กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาทีมหรือกีฬาราชการ เล่นในรูปแบบทีม 5 กีฬา?
กติกาฟุตซอล กติกาฟุตซอล 18 ข้อ ใครเป็นผู้คิดค้น กีฬาฟุตซอล กีฬาฟุตซอลจะมีผู้เล่นข้างละกี่คน กติกาฟุตซอลมีทั้งหมดกี่ข้อ การจัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ราย
สินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร รู้ก่อนตัดสินใจทำสินเชื่อ 2564
เนื่องจากวิกฤตการณ์การเกิดโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ที่มีมาตั้งแต่ปี 2019 นั้น ส่งผลให้สภาวะทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว หลายประเทศต้องพากันปิดประเทศ สำหรับประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในส่วนของการท่องเที่ยวเองก็ทำ GDP มวลรวมของประเทศช่วง 1-2 ปีนี้นั้น ต่ำสุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว เห็นได้ชัดว่าประชาชนทุกคน หน่วยงานองค์กรในทุกภาคส่วนล้วนแต่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันทั้งสิ้น
ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราทุกคนสามารถก้าวผ่านช่วงยากลำบากนี้ไปได้ ก็คือการขอกู้เงิน เพื่อนำเงินก้อนมาหมุนเวียนใช้จ่าย ไม่ว่าจะปลดภาระหนี้สินแต่ละเดือน หรือมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินก้อนกะทันหัน เหตุผลที่หลายคนอยากกู้เงินสักก้อนมาใช้จ่ายหมุนเวียนในชีวิตประจำวันมีด้วยกันหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นค่าดำรงชีพ เพื่อการอุปโภค และบริโภค เพื่อให้จ่ายทั่วไปที่จำเป็น เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันภัยรถยนต์ประจำปี ค่าเทอมบุตรหลาย ค่าซ่อมแซมบ้าน หรือกระทั่งนำเงินก้อนที่ได้ไปโปะหนี้นอกระบบก็ตาม เมื่อต้องการขอสินเชื่อในระบบที่ไม่มีวัตถุประสงค์แน่ชัด หรือไม่มีหลักประกันเงินกู้ ก็ทำให้หลายคนมีความกังวลว่าจะกู้ไม่ผ่าน หรืออย่างนั้นจะต้องขอสินเชื่ออะไรที่สามารถนำเงินก้อนที่ได้ไปใช้ได้ตามต้องการ โดยสินเชื่อที่มาตอบโจทย์ลักษณะการใช้เงินเช่นนี้ก็คือ “สินเชื่อส่วนบุคคล” นั่นเอง ซึ่งจะมีลักษณะอย่างไรนั้น เราไปดูกันเลย
สินเชื่อบุคคลเป็นลักษณะของการให้เงินกู้ประเภทหนึ่ง โดยจะให้วงเงินตามแต่เงื่อนไขของสถาบันการเงินแห่งนั้นพิจารณาเป็นหลัก เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่ผู้กู้เงินรายบุคคล เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายไปตามอเนกประสงค์หรือตามต้องการได้เลย
เรียกง่าย ๆ ว่าให้เงินก้อนไปเลยไม่ว่าวัตถุประสงค์ของผู้ขอกู้จะเป็นอะไรก็ตาม โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินที่อนุมัติวงเงินดังกล่าวก็จะได้ผลตอบแทนจากการปล่อยเงินกู้ยืมเป็นดอกเบี้ยแทน ซึ่งดอกเบี้ยนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่เจ้าของสินเชื่อจะกำหนดเงื่อนไขแต่จะต้องอยู่ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดด้วยเช่นกัน
โดยทั่วไปเรียก “สินเชื่อส่วนบุคคล” หรือเรียก “สินเชื่อบุคคล” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของผลิตภัณฑ์ทางการเงินชนิดหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เป็นสินเชื่อที่ขอได้ทั้งพนักงานประจำทั้งของบริษัทเอกชน และหน่วยงานรัฐ ราชการ ผู้ประกอบการธุรกิจSME ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย เจ้าของกิจการ และกลุ่มอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ โดยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่กำหนดคุณสมบัติว่าให้เงินก้อนนี้กับใครได้บ้าง
โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มพนักงานประจำ และพนักงานสัญญาจ้างหรือกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ต้องมีการประกอบอาชีพมาแล้วประมาณ 6 เดือนจนถึง 1 ปีขึ้นไป ลักษณะนี้มักจะได้รับสินเชื่อส่วนบุคคลง่าย เพราะมีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่แล้ว หรือบางองค์กรอาจจะมีการทำสัญญา MOU ระหว่างธนาคารกับบริษัททำให้อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องการขอสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่อาจจะต้องมีการทำสัญญาให้หักเงินเดือนกับทางบริษัทโดยตรง โดยการขอสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันแต่อย่างใด
รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000-15,000 บาทขึ้นไป
เอกสารส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ สลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด หรือหนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารรายการเดินบัญชีที่เงินเดือนเข้าออกประมาณ 3-6 เดือน อาจจะต้องยื่นบัญชีเพิ่มบางกรณี (ถ้ามี)
เป็นกลุ่มลูกค้าที่ขอสินเชื่อเพื่อใช้สำหรับการลงทุนหรือนำเงินใช้จ่ายส่วนตัว แต่มีอาชีพเป็นผู้ประกอบกิจการ เช่น เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการรายย่อย เป็นต้น
จะต้องมีการประกอบหรือดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะต้องมีการเดินรายการบัญชีที่ดี แต่ต้องการรายได้ขันต่ำต่อเดือน
รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป
เอกสารส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการ(ถ้ามี) เช่น หนังสือจดทะเบียนการค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น
ลักษณะของกลุ่มงานนี้เป็นอาชีพอิสระทั่วไป กลุ่มงานฟรีแลนซ์ เช่น กราฟฟิคดีไซน์ นักแปล นักเขียน เป็นต้น เป็นกลุ่มอาชีพที่ถูกมองว่าทำงานแบบรายรับไม่แน่นอนเพราะไม่มีการสังกัดการทำงานกับบริษัทไหนเป็นพิเศษ ทำให้หลายสถาบันการเงินไม่ได้อนุมัติให้สินเชื่อส่วนบุคคลกับกลุ่มงานนี้มากนัก อย่างไรก็ตามหากมีรายการเดินบัญชีที่ดี และแสดงให้เห็นถึงรายรับที่ต่อเนื่องก็มีโอกาสที่สามารถขอสินเชื่อได้เหมือนกัน
จะต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป
เอกสารส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินจะกำหนดคุณสมบัติว่าต้องการกลุ่มผู้สมัครแบบไหนไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ก็สามารถค้นหาได้เลยว่าสถาบันการเงินไหนที่เหมาะกับเราบ้าง
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่ออนุมัติให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มอาชีพพก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่สถาบันการเงิน ซึ่งการมีเงินเดือนสูงไม่ได้การันตีว่าจะได้รับวงเงินที่สูงเสมอไป เพราการพิจารณาสินเชื่อส่วนบุคคลต้องคำนึงทั้งเรื่องรายได้ ความสามารถในการชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลแต่ละเดือน รวมทั้งประวัติการเงินที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้การเดินรายการบัญชีก็มีส่วนหากเงินเดือนหรือรายได้เข้าปุบ เงินจ่ายออกไปปับ ไม่มีเงินเก็บ หรือแสดงให้เห็นว่าไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อก็อาจจะทำให้ไม่ผ่านการอนุมัติได้นั่นเอง
จะมีลักษณะอัตราดอกเบี้ยต่ำ แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) หรืออีกแบบคือมีดอกเบี้ยตามแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) แล้วแต่สถาบันการเงินกำหนด โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ระหว่าง 9% – 28% ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคลเหมือนกับบัตรกดเงินสดหรือไม่
ทั้งนี้ห้ามจำสับสนระหว่างสินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสดเด็ดขาดแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันเพราะให้สินเชื่อเหมือน ๆ กันก็ตาม
ใครที่ปล่อยสินเชื่อบุคคล น่าเชื่อถือหรือไม่
