กลยุทธ์
กลยุทธ์ คือ
วิถีทางหรือแนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อจัดสรรและวางตำแหน่งกำลังทรัพยากรทางทหารในสนามรบ ด้วยจุดมุ่งหมายแห่งการพิชิตศัตรู กลวิธีหรือแบบแผนสำคัญที่ถูกวางไว้สำหรับการดำเนินงานใดๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จ และส่งผลให้บรรลุ
แผน กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์เป็นแผนที่รวมทุกอย่างซึ่งสามารถรวมทิศทางการดำเนินในอนาคตได้ สามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรขององค์กรได้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้ หากกล่าวอย่างสั้นๆ แผนกลยุทธ์คือ แผนที่ทำให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาวและได้เปรียบการแข่งขันในตลาด ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้า มองไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง
เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น รักษาฐานะทางการบริหารและการแข่งขันให้เหนือกว่าองค์กรอื่นและดำรงอยู่ในธุรกิจนั้นตลอดไป การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร การเลือกกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรสามารถไปสู่วัตถุประสงค์นั้นได้
การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับ 3 หัวข้อ ที่สำคัญ คือ
- การวิเคราะห์กลยุทธ์
- การกำหนดกลยุทธ์
- การนำกลยุทธ์ไปใช้
มีความสัมพันธ์ต่อความรับผิดชอบของผู้บริหารลำดับขั้นของกลยุทธ์ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในกลยุทธ์ระดับต่างๆ ขององค์กร การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ตลอดจนการสร้างระบบต่างๆ ในองค์กรเพื่อนำกลยุทธ์ไปใช้
กลยุทธ์ ทางการ ตลาด คือ
การบริหารการตลาด ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ การวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุมแผนงาน เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้บริโภคกับกิจการ ทำให้กิจการสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยมีขอบข่ายของงานการบริหารการตลาดดังนี้
- ต้องปฏิบัติสืบเนื่องกันตามขั้นตอนโดยตลอด
- มีเป้าหมายชัดเจน
- ผู้ปฏิบัติสามารถฝึกฝน แสวงหาประสบการณ์ ความชำนาญ ได้จากงานในภาคปฏิบัติ
- เน้นหนักในด้านการประสานงานให้เกิดความกลมกลืน เช่นการใช้ กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด
กลยุทธ์ CSR คือ อะไร
CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility
corporate หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร
social หมายถึง สังคม กลุ่มสังคม เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ อยู่ที่ต้องการพัฒนาสังคมไหน
responsibility หมายถึง การร่วมรับผิดชอบ ทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการทำธุรกิจ จนมาถึงการทำกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
CSR หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย CSR สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 Mandatory Level
ข้อกำหนดตามกฎหมาย คือ การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค,กฎหมายแรงงาน, การจ่ายภาษี
ระดับ 2 Elementary Level
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือ การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม
ระดับ 3 Preemptive Level
จรรยาบรรณทางธุรกิจ คือ การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ
ระดับ 4 Voluntary Level
ความสมัครใจ คือ การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ
กิจการทางธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหัวใจหลักสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
เนื่องจากการทำ CSR จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด มีความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกได้ว่า เป็นการสร้างภาพลักษณ์มากจนเกินไป ที่สำคัญควรทำด้วยใจ เพราะไม่เพียงสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรเท่านั้น แต่ชุมชน มูลนิธิ หรือคนอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์ร่วมกันไปด้วย
หลักการ CSR ที่ดีจะต้องสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ที่สำคัญควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การทำ CSR นั้นเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ที่สำคัญสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ในสายตาคนในสังคมได้
กลยุทธ์ การ ตลาด คือ
เป็นกลยุทธ์กระบวนการของสินค้าหรือบริการ ซึ่งทำให้ผู้บริโภครายบุคคล/กลุ่มผู้บริโภค ได้รับสิ่งที่ตนเองจำเป็น Need ต้องการ Want ผ่านการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการด้วยสิ่งของมีมูลค่ากับอีกฝ่าย
เป็นการสร้างและบริการ Social and managerial process ซึ่งแต่ละบุคคล กลุ่มบุคคลได้รับสิ่งทีสนองความจำเป็น need ความต้องการ want ของเขาจากการสร้างสรรค์create การนำเสนอ offering การแลกเปลี่ยน Exchanging สินค้าหรือบริการ ที่มีคุณค่า Value กับบุคคลอื่นได้อย่างเสรี.
การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของการตลาด คุณภาพการบริการลูกค้าต้องดี เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีอันยาวนาน พนักงานต้องได้รับการอบรมให้รู้จักสินค้าของตนเป็นอย่างดี เพื่อจะได้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ขณะเดียวกัน องค์การควรมอบความไว้วางใจให้พนักงาน โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการทำงาน เพื่อให้เกิดการกระตุ้น เกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วม หรือให้พนักงานมีส่วนเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อการเป็นเจ้าของร่วม ทำให้เกิดกำลังใจในการทำงาน
คุณค่า(Value) = ประโยชน์ = ประโยชน์ตามหน้าที่ + ประโยชน์ทางอารมณ์จิตใจ
ต้นทุน ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน + เวลา+ พลังงาน + สุขภาพจิต
คุณค่า (Value) หมายถึง คุณค่าสินค้าหรือบริการเพื่อจูงใจให้ผลิตภัณฑ์เกิดการแลกเปลี่ยน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้กับลูกค้าต้องมีคุณค่า (Value) ในสายตาของลูกค้า ต้องมีแตกต่างจากคู่แข่งขัน (Competitive differentiation) นักการตลาดต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีคุณค่าเพิ่ม (Value added) ในสายตาของลูกค้า
กลยุทธ์ ระดับ องค์กร คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ Corporate Level Strategy
เป็นกลยุทธ์ระดับมหภาคที่ครอบคลุมทุกแง่มุมในการดำเนินธุรกิจ เป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่ทุกองค์กรควรจะกำหนดขึ้นก่อนเริ่มธุรกิจเพราะจะช่วยทำให้เห็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมุ่งเน้นความมุ่งหมายขององค์กรว่า ต้องการจะทำอะไรในระยะยาวให้สำเร็จ
- กำหนดขอบเขตเนื้อหา (area) ของธุรกิจที่จะเข้าดำเนินการ
- ระบุเป้าหมายและนิยามที่ชัดเจนของตลาดและลูกค้าว่ามีลักษณะหรือองค์ประกอบเป็นอย่างไร
- กำหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
กลยุทธ์ ระดับ ธุรกิจ คือ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ หรือ Business Level Strategy
เป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแปลงวิสัยทัศน์หรือความมุ่งหวังของกลยุทธ์ระดับองค์กรให้มีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ขั้นตอนในรายละเอียดของวิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
- กำหนดวิธีการ (tactic) ที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละสายธุรกิจและแต่ละตลาด
- วางแผนว่าจะใช้วิธีการนั้นๆ อย่างไรในแต่ละสายธุรกิจ
กลยุทธ์ CRM คือ อะไร
Customer Relationship Management (CRM) โดยเน้นในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีศักยภาพและโอกาสในการทำกำไรสูงให้กับธุรกิจโดยกิจการต้องการให้ลูกค้าอยู่กับกิจการอย่างยาวนาน โดยเน้นกิจกรรมทางการตลาด ตลอดจนให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูง
กลยุทธ์ seo คือ
ย่อมาจาก Search Engine Optimization หมายถึง กลยุทธ์การโปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ บน Search Result Page หรือหน้าแสดงผลการค้นหา เมื่อกรอก Keyword หรือคำค้นหา ที่ผ่านทางช่อง Search Engine หรือเครื่องมือค้นหา ในโปรแกรมอินเตอร์เน็ท Google, Yahoo!, Bing ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มีเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว
กลยุทธ์ ระดับ หน้าที่ คือ กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ หรือ Functional Level Strategies
เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในงานประจำวันซึ่งต้องจัดทำเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรกำลังมุ่งไปสู่เป้าหมาย การทำงานตามภาระหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมายของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร บางภาระหน้าที่จัดเป็นสายงานหลัก (line) ในขณะที่บางภาระหน้าที่จัดเป็นสายสนับสนุน (staff)
- ทำเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานรายวันให้อยู่ในเส้นทางที่ทำให้กลยุทธ์ระดับธุรกิจและกลยุทธ์ระดับองค์กรบังเกิดผล
- มุ่งให้เกิดความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันในการทำงานระหว่างส่วนงาน หน่วยงาน และทีมงาน
- เพื่อให้ภารกิจประจำวันได้รับการปฏิบัติและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ยกตัวอย่างกลยุทธ์ระดับหน้าที่ เช่น กลยุทธ์ crm คือ
CRM ป็นทั้งกลยุทธ์ของพนักงานในองค์กรที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรและเป็นผู้สร้างกำไรระยะยาวให้กับองค์กร สามารถช่วยให้องค์กรคาดการณ์ส่วนแบ่งทางการตลาดได้ แต่ว่าจะต้องให้ความสำคัญกับทั้งลูกค้าภายในและภายนอกองค์กร
การทำ CRM จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร Key สำคัญก็อยู่ที่ขั้นตอน ดังนี้
- มีการร่วมมือกันอย่างทุมเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์กร
- พนักงานทุกระดับและทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง
- เครื่องมือ CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหารเพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน
- ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็นและมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน
- การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญแต่องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูกแต่องค์กรสามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้
กลยุทธ์ synergy คือ
กลยุทธ์แห่งการรวมพลังที่เกิดจากการรวมกันย่อมมีมากกว่าแต่ละส่วนดำเนินการเอง ในด้านการบริหารกลยุทธ์ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้การบริหารบรรลุพลังรวมทั้ง 4 อย่างคือ ต้นทุน เทคโนโลยีและการบริหารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แนวคิดทางด้านพลังรวมนี่เองที่ทำให้เกิดการตัดสินใจรวมธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้บริษัทมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก
กลยุทธ์ ป่า ล้อม เมือง คือ
กลยุทธ์การตีตลาดจากพื้นที่รอบข้างที่มีคู่แข่งน้อย เข้าสู่ภายในที่มีคู่แข่งที่แข็งแรง ใช้ความได้เปรียบจากฐานลูกค้าและพื้นที่ทำเล ที่ถึงแม้มีน้อยและอ่อนแอกว่า แต่ก็อยู่ในตำแหน่งที่ล้อมคู่แข่งไว้ จนคู่แข่งไม่สามารถขยับขยายตัวได้
เป็นคำศัพท์เชิงทหารจากตำราพิชัยสงคราม นำมาใช้ในหลักการทำธุรกิจ คือการตีตลาดจากต่างจังหวัดพื้นที่รอบๆข้างที่มีจำนวนคู่แข่งน้อยราย ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจน้อยก่อนถึงปริมาณลูกค้าจะไม่มาก แต่จะใช้พื้นที่นี้ในการสร้างฐานที่แข็งแกร่งสู่การเข้าไปตีตลาดหลัก
กลยุทธ์ 4p คือ
สูตรผสมกลยุทธ์ของการตลาด4P เป็นคาถาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทางการตลาดกันเลยทีเดียว หรือที่เรียกกันว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ประกอบด้วย Product Price Place Promotion ซึ่งเป็นมุมมองทางด้านของผู้ประกอบการ
อาทิเช่น กลยุทธ์ ผลัก คือ Push Strategy การส่งเสริมการตลาดแบบผลักหมายความว่าแบรนด์จะใช้พนักงานขายบวกกับการส่งเสริมการขายไปยังคนกลางซึ่งอาจจะเป็นร้านโชว์ห่วย ร้านค้าปลีกต่างๆ ด้วยการโฆษณา หรือการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม
Pull Strategy หรือ การส่งเสริมการตลาดแบบดึง แบรนด์จะโปรโมทสินค้าผ่านเครื่องมือต่างๆ ไปยังผู้บริโภค ทั้งการโฆษณา การส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคอยากซื้อสินค้า และหากทำสำเร็จ ตลาดก็จะเกิดความต้องการขึ้น ช่องทางจัดจำหน่าย คนกลาง ร้านค้าปลีก ก็จะต้องการสินค้านั้นไปขาย
กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด
- กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์และบริการ คือ Product
- กลยุทธ์ ราคา คือ Price
- กลยุทธ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย คือ Place
- กลยุทธ์ การส่งเสริมการตลาด คือ Promotion
