ปิดกิจการ

เลิกบริษัทปิดบริษัท รับปิดงบเปล่า 10 ชำระบัญชีวิธีเลิกกิจการ

Click to rate this post!
[Total: 178 Average: 5]

จดทะเบียนเลิกบริษัท

ปิดบริษัท

คู่มือการปิดบริษัทอย่างละเอียด เพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยเฉพาะ

           ปิดบริษัท ภพ09 เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการปิดบริษัทเป็นเรื่องที่ควรจะต้องรู้ไว้ ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะแน่นอนว่าเมื่อเราต้องเจอกับสภาวการณ์ที่เริ่มมีสัญญาณไม่ดี บริษัทไม่ควรที่จะต้องปล่อยให้ถึงวันที่พังพินาศย่อยยับไม่เป็นท่า หรือเรียกว่าเจ๊งอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็เปรียบเสมือนได้กับการซื้อหุ้นนั่นแหละ มันเรารู้ว่าสัญญาณมันดิ่งแล้ว การถอนตัวก่อนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการรับมือกับความเลวร้ายนั่นเอง อย่างไรก็ตามการปิดบริษัทควรจะต้องทำอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งก็จะได้อธิบายไว้ทีละขั้นอย่างละเอียด ดังต่อไปนี้

เช็ค 10 สัญญาณเตือนว่าธุรกิจเข้าขั้นวิกฤต

            ก่อนจะตัดสินใจปิดกิจการ แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการทั้งหลายก็ต้องพบเจอกับวิกฤต ที่ทำให้ต้องมาปรึกษาหารือในที่ประชุมแล้วว่า เราอาจจะต้องปิดบริษัทหรือปิดกิจการลงนั้นเอง แต่สัญญาณอะไรล่ะที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาเหล่านั้นว่า แบบนี้แหละชัดเลย เราจึงได้รวบรวมสัญญาณเตือนครั้งใหญ่ที่อาจจะส่งผลทำให้บริษัทปิดตัวลง ซึ่งแบ่งได้เป็น 10 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. พบว่ายอดขายตกลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องแน่ใจว่าตกลงอย่างไม่ปกติ ติดลบลงเรื่อย ๆ เป็นไตรมาส อย่างต่อเนื่อง
  2. คู่แข่งเพิ่ม ทำให้ถูกช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง ธุรกิจอยู่ยากมากขึ้น
  3. ลูกค้าเก่าไม่มี ลูกค้าใหม่ไม่มา หากธุรกิจมีข้อมูลฐานลูกค้าก็ควรเช็คว่าสาเหตุส่วนใหญ่หายไปเพราะอะไร เผื่อพอจะแก้ไขได้
  4. สินค้าถูกเคลมอยู่บ่อย ๆ และไม่ถูกแก้ไข ขาดคุณภาพ การรับผิดชอบเป็นแนวทางหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กลับมาได้
  5. ขาดกำลังการผลิต เทคโนโลยีการผลิตด้อยสู่คู่แข่งในตลาดไม่ได้
  6. สินค้าค้างสต๊อกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระบายออกไม่ได้
  7. เกิดการทุจริต คอรัปชั่นในองค์กร
  8. ความสัมพันธ์ภายในองค์กรเป็นเชิงลบ คนลาออกมากขึ้น ไม่อยากทำงานให้บริษัท
  9. บริษัทไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน
  10. หนี้สินพอกพูนอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุการเลิกกิจการ ปิดบริษัท

สาเหตุการเลิกกิจการ

การเลิกกิจการอย่างแท้จริงสามารถเป็นไปได้กรณี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ตกลงเลิกทำกิจการ ในนามบริษัทก็เลยมาจดทะเบียนเลิกบริษัทกัน ทั้งนี้บริษัทต้องแยกประเภทให้ออกว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเป็นหลัก ดังต่อไปนี้

  1. การเลิกกิจการหรือปิดบริษัทเพราะโดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ลงมติในที่ประชุมกันแล้วว่าต้องการเลิกกิจการหรือปิดบริษัท และถ้ามีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ สามารถตกลงกันเรื่องการชำระหนี้ได้และยินยอมเลิกกิจการได้ โดยจะต้องเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม

  1. การเลิกกิจการหรือปิดบริษัทเพราะเลิกโดยผลของกฎหมาย

กล่าวคือบริษัทจะต้องถูกยกเลิกกิจการไม่ว่าจะเห็นชอบในที่ประชุมหรือไม่ก็ตามเนื่องจากกฎหมายบังคับปิดกิจการ โดยจะมีเหตุผลจากกฎหมายว่าด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
  2. ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
  3. ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
  4. บริษัทล้มละลาย
  5. นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน (ถอนทะเบียนร้าง)
  6. การเลิกกิจการหรือปิดบริษัทเพราะเลิกโดยคำสั่งศาล

บางกิจการหรือบริษัทจำกัดจะต้องถูกปิดบริษัทลงโดยจะถูกยินยอมจากมติที่ประชุมบริษัทหรือไม่ก็ตาม ซึ่งก็จะมีความคล้ายกันกับการปิดตัวลงด้วยเหตุทางกฎหมาย เพราะเหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทจะมีผลบังคับทางกฎหมาย ซึ่งเหตุผลเลิกกิจการด้วยคำสั่งศาลจะมีดังต่อไปนี้

  1. ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
  2. บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปี นับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
  3. การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังฟื้นกลับคืน
  4. จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน

เริ่มต้น..เลิกกิจการหรือปิดบริษัทต้องทำอย่างไรดี

            ในส่วนขั้นตอนการเริ่มต้นจะค่อนข้างวุ่นวายเกี่ยวข้องกับเรื่องของขั้นตอนตามกฎหมายสักเล็กน้อย โดยเมื่อมีการตกลงกันแล้วว่าจะมีการเลิกกิจการ หรือปิดบริษัทลง จะต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้

  1. จัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท
  • การประชุมครั้งแรก
    • มีวาระพิจารณาเรื่องเลิกบริษัท
    • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องลงมติให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
  • การประชุมครั้งที่สอง
    • มีวาระพิจารณา 3 วาระ คือ ยืนยันมติให้เลิกบริษัทของที่ประชุมครั้งแรก และแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทน
    • ที่ประชุมจะต้องลงมติยืนยันให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ในส่วนมติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนใช้มติธรรมดาโดยเสียงข้างมาก
    • การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่สองจะต้องห่างจากการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่เกินกว่า 6 สัปดาห์
  1. ผู้ชำระบัญชีต้องลงประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 2 วัน
  2. จัดทำงบดุล ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบโดยเร็วที่สุด
  3. เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบงบดุลแล้วเห็นว่าถูกต้อง ให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล และพิจารณาว่าจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นใหม่
  4. ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชีโดยรวบรวมทรัพย์สิน เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างอยู่ ขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น

(กรณีการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้สิน ให้ผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้บริษัทจำกัดล้มละลาย)

  1. ในกรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ยื่นต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน

และในกรณีชำระบัญชีไม่เสร็จเกินกว่า 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อครบปีทุกปี เพื่อรายงานความเป็นไปของการชำระบัญชี

  1. เมื่อผู้ชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี
  2. เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท

อย่างไรก็ตามขั้นตอนการเลิกกิจการเหล่านี้สามารถปรับได้ตามขนาดหรือรูปแบบกิจการ หากเป็นธุรกิจขนาดเล็กซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำกันเอง มีผู้ถือหุ้นที่ไว้ใจได้ หรือเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ก็สามารถตกลงกันเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีวาระการประชุมก็ได้ เซ็นเอกสารยินยอมรวมกันก็เป็นอันเสร็จสิ้นได้เลย

ขั้นตอนการปิดบริษัท

ตัวอย่างรายงานการประชุมเลิกบริษัท

ขั้นตอนการปิดบริษัท (ตั้งแต่จดทะเบียนเลิกตลอดจนชำระบัญชี)

