เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัททัวร์นําเที่ยวเช็คทัวร์ 7 เปิดบริษัท?
จดทะเบียนบริษัททัวร์ ประกอบกิจการทัวร์ เริ่มต้นบริษัทท่องเที่ยว การจดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยว การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว บุคคลธรรมดา มัคคุเทศก์
การหาจุดคุ้มทุนให้เจอ ทางออกของธุรกิจที่อยากมีกำไร (Break Even Point)
หว่านพืชย่อมหวังผลฉันใด การทำธุรกิจก็หวังกำไรฉันนั้น.. คงไม่มีใครคิดใช่ไหมว่าที่เราลงทุนทำธุรกิจไปเพื่อรอวันขาดทุนอยู่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นคงไม่เรียกธุรกิจ ออกจะเป็นไปทางการกุศลเสียมากกว่า เพราะธุรกิจคือการลงทุนที่คากหวังผลกำไร ผลตอบแทนอย่างสวยงาม แต่จะทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งกำไรนั้นล่ะ การลงทุนหากยิ่งมากโดยไม่รู้วิธีการคำนวณที่ถูกต้องก็เหมือนลงแรงเปล่า ไม่รู้ว่าคุ้มค่าพอหรือไม่ เราจึงต้องมารู้จัก “จุดคุ้มทุน” เพื่อที่จะได้รู้ว่าการลงทุนคุ้มค่าพอสำหรับการลงทุนไปหรือไม่ คุ้มทุน (Break Even) แล้วหรือยัง และต้องมีรายได้เท่าไรจึงจะได้กำไรนั้นเองป
เรื่องของจุดคุ้มทุนจึงเป็นเรื่องไม่ไกลตัว และไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย ก่อนอื่นเลยเราก็ต้องมารู้จักกับจุดคุ้มทุนกันก่อนว่าจุดคุ้มทุนหรือ Break Even Point คืออะไร
จุดคุ้มทุน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Break Even Point คือ จำนวนของสินค้าที่ธุรกิจต้องสร้างและขายให้ได้ หรือเพื่อที่จะคืนทุนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ หรือให้รายได้เท่าทุนเรียกว่าจุดคุ้มทุน หากจุดคุ้มทุน คือ รายได้ยอดขายต่อเดือนที่จะทำให้ธุรกิจมีรายได้ที่เพียงพอเท่ากับกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในแต่ละเดือนได้ เท่ากับธุรกิจคืนคืนแล้ว หากรายได้ต่อเดือนอยู่ในจุดที่สูงกว่ากว่าจุดคุ้มทุนจึงหมายถึง กำไร และในทางตรงข้าม รายได้ต่อเดือนอยู่ในจุดที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนก็จะหมายถึง การขาดทุน
ทำความรู้จักต้นทุน ต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนผันแปร
อยากที่จะมีกำไรสูง ๆ ก็ต้องรู้จักต้นทุน การทำกำไรที่ดีของโลกธุรกิจไม่ใช่แค่พยายามเพิ่มยอดขายเท่านั้น แต่หมายถึงการรู้จักบริหารเรื่องต้นทุนด้วย และที่สำคัญจุดคุ้มทุนจะต้องเกิดจากการคำนวณการหารต้นทุนคงที่เสียก่อน การทำความรู้จักกับต้นทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะหากเราไม่รู้จักต้นทุนว่าอันไหนคือต้นทุนคงที่ อันไหนคือต้นทุนผันแปร ก็จะไม่สามารถคำนวณจุดคุ้มทุนได้อย่างแม่นยำนั่นเอง
รู้จักต้นทุนแล้วต้องรู้จักกำไร
เพราะธุรกิจจะรู้จักเพียงต้นทุนไม่ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ที่ทำธุรกิจแล้วรู้ค่าใช้จ่ายคือมีต้นทุนในการทำธุรกิจเท่าไรแล้ว นักธุรกิจก็จะเริ่มกังวลว่าเราจะขาดทุนหรือไม่ ดังนั้นหากต้องการกำไรก็ต้องรู้จักวิธีคิดกำไร
กำไร = ยอดขายรวม – ต้นทุนรวม
เปอร์เซ็นต์กําไร = กำไร / ยอดขาย x 100
ตัวอย่างที่ 1 เช่น ร้าน A ขายน้ำผักผลไม้ขวดละ 50 บาท ต้นทุนผักผลไม้ คือ แอปเปิ้ล 10 ฝรั่ง 10 บาท เท่ากับต้นทุนแปรผันทั้งหมดคือ 20 บาท
ร้าน A จะมีกำไรคือ 50 – 20 = 30 บาท
ร้าน A จะมีเปอร์เซ็นต์กําไรคือ 30/50 x 100 = 60% หรือเรียกว่าร้อยละ 60
ดังนั้น 60% คือเปอร์เซ็นต์กําไร หรือจะเรียกว่าเป็น อัตรากำไรส่วนเกิน หากร้าน A ต้องการที่จะได้อัตรากำไร 80% ร้าน A จะต้องตั้งราคาขายบวกไปอีก 15% จากเดิม 60% นั้นเอง
