กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ชดเชยประกันสังคมลาออกครบจบ 7 กองทุน?

Click to rate this post!
[Total: 147 Average: 5]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้..กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (PVD) และเงินชดเชยประกันสังคม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คือ กองทุนที่ทางนายจ้างได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เงินสํารองเลี้ยงชีพแก่ลูกจ้างได้มีเงินออมใช้ตอนเกษียณ โดยจะต้องตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการลงทุนแบบ passive income หรือก็คือการให้เงินทํางานผ่านกองทุนรวม และเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) จะขึ้นอยู่กับแผนความเสี่ยงที่เลือกลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรหรือขาดทุนจากผลประโยชน์ของกองทุน เพราะเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) จะถูกบริหารจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุนที่บริษัทนายจ้างเป็นผู้เลือก เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) จะมาจากเงินที่หักจากเงินเดือนบางส่วนเรียกว่า “ส่วนเงินสะสม” และอีกส่วนคือนายจ้างสบทบเพิ่มให้เรียกว่า “ส่วนเงินสมทบ” โดยทางกฎหมายจะกำหนดให้มีการหักสะสมได้ 2-15% ของเงินเดือนลูกจ้างเองส่วนจำนวนเงินสมทบจากนายจ้างจะต้องสมทบไม่ต่ำกว่าเงินของลูกจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถขอปรับแผนกองทุนรวมทั้งจำนวนเงินได้ด้วยเช่นกัน

แม้ว่าจะมีการหักเงินสมทบเยอะแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็คือการลงทุน เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกการประเมินความเสี่ยงในการบริการเงินที่ตนเองรับได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้โอกาสที่ให้เงินทํางานผ่านกองทุนรวมได้กำไรเพิ่มมากขึ้น

โดยเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนี้เป็นของลูกจ้างโดยชอบธรรมเมื่อเกษียณอายุ ออมจากงาน ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต แต่การได้มาซึ่งจำนวนของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็จะขึ้นอยู่กับบริษัทนายจ้างที่กำหนดว่าด้วยเรื่องการรับผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะหากคุณลาออกก่อนเวลาที่กำหนดจำได้รับเฉพาะสัดส่วนเงินสะสมของตนเองแต่ไม่ได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง

ตัวอย่างการ(จ่าย)ให้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทแห่งหนึ่งเรื่องเงินสมทบบริษัท

  1. อายุงาน น้อยกว่า 1 ปี ไม่ได้รับสิทธิ์ที่จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบจากนายจ้าง
  2. อายุงาน 1-5 ปี จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบจากนายจ้าง 50%
  3. อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบจากนายจ้าง 100%

ทั้งนี้ เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็อาจจะสงสัยว่าแล้วอย่างนี้ บริษัทที่มีสัญญาจ้างงานจะต้องมีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ(PVD) ให้ทุกคนหรือไม่ คำตอบคือ ไม่! เพราะกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ(PVD) เป็นลักษณะของเงินสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการของบริษัทที่จะทำให้พนักงานเป็นกรณีเฉพาะไป โดยจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทางกฎหมาย ส่วนใหญ่มักจะเป็นบริษัทเอกชนที่ให้สิทธิ์สวัสดิการสำหรับพนักงานประจำ เพราะถือเป็นการให้เงินทํางานผ่านกองทุนรวมและให้พนักงานไว้ใช้ได้ยามเกษียณ เนื่องจากพนักงานเอกชนนั้นไม่ได้มีเงินบำเหน็จและบำนาญเหมือนข้าราชการ การให้เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงเสมือนการให้สวัสดิการที่มนุษย์เงินเดือนบริษัทเอกชนได้ผลประโยชน์ได้มากขึ้นนั้นเอง

ส่วนที่กฎหมายบังคับ (กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่มีก็ได้ แต่ลูกจ้างจะต้องได้การคุ้มครอง)