กลยุทธ์ การ ตลาด 4p คือ Marketing Mix เป็นเครื่องมือวางแผนการตลาดผ่านการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด 4 ส่วน
กลยุทธ์ imc คือ
Promotion ใช้ IMC เรียงลำดับความสำคัญของเครื่องมือ โดยเน้นวัตถุประสงค์ 5 กลยุทธ์
- กลยุทธ์การโฆษณา ต้องบอกว่าโฆษณาแบบไหนถึงจะโดนใจกลุ่มเป้าหมาย ความถี่ในการโฆษณา ถ้าไม่มี Service Television -Media ทางไหนจะเข้าถึงผู้บริโภคได้อีก
- กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ไม่ได้โฆษณาโดยตรง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าหรือสถาบัน
- กลยุทธ์การมีพนักงายขาย ทำหน้าที่สื่อสินค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
- กลยุทธ์การการส่งเสริมการขาย ( Sales –Promotion ) เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ความพยายามมาก ในการดึงลูกค้าให้เข้ามาหาเรา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายด้วย เวลาที่จะนำมาใช้ต้องดูกลุ่มเป้าหมาย
- กลยุทธ์การการตลาดทางตรง ( Direct -Marketing ) เช่น การเปิด Website การขายตรง
กลยุทธ์ differentiation คือ
กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง หรือ Differentiated marketing ตามแนวทางจะเลือกส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่า 1 ส่วน เป็นตลาดเป้าหมาย โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่วนผสมทางการตลาดให้ต่างกันตามความเหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาด การใช้นโยบายการตลาดที่แตกต่างกันมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
- กิจการสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่าวิธีแรก โดยยอดขายของบริษัทจะเพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทมีผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น และการผ่านสื่อโฆษณาหลายประเภทเพิ่มขึ้น
- ต้นทุนทางด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
สำหรับการตลาดที่ต่างกันประกอบด้วย
- ต้นทุนในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
- ต้นทุนการผลิต
- ต้นทุนในการส่งเสริมการตลาด
กลยุทธ์ ต้นทุน ต่ำ คือ
กลยุทธ์ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนต่ำ หรือ Cost leadership ก็คือ องค์การผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งขันและเปรียบเทียบกับประโยชน์ใช้สอยของสินค้านั้น โดยปกติต้นทุนต่ำจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดใหญ่มากและสินค้าที่ผลิตจะต้องเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน การที่มีต้นทุนของสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างต่ำเท่านั้นไม่เพียงพอ แต่จะต้องเป็นต้นทุนส่วนรวมขององค์การและของทุกผลิตภัณฑ์ ผลดีของต้นทุนต่ำก็คือ บริษัทมีกำไรสูงกว่ากำไรปกติและขณะเดียวกันป้องกันคู่แข่งไม่ให้ลดราคาลง ป้องกันลูกคาและผู้ขายวัตถุดิบกดดันในด้านราคาเพราะต้นทุนต่ำอยู่แล้ว
กลยุทธ์ white ocean strategy คือ
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญและเสริมสร้างความดีงามของสังคม สิ่งแวดล้อม ประยุกต์/มีความยืดหยุ่นในการใช้กลยุทธ์การตลาดสีใดก็ได้ ตามที่มั่นคง แข็งแกร่ง ยั่งยืนเป็นฐานที่ มั่นในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หากผู้บริหารและองค์กรมีความยึดมั่นอยู่บนคุณงามความดี ศีลธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความจริง และปรับมุมมองจากที่คอยตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม แสวงหาจุดสมดุลระหว่าง People, Planet, Profit และ Passion เป็นแรงขับเคลื่อนในการบริหารงานทุกภาคส่วน ใช้ CSR วัตถุประสงค์ในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรสู่สังคม มีพันธกิจ วิสัยทัศน์ นโยบาย การผลิต การบริหาร การตลาด การสื่อสาร การบริหารงานบุคคล ฯลฯ นับจากวันก่อเกิดองค์กร แต่งงบประมาณสูง ส่งผลให้อาจขาดความต่อเนื่องได้
กลยุทธ์ 7ps คือ
การเพิ่มกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะกับ ‘ธุรกิจบริการ’ ประกอบด้วย
- Product คือ สินค้า บริการ