กล่าวคือ ปัจจุบันร้าน A ราคาขาย 50 บาท ได้กำไร 60% ถ้าต้องการได้กำไร 80% จะต้องบวกราคาขายเพิ่มขึ้นอีก 20 % ดังนี้
ร้าน A ราคาขาย 50 + 20% = 60 บาท (เมื่อร้าน A ขาย 60 บาทจึงจะได้อัตรากำไรส่วนเกิน 80% นั่นเอง)
ตัวอย่างที่ 2 คือ ร้าน B เป็นร้านขายอาหารแมว ก็สามารถตั้งราคาขายบวก 20% เลยก็ได้ เช่น อาหารแมวยี่ห้อขนดกดีราคาทุน 100 บาท ราคาร้าน B ต้องการกำไรส่วนเกิน 40% ก็จะเท่ากับ
100 + 40% = 140 บาท (ราคา 140 บาท เป็นราคาที่ร้าน B ได้กำไร 40%)
จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ธุรกิจหรือร้านค้าจะต้องมีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านขายของชํา หรือบัญชีธุรกิจได้ดำเนินกิจการอยู่เป็นอย่างดี ถึงอย่างไรธุรกิจจะสามารถมีวิธีการคำนวณราคาขายขั้นต่ำได้ ดังนี้
ราคาขาย = (ต้นทุนคงที่รวม / จำนวนสินค้าที่ผลิตและขายได้ ) + ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย
หรือ ราคาขายที่คุ้มทุน = ต้นทุนรวม ÷ จำนวนสินค้าที่จะขาย
สำหรับการคิดจุดคุ้มทุนจะสามารถเขียนสมการเพื่ออธิบายความเข้าใจและนำสูตรไปเลือกใช้ได้หลายวิธีด้วยกันดังนี้
จุดคุ้มทุน (บาท) = จุดคุ้มทุน (หน่วย) x ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม + ต้นทุนแปรผันรวม
จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย)
หรือ
จุดคุ้มทุน = ยอดขายที่กิจการจะไม่ขาดทุน = ต้นทุนคงที่ / อัตรากำไรส่วนเกิน
ตัวอย่างการคำนวณจุดคุ้มทุน เช่น คุณ A ขายจานชามจำหน่าย คำนวณแล้วมีต้นทุนผันแปรต่อใบละ 80 บาท มีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวน 16,000 บาทต่อเดือน ราคาขายใบละ 160 บาท ต้องการรู้ว่าคุณ A จะต้องทำการขายจานชามอย่างน้อยกี่ใบต่อเดือน ถึงจะไม่ขาดทุน เรียกได้ว่าเท่าทุน หรือเป็นจุดคุ้มทุนนั้นเอง
จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย)
=16,000/(160-80)
=16,000/80
=200 หน่วย
ดังนั้นคำตอบก็คือ นาย A ต้องขายจานชามให้ได้อย่างน้อย 200 ใบต่อเดือนจึงจะไม่ขาดทุน หรือเท่าทุนนั้นเอง
Excel ช่วยการคํานวณต้นทุนการผลิต
การคำนวณ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลที่สำคัญสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานที่สำคัญอย่าง Microsoft Excel เพื่อช่วยในการคำนวณต้นทุน เปอร์เซ็นต์ กำไร ยอดขาย รวมไปถึงการจัดการข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจได้อีกด้วย
แน่นอนว่าจะได้ความแม่นยำที่มากขึ้น และรวดเร็วมากกว่านั่งกดเครื่องคิดเลขอย่างแน่นอนเพราะ เพียงแค่เราใส่สูตรการคำนวนที่ Microsoft Excel มี และดัดแปลงรูปแบบในแบบธุรกิจที่เราต้องก็จะกรอกข้อมูลเพียงบางส่วนแต่ได้ข้อมูลรูปแบบครบถ้วน หรือถ้าหากไม่ต้องการกรอกข้อมูลหรือใส่สูตรเอง ก็สามารถหาดาวน์โหลด
การหาจุดคุ้มทุนเหมาะกับการวิเคราะห์สินค้าชนิดเดียว หรือแบ่งสินค้าออกไปในแต่ละชนิดเพื่อนำว่าสินค้าในแต่ละประเภทเพื่อตัดสินใจว่าจะมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่เท่าไร นอกจากนี้การหาจุดคุ้มทุนนั้นไม่ได้จำกัดแค่การหาจุดคุ้มทุนของสินค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยวิเคราะห์เพื่อคำนวณจุดคุ้มทุนของการตัดสินใจตั้งบูทได้ด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าสำหรับการตั้งบูทขายสินค้าในแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมีค่าใช้จ่ายที่เป็น ค่าเช่า ซึ่งจะเป็นต้นทุนผันแปร ทำให้ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจต้องกลับมาตัดสินใจว่าพื้นที่ตรงนั้นคุ้มค่าในจุดคุ้มทุนหรือไม่ ควรดำเนินการออกไปตั้งบูทนี้ดีหรือเปล่านั่นเอง
