก ชำระแล้วทุกหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
  10. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ (กรณีเป็นชาวต่างชำติ) ของกรรมการ
  11. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)
  12. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
  13. ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ อาชีพ เลขที่บัตรประชำชน หรือบัตรอื่น ๆ (กรณีเป็นชาวต่ำงชาติ)และจำนวนหุ้น ของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
  14. ดวงตรา สำคัญ (ถ้ามี) บริษัทจะไม่จดทะเบียนดวงตรา สำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้อง ประทับดวงตรา สำคัญด้วย

เอกสารหลักที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัท

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด (แบบ บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองกำรจดทะเบียนบริษัทจํากัด
  3. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ชำระค่าอำกรแสตมป์200 บาท
  4. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
  5. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
  6. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  7. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
  8. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต ธุรกิจจัดหา งาน กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) กิจการไปรษณีย์กิจการนายหน้าประกันภัย หรือธุรกิจขายตรง)
  9. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
  10. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการ ที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
  11. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  12. สำเนาข้อบังคับ ชำระค่าอากรแสตมป์200 บาท (ถ้ามี)
  13. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  14. กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจํากัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้ำวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่ำงด้ำวเป็นกรรมกำรผู้มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงนาม ผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้ถือหุ้น ที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสำรดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละรายตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 205/2555 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555
  15. กรณีมีการจดทะเบียนจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ซึ่งมีทุนที่ขอจดทะเบียน หรือทำให้ทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท ให้จัดส่งเอกสารเพิ่มเติมตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 66/2558 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2558
  16. แบบ สสช.1
  17. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  18. สำเนำบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
  19. กรณีวัตถุประสงค์(แบบ ว.) ระบุว่า “ประกอบกิจกำรจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล” จะต้อง แสดงหลักฐานและส่งเอกสำรเพิ่มเติมตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 38/2558 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์2558
  20. สำเนำหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  21. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอานาจ ให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์10 บาท)
    1. ทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์10 บาท)

หมายเหตุ : สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรอง ความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานกำรเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน  ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

ลักษณะของบริษัทจํากัด มีอะไรบ้าง

ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 มาตรา 1096 ได้บัญญัติว่า บริษัทจํากัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ให้ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ ซึ่งแบ่งลักษณะของบริษัทจำกัดได้ ดังนี้

ลักษณะบริษัทจำกัด

ลักษณะบริษัทจำกัด

1. ลักษณะความเป็นเจ้าของ

เนื่องจากลักษณะของบริษัทมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ผู้ซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” จะมีฐานะเป็นเจ้าของหุ้นไม่ใช่เจ้าของกิจการแต่มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทคือ “เงินปันผล” ผู้เป็นเจ้าของกิจการก็คือนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัด

2. ลักษระการก่อตั้ง

มีขั้นตอนในการก่อตั้งตามกฎหมาย ดังนี้

  1. มีบุคคลอย่างน้อย 7 คน มารวมกันจัดตั้ง บุคคลกลุ่มนี้เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ”
  2. ทำหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทที่จัดตั้งขึ้น ได้แก่ ชื่อบริษัท สถานที่ตั้งวัตถุประสงค์ ชื่อผู้ก่อการ อาชีพผู้ก่อการ ชนิดของหุ้นที่ออกจำหน่าย จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นและนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนที่กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์
  3. คณะผู้ก่อการจะต้องทำหนังสือชี้ชวน เพื่อให้มีผู้สนใจมาซื้อหุ้นของบริษัทและจะต้องดำเนินการให้มีผู้มาจองหุ้นของบริษัทจนครบจำนวนหุ้นที่ขอจดทะเบียน
  4. เมื่อมีผู้จองหุ้นจนครบทุกหุ้นแล้ว บริษัทเรียกผู้จองหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท โดยในที่ประชุมจะต้องเลือกตั้งกรรมการบริหารบริษัทอย่างน้อย 1 คน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการในการกระทำการแทนบริษัท และดำเนินการเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อย 25% ของมูลค่าหุ้น
  5. หลังจากเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกแล้ว จึงไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเพื่อให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยนำสำเนาการประชุม หนังสือบริคณห์สนธิระเบียบข้อบังคับไปขอจดทะเบียน
  6. ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด
  7. ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในราชอาณาจักร

3. จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการเปิดบริษัท

ทุนของบริษัทจำกัดจะได้มาเนื่องจากการนำใบหุ้นออกจำหน่าย กฎหมายระบุว่ามูลค่าหุ้นจะต้องมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน เงินทุนของบริษัท แบ่งได้ดังนี้

  1. ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ จำนวนทุนทั้งสิ้นที่ได้ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
  2. ทุนชำระแล้ว (Paid – up Capital) คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นได้ชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัทตามที่บริษัทได้เรียกร้องให้ชำระแล้วหุ้นของบริษัทจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    1. หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หุ้นที่มีผู้ลงจองหุ้นด้วยเงิน เมื่อเริ่มตั้งแต่มีการให้จองหุ้น ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมทุกเรื่อง มีสิทธิได้เงินปันผล และได้รับคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกดำเนินกิจการ
    2. หุ้นบริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือหุ้นสามัญโดยมีสิทธิได้เงินปันผลและคืนทุนก่อนหุ้นสามัญ แต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
เปิดบริษัท