  1. การจดทะเบียนเลิกบริษัท

ชั้นตอนแรก เราต้องเรียกประชุมผู้เป็นหุ้นส่วน โดยการส่งจดหมายลงทะเบียนหรือลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อเรียกประชุมและกำหนดวันเวลาว่า จะประชุมเมื่อใด เมื่อถึงกำหนดวันเวลา เราก็เริ่มจัดทำการประชุมกันเพื่อตกลงว่า ต้องการเลิกบริษัท ,แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี,ผู้สอบบัญชี, ผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อในคำขอเลิกบริษัท

  1. การจัดทำงบการเงินยื่นแบบภาษีต่าง ๆ

หลังจากที่จดทะเบียนเลิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่ต้องทำนั่นคือการจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งหน้าที่นี้ทางผู้ประกอบการจะต้องให้นักบัญชีเข้ามาช่วยจัดการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. งบการเงินที่จัดทำเป็นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ จะต้องให้ผู้ทำบัญชีทำ และต้องมีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง ทั้งกรณีบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  2. นำส่งแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการยื่น ภงด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ภายใน 150 วันนับจากวันที่เลิก
  3. นำส่งแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยการยื่น ภงด.3 หรือ ภงด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่เลิก ให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่ายค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
  4. กรณีบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทจะต้องนำส่งแบบ ภพ.30 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร
  5. นำส่งแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยการยื่น ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิก ในกรณีที่มีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยรับ ในงบการเงิน
  1. ถ้าบริษัทจดเข้าระบบภาษีมูลเพิ่ม ต้องเลิกที่สรรพากร

เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการดำเนินการเลิก Vat เป็นเอกสารแบบฟอร์มเลิกบริษัท หนังสือชี้แจงเลิกกิจการ สรรพากร ในส่วนข้อนี้สรรพากรแต่ละพื้นที่จะขอเอกสารไม่เหมือนกัน ควรจะต้องโทรไปเช็คก่อน ซึ่งเอกสารเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นทั่วไปมีดังนี้

  1. หนังสือเอกสารแบบ ภพ.09 จำนวน 4 ฉบับ และเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ในการจดทะเบียนเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. หนังสือรับรองบริษัท (เลิก)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
  4. ภพ.01, ภพ.1, ภพ.09 และ ภพ.20 ตัวจริง ถ้าหายจะต้องใช้ใบแจ้งความหายแทน และในใบแจ้งความต้องระบุชื่อบริษัทด้วย
  5. หนังสือชี้แจงเหตุผลในการเลิก
  6. หนังสือมอบอานาจ (กรณีมอบอำนาจ)
  7. บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
  8. ภงด.50 ณ วันเลิกกิจการ
  9. งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  10. แผนที่แสดงที่ตั้งสานักงานของบริษัท
  11. ภพ.30 และใบเสร็จย้อนหลัง
  12. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ชำระบัญชีทุกคน
  13. ภงด.50 ภงด.51 และ งบการเงินย้อนหลัง
  14. จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน ต่าง ๆ ยื่นสรรพากร

เมื่อคุณยื่น ภพ.09 แล้ว ทางคุณต้องรอให้สรรพากรเรียกตรวจประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวกับบริษัทคุณว่าได้นำส่งภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือยัง ถ้าสรรพากรไม่ติดใจแล้ว ทางคุณจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษีออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” ทางคุณจึงจะสามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้

  1. การจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี

หลังจากที่คุณได้ดำเนินการทุกขั้นตอนมาแล้วต่อมาก็คือต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว มีใครคัดค้านหรือไม่ และในกรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” คุณก็จะต้องดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายนั่นคือการจดเสร็จชำระบัญชี

  1. ออกหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและโฆษณาหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย การลงประกาศหนังสือพิมพ์ ว่าบริษัทเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีต่าง ๆ เรื่องเสร็จการชำระบัญชีอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  2. ในวันประชุมต้องมีมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ และอนุมัติการชำระบัญชี
  3. ยื่นจดทะเบียนการเสร็จชำระบัญชีภายใน 14 วันนับจากวันมีมติเสร็จชำระบัญชี
  4. เมื่อจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ก็เป็นเสร็จสิ้นการปิดบริษัทเป็นที่เรียบร้อย