- Price คือ ราคา
- Place คือ ช่องทางการจำหน่ายหรือสถานที่
- Promotion คือ การส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ
- People คือ บุคลากร
- Process คือ กระบวนการ
- Physical Evidence คือ องค์ประกอบทางกายภาพ ส่วนที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากสินค้าและการบริการ เช่น การออกแบบร้าน, การบริการที่รวดเร็ว, บรรยากาศการพูดคุย, รายละเอียดของสินค้าและการบริการ
ประเภทกิจกรรม กลยุทธ์ csr คือ สามารถแบ่งได้ออกมาเป็น 5 ประเภทหลักดังนี้
- การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering CSR) การระดมให้พนักงาน หรือคู่ค้าธุรกิจสละเวลาและแรงงานเพื่อช่วยเหลือชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้กับองค์กรการอาสาสมัครเป็นวิธีการให้องค์กรสามารถเข้าร่วมกับชุมชน แล้วก็สร้างสัมพันธ์กับพนักงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี
- การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropic CSR) การบริจาคเพื่อการกุศลหลายองค์กรมีทรัพย์สินทรัพยากรมากมาย และการแปลทรัพย์สินมาสู่การทำกิจกรรมเพื่อสังคม จึงออกมาในรูปแบบการบริจาคเงินโดยตรง หรือการบริจาคตามความต้องการของสังคม
- จริยธรรมในองค์กร (Ethical CSR) จริยธรรมตั้งแต่วิธีการดูแลและให้สวัสดิการพนักงาน ขั้นตอนในการปฏิบัติงานต่างๆ การเลือกคู่ค้าทางธุรกิจที่มีจริยธรรมที่เท่าเทียม
- การรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) การช่วยเหลือสังคม อย่างการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย การแก้ปัญหาความแตกต่างในชนชั้นสังคม องค์กรใหญ่ๆออกมาทำการช่วยเหลือประชาชนหรือประเทศเวลาที่มีปัญหาต่างๆ เช่นกันออกมาช่วยระดมทุนให้กับโรงพยาบาล การช่วยสร้างงานเพิ่มตอนเศรษฐกิจวิกฤต หรือการบริจาคในเวลาที่ประเทศชาติกำลังมีปัญหาหรือมีสถานการณ์คับขัน
- ความรับผิดชอบสังคมต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental CSR) ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติกิจกรรมลดปัญหาโลกร้อน ปัญหาพลาสติก ควันฝุ่น ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติ
กลยุทธ์ 3 ระดับ คือ
- กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) คือสิ่งที่บอกถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของกิจการ ได้แก่
- กลยุทธ์มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy) เป็นการขยายธุรกิจไปในทิศทางต่าง ๆ เช่น
– ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกื้อหนุนธุรกิจเดิม โดยเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นทางหรือปลายทางของธุรกิจเดิม (Forward – Backward Integration)
– ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง (Conglomerate Diversification) เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน
– จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance Strategy) เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดิมโดยไม่ต้องลงทุนเอง
- กลยุทธ์คงตัว (Stability Strategy) ไม่มีการลงทุนใด ๆ ในช่วงนี้ แต่มุ่งเน้นในธุรกิจเดิมให้เข้มแข็ง
- กลยุทธ์การลดขนาดกิจการ (Retrenchment Strategy)
– ขายทิ้งกิจการบางส่วน (ที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุน)
– ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ (Restructure)
- กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) คือ การดึงจุดเด่นขององค์กรขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และ ส่งเสริมกลยุทธ์ระดับองค์กร
- กลยุทธ์เป็นผู้นำด้านต้นทุน (ที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน) (Cost Leadership Strategy) ทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกกว่าคู่แข่ง
- กลยุทธ์เน้นความแตกต่างของสินค้า (Differentiation Strategy) สามารถสร้าง Value Added ใหม่ ๆ ให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค
- กลยุทธ์มุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทำให้กิจการสามารถตั้งราคาสินค้าได้สูงขึ้น
- กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Level Strategies) ในด้านต่างๆ ได้แก่
- กลยุทธ์การบริหารจัดการ เป็นการสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
- กลยุทธ์การตลาด เป็นการกำหนดแผนงานด้านการตลาดเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น กลยุทธ์ st คือ กลยุทธ์เชิงป้องกัน
- กลยุทธ์การผลิต เป็นการกำหนดแผนงานด้านการผลิตให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
- กลยุทธ์การเงิน เป็นการกำหนดแผนงานด้านการเงินให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
ดังนั้นทำให้ กลยุทธ์ มี 3 ระดับ คือ แบ่งตามขนาดโครงสร้าง มีตามระดับองค์กร ตามระดับธุรกิจ และตามระดับปฏิบัติการ
กลยุทธ์ retrenchment คือ กลยุทธ์การลดขนาดกิจการ หรือกลยุทธ์หดตัว ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้ เกิดความขาดทุนในกิจการ
กลยุทธ์ 3c คือ
- Customer share ต้องเปลี่ยนจาก Market share มาเน้นที่การสร้าง Customer share เพื่อมุ่งที่จะเพิ่มส่วนแบ่งในท้องของผู้บริโภค โดยเสนอสินค้าที่หลากหลาย เพื่อยึดลูกค้าให้อยู่กับตนอย่างยาวนาน โดยยึดหลักที่ว่า “รักใครไม่ว่า แต่รักเราให้มากกว่า”
- Customization การเปลี่ยนจากการขายสินค้าที่เหมือน ๆ กัน ให้กับทุก ๆ คนในตลาดเป้าหมายเดียวกัน หันมาเน้นการตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เฉพาะตัวมากขึ้น ทั้งด้านข่าวสารและสิ่งที่นำเสนอให้ลูกค้า
- Customer relationship Management (CRM) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยาวนาน เน้นกิจกรรมทางการตลาด
นอกจาก 3C แล้ว ถ้าต้องการเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าต้องอาศัยการทำ 2I ดังนี้คือ
Integration การรวมเข้าด้วยกัน นั่นคือ การรวมข้อมูลของลูกค้าให้แผนกต่าง ๆ ของบริษัทรับรู้ข้อมูลข่าวสารของลูกค้าอย่างทั่วถึง ทั้งบริษัท ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากทางแผนกใด ๆ ก็ตามต้องตอบคำถามของลูกค้าได้โดยไม่มีการปฏิเสธและต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อตอบสนอง การทำการตลาดแบบตัวต่อตัว ซึ่งคือ C ตัวที่ 2 Customization นั่นเอง
Interaction การทำการตลาดแบบตอบโต้ การสนทนาตอบโต้กับลูกค้ายุคของข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลเพื่อให้เข้าใจได้ถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้นโดยการเลือกสื่อที่สามารถเข้าถึงลูกค้าอย่างทันท่วงทีเช่น อินเทอร์เน็ต
วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ คือ
- วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพของกิจการที่ต้องการจะเป็นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน
- พันธกิจ (Mission) คือ งานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกิจการ
- เป้าหมาย (Goal) คือ การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจากพันธกิจของกิจการ โดยแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้เป้าหมายในแต่ละระยะเวลาควรสอดคล้องกัน สามารถวัดผลได้ และระบุเวลาที่แล้วเสร็จอย่างชัดเจน
- กลยุทธ์ (strategy) ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์และการนำไปใช้ วิธีการที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งมีอีกคำหนึ่งว่า กลเม็ดหรือกลวิธี (tactic) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จโดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูก
กลยุทธ์ 3r คือ
เป็นกลยุทธ์ที่ใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติ การลดไม่ให้เกิดขยะและปัญหาโลกร้อน
- R : Reduce คือ การลดการใช้ เก็บทรัพยากรด้านพลังงานไว้ใช้ได้นานขึ้น ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- R : Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้พลังงานพลังงาน และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถประดิษฐ์สิ่งของไว้ใช้งานได้
