swot

สรุป 4P ตัวอย่างวิเคราะห์องค์กรสวอทปัจจัยทุกองค์กรต้องรู้ 4P

Click to rate this post!
[Total: 258 Average: 5]

SWOT

สวอท คือ

สวอท คือ ตัวอย่างการวิเคราะห์ swot องค์กร ptt ภาครัฐ เอกชล กศน ร้านอาหาร

มาทำความรู้จักกับ SWOT และ 4P เครื่องมือสำคัญที่ทุกองค์กรต้องรู้

ตัวอย่างการวิเคราะห์-swot-องค์กร
ตัวอย่างการวิเคราะห์-swot-องค์กร

ถ้าหากกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกคงไม่มีใครไม่รู้จัก SWOT เพราะ SWOT นั้นมีบทบาทอย่างมากต่อการประเมินสถานการณ์ และช่วยในการวางแผนการวิเคราะห์ให้มีความครอบคลุมมากกว่าประเมินโดยปกติ ฟังอย่างนี้แล้วเจ้า SWOT นี้คืออะไร ? swot analysis คือ อะไร มาทำความรู้จัก SWOT กันเลยดีกว่า

SWOT คือ

SWOT อ่านว่า “สวอต” นั้นย่อมาจากตัวอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

  • S ย่อมาจาก Strengths

หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากปัจจัยภายใน ถือเป็นสภาพวะผลบวกต่อหน่วยงานและองค์กร โดยเป็นการนำเสนอเอาจุดเด่นที่สุด จุดแข็งในหน่วยงานหรือองค์กรที่มี เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในที่สร้างขึ้นทำให้เป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ เป็นปัจจัยทางการดำเนินงานภายในองค์กรโดยมีลักษณะเป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญของหน่วยงานและองค์กร รวมทั้งการดำเนินงานที่สร้างจุดเด่นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ของหน่วยงานและองค์กร

ซึ่งข้อได้เปรียบหรือจุดแข็งสามารถใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินงานได้ในอนาคต หากพบว่ามีข้อได้เปรียบมากเท่าไรก็ย่อมส่งผลถึงการสร้างกลยุทธ์ที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่หน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องมีเพื่อสร้างพื้นที่ทางการตลาดให้เกิดศักยภาพได้มากที่สุด

ตัวอย่าง เช่น หน่วยงานหรือองค์กรสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เฉพาะทางที่คู่แข่งไม่สามารถทำได้ หรือหน่วยงานหรือองค์กรสามารถผลิตต้นทุนได้ต่ำได้ผลตอบแทนเป็นกำไรที่สูงและสามารถคืนทุนได้เร็ว เป็นต้น

  • W ย่อมาจาก Weaknesses

หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากปัจจัยภายใน ถือเป็นสภาพวะผลลบต่อหน่วยงานและองค์กร จะเรียกว่าอยู่ตรงตามกับจุดเด่นหรือจุดแข็งที่ผ่านมา ข้อด้อยที่สะท้อนถึงปัญหารวมทั้งข้อบกพร่องอันเกิดจากปัจจัยภายในหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น ข้อด้อยเกิดจากปัจจัยด้านการดำเนินงานด้านต่างที่จะสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของการทำธุรกิจได้ในอนาคตระยะใกล้และในระยะไกล

โดยปัจจัยที่สร้างจุดด้อยขึ้นมามีตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนกระทั่งเรื่องใหญ่ บุคลากรที่ทำงานร่วมกันภายในองค์กรไม่ควรมองข้ามปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ เพราะอาจจะส่งผลถึงการดำเนินการที่ไม่ราบรื่น นำไปสู่การสร้างปัญหาและส่งผลให้เกิดข้อพบพร่องที่ลุกลามบานปลายได้นั้นเอง

ตัวอย่าง เช่น ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ส่วนบุคคลกล่าวคือ หน่วยงานหรือองค์กรมีบุคลากรที่ทำงานในลักษณะที่ไม่ตรงตามความสามารถและไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินงานภายในองค์กรได้ตลอดจนบุคลากรภายในองค์กรขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ หรือหน่วยงานหรือองค์กรไม่มีเครื่องมือที่รองรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากพอ เป็นต้น

