สินค้าคงเหลือ

ลดค่าใช้จ่ายด้วยการบริหาร สินค้าคงเหลืออย่างเชี่ยวชาญ 3 จ่าย?

Click to rate this post!
[Total: 207 Average: 5]

สินค้าคงเหลือ  Inventory

ในการประกอบกิจการใด ๆสถานะความมั่นคงและสภาพคล่องทางการเงินสามารถวัดได้จากสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ ซึ่งต้องมีจำนวนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนจึงจะหมายความว่ากิจการนั้น ๆมีสถานะภาพทางการเงินที่แข็งแรง ดำเนินธุรกิจได้ดีและมีความสามารถในการชำระหนี้

สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ

อย่างไรก็ตาม ในรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญนอกจากจะประกอบไปด้วยเงินสด ลูกหนี้การค้าและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแล้ว ยังมีสินทรัพย์อีกรายการหนึ่งที่สำคัญต่อการหารายได้ และส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินในงบดุลของกิจการ นั่นก็คือ “สินค้าคงเหลือ” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่เจ้าของกิจการควรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการตีมูลค่าได้ ดังต่อไปนี้

ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือโดยทั่วไปหมายถึงสินค้าสำเร็จรูปได้ผ่านขั้นตอนการผลิตมาอย่างสมบูรณ์ เตรียมพร้อมสำหรับการขาย แต่ในทางบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งได้ดังนี้

  • สินค้าสำเร็จรูปคือ สินค้าที่ผลิตโดยสมบูรณ์อยู่ในสภาพพร้อมขาย โดยมีต้นทุนประกอบด้วยวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
  • สินค้าระหว่างการผลิตคือ สินค้าที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีต้นทุนเช่นเดียวกับสินค้าสำเร็จรูป
  • วัตถุดิบทางตรงคือ สิ่งที่กิจการซื้อเพื่อนำมาแปรสภาพหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น ไม้ เหล็ก เม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • วัตถุดิบทางอ้อมหรือวัสดุโรงงานเป็นสิ่งที่ใช้ในการผลิตแต่ไม่ใช่ส่วนประกอบโดยตรงของสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งยากแก่การคำนวณ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีคำนวณเป็นงวดๆการผลิตและส่วนที่เหลืออยู่ให้ถือเป็นสินค้าคงเหลือของงวดนั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สินค้าคงเหลือในทางบัญชี ประกอบด้วย  4 รายการหลัก ซึ่งจำเป็นต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้และแสดงในงบการเงินให้ถูกต้อง โดยราคาที่ใช้ในการบันทึกสินค้าคงเหลือ จะต้องเป็นราคาทุนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการจัดหาหรือผลิตสินค้านั้น ๆ โดยประกอบไปด้วย

  • ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยอ้างอิงจากราคาที่ซื้อตามใบกำกับภาษีจากผู้ขาย หักด้วยประมาณการของส่วนลดการค้า(จากผู้ขาย)
  • ค่าแรงในการผลิต ให้คิดคำนวณจากค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน นำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการผลิต
  • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง ค่าภาษีอากร เป็นต้น

สินค้าคงเหลือ ตามคำนิยาม หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ตามปกติของกิจการ
  2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
  3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต สินค้าหรือให้บริการ

สินค้าคงเหลือยังแบบประเภทได้ตามนี้

  1. สินค้าที่ซื้อมาและขายต่อ
  2. สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ หรือวัสดุที่ใช้ในการผลิต
  3. ต้นทุนงานให้บริการสำหรับกิจการผู้ให้บริการ ซึ่งยังไม่ได้มีการรับรู้รายได้ตามมาตรฐาน (การบัญชี ฉบับที่ 18 เรื่อง รายได้)

วิธีนับสินค้าคงเหลือ

และเนื่องจากสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญเพราะเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลกำไร/ขาดทุนโดยตรงให้กิจการ ดังนั้นก่อนการทำบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม โดยมีให้เลือกหลายวิธี เช่น

  1. วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in , First –out) วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากเพราะเข้าใจได้ง่าย โดยสินค้าที่เข้ามาก่อนย่อมต้องออกไปก่อนทุกครั้ง ดังนั้นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะเป็นต้นทุนขายและต้นทุนสินค้าที่เข้ามาทีหลังจึงเป็นสินค้าคงเหลือ หากทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆเมื่อใกล้สิ้นปีสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุดสะท้อนฐานะทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความจริง
  1. วิธีคิดราคาทุนที่ระบุเฉพาะ เป็นการคิดมูลค่าของสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับสินค้ามูลค่าสูงมีการขายไม่บ่อยนัก เช่น เครื่องเพชร สินค้าสั่งทำจำเพาะ รถยนต์ หรือเครื่องจักรชนิดพิเศษ เป็นต้น ซึ่งการบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธีนี้ต้องเลือกสินค้าให้เหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็นในงบการเงิน ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์สถานะการเงินของกิจการได้
  1.  วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เป็นวิธีเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินค้าทุกหน่วยหน่วยละเท่า ๆกัน โดยนำผลรวมราคาทุนของสินค้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ขาย จากนั้นนำมาถ่วงน้ำหนักในแต่หน่วยสินค้า ซึ่งเหมาะกับสินค้าย่อยปริมาณมาก ๆที่ปะปนกัน แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาดได้ ซึ่งอาจทำให้งบการเงินมีความคลาดเคลื่อน

กล่าวโดยสรุป สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่สะท้อนถึงสถานะทางการเงินของกิจการผ่านรายงานแสดงงบดุล ดังนั้นผู้ประกอบกิจการควรมีความรู้ความใจสามารถบริหารสินค้าคงเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือได้เหมาะสมกับประเภทของกิจการ ซึ่งจะช่วยแสดงฐานะทางการเงินทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดเพื่อประโยชน์ในการนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงการดำเนินงานของกิจการต่อไป

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี สินค้าคงเหลือ

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ

ลักษณะทั่วไปของสินค้าคงเหลือ

มาตราฐานรายงานทางการเงิน เรื่องสินค้าคงเหลือ ได้ให้นิยามความหมายของคำว่า “สินค้าคงเหลือ” (Merchandise Inventory)

  1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษระการประกอบธุรกิจตามปกติ หรือ
  2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย หรือ
  3. อยู่ในรูปวัตุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในการบวนการผลิตสินค้าหรืให้บริการ

***หากเข้าข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือในกิจการ

ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือ หลักๆ คือ

ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือ

1.ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย สินค้าคงเหลือ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท สินค้าคงเหลือ มีอะไรบ้าง

  1. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
  2. งานระหว่างทำ (Work in Process)
  3. วัตถุดิบ (Raw Meterial)
  4. วัสดุสิ่งห่อหรือเพื่อการผลิต

2.ธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า สินค้าคงเหลือ คือ สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมขาย ( จะอยู่ในรูปแบบที่มีไว้เพื่อขายสำหรับไว้ค้าปลีกและถือไว้เพื่อขายเท่านั้น )

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

กิจการซื้อขายสินค้าจะมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายให้เพียงพอและมีการสำรองสินค้าไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากิจการมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องมีการตรวจนับและตีราคาสินค้าว่าคงเหลืออยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จะบันทึกเป็น “สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือสินค้าคงเหลือปลายงวด” นำไปแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล

pangpond

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ามี 2 วิธี คือ

  1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method )
  2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method

วิธีที่ 1 บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method )

วิธีนี้กิจการจะเปิด “บัญชีสินค้าคงเหลือ”ขึ้นเพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดปีดำเนินงาน โดยบันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าการส่งคืนรับคืนดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือคือ สินค้าที่ยังเหลืออยู่และยังมิได้ขายซึ่งจะทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพง ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา จากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า ข้อเสีย คือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินค้า
นั้นจะทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้า

    • ซื้อสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
    • การส่งคืน
    • ส่วนลดรับ
  1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจะมีผลกระทบต่อบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือมีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้น1.สินค้าคงเหลือ
  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเดบิต เนื่องจากทำให้สินค้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้น2.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  3. การส่งคืน การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องตามที่สั่งซื้อ ตามวิธีนี้จะบันทึกการส่งคืนเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง3.สินค้าคงเหลือ
  4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด ตามวิธีจะบันทึกเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง4.สินค้าคงเหลือ

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า

    • บันทึกการขาย
    • บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย
    • ค่าใช้จ่ายในการขาย
    • รับคืนสินค้า
    • ส่วนลดจ่าย
  1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย การขายสินค้าตามวิธีนี้ ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายทุกครั้งที่มีการขาย5.สินค้าคงเหลือ
  2. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย6.สินค้าคงเหลือ
  3. ค่าใช้จ่ายในการขาย กิจการขายสินค้า และเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขายต่างๆเช่น ค่าขนส่ง กิจการ จะบันทึกเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย7.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  4. รับคืนสินค้า ในระหว่างการขนส่ง สินค้าอาจจะชำรุดเสียหาย ผิดขนาด คุณภาพไม่ตรงตามที่ระบุหรือสินค้ามีตำหนิ การบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ จะบันทึก 2 ขั้นตอน โดยบันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน8.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  5. ส่วนลดจ่าย กรณีที่ผู้ขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสดแก่ผู้ซื้อ โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย” ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าขายสินค้าลดลง9.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD

ตามวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องทุกครั้งที่มีรายการขายสินค้าการบันทึกต้นทุนสินค้าขายด้วยและเมื่อมีการรับคืนจะบันทึกลดยอดต้นทุนสินค้าที่ขาย โดยต้นทุนสินค้าที่ขายนี้ จะบันทึก “ต้นทุนขาย” วันสิ้นงวด บัญชีต้นทุนขายจะถูกปิดไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน

วิธีที่ 2 บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method )

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึก “บัญชีสินค้าคงเหลือ” ในระหว่างงวดดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอดของสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวดและจะไม่บันทึกต้นทุนขายของสินค้าทุกครั้งที่มีการขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ เมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือของสินค้า ณ วันใดวันหนึ่ง จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนของสินค้าที่ขายต้องทำการคำนวณ

ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดจึงต้องทำการตรวจนับบัญชีสินค้าคงเหลือเพื่อนำมาบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดวิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีการขายในปริมาณมากเช่นห้างสรรพสินค้าข้อดีของวิธีนี้คือการบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลาข้อเสียคือไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าคงเหลือได้ทันทีต้องทำการตรวจนับ

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับซื้อสินค้า

    • ซื้อสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
    • ส่งคืนสินค้า
    • ส่วนลดรับ
  1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาจะบันทึกเข้าบัญชีซื้อด้วยราคาทุนที่ซื้อ10.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆ ทางด้านเดบิต11.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  3. ส่งคืนสินค้า การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องโดยจะบันทึกเข้าบัญชีส่งคืน12.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขในการให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด13.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้า

    • ขายสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการขาย
    • รับคืนสินค้า
    • ส่วนลดจ่าย
  1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย และไม่ต้องบันทึกต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย14.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  2. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง เมื่อกิจการขายสินค้าเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งจะบันทึกเข้าบัญชีค่าขนส่งออก15.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  3. รับคืนสินค้า จะบันทึกเพียงรับคืนสินค้าในราคาขายเท่านั้น16.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
  4. ส่วนลดจ่าย ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย”17.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD

การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods’ sold)

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด จะไม่มีการบันทึกต้นทุนขายเมื่อมีการขายหรือรับคืน ดังนั้นเมื่อต้องการทราบต้นทุนสินค้าที่ขายจึงต้องคำนวณ ดังนี้

ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

และ ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ส่งคืน – ส่วนลดรับ

โดยสินค้าคงเหลือต้นงวดได้มาจากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือ ส่วนสินค้าคงเหลือปลายงวดได้มาจากการตรวจนับและตีราคาสินค้า ณ วันสิ้นงวด

การตีราคาสินค้าคงเหลือ

ไม่ว่าจะบันทึกสินค้าด้วยวิธีใดก็ตาม จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะต้องตีราคาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ให้ใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (Lower of cost or Net realizable Value)

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หัก ต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตต่อให้เสร็จ (กรณีที่เป็นสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิต) และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

การคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ

วิธีคำนวณหาราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ 4 วิธีดังนี้

  1. Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)
  2. First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)
  3. Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)
  4. Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)

วิธีราคาเจาะจงเหมาะสำหรับกิจการที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากๆ หรือสินค้าราคาสูงมากและมีสินค้าจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนไม่มาก เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีราคาทุนเท่าใด วิธีราคาเจาะจงนี้ใช้ได้ทั้งกรณีที่กิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory และ Perpetual Inventory ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นจะคำนวณเช่นเดียวกัน

First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)

วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าจำนวนมาก การตีราคาสินค้าตามวิธีนี้ถือว่าสินค้าใดซื้อมาก่อนจะถูกนำไปขายก่อน สินค้าที่เหลืออยู่จะเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งหลังสุดตามลำดับย้อนขึ้นไป ส่วนต้นทุนสินค้าที่ขายจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาจากครั้งแรกสุดไล่ลงมาตามลำดับการซื้อ

Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)

วิธีนี้ถือว่าราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าต่อหน่วยเป็นจำนวนเงินของสินค้าที่ไว้ขายทั้งสิ้น ซึ่งยกมาจากต้นงวด บวก สินค้าที่ซื้อมาระหว่างงวด หารด้วยจำนวนหน่วยของสินค้าที่มีไว้ขายทั้งสิ้น จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือคำนวณได้โดยนำจำนวนสินค้าที่เหลือคูณกับราคาทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วย วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method เท่านั้น

Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

วิธีนี้จะต้องคำนวณราคาทุนของสินค้าต่อหน่วยทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามา ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะใช้ราคาทุนต่อหน่วยซึ่งคำนวณไว้ในครั้งสุดท้ายก่อนการขายนั้น ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกบัญชีสินค้าแบบ Perpetual Inventory Method เท่านั้น

การปรับราคาทุนที่ลดลงเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน

เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาขายไม่ว่าจะบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic Inventory Method หรือ Perpetual Inventory Method ณ วันสิ้นงวดบัญชีกิจการต้องตีราคาสินค้าในราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า กรณีที่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) ต่ำกว่า ต้องทำการปรับปรุงราคาทุนที่ลดลง

ถ้ากิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method ทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีการบัญทึกบัญชีปรับราคาทุนที่ลดลงทำได้ ดังนี้

  1. ผลขาดทุนเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน ไม่แสดงแยกต่างหาก ให้รวมอยู่ในส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

  1. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

  1. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า โดยปรับปรุงคู่กับการตั้งบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้า

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

เดบิต ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน) xx

เครดิต ค่าเผื่อการลดราคาสินค้า (งบดุล) xx

วิธีนี้จะแสดงสินค้าคงเหลือปลายงวดในราคาทุน โดยนำผลขาดทุนจากการลดราคาสินค้าไปหักออกจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ส่วนบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้านั้นจะนำไปหักออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือในงบดุล

220592
218489
220754
ฝันว่าตัวเองนั่งขี้
217778
ธุรกิจ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150066: 1585