ท่ารํารําวงมาตรฐาน 10 เนื้อร้องเกิดสมัยใด SONG มีแต่งกายเจ๋ง
รําวงมาตรฐาน รําวงมาตรฐาน ประวัติ รําวงมาตรฐาน 10 เพลง ท่ารํา รําวงมาตรฐาน 10 เพลง ประวัติรําวงมาตรฐาน แบบย่อ รําวงมาตรฐาน หมายถึงอะไร รําวง
“หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อวิถีชีวิตแบบยุคใหม่ 2021
ก้าวเข้าสู่ปี 2021 แล้ว เรามักจะคุ้มเคยกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยจะเห็นได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากสภาวะทางสังคมที่บีบบังคับให้ต้องปรับตัว การสั่งอาหารแบบเดริเวอรี่ การทำงานทางไกล ( Work From Home ) แต่ก็ไม่ใช่แค่เรื่องการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเท่านั้น เพราะหมายความรวมไปถึงการเป็นยุคที่หลายคนที่ตกงานหรือขาดรายได้ เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คงจะยังไม่เห็นภาพ
ซึ่งเมื่อพูดถึงคำว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา หลายคนก็อาจจะนึกไปถึงเรื่องของการแบ่งที่ดินทำไรทำสวนกันไปเสียหมด ซึ่งแนวคิดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษกิจพอเพียงแต่จะเป็นเรื่อง “เกษตรทฤษฎีใหม่” มากกว่า ด้วยความที่อาจจะยังไม่ได้รับรู้ถึงหลักการสำคัญอันเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แท้จริงของใครหลายคน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ใช่แค่เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เท่านั้น แต่เพราะเมื่อได้เข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงแล้ว อาจจะทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงแนวคิดนี้เพื่อให้กับยุคสมัย รวมทั้งบริบทของสังคมว่าเราจะสามารถประยุกต์หรือดำเนินชีวิตแบบหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในยุคนี้แบบไหน จะสามารถนำมาใช้เข้ากับยุควิถีใหม่นี้ได้อย่างไร และสามารถทำได้จริงหรือไม่
ที่มาของหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การที่จะพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ก้าวไกล สู่ความยั่งยืน ต้องเริ่มมาจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงบุคคลของสังคมไทย ซึ่งจะต้องครอบคลุมไปในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนาธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม โดยการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดผลตามมาไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบเกิดขึ้น แนวคิดเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยจึงมีความสำคัญอย่างมาก ทำให้หลักการความพอเพียงในการดำเนินชีวิตจึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนไทยเกิดความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับบุคคล สามารถพึ่งตนเองได้ และนำไปสู่ประโยชน์โดยรวมของสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติที่เข้มแข็งขึ้นมาได้อย่างยั่งยืน
พระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กล่าวได้ว่าปรัชญาเศรษกิจพอเพียงเป็นคำใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน เพราะคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เริ่มต้นมาจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ได้พระราชทานเอาไว้ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีมาแล้ว โดยยึดถือตามวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเป็นวัฒนธรรมของคนไทย โดยจะต้องดำเนินหลักการด้วยแนวทางสายกลาง อาศัยการมีสติ มีปัญญา และมีความเพียร เพื่อนำไปสู่แนวทางที่เป็น “ความสุข”สำหรับการดำเนินชีวิต
“…การพัฒนาประเทศจําเป็นต้องทําตามลําดับขั้นต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป…” พระบรมราโชวาทสำคัญตอนหนึ่ง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2517
