สุริยุปราคา
สุริยุปราคาเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะการเกิดสุริยุปราคาได้นั้นต้องมีองค์ประกอบของทั้งสามดวงดาวสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นก็คือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก หากเรามองดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันและมองดวงจันทร์ในเวลากลางคืนจะสังเกตได้ว่าทั้งสองมีขนาดเท่าๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้วดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวกว่าดวงจันทร์ถึง 400 เท่าแต่ที่เราเห็นขนาดของทั้งสองไม่แตกต่างกันมากเป็นเพราะดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ถึง 400 เท่านั่นเอง ซึ่งสุริยุปราคาหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสุริยคราสเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์ขั้นอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และโลกมักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักแต่ถ้าหากจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาขึ้นมักจะเกิดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำดวงจันทร์จะค่อยๆ โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ทำให้เราที่อยู่บนโลกเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆ มืดดับไปจนเต็มดวงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดสุริยุ ปราคาเต็มดวงหรือที่ใครหลายๆ คนเรียกกันว่าราหูอมดวงอาทิตย์นั่นเอง
การเกิดสุริยุ ปราคาและจันทรุปราคา
แน่นอนว่าเมื่อมีการเกิดของสุริยุ ปราคาก็ต้องมีการเกิดของจันทรุปราคาเช่นกันแต่สุริยุ ปราคา จันทรุปราคาจะแตกต่างกันตรงที่สุริยุ ปราคาเกิดจากการเรียงตัวในแนวเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างกลาง ซึ่งสามารถแบ่งสุริยุ ปราคาได้เป็นสี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่ สุริยุ ปราคาเต็มดวง, สุริยุ ปราคาบางส่วน, สุริยุ ปราคาวงแหวน และสุริยุ ปราคาผสม แต่สำหรับจันทรุปราคานั้นเกิดจากการเรียงตัวในแนวเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโดยมีโลกอยู่ระหว่างกลางมักเกิดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ
สุริยุ ปราคา คือปรากฏการณ์ที่ใครหลายๆ คนอยากจะเห็นสักครั้งในชีวิตเหมือนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ต้องจดบันทึกไว้ สำหรับสุริยุ ปราคาภาษาอังกฤษเรียกว่า Solar Eclipse ข้อแนะนำเพิ่มเติม ไม่ควรมองการเกิดสุริยุ ปราคาด้วยตาเปล่าเพราะเหมือนเป็นการมองดวงอาทิตย์โดยตรงแสงของดวงอาทิตย์อาจส่งผลอันตรายต่อดวงตาได้ควรมองผ่านอุปกรณ์กรองแสง
Solar Eclipse คือคำสากลที่ใช้เรียกปรากฏการณ์สุริยุ ปราคา สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นสุริยุ ปราคาสามารถค้นหารูปสุริยุ ปราคาในอินเทอร์เน็ตแต่อาจมีข้อสงสัยที่ว่าทำไมรูปสุริย ปราคาในไทยแต่ละรูปนั้นอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปนั่นเป็นเพราะการโคจรของดวงจันทร์ผ่านดวงอาทิตย์ที่ต่างกันหรือระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับโลกที่แตกต่างกันนั่นเอง โดยรูปสุริยุ ปราคาจะสามารถแบ่งออกเป็นสี่ประเภทดังต่อไปนี้
- สุริยุ ปราคาเต็มดวง (Total eclipse) จะมีลักษณะที่ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่เกือบเทียบเท่าดวงอาทิตย์ส่งผลให้เรามองดวงจันทร์โคจรบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด จนเราเห็นดวงอาทิตย์มืดสนิททั้งดวง
- สุริยุ ปราคาบางส่วน (Partial eclipse) จะมีลักษณะที่ดวงจันทร์สามารถบังดวงอาทิตย์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เราก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นบางส่วน สว่างบางเป็นส่วนนั่นเอง
- สุริยุ ปราคาวงแหวน (Annular eclipse) จะมีลักษณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งห่างไกลจากโลกมาก เราจึงเห็นดวงจันทร์ในขนาดที่เล็กกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อดวงจันทร์โคจรไปในแนวเดียวกันกับดวงอาทิตย์และโลกแล้ว เราที่มองสุริยุ ปราคาจากโลกจะเห็นดวงจันทร์ทับดวงอาทิตย์แต่เพราะขนาดของดวงจันทร์ที่เล็กกว่าดวงอาทิตย์มากส่งผลให้เราเห็นสุริยุ ปราคาในลักษณะวงแหวน