เปิดบริษัท

4. ลักษณะของบริษัทจำกัด ทั่ว ๆ ไป

  1. มีผู้ลงทุนอย่างน้อย 3 คน
  2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน
  3. มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า 5 บาท ซึ่งชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น
  4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
  5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หน้าที่และความรับผิดชอบและการบริหารงาน

ในที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ที่ประชุมใหญ่จะต้องออกเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการของบริษัทซึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นผู้มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการได้ โดยแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการความรับผิดชอบของกรรมการ มีดังนี้

  1. ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
  2. ควบคุมการชำระเงินค่าหุ้นของผู้จองหุ้น
  3. จัดทำบัญชีและจัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด
  4. จ่ายเงินปันผลและดอกเบี้ย
  5. ปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
  6. กรรมการของบริษัทจะทำการค้าแข่งขันกับบริษัทของตนเองไม่ได้
  7. มีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท สำหรับผู้ถือหุ้นมีสิทธิเป็นเจ้าของหุ้นตามที่ตกลงซื้อไว้ แต่ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของบริษัท

ผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัท

ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับคือส่วนแบ่งจากกำไร เรียกว่า เงินปันผล หรือผลประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิโดยปกติผลกำไรของบริษัทจะไม่นำมาแบ่งเป็นเงินปันผลทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะกันสะสมไว้เพื่อบริษัทนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อไว้ขยายโรงงาน เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อผลขาดทุนในภายหน้า กำไรส่วนที่กันสะสมไว้นั้นเรียกว่า เงินสำรอง (Reserves)

การควบคุมการบริหารงาน

การบริหารงานของบริษัทจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการซึ่งจะมีการบริหารงานที่กระจายงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นระบบและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยกฎหมายกำหนดให้จะต้องมีการตรวจสอบบัญชีของบริษัทปีละครั้ง โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ยื่นต่อนายทะเบียนบริษัท

การประเมินผลการดำเนินงาน

บริษัทจะทำการประเมินผลการดำเนินงานโดยดูจากงบการเงิน คือ งบกำไรขาดทุน และงบดุลของบริษัท

การขยายกิจการในรูปแบบบริษัท

บริษัทสามารถขยายกิจการได้ด้วยการขอจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น

ข้อดีของการจดบริษัทจำกัด

ข้อดีข้อเสียบริษัทจำกัด

ข้อดีข้อเสียบริษัทจำกัด

ข้อดีบริษัทจำกัด ข้อเสียบริษัทจำกัด
1 สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการ โดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับความเชื่อถือมากกว่ากิจการประเภทอื่น 1 การจัดตั้งบริษัทมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ยุ่งยาก
2 ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท 2 กิจการบริษัทเนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
3 ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท 3 เนื่องจากในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ บริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
4 การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์จัดการแทนได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน 4 การเสียภาษีของกิจการประเภทบริษัทจะเสียภาษีค่อนข้างสูงและซ้ำซ้อนคือบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ ดังนั้น จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย
5 ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
*** เป็นเพียงการยกตัวอย่าง ในการดำเนินธุรกจิการต้องพิจารณามากและศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้

การเลิกกิจบริษัทจำกัด

กรณีต้องเลิกกิจการ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1 ถ้าในการจัดตั้งบริษัทระบุเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อเสร็จสิ้นกิจการนั้นแล้ว บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
2 ถ้าในการจัดตั้งบริษัทกำหนดระยะเวลาของการดำเนินงานไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุ บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
3 ถ้าในข้อบังคับของบริษัทระบุเหตุที่บริษัทต้องเลิกไว้ เมื่อเกิดเหตุนั้นบริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
4 เมื่อมีมติพิเศษจากผู้ถือหุ้นให้เลิกบริษัท
5 เมื่อบริษัทจดทะเบียนตั้งบริษัทมาแล้ว 1 ปีเต็ม โดยบริษัทไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการ หรือหยุดดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม
6 เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงจนเหลือไม่ถึง 7 คน
7 เมื่อบริษัทล้มละลาย

ค่าธรรมเนียมจัดตั้งบริษัท

ค่าธรรมเนียม ราคา (บาท)
จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000
หนังสือรับรอง รายการละ 40
ใบสำคัญแสดงกำรจดทะเบียน ฉบับละ 100
รับรองสำเนำเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50
บริษัท-จำกัด

บริษัท-จำกัด

บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด

จดบริษัท

จดบริษัท

บริษัทจํากัดภาษาอังกฤษ

  • Co., Ltd. ย่อมาจาก Company Limited หมายถึง บริษัทจํากัด
  • Part., Ltd.  ย่อมาจาก Partnership Limited หมายถึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • Pub Co., Ltd. ย่อมาจาก Public Company Limited หมายถึง บริษัท มหาชน จำกัด
  • Inc. ย่อมาจาก Incorporated หมายถึง “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”, “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจํากัด”