ชิปปิ้ง

ชิปปิ้งหน้าที่ชิปเปอร์ออกของทำได้อย่างเจ๋งครบจบ 6 Shipping?

Click to rate this post!
[Total: 185 Average: 5]

shipping คือ

ตัวแทนออกของ  หรือ ชิปปิ้ง

ตัวแทนออกของ  หรือ ชิปปิ้ง (Shipping)  หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเลหรือบริษัทขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อนำสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศรวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้า นำไปเข้าตู้และรถหัวลากตู้ฯ ไปถึงท่าเรือ Ship-ping คือ บริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ส่งออกว่ามีปริมาณสินค้าปริมาณเท่าไรจะเช่าเป็นตู้ หรือจะรวมกับสินค้าผู้ส่งออกรายอื่นในตู้ใดตู้หนึ่ง

shipping คือ
shipping คือ

หน้าที่อื่นๆ ชิปปิ้ง

  1. เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าในการติดต่อราชการกับกรมศุลกากร
  2. จัดทำใบขนสินค้าและเอกสารประกอบตามข้อมูลในเอกสาร ข้อเท็จจริงที่ได้รับจากลูกค้า ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าและระเบียบปฏิบัติพิธีการอย่างถูกต้องครบถ้วน ยื่นต่อกรมศุลกากร
  3. ให้ความรู้ ข้อมูล ตลอดจนคำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ลูกค้า
  4. รักษาผลประโยชน์และความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด
  5. นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายของค่าใช้จ่ายในการออกของที่จ่ายแทนในนามของเจ้าของสินค้า
  6. เก็บรักษาสำเนาใบขนและเอกสาร (ย้อนหลังไป 5 ปี)

ปัจจุบันตัวแทนออกของ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ตัวแทนออกของทั่วไป คือ บุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของต่อกรมศุลกากรตามประกาศกรมศุลกากรที่ 61/2561 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561
  2. ตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator : AEO) คือตัวแทนออกของทั่วไป ที่มีความประสงค์จะยกระดับตนเองเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสู่ระดับโลก โดยสามารถยื่นคำร้องขอรับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กรมศุลกากรกำหนด ซึ่งตัวแทนออกของที่กรมศุลกากรได้รับรองให้เป็นตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอ จะสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยความสะดวกรวดเร็ว และได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรมากยิ่งขึ้น

การขออนุญาต ต่ออายุตัวแทนออกของปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์

“ตัวแทนออกของ” หมายความถึง ผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้นำของผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำ เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา

ในปีพ.ศ. 2549 กรมศุลกากรได้มีการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของ เพื่อยกระดับและส่งเสริม ให้ระบบตัวแทนออกของเป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานโลกอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การออกของตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากรจึงได้ออกประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2549 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของ โดยได้มีการกำหนดคุณสมบัติของตัวแทนออกของ หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวแทนออกของ และมีการควบคุมมาตรฐานของตัวแทนออกของ โดยตัวแทนออกของจะต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวกับการออกของ และกำหนดให้สมาคมที่เกี่ยวกับการออกของมีหน้าที่รับรองสมาชิก กำหนดจรรยาบรรณตัวแทนออกของ จัดให้มีการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของตามที่กรมศุลกากรรับรอง เผยแพร่นโยบาย ระเบียบ และประกาศของกรมศุลกากร ส่งเสริมความรู้ทางด้านศุลกากร ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานศุลกากรแก่สมาชิก กำกับดูแลความประพฤติของสมาชิก ตักเตือนสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ รวมทั้งต้องแจ้งการเปลี่ยนรายชื่อสมาชิกแก่กรมศุลกากรทราบทุกครั้ง ต่อมากรมศุลกากรได้มีปรับปรุงแก้ไขกฎหมายศุลกากรขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับการศุลกากรในปัจจุบัน และมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. 2560 กรมศุลกากรจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของเดิมเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยได้ออกประกาศกรมศุลกากรที่ 61/2561 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ มาใช้บังคับ

ที่มา:customs.go.th

221308
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
220321
221706
221773
อริยสัจคืออะไรในศาสนาพุทธ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170180: 1372