  • O ย่อมาจาก Opportunities

หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยภายนอก ถือเป็นสภาวะผลบวกต่อหน่วยงานและองค์กร โอกาสถือเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อยู่ภายนอกองค์กรแต่ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น และส่งผลประโยชน์ต่อธุรกิจได้เป็นอย่างดี เอื้อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับหน่วยงานและองค์กร ช่วยส่งเสริมรวมทั้งพลักดันธุรกิจให้ก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งอย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องของโอกาสมักจะมีความผันผวนตามยุคสมัยทั้งสภาพสังคม เศรษกิจ เทคโนโลยี การเมืองทั้งในและนอกประเทศ หน่วยงานหรือองค์กรจึงจำเป็นจะต้องมองหาปัจจัยที่สามารถสร้างโอกาสต่อธุรกิจให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคงให้ได้มากที่สุด

ตัวอย่าง เช่น เทคโนโลยีมีการพัฒนาเกิดการสร้างนวัตกรรมเครื่องจักรสมัยใหม่ที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราผลิตได้ไวขึ้นเร็วขึ้นและสร้างกำไรได้มากขึ้น หรือรัฐบาลมีแผนพัฒนาสังคมและเศรษกิจด้านการส่งออกของธุรกิจซึ่งจะสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับการเติบโตของธุรกิจเราได้ เป็นต้น

  • T ย่อมาจาก Threats

หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยภายนอก ถือเป็นสภาพวะผลลบต่อหน่วยงานและองค์กร เป็นสภาวะที่ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรไหนอยากให้เกิดกับตนเอง หรือเกิดได้น้อยที่สุด เพราะนอกจากจะส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามทิศทางที่ต้องการแล้ว ยังถือเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อีกต่างหาก

โดยอุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนี้อาจจะเป็นปัจจัยที่รุนแรงสร้างความล้มเหลวในธุรกิจได้อย่างฉับพลันก็เป็นไปได้เช่นกัน ทั้งนี้การรับมือที่ดีที่สุดของหน่วยงานและองค์กรจึงต้องพมั่นพิจารณาประเมินอุปสรรคอยู่เสมอเพื่อเตรียมรับมือและเตรียมความพร้อมต่ออุปสรรคภายนอกองค์กรอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการคิดแผนสำรองสำหรับการคากการณ์ทิศทางอุปสรรคจากสภาพล้อมแวดภายนอกที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ตัวอย่างเ ช่น สถานการณ์การเกิดโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโนน่า COVID-19 ส่งผลการอัตราการท่องเที่ยวลดลดธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบ เป็นต้น

SWOT ANALYSIS คือ

SWOT ANALYSIS คือ การวิเคราะห์สวอต หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า SWOT Analysis ถูกคิดค้นโดย อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) มีการใช้กันอย่างแพร่หลายโดยสืบเนื่องมาจากการนำเสนอแนวคิดนี้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์สวอต คือการนำเอา “SWOT” จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหน่วยงานหรือองค์กร เรียกง่าย ๆ ว่า SWOT Analysis เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และทำการประเมินหน่วนงานหรือองค์กร โดยจะเป็นการนำเสนอทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรทั้งหมด ยิ่งหน่วยงานหรือองค์กรสามารถวิเคราะห์ประเมิน SWOT ได้ละเอียดและทำได้บ่อยเท่าไร ก็จะส่งดีต่อการรับมือสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของหน่วยงานหรือองค์กรได้ อีกทั้งการวิเคราะห์สวอตถือเป็นเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

SWOT Analysis ตัวอย่าง swot ซึ่งจะแบ่งหลักการวิเคราะห์สวอตหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  1. ปัจจัยภายใน
    • จุดแข็ง (Strengths)
    • จุดอ่อน (Weakness)
  2. ปัจจัยภายนอก
    • โอกาส (Opportunity)
    • อุปสรรค (Threats)

4P คือ

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคตัวอย่างการวิเคราะห์ 4p ของผลิตภัณฑ์

คิดจะทำธุรกิจ มีธุรกิจแล้วไม่ทำการตลาดคงไม่ได้ และเมื่อทำการตลาดแล้วไม่รู้จัก 4P ก็คงไม่ได้เช่นกัน เพราะนอกจากหลักการเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจที่สำคัญอย่าง SWOT Analysis แล้ว ยังมีเครื่องมือสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับการวางแผนด้านการตลาดอย่าง 4P นั้นเอง

