ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย อัตราหมายถึงเงินฝากธุรกิจที่ไม่มีใครบอก 3 ดอกเบี้ย?

Click to rate this post!
[Total: 105 Average: 5]

ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย คือ ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากเงินต้น ผ่านการฝากเงิน การลงทุน หรือการปล่อยกู้

มาทำความรู้จักกับ “ดอกเบี้ย” อย่างละเอียดกัน

ดอกเบี้ย หมายถึง เงินตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นจากการออมหรือลงทุน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้อาจจะเป็นเงินตอบแทนที่ผู้ปล่อยกู้ได้จากผู้ที่ขอกู้ ซึ่งผู้ขอกู้ต้องจ่ายเงินตอบแทนกับผู้ให้กู้นอกเหนือจากในส่วนของเงินต้นที่กู้มาด้วย เรียกว่าเป็นดอกเบี้ยเงินกู้จากการใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งค่าตอบแทนในลักษณะของดอกเบี้ยจะมีการคิดในรูปแบบร้อยละเป็นลักษณะ เช่น ร้อยละ 3, ร้อยละ 5, ร้อยละ 20

อัตราดอกเบี้ย คือ ดอก เบี้ยเงินฝาก ดอก เบี้ยเงินกู้ประเภทต่างๆ ก็จะถูกกำหนดจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเภทของดอก เบี้ย คือ อะไร

Interest rate คือ การคำนวณอัตราดอก เบี้ยข้อมูลทางบัญชี และมีความสัมพันธ์เชิงดอก เบี้ยคณิตศาสตร์

Interest Credit คือ ดอก เบี้ยบัตรเครดิต เป็นอัตราดอก เบี้ยซึ่งเป็นเงินตอบแทนที่ผู้ออกบัตรเครดิต ได้แก่ธนาคารพาณิชย์​ ​​(Bank) และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) จากการใช้บริการสินเชื่อธุรกรรมทางการเงินจากของลูกค้า

         การใช้บัตรเครดิตอย่างเหมาะสมโดยไม่ใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น วิธีการชำระหนี้เต็มจำนวนทุกครั้งสามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้จ่าย ต่อการลดความเสี่ยงจากการถือเงินสดในจำนวนมากๆ และยังช่วยให้ติดตามควบคุมเรื่องค่าใช้จ่ายได้จากใบแจ้งหนี้ ที่เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ไม่มีดอก เบี้ยได้อีกด้วย หากชำระหนี้ภายในระยะเวลาปลอดดอก เบี้ย หรือที่เรียกว่า Grace Period

ซึ่งถ้าในกรณีที่ผู้ใช้บัตรไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้ในแต่ละเดือน ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ก็คือ อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วมาก มาจากการที่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตจะคิดดอก เบี้ยในอัตราค่อนข้างสูงและคิดดอก เบี้ยเป็นลักษณะรายวัน จะพบมาในกรณีที่นำบัตรเครดิตมากดเงินสด นอกเหนือจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกที่ผู้ใช้บัตรต้องทำความเข้าใจก่อนถือครองบัตรเครดิตด้วย

ตามข้อมูลประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ออกบัตรของสถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถคิดดอก เบี้ยจากการใช้สินเชื่อบัตรเครดิตได้สูงสุด 20% ต่อปี และคิดดอก เบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) ได้สูงสุด 28% ต่อปีเท่านั้น

  1. ดอกเบี้ยเงินฝาก คือ  เป็นเงินที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงินเพื่อเป็นผลตอบแทนในการนำเงินมาฝากไว้กับสถาบันการเงิน ดอก เบี้ยและมูลค่าของเงิน ที่ฝากของสถาบันการเงินจะมีหลายประเภท และมีผลตอบแทนอยู่หลายอัตรา ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการฝากเงินที่ขึ้นดอก เบี้ยและเงื่อนไขการถอนเงิน อาทิเช่น อัตราดอก เบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ซึ่งสามารถถอนเงินได้ไม่จำกัดครั้ง จะมีลักษณะต่ำกว่าอัตราดอก เบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  2. ดอกเบี้ยรับ คือ รายได้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมเงิน เป็นบัญชีที่อยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ เป็นรายได้อีกประเภทหนึ่ง ส่วนมากจะได้รับ เมื่อมีการคืนเงินต้นที่กู้ยืมไป คืนให้กับกิจการ
  3. ดอกเบี้ยทบต้น คือ ดอก เบี้ยที่ได้รับในงวดก่อนมารวมเป็นเงินตั้งต้นเพื่อคำนวณดอก เบี้ยในงวดต่อไป ซึ่งพูดให้เข้าใจง่ายก็คือดอก เบี้ยของดอก เบี้ย ยิ่งระยะออมหรือลงทุนนานมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เราได้รับประโยชน์ทบทวีด้วยเงินต้นที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปีจากการที่ดอก เบี้ยสร้างผลตอบแทนให้เรามากตามด้วยเท่านั่น