- R : Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในธรรมชาติจำพวกต้นไม้ แร่ธาตุต่างๆ
กลยุทธ์ tows matrix คือ
TOWS Matrix คือ การสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร
SWOT Analysis ประกอบด้วย
- S (Strength) จุดแข็ง ข้อเด่น
- W (Weaknesses) จุดอ่อน ปัญหา ข้อด้อย
- O (Opportunities) โอกาส
- T (Threats) อุปสรรค
วิเคราะห์สิ่งดีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ (Product) และบริษัท
ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่
- ปัจจัยภายใน – Strength (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน)
- ปัจจัยภายนอก – Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง)
เมื่อนำปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาจับคู่กัน จะทำให้เกิดเป็นการวิเคราะห์ของ TOWS Matrix ได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
- กลยุทธ์เชิงรุก (SO)
Strength และ Opportunity หมายถึง การใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส
เป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น จุดแข็งเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้อย่างที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมองถึงโอกาสในปัจจุบันหรือโอกาสที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกจุด ถูกเวลา”
- กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)
Weakness และ Opportunity หมายถึง การใช้โอกาสลดจุดอ่อน
กลยุทธ์การอุดจุดอ่อนอาจเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจแก้ไขจุดอ่อนหรือลดทอนจุดอ่อนของตัวเองลงไปได้ เช่น ช่วงโควิดที่คนต้องกักตัวอยู่บ้านสามารถปิดจุดอ่อนด้วยการหันไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และวางกลยุทธ์โฆษณาร้านบนสื่อออนไลน์มากขึ้นสามารถจับเทรนด์ในตลาด และเข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)
- กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST)
Strength และ Threat หมายถึง การใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค
กลยุทธ์จุดแข็งที่มีอยู่มาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรบุคคลหรือเครื่องมือในองค์กรก็ตาม เนื่องจากหลายองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างมาก มักมีความต้องการใช้จุดแข็งเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุกเพียงอย่างเดียว จนอาจมองข้ามการนำจุดแข็งมาเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
- กลยุทธ์เชิงรับ (WT)
Weakness และ Threat หมายกึง การแก้ไขจุดอ่อนและเลี่ยงอุปสรรค
กลยุทธ์แบบนี้จะแตกต่างจากอีก 3 กลยุทธ์ที่ ป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรับที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดเพิ่ม ลักษณะเป็นกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ การ ตลาด สมัยใหม่ ยุค 3.0 คือ อะไร
Marketing 3.0 เป็นยุคของการใช้ค่านิยมเป็นตัวผลักดันการตลาด (values-driven era) โดยอาศัยองค์ประกอบ (building blocks) 3 ประการได้แก่ Collaborative, Cultural และ Spiritual Marketing
แนวคิดแบรนด์ใหม่ด้วย 3i Model การสร้างแบรนด์ในความคิดใหม่ยุค 3.0 จะเป็นโมเดล 3I คือ
- Brand Identity เน้นสร้างจุดยืนใน customer’s mind เหตุผลว่าแบรนด์ดีอย่างไร แตกต่างอย่างไร
- Brand Image เน้นภาพลักษณ์ เน้นการสร้างประสบการณ์ และ 5 ด้าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพื่อสร้างอารมณ์ลูกค้า
- Brand Integrity คุณงามความดี การสร้างความน่าเชื่อถือ การมีรางวัล หรือมีมาตรฐานการรับรอง การยืนยัน นอกจากพื้นฐานยังมีการทำเพื่อสังคม ประเทศชาติ สิ่งแวดล้อม หรือส่วนรวม
ช่วยให้องค์กรมีการสร้าง 3 มิติ คือ เหตุผล อารมณ์ และจิตวิญญาณ มองลูกค้าเป็นคนที่มีจิตวิญญาณ ต้องการมีส่วนร่วมทั้งส่วนตัวและสังคม
กลยุทธ์ CSV คือ