4P หรือ Marketing Mix คือทฤษฎีเครื่องมือที่นิยมนำมาวางแผนด้านการตลาดของหน่วยงานหรือองค์กร ช่วยให้ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดได้อย่างครอบคลุมและรอบด้านมากขึ้น หากมีการวิเคราะห์และใช้เครื่องมือ 4P ได้ดีมากเท่าไร ก็จะช่วยในบรรลุเป้าหมายหลักทางการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยสร้างทิศทางการดำเนินงานให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์ของหน่วยงานหรือองค์กรล้อไปกับทิศทางเดียวกัน

ซึ่งทฤษฎี 4P ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. Product หมายถึง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์

เป็นไปทั้งสินค้าและบริการในกลุ่มความต้องการของลูกค้าใดกลุ่มหนึ่ง โดยหน่วนงานหรือองค์กรต้องมีรูปแบบสินค้าและบริการของตนเอง ซึ่งต้องสามารนำเสนอจุดขายให้กับตัวสินค้าและบริการนั้น ๆ ให้โดดเด่นได้ ทั้งที่ควรมีการนำเอาสินค้าและบริการเข้าไปถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการในสินค้าและบริการนั้น ๆ เพื่อสร้างจุดยืนทางการตลาดที่มั่นคง

  1. Price หมายถึง ราคา

กลยุทธ์ทางด้านราคาคือการตั้งราคาให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการ ไม่ได้จำกัดความถูกหรือแพงแต่อย่างใด แต่คือเมื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อในราคาที่ตั้งไว้ได้ ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในราคาเพราะรู้สึกได้รับสินค้าหรือบริการที่สมเหตุสมผลหรือเกินราคานั้นเอง ทั้งนี้การตั้งราคามีผลต่อต้นทุนกำไรของผู้ประกอบการอย่างมาก จำเป็นจะต้องนำเสนอขายสินค้าหรือบริการในราคาที่ดีที่สุดเพื่อสร้างกำไรให้ธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าจะกำหนดราคาเท่าไรก็ได้ แต่จะะมีวิธีการตั้งราคาให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการ เช่น

  • กลยุทธ์นโยบายราคาเดียวทั้งร้าน
  • กลยุทธ์นโยบายราคาต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแต่คุณภาพอาจจะแตกต่างกันได้
  • กลยุทธ์นโยบายราคาแพ็คเกจ
  • กลยุทธ์นโยบายราคาตามขนาด ปริมาณ
  • กลยุทธ์นโยบายราคาเชิงจิตวิทยา เช่น ลงท้ายด้วยเลข 9
  • กลยุทธ์นโยบายราคาตามจำนวนที่ซื้อ
  1. Promotion หมายถึง การส่งเสริมการขาย

กลยุทธ์ส่งเสริมการขายถือเป็นการสื่อสารด้านการตลาด โปรโมชั่นมักถูกนำมาใช้ได้ทุกสถานการณ์แต่ต้องมีการส่งเสริมการขายให้เหมาะสมกับการตลาดในขณะนั้นด้วยเช่นกัน โปรโมชั่นจะถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายนั้นเอง การใช้กลยุทธฺเพื่อส่งเสริมการขายบางทีจะถูกเรียกว่าการสื่อสารทางการตลาด (marketing communication) ยิ่งทำการส่งเสริมการขายได้ดีเท่าไรก็จะช่วยให้กลุ่มลูกค้ามีความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น โปรโมชั่นเป็นการทำการตลาดที่จะส่งผลต่อการกระจายสินค้าและบริการ สามารถทำการส่งเสริมการขายได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม อาทิเช่น

