กฎหมายแรงงาน
กฎหมายแรงงาน คือ
กฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม
กฎหมายแรงงาน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ
เป็นประกาศพระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562
กฎหมายแรงงานมีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการคุ้มครองลูกจ้างอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสากลและลดความได้เปรียบเสียเปรียบแก่ลูกจ้างและนายจ้าง โดยการประการแก้ไข้นั้น จะประกาศเป็นพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้สามรถบังคับใช้กฎหมายได้เร็วมากขึ้น ในปัจจุบันที่ใช้อยู่
เป็นประกาศพระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 โดยใช้ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายแรงงานยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เยอะมากมายหลากหลายอาชีพ บางครั้งมีการออกกฎกระทรวง หรือ พรบคุ้มครองอาชีพเฉพาะ เพื่อให้ครอบคลุมการจ้างงานในแต่ละเภท เช่น
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานประมง
- พระราชบัญญัติแรงงานทะเล
- พระราชบัญญัติการรับงานกลับไปทำที่บ้าน
- และกฎกระทรวงหลายๆฉบับๆ อีกมากมาย เป็นต้น
ในส่วนนี้หากประเภทอาชีพ หรืองานที่ทำอยู่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง อาจศึกษาเพิ่มเติมคราวๆ ว่ามีการคุ้มครองงานที่เราทำอยู่หรือไม่ ใน “กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน”
ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สรุปได้คราว ๆ ดังนี้
- ตามหลักทั่วไปกฎหมายคุ้มครองแรงงานใช้บังคับกับนายจ้าง และลูกจ้างที่เป็นการจ้างงานของ เอกชนทุกกรณี ไม่ว่านายจ้างนั้นจะประกอบกิจการประเภทใด หรือมีลูกจ้างจำนวนเท่าใดก็ตาม
- กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติยกเว้น จะไม่ใช้บังคับกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
- กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจในการ ออกกฎกระทรวง ยกเว้นไม่ใช้บังคับกฎหมาย ฯ ทั้งหมดหรือบางส่วน แก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ ได้ ซึ่งปัจจุบันได้แก่
- นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้เฉพาะใน ส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่หรือครู
- นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
- นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
- งานเกษตรกรรม
- งานที่รับไปทำที่บ้าน
- ในบางกรณีอาจมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยยกเว้นไว้ในกฎหมาย เฉพาะที่จัดตั้งหน่วยงานนั้น
กฎหมายแรงงาน 2562
วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน 2562
ประเด็นสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข
- กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้าง นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี, เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้าง หากลูกจ้างทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน
- กรณีพนักงานลากิจสามารถลาได้อย่างน้อย 3 วันต่อปี, พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน และให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงมากขึ้น
- กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น นายจ้างต้องมีการประกาศให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างหากไม่ต้องการย้ายตามก็สามารถแจ้งความประสงค์ได้ ภายในเวลา 30 วัน ก่อนการย้าย
พรบ คุ้มครองแรงงาน
พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2562
พระราชบัญญัติคุ้มครองบแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ที่ปรับแก้ไข มีดังนี้
1 นายจ้างผิดนัดจ่ายเงิน ไม่จ่ายชำระเงิน
ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ประเภทเงินที่นายจ้างผิดนัดไม่จ่ายชำระดังนี้
- เงินประกัน
- ค่าจ้างแทนการบอกกล่าว
- ค่าจ้าง เงินค่าล่วงเวลา
- เงินค่าชดเชยพิเศษ
- เงินค่าชดเชย
- เงินที่จ่ายในการหยุดกิจการชั่วคราว
2 การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
- กรณีนายจ้างเปลี่ยนนิติบุคคล
- กรณีบริษัทจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
- กรณีโอนนิติบุคคลให้นิติบุคคลอื่น
- กรณีควบรวมกิจการ
ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากมีผลทำให้ลูกจ้าง ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้อง ได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างเคยมีอยู่จากนายจ้างเดิมมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างคนนั้นทุกประการ
” หากลูกจ้างไม่ยินยอม และนายจ้างเดิมเลิกกิจการ หรือสินสภาพ ให้ถือว่า เป็นการเลิกจ้าง โดยนายจ้างเดิมต้องจ่ายค่าชดเชยสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้าง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด “
3 ค่าจ่ายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
การจ่ายชำระค่าจ้างแทนการบอกกล่าวเป็นการประปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น โดยประเด็นหลัก ๆ แบ่งได้ 3 ประเด็น ดังนี้
- กำหนดให้นายจ้างบอกเลิกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องจ่ายเงินเท่ากับค้าจ้างที่ที่ลูกจ้างควรได้รับ นับแต่วันที่ออกจากงานจนถึงคราวจ่ายเงินครั้งถัดไป
- กำหนดให้นายจ่ายจ่ายเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับทันที่นับแต่วันที่ออกจากงาน
- กรณีไม่จ่ายจะมีโทษทางอาญาแก่นายจ้าง
4 สิทธิการลา
วันลากิจตามกฎหมายแรงงาน 2562
ลากิจ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตามปกติ เช่น
- การไปทำบัตรประชาชน ทำใบขับขี่
- งานศพสมาชิกในครอบครัว
- งานแต่งของตัวเอง
- งานรับปริญญาของตนเอง
- ลาไปฏิบัติธรรมทางศาสนา เป็นต้น
ทั้งนี้ นายจ้างอาจกำหนดแนวทางไว้ หรือตกลงกับลูกจ้างก็ได้
กิจธุระอันจำเป็นที่ลูกจ้างจะใช้สิทธิลามีอะไรบ้าง บางครั้งขึ้นอยู่กับนายจ้าง ลูกจ้างจะตกลงกัน หรือตามที่ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับฯ รวมทั้งต้องพิจารณาการขอลากิจของลูกจ้างเป็นกรณี ๆ ไป แม้กิจธุระนั้นจะมิได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างก็ตาม เพราะกฎหมายได้รับรองคุ้มครองให้ลูกจ้างในการใช้สิทธิลาอยู่แล้วหากมีกิจธุระอันจำเป็นจริง ๆ
5 ความเท่าเทียมกันของเพศ ชาย และหญิง
ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกัน ในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง
6 การกำหนดอัตราค่าจ้าง
- กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
- ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างนอกเหนือจากนี้ ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
กำหนดอัตราค่าชดเชย หลังเลิกจ้าง!!
การย้ายสถานประกอบการของนายจ้าง
หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับตั้งแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ
“ นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบการ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับตามมาตรา 118 ”
นายจ้างต้องติดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่ประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้างจำนวน 30 วัน
กฎหมายแรงงาน
หากลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ สามารถแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันที่ประกาศ โดยจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยพิเศษสูงสุด 400 วัน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ .pdf