และในส่วนจัดทำขั้นตอนข้อที่ 1. การจดทะเบียนเลิกบริษัทและขั้นตอนที่ 4 การจดเสร็จชำระบัญชี จะต้องดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนขั้นตอนที่ 2 การจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่าง ๆ ให้ครบถ้วน และขั้นตอนที่ 3 การเลิกที่กรมสรรพากร (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จะต้องดำเนินการที่กรมสรรพากร

สรุป ขั้นตอนการเลิกบริษัท ปิดบริษัท

  1. การจดทะเบียนเลิกบริษัท
  2. การจัดทำงบการเงินยื่นแบบภาษีต่าง ๆ
  3. ถ้าบริษัทจดเข้าระบบภาษีมูลเพิ่ม ต้องเลิกที่สรรพากร
  4. การจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี

ภพ.09

ภพ.09

ภพ.01

ภพ01

การเตรียมเอกสารสำคัญสำหรับการจดเลิกบริษัท

เอกสารที่ต้องเตรียมไว้

ในส่วนของเอกสารที่ประกอบคำขอจดทะเบียนต่าง ๆ สามารถไปโหลดจากเว็บกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  1. สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของผู้ถือหุ้นทุกคน
  2. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
  3. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2)
  4. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
  5. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคน ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
  6. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  7. สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
  8. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
  9. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  10. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)

ถ้าบริษัทจดเข้าระบบภาษีมูลเพิ่มด้วย

  1. เอกสารการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)พร้อมใบเสร็จประมาณ 2-5 ปี
  2. งบดุล งบกำไรขาดทุน ที่ยื่นสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประมาณ 2-5 ปี
  3. งบดุล งบกำไรขาดทุน ณ วันเลิก ที่ยื่นสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  4. เอกสารการจดทะเบียนเลิก ภพ.09
  5. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่ต้องใช้

  1. วันที่เลิกบริษัท
  2. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และอายุของผู้ชำระบัญชี
  3. อำนาจผู้ชำระบัญชี
  4. ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี

การเลิกบริษัทเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐบาลดังนี้

  1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
    • จดทะเบียนเลิกบริษัท
    • จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิก และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรับรอง
    • จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี
  2. กรมสรรพากร
    • แจ้งปิดบริษัท ภายใน15วัน
    • ยื่น ภงด. 50 ของงบที่เลิกบริษัท
    • คืนใบ ภพ20 ตัวจริง
  3. สำนักงานประกันสังคม
    • แจ้งเลิกกิจการ

สรุป

เพราะการปิดบริษัทนั้นแท้จริงแล้วมีความซับซ้อนวุ่นวายมากกว่าตอนเปิดกิจการหรือเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเสียอีก หลายท่านคงคิดว่าทำไมจะปิดกิจการทั้งที ยังจะต้องยุ่งยากอีก ก็เพราะว่าการปิดบริษัทให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แบบนั้นถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่เจ้าของกิจการต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อธุรกิจของตนเองให้เสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้นเราไม่ควรจะต้องปล่อยให้เกินจะรับมือ หากเกิดสัญญาณไม่ดีแล้ว พอจะมีหนทางแก้ไขปัญหาตรงนั้นหรือไม่ ก็ควรปรึกษาหารือในที่ประชุมให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับวิกฤตขนาดไหน หากไม่สามารถไปต่อไปได้แล้วก็ควรจะตัดสินใจเสียตั้งแต่วันที่ยังพอจะตั้งหลักได้เพื่อปรับตัวให้ทัน หรือในวันที่ย่ำแย่ที่สุดไม่เหลืออะไรและยังติดลบอีกก็ต้องพร้อมที่จะรับมือและก้าวต่อไปเพื่อวันใหม่ที่จะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