  • การโฆษณา (Advertsing) ทำได้ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียทั่วไป ติดแผ่นป้ายโฆษณา ทำได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ต่อให้ยังไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ก็จะสามารถซึมซับสินค้าและบริการนั้น ๆ ไปได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นการขายทางอ้อมให้เกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์ หากต้องตัดสินใจซื้อ ผู้ซื้อจะมีแนวโน้มเลือกสินค้าที่เคยเห็นหรือเคยได้ยินมาก่อนแล้วนั้นเอง
  • การขายโดยตรง (Direct Sales) วิธีการนี้ต้องมีแนวทางการขายเฉพาะตัวที่ใช้เทคนิคพอสมควร จะเรียกได้ว่าเป็นการเสนอขายนั้นเอง มีรูปแบบการโน้มน้าว ชักจูงให้เกิดความสนใจในสินค้าและบริการ ผู้นำเสนอขายต้องการวิธีการที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องให้ข้อมูลที่ถูกตรงกับสินค้าลและบริการได้จริง
  • การส่งเสริมการขายทางด้านลูกค้า (Consumer Promotion) ผู้ขายต้องมีกลยุทธ์เพื่อช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการลดราคา มีของแถมที่น่าสนใจ หรือแจกสิ่งของเล็กน้อยเพื่อสร้างความสนใจของลูกค้า รวมทั้งการสร้างโปรโมชั่นเพื่อร่วมเล่นเกมส์ชิงรางวัล เป็นต้น
  • การบริการ (Service) ลูกค้าหรือผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความต้องการบริการทั้งก่อนและหลังการขาย ยิ่งมีการบริการดีเท่าไร จะเป็นกลยุทธ์สำคัญให้ผู้ซื้อเกิดความชอบและมีความภักดีต่อสินค้า กลับมาซื้อและใช้บริการซ้ำ ๆ ได้บ่อยครั้งนั้นเอง
  1. Place หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย

สถานที่ส่งผลถึงการช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ได้หลายถึงทุกธุรกิจแต่อย่างใด เพราะในบางสินค้าและบริการก็สามารถทำการตลาดโดยใช้พื้นที่ในโลกออนไลน์นั้นเอง ซึ่งเทคนิคระหว่างการทำการตลาดที่เป็นสถานที่จริงกับออนไลน์ก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย

  • สถานที่วางจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีอยู่จริง ต้องเป็นแหล่งที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี อย่างที่เขาเรียกว่าเป็น “ทำเลทอง” เพราะทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ใครหลายคนเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เข้าถึงได้ง่าย อาทิเช่น ธุรกิจโรงแรมก็ต้องอยู่แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
  • สถานที่จำหน่ายสินค้าออนไลน์ ซึ่งในโลกเสมือนจริงนี้ จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งการโฆษณารวมทั้งภาพลักษณ์ รีวิวการซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการ มีส่วนทั้งสิ้นให้โลกออนไลน์ ข้อดีคือหากมีการซื้อขายได้คล่องและทำได้สะดวกรวดเร็ว

ซึ่งในหนึ่งสินค้าและบริการอาจจะมีได้ทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์ และสถานที่จริงก็เป็นไปทั้งสิ้น

วิเคราะห์ 4p
วิเคราะห์ 4p

SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์สวอต คือการนำเอา “SWOT” จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหน่วยงานหรือองค์กร เรียกง่าย ๆ ว่า SWOT Analysis เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และทำการประเมินหน่วนงานหรือองค์กร

ซึ่งจะแบ่งหลักการวิเคราะห์สวอตหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายใน

– จุดแข็ง (Strengths)
– จุดอ่อน (Weakness)

ปัจจัยภายนอก

– โอกาส (Opportunity)
– อุปสรรค (Threats)

1.Product หมายถึง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 2.Price หมายถึง ราคา 3.Promotion หมายถึง การส่งเสริมการขาย 4.Place หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกคงไม่มีใครไม่รู้จัก SWOT เพราะ SWOT นั้นมีบทบาทอย่างมากต่อการประเมินสถานการณ์ และช่วยในการวางแผนการวิเคราะห์ให้มีความครอบคลุมมาก

ตัวอย่าง การวิเคราห์ มาม่า น้ำผลไม้ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เครื่องสำอาง เลย์ แชมพู

Tags : swot, swot analysis, swot คือ, swot analysis คือ, การวิเคราะห์ swot, 4p คือ, วิเคราะห์ swot, ตัวอย่างการวิเคราะห์ swot องค์กร, treat แปลว่า, จุดแข็ง, swot ตัวอย่าง, analysis แปลว่า, threat แปลว่า, opportunity แปล, โอกาส หมายถึง, strength แปล, สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ, ตัวอย่างการวิเคราะห์ swot, จุดแข็ง จุดอ่อน, สวอท, วิเคราะห์ คือ, ปัจจัยภายนอก ภาษาอังกฤษ

ยืนยันคนละครึ่งเฟสสาม
ปก เทคโนโลยีในการเกษตร
221209
221477
เลขประจำวันสามารถเป็นอักขระสำคัญ
วิธีการเล่นหวยหุ้น
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 156331: 1426