เมื่อธุรกิจมีจุดคุ้มทุนที่ต่ำมากเพียงใด ก็จะมีส่วนต่างของกำไรที่สูงมากเท่านั้น และส่งผลให้ธุรกิจสามารถคืนทุนได้เร็ว กำไรจึงนับว่ามีส่วนสำคัญต่อการพิจารณาผลประกอบการของธุรกิจอย่างมาก
ที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจได้ทราบว่าจะมีระยะเวลาการคืนทุนเมื่อไรนั้นเอง หากมีการลดต้นทุนคงที่อย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลต่อระยะคืนทุนที่รวดเร็วมากขึ้น สำหรับระยะเวลาคืนทุนในแต่ละธุรกิจย่อมไม่เท่ากัน บางธุรกิจอาจจะคืนทุนได้เร็ว บางธุรกิจอาจจะคืนทุนได้ช้าซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมด้วยกันหลายอย่างเช่นกัน หากเป็นธุรกิจที่ไม่ใหญ่มาก มีต้นทุนคงที่ที่แน่นอนมากกว่าต้นทุนผันแปรก็อาจจะทำให้ช่วยคำนวณระยะเวลาการคืนทุนได้แม่นยำมากกว่า ซึ่งความไม่แน่นอนในการคำนวณรวมไปถึงผลประกอบการที่ได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการคำนวณสูตรแล้วก็ตาม แต่ก็จะต้องมีการขายจริงแล้วเพื่อดูการตลาดว่ามีกระแสตอบรับดีหรือไม่ กำลังการผลิตหรือความสามารถในการขายได้มากน้อยขนาดไหน จำนวนลูกค้ารวมไปถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกด้วย ปัจจัยหลายอย่างจึงมีผลต่อระยะเวลาการคืนทุนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามระยะเวลาคืนทุนสามารถคูณด้วยเดือนได้เลย โดยควรพิจารณาวิเคราะห์จากกำไร หรืออัตรากำไรส่วนเกินได้ในช่วงประมาณ 3-6 เดือนแรก นำมาวิเคราะห์กำไรโดยเฉลี่ยว่าธุรกิจมีผลประกอบการ กล่างคือได้กำไรอยู่ที่เท่าไร นำมาหารกับต้นทุนคงที่ทั้งหมด ก็จะได้จำนวนเดือนที่จะเป็นระยะเวลาคืนทุน ซึ่งควรมีการจัดทำเป็นระยะเพื่อช่วยในการวิเคราะห์กำไรส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้รายจ่ายที่เกิดขึ้นหรือธุรกิจก็อาจจะมีการเปลี่ยนเรื่องรายจ่ายที่มากขึ้นเมื่อกำไรเพิ่มมากขึ้นตาม เช่น เพิ่มจำนวนคนงาน ธุรกิจก็จะต้องจ่ายค่าแรงงานที่มากขึ้นเมื่อธุรกิจได้กำไรหรือเติบโตขึ้นนั้นเอง
ตัวอย่างการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เช่น ธุรกิจ ABC ขายที่คาดผมมีต้นทุนคงที่ต่อเดือนเท่ากับ 1,000 บาท มีต้นทุนผันแปรชิ้นละ 20 บาท ตั้งราคาขายที่ 30 บาทต่อชิ้น
จุดคุ้มทุน = 1,000 / (30-20) = 100 ชิ้น หมายความว่าร้านธุรกิจ ABC ต้องขายที่คาดผมให้ได้ 100 ชิ้นต่อเดือนจึงจะเท่าทุน คืนทุน หรือเป็นจุดคุ้มทุน (Break Even point) หรือต้องขายให้ได้มากกว่า 100 ชิ้นเพื่อให้ธุรกิจได้กำไร
หากต้องการให้ธุรกิจร้าน ABC มีจุดคุ้มทุน (Break Even point) ที่ต่ำลงเพื่อให้ธุรกิจมีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วและสร้างกำไรได้มากขึ้น ด้วยวิธีการลดต้นทุนการผลิตให้น้อยลงและเพิ่มยอดขายที่มากขึ้น ธุรกิจร้าน ABC อาจจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ดังนี้
การมีจุดคุ้มนี้ก็เพื่อให้สามารถคำนวณได้ว่าควรมีการตั้งราคาขาย และต้องมีปริมาณสินค้าเท่าไรสำหรับการขาย เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อธุรกิจอย่างมากทีเดียว เพราะหากธุรกิจรู้ว่าตนเองมีจุดคุ้มทุนตรงไหน เท่าไรที่เรียกว่าจุดคุ้มทุนและสามารถวางแผนให้ธุรกิจสามารถเติบโตเลยจุดคุ้มทุนนี้ไปได้ นั่นหมายถึงหนทางแห่งความอยู่รอดทางธุรกิจ