สูตรหาดอก เบี้ย

สูตรอัตราดอก เบี้ย ที่มีความสำคัญในทางคณิตศาสตร์คือ

ดอก เบี้ยทบต้น คือ ดอก เบี้ยที่คิดจากเงินต้นแรกรวมกับดอก เบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดที่ผ่านมา โดยมีการแบ่งระยะเวลาในการคิดดอก เบี้ยออกเป็นงวด ๆ แล้วใช้เป็นเงินต้นใหม่ในงวดถัดไป

          กำหนดให้              P        แทน    เงินต้น  

                                        r         แทน    อัตราดอก เบี้ยต่องวด

                                        n        แทน    จำนวนงวดทั้งหมด

                                    Sn       แทน    เงินรวมปลายงวดที่ n

          จะได้ว่า           Sn = ( 1 + I )n

การหาดอก เบี้ย

ตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณดอก เบี้ยทบต้น ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

          เมื่อเราฝากเงินกับธนาคารแห่งหนึ่ง จำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นเวลา 15 เดือน ธนาคารจ่ายดอก เบี้ยให้ทุก ๆ 3 เดือน อัตราร้อยละ 3 ดอก เบี้ยต่อปี เมื่อครบกำหนด 15 เดือน เราจะมีเงินรวมกี่บาท

          วิธีคิด    กำหนดให้             P = 20,000 บาท

                                                     i = 3% ต่อปี

                                      ดอก เบี้ย ทุก ๆ 3 เดือน     คิดเป็น 4 งวด

 i = % ต่องวด     = 0.75% ต่องวด

n = 5 งวด          (ฝาก 15 เดือน)

จาก     Sn = ( 1 + I )n                  จะได้ว่า  S = 20,000 ( 1 + 0.75%)5

                                                     S = 20,000 ( 1 + (0.75/100))5

                                                       S = 20,000 ( 1.0075)5

                                                     S = 20,000 ( 1.030666)

                                                 Sn = 20,761.33 บาท

                      ดังนั้น เมื่อครบเวลา 15 เดือน เราจะได้เงินรวมทั้งสิ้น 20,761.33 บาท

การคำนวณดอก เบี้ย หรือ สูตรคำนวณดอก เบี้ยมีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในเชิงของการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน การกู้เงิน การซื้อขายในลักษณะของการผ่อนชำระและมีดอก เบี้ย

สูตรคำนวณดอก เบี้ยเงินฝาก

          วิธีคิดง่ายๆตามตัวอย่างของ สูตรคิดดอก เบี้ย

    สมมุติว่าเราฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำจำนวน 200,000 บาทโดยเริ่มฝากในวันที่ 15 มกราคม ฝากจำนวนสามเดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 มีนาคม และในปีเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน อัตราดอก เบี้ยคือ 1.25 ต่อปี ซึ่งการนับวันจะนับเริ่มจากวันที่ 15 ธันวาคมจนถึงวันครบกำหนดคือ 15 มีนาคมจะได้จำนวนดังนี้

คือ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมถึงสิ้นเดือนจำนวน 16 วัน, 1 กุมภาพันธ์ ถึงสิ้นเดือน 28 วัน , 1 มีนาคมถึงวันที่ 15 คือ 15 วัน  ดังนั้นจำนวนวันที่ใช้คือ 16+28+15=59 วัน

(หากปีไหนเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันจะใช้ตัวหารคือ 366)

