ประกันสังคมเยียวยา
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนแขนงหนึ่ง นำเสนอข่าวว่า แห่ถล่มเละ “สำนักงานประกันสังคม”เยียวยาไม่ทั่วถึง ให้แค่ ม.33 ขณะที่ ม.39 กับคนต่างจังหวัด ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยจากการตรวจสอบในเพจเฟซบุ๊ค “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน” พบว่า มีผู้เข้ามาสอบถามและทวงถามถึงมาตรการที่ไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง รวมทั้งพื้นที่ ที่ไม่ใช่พื้นที่ควบคุมสีแดง ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นกัน

ประกันสังคมเยียวยา นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33
นางเธียรรัตน์ ได้กล่าวชี้แจงเพื่อให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ให้แก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง กรณีได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 6 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เนื่องจากว่าคนในระบบประกันสังคมได้ส่งเงินสมทบซึ่งเป็นไปตามระเบียบการส่งเงินสมทบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ส่วนกรณีที่รัฐบาลจ่ายเยียวยาเพิ่มเติมให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมรายละ 2,000 บาทนั้น เพราะว่าลูกจ้างต้องหยุดงานตามคำสั่ง ศบค. และลูกจ้างเหล่านี้มีฐานข้อมูลในระบบประกันสังคมอยู่แล้ว
ดังนั้น การที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องการได้รับการเยียวยาในส่วนนี้ ลูกจ้างเองจะต้องแจ้งให้นายจ้างนำเข้าสู่ระบบประกันสังคม เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการช่วยเหลือและได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับจากภาครัฐต่อไป
เงื่อนไขการรับสิทธิ เงินเยียวยา
1.ต้องเป็นกิจการที่ได้รับหกระทบในพื้นที่ กิควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร , นครปฐม , นนทบุรี , ปทุมธานี , สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
2.ต้องเป็นผู้ประกันตนใน 4 กิจการที่ได้ผลกระทบ
- ก่อสร้าง
- ที่พักแรมและบริการค้านอาหาร
- ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33
กลุ่มผู้ประกันตน
ผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทย ได้รับเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท
กลุ่มนายจ้าง
- นายจ้าง ได้ 3,000 บาท X จำนวนลูกจ้างตามความเป็นจริงสูงสุดไม่เกิน 200 คน
- นายจ้างรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมวันที่ 29 มิ.ย.-30 ก.ค.64 นายจ้างได้ 3,000 บาท/หัวไม่เกิน 200 คน ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ 2,000 บาท
ลูกจ้าง
- ลูกจ้างที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน รับเงินชดเชยเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน7,500 บาท
- รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่มีสัญชาติไทยอีก 2,000 บาทต่อคน
โดยวิธีการจ่ายเงินเยียวยาโควิด-19 นั้น กรณีบุคคลธรรมดาและผู้ประกันตน ม. 33 ทาง ประกันสังคม จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน
ส่วนกรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล สำนักงานประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างแจ้ง หรือตามวิธีการอื่นๆ ที่กระทรวงแรงงานกำหนด โดยเริ่มโอนเงินเยียวยาครั้งแรกภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 และโอนเงินซ้ำทุกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
วิธีการรับเงินเยียวยา
วิธีจ่ายเงินให้นายจ้างกรณีนิติบุคคลหรือบุคคลรรรมถาและผู้ประกันตนมาตรา 33
- กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) พร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์ กับเลขบัตรประชาชน
- กรณีนายจ้างนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมถา สำนักงานประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างแจ้ง เพื่อป้องกันการโอนเงินเข้าผิดบัญชี
หมายเหตุ : สงสัย สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน 1506
อัพเดท เพิ่มเติมวันที่
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ต้องมีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ที่ต้องปิดสถานที่และกิจการต่างๆ เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อพี่น้องประชาชนอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ ผมได้รับรู้ปัญหาของพี่น้องกลุ่มต่างๆ และไม่เคยหยุดคิดที่จะหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด
โดยมาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ผมได้สั่งการให้หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ซึ่งได้มีการประชุมไปแล้วเมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) และคณะรัฐมนตรีได้ให้การเห็นชอบมาตรการ์ที่นำเสนอในวันนี้ (13 ก.ค.) 3 มาตราการ คือ
- มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม
- มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วประเทศ
- มาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่นๆ
1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นราธิวาส
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- ปัตตานี
- ยะลา
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- สงขลา
กิจการที่ได้รับการเยียวยา มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 : 9 หมวดกิจการ (เพิ่มเติมจากเดิม 4 หมวด)
- ก่อสร้าง
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
- ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
- ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- กิจกรรมกรบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ
- วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
- ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มที่ 2 : กิจการของถุงเงิน (เพิ่มเติมจากเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม)
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ร้าน OTOP
- ร้านค้าทั่วไป
- ร้านค้าบริการ
- กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
- ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ: 1 เดือน (อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์)
รายละเอียดของการเยียวยา
แบ่งตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ
- ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท
- น่ายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
- สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
- ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
- ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
- ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
รวมทั้งสิ้นภายใต้กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท
2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ค่าไฟฟ้า : ให้มีการลุดค่าไฟฟ้สำหรับบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นเวลา 2 เดือน คือ ก.ค. และ สค. 2564
หลักเกณฑ์ลดค่าไฟ ดังนี้
- สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
- สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้คิดดังนี้
- หากใช้ฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าไฟเดือน ก.พ. 64 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้จริง
- หากใช้ฟฟ้ามากกว่าค่าไฟเดือน ก.พ. 64 หากไม่เกิน 500 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64
- หากใช้ 501 – 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 64 ในอัตราร้อยละ 50
- หากใช้มากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 64 ในอัตราร้อยละ 70 ทั้งนี้ให้เป็นส่วนลดก่อนการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สำหรับกิจการขนาดเล็ก ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
- สำหรับกิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ให้ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564
ค่าน้ำประปา : ลดร้อยละ 10 สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ระยะเวลา 2 เดือน (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นเวลา 2 เดือน คือ ก.ค. และ สค. 2564 โดยรวมทั้งสิ้นภายใต้กรอบวงเงิน 12,000 ล้านบาท
3. มาตรการความช่วยเหลือด้านอื่นๆ
มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
ครม. เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หารือกับสถานศึกษาในสังกัดเพื่อกำหนดแนวทางลดค่ใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง’ ในภาคเรียนที่ 1 /2564 และให้จัดทำโครงกรที่รัฐร่วมสมทบส่วนลดบางส่วนให้แก่สถานศึกษา ให้เสนอครม. ภายใน 1 สัปดาห์ รวมถึง
แนวทางการช่วยเหลือปัญหาทางการเงินแก่สถานศึกษาเอกชนด้วย
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
ครม. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หารือกับธนาคารพาณิชย์ ดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย หรือเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้แก่ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ให้บริการ
นอกระบบการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย และกำหนดมาตรการจริงจังสำรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินการอย่างไม่เป็นธรรมกับประชาชนด้วย และให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด
การเยียวยาในครั้งนี้ แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณพอสมควร แต่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้พี่น้องประชาชนได้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ผมขอให้พวกเราทุกคนไม่ยอมแพ้ต่อช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผมและรัฐบาลจะหาทางช่วยทุกท่านให้ได้มากที่สุด และจะไม่มีวันยอมแพ้ต่อสงครามครั้งนี้ ไม่ลดละ
เลิกล้มความพยายาม ไม่ว่าจะมีอุปสรรคหรือปัญหาใดๆ และจะสู้จนกว่าเราจะเอาชนะได้ครับอัพ