สะท้อนให้เห็นว่าเราก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่กำลังพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี โดยการที่ประเทศจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลต่อการขยายตัวในภาคธุรกิจเป็นอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งอีกมุมหนึ่งในเชิงของการพัฒนาที่เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อประเทศย่อมจะสามารถเกิดปัญหาตามมาต่อวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยทุกคน ดังนั้นเพื่อเป็นการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความพอเพียงของประชาชนเพื่อสร้างความพอเพียงเข้มแข็งได้ในระกับรากหญ้า คือประชาชนต้องพอเพียง โดยเน้นการพอมีพอกิน พึ่งตนเองได้ในระดับรากหญ้าให้ได้เสียก่อน ซึ่งความพอเพียงจะต้องนำไปปรับใช้กับแนวทางการดำรงชีวิตในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม นำไปสู่ประเทศชาติ
แนวทางการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่เพียงแค่เรื่องที่ว่าจะต้อง “พอเพียง” เท่านั้น สามารถทำความเข้าใจเชิงปรัชญาโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
หลักการทางเศรษฐกิจพอเพียงได้จะต้องอาศัย “ทางสายกลาง” โดยจะต้องไม่ประมาท เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลเมื่อมีการเข้าสู่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติ และทุกบริบทของสังคม แบ่งหลักการพื้นฐานได้ 3 ประการ คือ
เมื่อต้องตัดสินใจหรือมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสภาวะแวดล้อมภายนอก บุคคลจะต้องมีความสามารถวิเคราะห์เชิงเหตุผล สามารถพิจารณาสาเหตุปันเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ได้ดี นึกถึงเหตุและผลได้อย่างรอบคอบ มีดุลยพินิจไตร่ตรองเหตุและผลก่อนตัดสินใจได้เป็นอย่างดี โดยปัจจัยที่ส่งเสริมความมีเหตุผลได้ดีก็จะต้องไม่ยึดเอาอัตตาตนเองเป็นที่ตั้ง แม้ว่าจะไตร่ตรองเหตุแล้วก็จะต้องมีความองค์ความรู้รวมทั้งรับฟังเหตุผลที่เหมาะสมจากบุคคลอื่นในสังคมได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อสามารถประมาณได้ว่าอะไรคือความเหมาะสมที่พอดีก็จะช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขได้มากขึ้น เพราะความพอประมาณจะทำให้บุคคลรู้ว่าอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี อะไรที่น้อยเกินไปก็ไม่ดี ดังนั้น ความพอประมาณจึงส่งผลให้บุคคลอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เช่น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่โลภ ไม่แย่งชิง หรือเหตุแก่ตัว เป็นต้น ไม่ว่าทรัพยากรที่ผลิตออกมาในเรื่องใดก็ตามจะต้องไม่นำความหลง เข้าไปสร้างความเห็นแก่ตัว เลือกบริโภคในระดับที่พอดี จึงถือว่าเป็นความพอประมาณ
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของสังคม การสร้างบุคคลให้มีภูมิคุ้มกันเป็นเรื่องที่จะต้องมี กล่าวได้ว่าการมีภูมิคุ้มกันเป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถเตรียมตัว สามารถตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ตื่นตูมเกินเหตุ สามารถพิจารณาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินชีวิตได้เอง โดยไม่ต้องถูกชักจูงหรือหวั่นไหวง่ายต่อสิ่งที่มากระทบนั่นเอง โดยเป็นความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบทันด่วนได้นั่นเอง
เงื่อนไขเป็นองค์ประกอบที่สอดแทรกควบคู่กับหลักการพื้นฐาน 3 ประการของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความสามารถในการตัดสินใจ หรือก่อนจะดำเนินการหนึ่งขึ้นมา ดังนี้
องค์ประกอบสำคัญโดยเกี่ยวข้องกับเรื่องระดับการมีสติปัญญา การเป็นคนที่มีความรู้คือ คนเก่ง โดยการมีความสามารถเชิงความรู้จะช่วยนำพาระดับบุคคลตลอดจนประเทศชาติพัฒนาได้ เช่น รอบคอบก่อนทำ มีความรอบรู้เรื่องก่อนตัดสินใจ และมีความระมัดระวังถึงผลที่จะตามมา เป็นต้น
องค์ประกอบที่จะต้องมีในพื้นฐานตัวบุคคล การเป็นคนที่มีคุณธรรมคือ คนดี โดยบุคคลจะต้องนำหลักคุณธรรมรวมทั้งเรื่องศีลธรรมมาพัฒนาตนเองก่อน จากนั้นก็จะสามารถสร้างบรรทัดฐานทางสังคมที่ดีมีวัฒนธรรมอันดีสืบเนื่องต่อไปได้เช่นกัน เช่น มีความซื่อสัตย์ มีความสุจริตต่อหน้าที่ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน เป็นต้น
แนวคิดระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อโลกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง..แล้วแนวคิดแบบหลักการเศรษฐกิจพอเพียงจะปฏิบัติได้จริงหรือไม่?
หลักการปรัชญาเศรษกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาเศรษกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวคิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ที่กล่าวได้ว่ามุ่งเน้นไปเรื่อง “ความสุข” ผนวกกับเรื่องของ “ประโยชน์สุข” กล่าวความหมายโดยรวมได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสภาวะทางใจที่เป็นบวกต่อตนเองและเป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือส่วนร่วม และนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมได้
โดยการจะบรรลุหลักการเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขเรื่อง การมีความรู้และการมีคุณธรรม บุคคลจะต้องนำเงื่อนไข 2 ประการนี้สร้างความสมดุลกับอีก 3 หลักการ คือ ความมีเหตุผล พอประมาณ และภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อผ่านเงื่อนไขและหลักการดังกล่าวได้ จึงจะสามารถสร้างการบรรลุผลเรื่องความสุขและประโยชน์สุขได้
หลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่วนเป้าหมายของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาระดับประเทศชาติ ซึ่งเป็นแนวคิดจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ลงนามร่วมกันระหว่าง 193 ประเทศทั่วโลก เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาไปอย่างครอบคลุมในทุกมิติเพื่อสร้างการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สันติภาพ และหุ้นส่วนการพัฒนา โดยเป้าหมายของแนวคิดนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการกำจัดเรื่องความยากจน ลดความเลื่อมล้ำระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาเพื่อให้ประชาคมโลกพร้อมรับมือกับเรื่องสิ่งมีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลกได้เป็นอย่างดี
แนวคิดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นเรื่องที่กว้างและมีความครอบคลุมทุกมิติ การจะบรรลุผลของเป้าหมายหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องสร้างการบูรณาการของทุกภาคส่วน เพื่อนเน้นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสังคม กระจายเรื่องการพัฒนาไปยังทุกกลุ่มของสังคมเพื่อสร้างการเข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียมได้ ดังนั้นการที่จะสามารถบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่สร้างหรือเกิดขึ้นได้เพียงแค่ระดับบุคคลเท่านั้น
ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะเห็นได้ว่าหลักการทั้งสองอย่างมีความสอดคล้องกันอยู่ โดยหลักการปรัชญาเศรษกิจพอเพียงต้องการสร้างความสมดุลมิติทางสังคมให้เกิดประโยชน์สุขโดยจะต้องถูกพัฒนามาจากรากฐานสำคัญระดับบุคคลจะต้องมีความสุขก่อน และสำหรับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นเรื่องสังคมที่ไม่มีความยากจน ไม่มีความเลื่อมล้ำทางสังคมซึ่งมองได้ว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนนี้เป็นเรื่องที่สอดคล้องและสามารถพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันและส่งเสริมกันได้ แต่หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีเรื่องที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ การมุ่งเน้นเรื่องมิติทางวัฒนธรรมและการร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของสันติภาพเพิ่มเข้ามา
การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก “พึ่งตนเอง” คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาตนเองให้สามารถ “อยู่ได้อย่างพอเพียง” คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย
หลักการองค์รวมทั้งหมดของหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทฤษฎีเป็นแนวทางที่ถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตดังเดินของคนไทยอยู่ก่อนแล้ว หากมองในมุมที่ยึดเอาหลักการความพอเพียง เพราะแต่เดิมประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศร่ำรวยทางทรัพย์สินเงินทอง แต่มีความร่ำรวยเรื่องวิถีชีวิตวัฒนธรรมอันดีของคนไทย มีทรัพยากรที่พอเพียงสำหรับคนในชาติได้
แต่ทว่าโลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาของโลกได้ก้าวสู่การพัฒนาที่พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก การพัฒนาอย่างยั่งยืนถูกทำให้เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี วิถีชีวิตใหม่ปี 2021 ที่ไม่ใช่แค่เรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่เป็นภาวะโรคระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ไปทั่วโลก การดำเนินชีวิตที่ทำให้เราต้องกลับมามองเรื่องแนวทางการพอเพียงก็อาจจะทำให้เรารอดพ้นวิกฤตการณ์ช่วงนี้ไปได้ไม่มากก็น้อย หยุดฟุ่มเฟือยในสภาวะที่ยากลำบากนั่นก็คือ มีความพอประมาณ การพิจารณาประกอบอาชีพให้เข้ากับสถาวะทางเศรษฐกิจได้ก็คือ มีเหตุผล และการเลือกแบ่งเงินออมบางส่วนเพื่อเตรียมรับสภาวะเช่นนี้ การเลือกทำงานให้มากขึ้นและปรับตัวต่อยุคสมัยได้ ก็เป็นเรื่องของการมีภูมิคุ้มกันที่ดีนั่นเอง
ดังนั้น หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีจากโลกเมื่อหลายสิบปีก่อนอีกต่อไป เพราะเมื่อเข้าใจหลักการแล้วก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสมดุลในวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ได้ ไม่ได้ยึดแค่ความคิดว่าจะต้องพอเพียง แต่มีความรู้ความเข้าใจในบริบทเชิงลึกให้ถึงแก่นแท้ เพราะเราไม่ควรมุมมองต่อหลักการที่อยู่ในกรอบเดิมเท่านั้น ที่สำคัญแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้กำลังบอกให้คนในชาติหยุดพัฒนา แต่ให้มีวิถีชีวิตที่พัฒนาอย่างเป็นทางสายกลาง โดยไม่ยึดถือแค่ในระดับบุคคลแต่ภาคองค์กรหน่วยงานธุรกิจ ไม่ใช่การให้ประชาชนพอเพียงแต่ตัวเองขณะที่ภาคธุรกิจทำกำไรเพียงอย่างเดียว จึงเป็นการเห็นเพียงตัวเลขมวลรวมประเทศดีขึ้นขณะที่ประชาชนยังจนเท่าเดิม ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องบูรณาการเชิงลึกเพื่อนำหลักการไปประยุกต์ใช้ตามท้องถิ่นของคนในชุมชน สร้างสังคมที่เข้มแข็ง นำพาให้ประเทศชาติสู่ความเจริญ แบบนี้จึงจะเป็นการพัฒนาต่อยุคสมัยอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
รําวงมาตรฐาน รําวงมาตรฐาน ประวัติ รําวงมาตรฐาน 10 เพลง ท่ารํา รําวงมาตรฐาน 10 เพลง ประวัติรําวงมาตรฐาน แบบย่อ รําวงมาตรฐาน หมายถึงอะไร รําวง
ความฝัน เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกคน และหลายครั้งก็มักจะมีความหมายซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณของความรู้สึกภายใน หรือการสะท้อนความกังวลใน
โลกธรรม 8 โลกธรรม คู่ที่ 1 ได้ลาภ-เสื่อมลาภ โลกธรรม คู่ที่ 2 ได้ยศ-เสื่อมยศ โลกธรรม คู่ที่ 3 ได้รับสรรเสริญ-ถูกนินทา โลกธรรม คู่ที่ 4 ได้สุข-ได้ทุกข์ โลกธรรม
digital transformation ตัวอย่างธุรกิจ ธุรกิจ digital transformation ในไทย การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล มีอะไรบ้าง digital transformation 6 ขั้นตอน ตัวอย่าง
พฤติกรรมการเล่นเกมของวัยรุ่น พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ งานวิจัยเกี่ยวกับเกม ความหมายของเกมออนไลน์ วิจัย แบบสอบถาม พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์
adjective มีอะไรบ้าง adjective ตัวอย่างประโยค คําคุณศัพท์ คือ ตัวอย่างประโยค adjective บอกความรู้สึก adjective บอกลักษณะนิสัย adjective ความรู้สึก