ดังนั้น

การคิดดอก เบี้ยต่อปี

ดอก เบี้ย = 200,000*(59/365)*(1.25/100) บาท

ดอก เบี้ย = 404.1096 บาท

           โดยจะคำนวณถึงทศนิยมสี่หลักแต่เมื่อจะยกไปทำในขั้นตอนต่อไปจะหักหลักที่สามและสี่ออกโดยไม่ทำการปัดขึ้นตามปกติ ดังนั้นดอก เบี้ยที่จะนำไปคำนวณภาษีคือ 404.10 บาท

ภาษี 15 % คือ 404.10*(15%) = 60.6150 บาท

ภาษีที่ใช้คิดจริงคือ 60.61 บาท

ดอก เบี้ยที่จะได้รับจริงคือ 404.10-60.61 = 343.49 บาท

ดังนั้นหากเราฝากเงินครบสามเดือนจะได้รับจากการหาดอก เบี้ยหลังหักภาษีคือ 343.49 บาท

สูตรหาอัตราดอก เบี้ยเชิงเดียว

      ดอก เบี้ย เชิงเดียว หมายถึง ดอก เบี้ยที่คิดจากเงินต้นแรกเริ่ม โดยที่เงินต้นคงที่ตลอดระยะเวลาของการกู้ยืม มีสมการแสดงความสัมพันธ์คือ ดอก เบี้ย   =   เงินต้น X อัตราดอก เบี้ย X ระยะเวลา

            กำหนดให้           P        แทน    เงินต้น   

                                        r         แทน    อัตราดอก เบี้ย

                                       t         แทน    ระยะเวลา

                                        I         แทน    จำนวนดอก เบี้ย หรือ ค่าตอบแทน

          จะได้ว่า                 I = P X r X t = P r t

          โดยที่เราสามารถคำนวณเงินรวมได้จาก เงินรวม = เงินต้น + ดอก เบี้ย  

กำหนดให้        S แทน เงินรวม

             จะได้ว่า           S = P + I   =  P + P r t  = P(1 + rt)

ตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณสูตรการหาดอกเบี้ยเชิงเดียวที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

          ในชีวิตประจำวันเรา เราอาจต้องมีการกู้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งบุคคลที่สามารถปล่อยเงินกู้กับเราได้ ซึ่งในฐานะผู้กู้ก็จะต้องเรียนรู้รู้หลักในการคิดคำนวณดอก เบี้ยและเงินรวมทั้งหมดเพื่อวางแผนการใช้เงินเพื่อที่จะสามารถผ่อนชำระหรือจ่ายคืนเงินกู้ได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้

ตัวอย่างที่ 1  สมมติว่าเรากู้ยืมเงินจากเพื่อน เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท โดยเพื่อนได้กำหนดอัตราดอก เบี้ยเชิงเดียว ในอัตรา 20% ต่อปี ถ้าเรากู้ยืมเงินไปเป็นระยะเวลา 2 ปี เราจ่ายดอก เบี้ยเป็นเงินกี่บาท

วิธีคิด   กำหนดให้                         P        แทน    เงินต้น =        20,000 บาท             

                                                     r         แทน    อัตราดอก เบี้ย    =     20% หรือ 20/100 ต่อปี 

                                                    t         แทน    ระยะเวลา        =        2 ปี

                                                     I         แทน    จำนวนดอก เบี้ย หรือ ค่าตอบแทน

          จากสูตร I = P r t จะได้ว่า I =  20,000 X 20% X 2   = 8,000 บาท

          ดังนั้น   เราจะต้องจ่ายดอก เบี้ยให้กับเพื่อนเป็นเงิน 8,000 บาท

             หาอัตราดอก เบี้ย จากผลตอบแทนที่ผู้ให้กู้หรือสถาบันการเงินเรียกเก็บจากผู้ขอกู้ หรือลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงิน นำเงินไปฝาก ซื้อพันธบัตร เป็นต้น อัตราดอก เบี้ยมีหลายประเภท ผู้มีความสนใจควรศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนการลงทุนหรือการกู้เงิน เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาที่จะตามมาในอนาคตอีกด้วย

แหล่งอ้างอิง :
อัจฉรา โยมสินธุ์. กรุงเทพฯ. 365+1 คำศัพท์การเงินและการลงทุน. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2555.
https://www.livewithoutpay.com/personal-finance/what-is-interest/
https://www.scimath.org/article-mathematics/item/11636-5
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/pages/others.aspx

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170581: 1537