แม้ว่าเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจากบริษัทจะไม่ได้เป็นการบังคับว่าจะมีให้ลูกจ้างหรือไม่มี แต่ส่วนที่เป็นภาคบังคับเมื่อทำได้ทำสัญญาจ้างงานแล้วก็คือ เรื่องประกันสังคมซึ่งก็จะมีรายละเอียดว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองแรงงานต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องกฎหมายแรงงานที่นายจ้างรู้และให้การดูแลลูกจ้างในสังกัดตนเอง ซึ่งประกันสังคมจะเป็นส่วนที่ให้การคุ้มครองลูกจ้างซึ่งอยู่ในระบบ จะต้องใส่เข้าไปและหักเงินนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน เพราะประกันสังคมเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่นายจ้างจะต้องทำให้ลูกจ้างเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ตามความชอบของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างมีการลาออกหรือออกจากงาน ประกันสังคมก็จะมีส่วนชดเชยรายได้ตามระยะเวลา รวมทั้งมีเงินก้อนที่ได้หักมาตลอดทุกเดือนไปใช้ยามเกษียณได้เมื่ออายุ 55 ปี

สัญญาจ้างงาน คือ เอกสารหลักฐานที่ได้ทำข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจะต้องมีการตกลงเรื่องการทำงานร่วมกันทั้งสองฝ่าย เมื่อลูกจ้างตกลงทำงานนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าตอบแทน สัญญาจ้างงานจึงเป็นเอกสารว่าลูกจ้างจะต้องได้ค่าตอบแทนและจะต้องทำงานให้นายจ้างตามตกลง ทั้งนี้สัญญาจ้างงานจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นก็ได้ บางกรณีอาจจะเป็นการตกลงทางวาจาหรือเกิดขึ้นโดยปริยายก็ได้เช่นกัน

เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก

นอกจากเรื่องสิทธิ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนจะต้องรู้เมื่อจะลาออกจากงานนั่นก็คือ สิทธิ์จากเงินชดเชยประกันสังคม ตามปกติแล้วพนักงานเงินเดือนทั้งหลายที่ได้ถูกหักเงินนำส่งประกันสังคมได้ถือเป็นผู้ประกันตนหรือก็คือมีชื่ออยู่ในระบบเรียบร้อยแล้วนั้นเอง

เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก

เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก

โดยพนักงานเงินเดือนที่ถูกหักเงินนำส่งจะเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และสิทธิ์ที่ได้จากประกันสังคมไม่ได้เป็นมีสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนเป็นเงินก้อนยามเกษียณที่ต้องเช็คเงินประกันสังคม อายุ 55 เท่านั้น แต่ยังมีสิทธิ์เพื่อผู้ประกันตนในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งวันนี้เราก็จะพูดถึงสิทธิ์เรื่องการออกจากงาน ประกันสังคมก็จะมีเงินชดเชยผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ด้วยเช่นกัน

  1. เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกเองโดยสมัครใจ จะได้รับเงินทดแทนว่างงานไม่เกินปีละ 90 วัน (3 เดือน) ในอัตรา 30% ของค่าจ้างโดยคิดจากฐานเงินเดือนที่หักนำส่งประกันสังคม
  2. เงินชดเชยประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนว่างงานไม่เกินปีละ 180 วัน (6 เดือน) ในอัตรา 50% ของค่าจ้างโดยคิดจากฐานเงินเดือนที่หักนำส่งประกันสังคม

ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะต้องแจ้งออกประกันสังคมในเวลาที่กำหนดเท่านั้น คือ ภายหลังการลาออกหรือเลิกจ้างไม่เกิน 6 เดือน หากแจ้งออกประกันสังคมล่าช้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ชดเชยเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก

วิธียื่นภาษีออนไลน์

ประชาชนสามารถตรวจสอบผลการยื่นภาษี รวมทั้งยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ทางเว็บไซด์ของกรมสรรพากรโดยตรงได้ทาง https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php ซึ่งจะเป็นกองบริการการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์

การสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมตลอดจนรวมทั้งยื่นเอกสารสามารถทำเสร็จได้ผ่านเว็บไซด์โดยไม่ต้องเดินทางไปที่กรมสรรพากรแต่อย่างใด เป็นการลดความเสี่ยงในการเข้าแออัดในที่สาธารณะได้เป็นอย่างดี

อันดับของปลาหมอสี
นกแก้ว
คำคุณศัพท์ใช้เพื่ออธิบายสิ่งต่าง ๆ
ระบบอินเตอร์เน็ต
221400
อาชีพต่างๆ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 165713: 1279