CSV ย่อมาจาก Creating Shared Value หมายถึง กลยุทธ์การสร้างวิถีคุณค่าทางธุรกิจ โดยการใช้แนวคิด และรูปแบบทาธุรกิจ ผนวกเข้ากับความสามารถในการแสวงหากำไร และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร โดยใช้ทรัพยากร และความชำนาญการขององค์กรเพื่อสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจสู่สังคมไปพร้อมกัน
- การนำทรัพยากร และความเชี่ยวชาญขององค์กรมาใช้ให้เกิดคุณค่าสูงสุด
- ตอบสนองต่อประเด็นปัญหา หรือความจำเป็นทางสังคมที่ชัดเจน
- สามารถแสดงประโยชน์ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการสร้างคุณค่าร่วม ต่อผู้เกี่ยวข้องและสังคม
- การแสวงหาพันธมิตร และแนวร่วมขององค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
- การกำหนดแนวทางจัดสรรทรัพยากร และการจัดการภายในองค์กร สำหรับรองรับการดำเนินงาน และขยายผล
- มีขั้นตอนสำหรับการประเมิน ติดตาม ปรับปรุง พัฒนาหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ blue ocean คือ
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างตลาดใหม่ที่ไร้การแข่งขัน ทำให้คู่แข่งขันไร้ความหมาย สร้างและเน้นลูกค้าใหม่ กรองความต้องการของผู้บริโภค สร้างความต้องการที่ไม่เคยมีมาก่อน ราคาไม่มีผลต่อคุณค่าของสินค้า สร้างความแตกต่างและที่ต้นทุนต่ำ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) โดยใช้ Innovation ใหม่ๆ เนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเอง ในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Custommer)
กลยุทธ์ 5c คือ
กลยุทธ์ 5C มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
- ประชากร (ความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่น ต้องศึกษาพฤติกรรมการบริโภค)
- ด้านสังคม/วัฒนธรรม (มีความแตกต่างด้านค่านิยม ความเชื่อ )
- เศรษฐกิจ (รายได้มีผลต่ออำนาจซื้อส่งผลถึงพฤติกรรมการบริโภค)
- การเมือง/กฎหมาย (สิทธิของผู้ถือหุ้น,ผู้บริโภค นโยบายการเมืองสนับสนุนธุรกิจ
- เทคโนโลยี (ความก้าวหน้าทางเทคโนฯ ต้องตามให้ทัน แต่ต้องเหมาะสม และควบคุมได้
มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายในบริษัท
- ลูกค้า/ตลาดเป้าหมาย ความจำเป็นความต้องการ อำนาจซื้อ เต็มใจซื้อ ความพึงพอใจ
- คนกลางทางการตลาด ความสามารถในการกระจายสินค้า
- ผู้ขายวัตถุดิบ ความเหมาะสม คุณภาพ ราคา การบริการ การขนส่ง
- คู่แข่ง ใคร จุดอ่อน จุดแข็ง
กลยุทธ์ 5C ประกอบไปด้วย
- บริษัท (Company)
- ลูกค้า (Customer)
- คู่แข่ง (Competitor)
- ผู้ร่วมมือ (Collaborator)
- สภาพแวดล้อม (Climate)
กลยุทธ์ Strategic สำหรับนักบริหาร อ้างอิงจาก หนังสือการจัดการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับ CEO
โดย รองศาสตราจารย์ อาจารย์บุญเกรียติ ชีวะตระกูลกิจ
“ถ้าคุณจะนั่งเครื่องบิน …. อย่าไปหัวลำโพง”
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือเรียน “ประเด็นในปัจจุบันทางการตลาด” โดย ดร.วิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือเรียน “การจัดการการตลาด” โดย ดร.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือเรียน “การจัดการเชิงกลยุทธ์” โดย ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ, อาจารย์วีระ วีรขจรศักดิ์ และดร.ธณษ์วรรณ ร่างใหญ่ : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือ “การจัดการเชิงกลยุทธ์ : การสร้างและการดำเนินกลยุทธ์” แปลและเรียบเรียง โดย ดร. ทรรศนะ บุญขวัญ
หนังสือ “มองโลกให้ บวก” โดย ดร. ทรรศนะ บุญขวัญ
เอกสารประกอบการบรรยาย “การจัดการการเชิงกลยุทธ์” โดยอาจารย์ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือ “หนังสือการจัดการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับ CEO” โดย รองศาสตราจารย์บุญเกรียติ ชีวะตระกูลกิจ
หนังสือ “การบริหารการตลาดยุคใหม่” โดย ร.ศ. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ
http://research.swu.ac.th/downloads/PROMOTIONAL%20STRATEGY.pdf
https://thaiwinner.com/surrounding-your-competitions/
https://mbamagazine.net/index.php/intelligent/esg-chapter/item/1888-csv
https://thaiwinner.com/surrounding-your-competitions/