ผู้ปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีการกำหนดเงื่อนไขการให้กู้ยืมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรียกว่าอยู่ในระบบ มีความปลอดภัยสูง สามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากมีข้อกำหนดที่จะต้องเปิดเผยสัญญาการกู้ยืม “สินเชื่อส่วนบุคคล” ถึงรายละเอียดให้ทราบอย่างชัดเจน เพื่อความยุติธรรมทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ และจะมีอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งจะมีความปลอดภัยในการจัดเก็บและรักษาฐานข้อมูลลูกค้าเป็นอย่างดี ลักษณะผู้ปล่อยเงินกู้แบบสินเชื่อบุคคล สามารถจำแนกประเภทหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
อย่างไรก็ตามปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลรูปแบบ “สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล” ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย โดยจะเป็นนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำเรื่องสินเชื่อโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินความสามารถชำระหนี้ ความเต็มใจในการชำระหนี้ เป็นต้น
เรื่องควรรู้ก่อนตัดสินใจสมัคร “สินเชื่อส่วนบุคคล” 2564
จากวิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า โควิด-19 ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันนั้นก็ยังไม่กลับมาเป็นปกติ มีจำนวนคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบหลักก็คือเรื่องการดำรงชีวิตอยู่ของประชาชน จะเห็นได้ว่าประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบขาดรายได้ หลายคนต้องถูกลดเงินเดือน ตกงาน ขาดรายได้ หลายคนต้องอดมื้อกินมื้อ ซึ่งทางออกชั่วคราวเพื่อช่วยให้ใครหลายคนผ่านพ้นสภาวะเศรษฐกิจอันยากลำบากนี้ไปได้ก็คือ การเลือกขอกู้เงินนั่นเอง แต่สำหรับการตัดสินใจขอสินเชื่อก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายแต่อย่างใด เพราะในความเป็นจริงแล้ว มีสินเชื่อด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเกี่ยวกับบ้าน รถยนต์ เป็นต้น แล้วอย่างนี้หากคุณไม่มีหลักทรัพย์หรือไม่มีวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อจะสามารถขอกู้เงินอะไรได้บ้าง และสินเชื่อที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ รวมทั้งเป็นที่นิยมอย่างมากก็คือ “สินเชื่อส่วนบุคคล” ไม่รอช้า เราไปรู้จักกับสินเชื่อตัวนี้กันเลยดีกว่า
ข้อดีของสินเชื่อส่วนบุคคล
ข้อเสียของสินเชื่อส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเลือกสินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินหรือธนาคารไหนสักแห่งก็ควรจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลสินเชื่อส่วนบุคคลก่อนตัดสินใจที่จะสมัครให้ดี ไม่ควรรีบร้อนหรือชื่นชอบเพราะดอกเบี้ยถูกเท่านั้น เพราะในบางครั้งเมื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยถูกแต่ก็จะต้องมีการขอวงเงินสินเชื่อค่อนข้างสูง ยิ่งกู้แพงยิ่งได้ดอกถูก แต่อาจจะต้องผ่อนนานขึ้น ทางกลับกันได้รับดอกเบี้ยสูงอาจจะได้วงเงินก้อนน้อยแต่ก็ต้องรีบโปะหมดไว เป็นต้น แล้วแต่เงื่อนไขของสินเชื่อส่วนบุคคลในแต่ละสถาบันการเงินนั่นเอง และสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเลือกกู้เงินเพื่อใช้จ่ายอะไรก็ตามควรคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อส่วนบุคคลตามความเป็นจริงของตัวคุณเอง ควรมีเป้าหมายเรื่องการใช้จ่ายส่วนตัวแล้วว่าต้องการใช้จ่ายเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้เกิดนิสัยการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็นจนเคยตัว
รายชื่อสถาบันการเงินให้สินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง
เป็นบริการด้านสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยจะสามารถตรวจสอบบริษัทหรือกิจการทั้งหมดหรือเช็ครายละเอียดเรื่องค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยโดยรวมได้ทางเว็บไซด์ธนาคารกลางโดยตรงที่ www.bot.or.th/app/feerate/internal.aspx?PageNo=15