ความหมายรายได้แหล่งที่มามีอะไร การจัดตั้งกิจการเพื่อ 3 สิ่ง?
ความหมายรายได้
ความหมายของคำว่ารายได้ Revenue
ความหมายรายได้ กิจการที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือกิจการให้บริการมักจะมีการจัดตั้งกิจการเพื่อมุ่งค้าหากำไรให้กับการดำเนินกิจการ ซึ่งรายได้ของกิจการจะประกอบไปด้วยรายได้ (Revenue) ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินสด ลูกหนี้ สินทรัพย์ สิทธิหรือผลตอบแทนอื่นที่ได้มาจากการประกอบกิจการโดยปกติแล้วกิจการก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายสินค้าหรือให้บริการ และจากการให้ใช้สินทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดรายได้ในลักษณะของดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล จำนวนรายได้จะกำหนดจากจำนวนเงินที่กิจการคิดเอาจากลูกค้า สำหรับสินค้าที่ขายหรือให้บริการที่ได้ให้หรือจำนวนเงินที่คิดจากลูกค้าและผลตอบแทนที่เกิดจากการให้ใช้สินทรัพย์ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงจำนวนที่เรียกเก็บหรือรับแทนบุคคลอื่น ปัญหาเกิดขึ้นว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าขั้นตอนการขายได้บรรลุผลสำเร็จและถือว่ารายได้เกิดขึ้นแล้ว หลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ
- การขายสินค้า ผู้ขายได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในการเป็นเจ้าของสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ขบวนการขายที่มีนัยสำคัญได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และผู้ขายมิได้มีส่วนในด้านการจัดการและไม่มีสิทธิ์ควบคุม หรือใช้สินค้าที่โอนไปในฐานะที่เจ้าของโดยปกติวิสัยจะพึงมีอีกต่อไป
- การให้บริการ หมายถึงจำนวนผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับการให้บริการและจำนวนต้นทุนที่เกี่ยวข้องซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว หรือที่จะเกิดขึ้นในการให้บริการ
- การให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์สินของกิจการ เช่นดอกเบี้ย จะรับรู้รายได้ตามสัดส่วนของระยะเวลา ค่าลิขสิทธิ์ จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ที่พึงจะได้รับตามข้อตกลง ส่วนเงินปันผลจากการลงทุนจะรับรู้รายได้เมื่อสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลเกิดขึ้นแล้ว
รายได้จากการประกอบธุรกิจ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenues) หมายถึงรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการตามปกติของธุรกิจ โดยถือเป็นรายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการโดยตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการจัดตั้งกิจการขึ้นเพื่อการดำเนินธุรกิจ จะเรียกว่า รายได้หลัก เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการผลิตสินค้าออกจำหน่าย รายได้ในการให้บริการ
- รายได้อื่น (Non Operating Revenues) หมายถึงรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินตามปกติของธุรกิจแต่เป็นรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งเกิดจากผลพลอยได้จากการดำเนินงานทางอ้อม เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ค่าเช่ารับ เงินปันผลรับ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
รายได้ตามประมวลรัษฎากร
รายได้ตามประมวลรัษฎากร หมายถึงเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ประมวลรัษฎากรได้กำหนดคำว่า ขาย หมายถึงรวมถึง ขายฝาก และเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอบในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใดและไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
- ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ ราคาหรือมูลค่าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
- การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาทซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
เงินได้บุคคลธรรมดา
ในแต่ละปีปฏิทิน ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดามีหน้าที่นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในแต่ละปีภาษีหรือปีปฏิทินมาคำนวนเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ 31 มีนาคมปีถัดไปของทุกปีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อประเมินตอนเองเพื่อเสียภาษีเงินได้ และมีสิทธินำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปี หากปีหนึ่งปีใดผู้มีเงินได้คำนวณแล้วไม่ต้องเสียภาษีก็ไม่ต้องยื่นแบบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเสียโดยยึดเกณฑ์เงินสดซึ่งจะทำให้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้มีเงินเพียงพอที่จะเสียภาษีเงินได้ปลายปี หลักเกณฑ์ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีดังนี้
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
แหล่งเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
- แหล่งเงินได้ในประเทศไทย คือผู้ที่มีหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย มีกิจการที่ทำในประเทศไทย และเป็นกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ และไม่ว่าเงินได้พึงประเมินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทยก็ตาม ผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเสมอ
- แหล่งเงินได้ที่เกิดนอกประเทศไทย กรณีผู้มีเงินได้พึงประเมินมีแหล่งเงินได้เกิดนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจากแหล่งเงินได้นอกประเทศมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบดังนี้
- มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจาก มีหน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ มีกิจการที่ทำในต่างประเทศ มีทรัพย์สินอยู่ในต่างประเทศ
- ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น
- ได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีที่เกิดเงินได้ หากในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มีอนุสัญญาหรือความตกลง เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทย จำเป็นต้องพิจารณาถึงความตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
Tag : enterprise, social, กิจการ, คือ, ตัวอย่าง, ที่มา, ธุรกิจ, บริษัท, บ้าง, ประโยชน์, มี, วิสาหกิจ, สังคม, อย่างไร, อะไร, เพื่อ, แนวคิด, โมเดล, ใน, ไทย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 161239: 1637