ติดต่อทีมงานปรึกษาเรื่อง “เลิกกิจการ” โทร.081-931-8341

รับปิดงบเปล่า เสริมความงาม บางเขน
รับปิดงบเปล่า มือจับเฟอร์นิเจอร์ ธนบุรี
รับปิดงบเปล่า รองเท้าหนังแบบสวม บางซื่อ
รับปิดงบเปล่า คลินิกเสริมความงาม สตูล
รับปิดงบเปล่า วอลเลย์บอล จอมทอง
รับเลิกบริษัท นมและอาหารสำหรับเด็กแรกเกิด ชลบุรี
รับปิดงบเปล่า สควอช ปราจีนบุรี
รับปิดงบเปล่า ประกันภัย อยุธยา
รับปิดงบเปล่า คลาสเรียน & เวิร์คช็อป พะเยา
รับเลิกบริษัท รับเหมาออกแบบตกแต่งภายในครบวงจร สมุทรสาคร

พื้นที่บริการ รับปิดบริษัท กรุงเทพมหานคร

รับปิดงบเปล่า บางบอน, รับปิดงบเปล่า ทุ่งครุ, รับปิดงบเปล่า ทวีวัฒนา, รับปิดงบเปล่า บางนา, รับปิดงบเปล่า คลองสามวา, รับปิดงบเปล่า วังทองหลาง, รับปิดงบเปล่า สะพานสูง, รับปิดงบเปล่า คันนายาว, รับปิดงบเปล่า สายไหม, รับปิดงบเปล่า หลักสี่, รับปิดงบเปล่า บางแค, รับปิดงบเปล่า วัฒนา, รับปิดงบเปล่า ลาดพร้าว, รับปิดงบเปล่า ราชเทวี, รับปิดงบเปล่า ดอนเมือง, รับปิดงบเปล่า จอมทอง, รับปิดงบเปล่า สวนหลวง, รับปิดงบเปล่า คลองเตย, รับปิดงบเปล่า ประเวศ, รับปิดงบเปล่า บางคอแหลม, รับปิดงบเปล่า จตุจักร, รับปิดงบเปล่า บางซื่อ, รับปิดงบเปล่า สาทร, รับปิดงบเปล่า บึงกุ่ม, รับปิดงบเปล่า ดินแดง, รับปิดงบเปล่า บางพลัด, รับปิดงบเปล่า ราษฎร์บูรณะ, รับปิดงบเปล่า หนองแขม, รับปิดงบเปล่า ภาษีเจริญ, รับปิดงบเปล่า บางขุนเทียน, รับปิดงบเปล่า บางกอกน้อย, รับปิดงบเปล่า ตลิ่งชัน, รับปิดงบเปล่า คลองสาน, รับปิดงบเปล่า ห้วยขวาง, รับปิดงบเปล่า บางกอกใหญ่, รับปิดงบเปล่า ธนบุรี, รับปิดงบเปล่า พญาไท, รับปิดงบเปล่า สัมพันธวงศ์, รับปิดงบเปล่า ยานนาวา, รับปิดงบเปล่า ลาดกระบัง, รับปิดงบเปล่า มีนบุรี, รับปิดงบเปล่า พระโขนง, รับปิดงบเปล่า ป้อมปราบศัตรูพ่าย, รับปิดงบเปล่า ปทุมวัน, รับปิดงบเปล่า บางกะปิ, รับปิดงบเปล่า บางเขน, รับปิดงบเปล่า บางรัก, รับปิดงบเปล่า หนองจอก, รับปิดงบเปล่า ดุสิต, รับปิดงบเปล่า พระนคร

รับปิดงบเปล่า ภาคกลาง

รับปิดงบเปล่า กรุงเทพมหานคร
รับปิดงบเปล่า นครสวรรค์
รับปิดงบเปล่า อุทัยธานี
รับปิดงบเปล่า อ่างทอง
รับปิดงบเปล่า สระบุรี
รับปิดงบเปล่า สุพรรณบุรี
รับปิดงบเปล่า สุโขทัย
รับปิดงบเปล่า สิงห์บุรี
รับปิดงบเปล่า สมุทรสาคร
รับปิดงบเปล่า สมุทรสงคราม
รับปิดงบเปล่า สมุทรปราการ
รับปิดงบเปล่า ลพบุรี
รับปิดงบเปล่า เพชรบูรณ์
รับปิดงบเปล่า พิษณุโลก
รับปิดงบเปล่า พิจิตร
รับปิดงบเปล่า พระนครศรีอยุธยา
รับปิดงบเปล่า ปทุมธานี
รับปิดงบเปล่า นนทบุรี
รับปิดงบเปล่า นครปฐม
รับปิดงบเปล่า นครนายก
รับปิดงบเปล่า ชัยนาท
รับปิดงบเปล่า กำแพงเพชร

รับปิดงบเปล่า ภาคเหนือ

รับปิดงบเปล่า อุตรดิตถ์
รับปิดงบเปล่า ลำพูน
รับปิดงบเปล่า ลำปาง
รับปิดงบเปล่า แม่ฮ่องสอน
รับปิดงบเปล่า แพร่
รับปิดงบเปล่า พะเยา
รับปิดงบเปล่า น่าน
รับปิดงบเปล่า เชียงใหม่
รับปิดงบเปล่า เชียงราย

รับปิดงบเปล่า ภาคอีสาน

รับปิดงบเปล่า อำนาจเจริญ
รับปิดงบเปล่า อุบลราชธานี
รับปิดงบเปล่า หนองบัวลำภู
รับปิดงบเปล่า หนองคาย
รับปิดงบเปล่า ศรีสะเกษ
รับปิดงบเปล่า สุรินทร์
รับปิดงบเปล่า สกลนคร
รับปิดงบเปล่า เลย
รับปิดงบเปล่า ร้อยเอ็ด
รับปิดงบเปล่า ยโสธร
รับปิดงบเปล่า มุกดาหาร
รับปิดงบเปล่า มหาสารคาม
รับปิดงบเปล่า บุรีรัมย์
รับปิดงบเปล่า บึงกาฬ
รับปิดงบเปล่า นครราชสีมา
รับปิดงบเปล่า นครพนม
รับปิดงบเปล่า ชัยภูมิ
รับปิดงบเปล่า ขอนแก่น
รับปิดงบเปล่า กาฬสินธุ์
รับปิดงบเปล่า อุดรธานี

รับปิดงบเปล่า ภาคใต้

รับปิดงบเปล่า ยะลา
รับปิดงบเปล่า สุราษฎร์ธานี
รับปิดงบเปล่า สงขลา
รับปิดงบเปล่า สตูล
รับปิดงบเปล่า ระนอง
รับปิดงบเปล่า ภูเก็ต
รับปิดงบเปล่า พัทลุง
รับปิดงบเปล่า พังงา
รับปิดงบเปล่า ปัตตานี
รับปิดงบเปล่า นราธิวาส
รับปิดงบเปล่า นครศรีธรรมราช
รับปิดงบเปล่า ตรัง
รับปิดงบเปล่า ชุมพร
รับปิดงบเปล่า กระบี่

รับปิดงบเปล่า ภาคตะวันออก

รับปิดงบเปล่า สระแก้ว
รับปิดงบเปล่า ระยอง
รับปิดงบเปล่า ปราจีนบุรี
รับปิดงบเปล่า ตราด
รับปิดงบเปล่า ชลบุรี
รับปิดงบเปล่า ฉะเชิงเทรา
รับปิดงบเปล่า จันทบุรี

รับปิดงบเปล่า ภาคตะวันตก

รับปิดงบเปล่า ราชบุรี
รับปิดงบเปล่า เพชรบุรี
รับปิดงบเปล่า ประจวบคีรีขันธ์
รับปิดงบเปล่า ตาก
รับปิดงบเปล่า กาญจนบุรี

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
221228
ชิปปิ้ง
221025
ปก กีฬาบาสเกตบอล
ในหมากรุก การทำ อีพี หมายถึงอะไร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 157148: 1504