งบกระแสเงินทุน

งบกระแสเงินทุนแหล่งที่มาและใช้ไปรายการของบัญชีแตกต่าง 5 งบ?

Click to rate this post!
[Total: 118 Average: 5]

งบกระแสเงินทุน

กระแสเงินทุน (Funds Statement) ในรายการของบัญชี

งบกระแสเงินทุน

กระแสเงินทุน คือรายงานการเงินที่แสดงถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของทรัพยากรของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ในอดีตงบกระแสเงินทุนมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่นงบแสดงที่มาและใช้ไป (Where – Got and Where Gone Statement) ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่างบกระแสเงินทุน (Funds Statement) งบแสดงการใช้เงินทุน (Statement of Application of Funds) งบแสดงที่มาและใช้เงินทุน (Statement of Source and Application of Funds) งบแสดงที่มาและการใช้ทรัพยกร (Statement of Resources Provided and Applied) และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of Changes in Financial Position) เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) หรือตามเกณฑ์สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินสุทธิ (Net Monetary Assets) เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง แต่โดยทั่วไปเกณฑ์การจัดทำงบกระแสเงินทุนอาจแบ่งออกเป็น 3 เกณฑ์ดังนี้

  1. เกณฑ์เงินสด (Cash Basis)

ภายใต้เกณฑ์เงินสด งบกระแสเงินทุนจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบัญชีเงินสดในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ โดยจำแนกเงินสดที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีออกเป็นกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายและแสดงผลกระทบของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายที่มีต่อบัญชีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในระยะเริ่มต้นการจัดทำงบกระแสเงินทุนตามเกณฑ์เงินสดไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพทางบัญชี เนื่องจากนักบัญชียังคงยึดติดกับการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Accounting) โดยรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีเมื่อเกิดรายการและแสดงในงบการเงินตามเกณฑ์เงินสดเป็นวิธีทางอ้อม (Backdoor Approach) ที่นำไปสู่การรับรู้รายการตามเกณฑ์การรับหรือจ่ายเงินสด (Cash Basis Accounting)งบกระแสเงินทุนเงินสด

2.เกณฑ์ทุนหมุนเวียน (Working Capital)งบกระแสเงินทุนหมุนเวียน

ภายใต้เกณฑ์ทุนหมุนเวียน งบกระแสเงินทุนจะแสดงรายการทั้งหมดที่เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน (ทุนหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนหักด้วยหนี้สินหมุนเวียน) ตามแนวคิดนี้การเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินทุนตามเกณฑ์ทุนหมุนเวียน หมายถึง การเพิ่มขึ้นหรือลดลงในเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า และรายการสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ เกณฑ์ทุนหมุนเวียนจึงช่วยให้งบกระแสเงินสดทุนยังคงเอกลักษณ์ขั้นพื้นฐานของการวัดหรือรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง แต่ไม่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสดในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี

  1. เกณฑ์ทรัพยากรทางการเงิน (แหล่งของการลงทุน) ทั้งหมด (All Financial Resources)งบกระแสเงินทุนทางการเงิน

ภายใต้เกณฑ์ทรัพยากรทางการเงินทั้งหมด งบกระแสเงินทุนจะแสดงผลกระทบของรายการค้าทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกโดยไม่คำนึงว่ารายการนั้นจะเกี่ยข้องกับการได้มาหรือใช้ไปของเงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนหรือไม่ แนวคิดนี้จึงใช้ได้กับแนวคิดกระแสเงินทุนอื่นๆที่กล่าวมา (เช่น เกณฑ์เงินสด เกณฑ์ทุนหมุนเวียน) กล่าวคือนอกจากเป็นแนวคิดที่คำนึงถึงรายการเปลี่ยนแปลงในเงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ยังคำนึงถึงรายการอื่นทุกรายการที่มีผลกระทบต่อกิจกรรมจัดหาเงินและกิจกรรมลงทุนที่มีความสำคัญต่อกิจการและคงจะอยู่ในกิจการเกินกว่างวดบัญชี

ประโยนช์ของงบ

ประโยชน์ของงบกระแสเงินทุน

งบกระแสเงินทุนให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการประเมินความสามารถของกิจการในการค้าซึ่งเงินทุน ตลอดจนความต้องการของกิจการในการใช้จ่ายเงินสดไปในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ทราบว่าแท้จริงแล้วกิจการมีที่มาของเงินทุนจากกิจกรรมใดบ้างและใช้เงินทุนที่ได้มา ไปอย่างมีประสิทธิภาพเดียงใด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์จำนวนเงินทุนที่กิจการจะสามารถจ่ายเงินปันผลและดอกเบี้ยแก่ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ได้ในอนคตและต่อการประเมินความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งบการเงินจะไม่ได้รับถ้าหากพิจารณาแต่เฉพาะงบกำไรขาดทุนและงบดุลเพียงอย่างเดียว เนื่องจากงบกำไรขาดทุนจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ รายได้ และ ค่าใช้จ่ายที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุนไม่ได้มีการจำแนกตามกิจกรรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หรือค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ทำให้ผู้ใช้งบการเงินไม่สามารถประเมินได้ว่าผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการลงทุน การจัดหาเงิน และ กระแสเงินสดของกิจการอย่างไร ขณะเดียวกันงบดุลจะให้แต่เฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และแหล่งที่มาของสินทรัพย์ ณ วันใดวันหนึ่ง แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดบัญชี

งบกระแสเงินทุนเมื่อนำไปใช้ร่วมกับงบอื่นๆ จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประเมินสิ่งต่อไปนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ
  2. การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเงิน (Liquidity and solvency)
  3. ความสามารถของกิจการในการบริหารเงินสดที่มีอยู่
  4. ระยะเวลาการหมุนเวียนของกระแสเงินสดซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถปรับตัวให้เข้ากับโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป (Financial Flexibility)
  5. ความสามารถของกิจการที่จะได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเห็นถึงรูปแบบของการบริหารเงินสด การตัดสินใจเกี่ยวกับการเงินและการมองการณ์ไกลในการใช้เงินลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของกิจการในอนาคต

ข้อมูลต่างๆในอดีตยังเป็นตัวบ่งชี้จำนวนเงิน ระยะเวลา และความแน่นอนของเงินทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตลอดจนเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินผลของกระแสเงินสดในอนาคตที่จัดทำขึ้นในอดีต ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการหากำไรและกระแสเงินสดสุทธิและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับราคา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานภายในกิจการเดียวกันหรือผลการดำเนินงานที่นำเสนอโดยกิจการต่างๆได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

220962
อริยสัจสามประการคืออะไร
220043
217648
ทําบุญวันเกิด
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158662: 1523