- สุริยุ ปราคาผสม (Hybrid eclipse) ความโค้งของโลกส่งผลให้เราเห็นสุริยุ ปราคาในลักษณะที่เป็นแบบผสมกล่าวคือ บางส่วนเห็นสุริยุ ปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุ ปราคาเป็นวงแหวน เหตุที่บางส่วนเห็นสุริย ปราคาเต็มดวงเป็นเพราะอยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่านั่นเอง
ดวงจันทร์หมุนรอบโลกทำให้เกิดอะไร
เคยสงสัยไหมว่าข้างขึ้น ข้างแรมในปฏิทินของไทยเราเกิดขึ้นจากอะไร? คำตอบก็คือเกิดจากการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกนั่นเอง ทำให้เราที่อยู่บนโลกมองเห็นแสงที่เกิดจากการสะท้อนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันออกไปและเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม
ปรากฏการณ์ข้างขึ้น เกิดขึ้นจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ส่งผลให้เราไม่เห็นแสงสว่างของดวงจันทร์ แต่เมื่อมีการเคลื่อนตัวผ่านไปเรื่อยๆ เราจะค่อยๆ เห็นเสี้ยวของแสงสว่างของดวงจันทร์มากขึ้นเรื่อยๆ เรียกกันว่า ‘ข้างขึ้น’ ซึ่งปรากฏการณ์ข้างขึ้นยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ประกอบไปด้วยดังนี้
- ช่วงที่หนึ่ง เรียกว่า Waxing Crescent จะเป็นช่วงที่เริ่มเห็นเสี้ยวดวงจันทร์ทางขอบฟ้าทิศตะวันตกหลังพลบค่ำและจะค่อยๆ เห็นสูงมากขึ้นเรื่อยๆ วันละประมาณ 12 องศาและดวงจันทร์จะตกขอบฟ้าทางทิศตะวันตกช้าลงเรื่อยๆ
- ช่วงที่สอง เรียกว่า Waxing Gibbous หลังเริ่มปรากฏการณ์ข้างขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์เราจะเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงโดยประมาณจะค่อยๆ ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกช่วงเที่ยงคืน
ปรากฏการณ์ข้างแรม เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านหลังโลกซึ่งเป็นทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดวงจันทร์ค่อยๆ แหว่งไปทีละน้อยๆ เรียกกันว่า ‘ข้างแรม’ ซึ่งปรากฏการณ์ข้างแรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ข้างขึ้น ประกอบไปด้วยดังนี้
- ช่วงที่หนึ่ง Waning Gibbous จะเป็นช่วงที่ค่อยๆ เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งไปทีละน้อยและจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลงวันละ 50 นาทีโดยประมาณ
- ช่วงที่สอง Waning Crescent หลังจากปรากฏการณ์ข้างแรมเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวงและเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกหลังเวลาเที่ยงคืนไปแล้ว เคลื่อนตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่บนจุดสูงสุดบนท้องฟ้าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า และเราจะเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลงวันละ 50 นาทีโดยประมาณ
เห็นได้ชัดว่าการโคจรของทั้งสามดวงดาวล้วนมีความสำคัญต่อการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ และนอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสามดวงดาวนี้อีกมากมาย อาทิเช่น การเกิดฤดูกาล การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง และการเกิดกลางวันกลางคืน เป็นต้น
สำหรับใครที่อยากดูสุริยุ ปราคาครั้งต่อไปสามารถดูสุริยุ ปราคาได้อีกครั้งในช่วงสิ้นปี จะเกิดสุริยุ ปราคาเต็มดวงในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่เทียบเท่าดวงอาทิตย์ส่งผลให้ดวงจันทร์จะสามารถบังดวงอาทิตย์ได้เต็มดวง และสามารถดูจันทรุปราคาบางส่วนหรือจันทร์ไม่เต็มดวงได้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 และอย่าลืมสวมใส่อุปกรณ์กรองแสงเพื่อปกป้องดวงตาเวลาดูสุริยุ ปราคาและจันทรุปราคา
สุริยุ ปราคา 2563 เกิดขึ้น 2 ครั้ง ได้แก่
- สุริยุ ปราคาวงแหวน ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563
- สุริยุ ปราคาเต็มดวง ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2563
สุริยุ ปราคา 2561 เกิดขึ้น 2 ครั้ง ได้แก่
- สุริยุ ปราคาบางส่วน ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
- สุริยุ ปราคาบางส่วน ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2561
ที่มาบทความ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
http://www.lesa.biz/astronomy/astro-events/solar-eclipse
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/eclipses2021/
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/eclipses2020/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2_15_%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2561
https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjMzNTg3