ปกรายงาน
การทำรายงาน คือ การทำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า มาเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาของผู้เขียนเอง แล้วนำเสนอรายงานตามรูปแบบการเขียนรายงานให้ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด การจัดทำ อาจทำแบบเป็นกลุ่มหรือคนเดียวได้ โดยอาจจะมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้จัดทำรายงานประกอบด้วยก็ได้
รายงานประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1.ส่วนต้น 2.ส่วนกลาง 3.ส่วนท้าย
1.ส่วนต้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
- หน้าปก
- หน้าปกใน
- คำนำ คือส่วนที่อยู่ถัดจากปกใน มักจะบ่งบอกหรือเกริ่นนำ เช่น
- การทำครั้งนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
- มีแรงบันดาลใจอย่างไรที่ให้งานเล่มนี้น่าสนใจหรือใครมอบหมายให้ทำ
- มีอุปสรรคแบะปัญหาใรการค้นคว้าอย่างไร
- มีประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างไร
- มีใครให้ความช่วยเหลือในการทำงานอย่างไรบ้าง ให้กล่าวทิ้งท้ายขอบคุณ
- สารบัญ คือสิ่งที่บอกข้อมุลต่างๆ ภายในเล่นนี้ว่า อยู่หน้าไหนบ้าง สิ่งที่ผู้อ่านสนใจควรจะเริ่มอาจจากหน้าไหน หรือการบอกถึงส่วนอ้างอิง หรือส่วนขยายความของ งานเล่นนี้ สารบัญประกอบไปด้วย
- เนื้อหาหน้าปก (หน้าปก,หน้าปกใน)
- รายงาน
- เรื่องที่จัดทำ
- จัดทำโดย
- เสนอใคร
- ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
- ภาคเรียนที่เท่าไร
- โรงเรียนหรือสถานที่นำส่ง
2.ส่วนกลาง หน้าปก ประกอบไปด้วย
- เนื้อเรื่อง
- บทนำ บอกความเป็นมาและความสำคัญ
- วัตถุประสงค์ของการทำ
- สมมติฐานของการศึกษาและค้นคว้า
3.ส่วนท้าย หน้าปก ประกอบไปด้วย
- ภาคผนวก
- อ้างอิง เช่น ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น
- รองปกหลัง
- หน้าปกหลัง
ปกรายงานวิชาการ
- หน้าปก
- หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
- หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
- คำนำ
- สารบัญ
- เนื้อเรื่อง
- บรรณานุกรม
- ภาคผนวก
- รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
- หน้าปกหลัง
วิธีทำ 5 ขั้นตอน
การเขียนรายงาน คือ การเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดหัวข้อเรื่อง
การกำหนดหัวข้อ มีความสำคัญอย่างมาก ต่อความสำเร็จของการเขียน ควรเลือกดังนี้
- หัวข้อที่ น่าสนใจ และมีความรู้ความสามารถในการหาแหล่งข้อมูล
- ควรมีความ เชี่ยวชาญ และ ถนัด
- เป็นเรื่องที่ให้ สาระความรู้ เหมาะกับระดับความรู้ของผู้ทำ
2. กำหนดขอบเขตของเรื่อง
ในการทำรายนั้นเมื่อเลือกเรื่องได้แล้วขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นขอบเขตและโครงร่างของเรื่อง ได้อย่างชัดเจน ชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่องไม่ควรกว้างเกินไปเพราะหากกว้างเกินไปแล้วจะทำให้เขียนเนื้อหาได้เพียงผิวเผิน ประเด็นที่นำเสนอจะกระจัดกระจาย ขาดความน่าสนใจในขณะเดียวถ้าหัวข้อแคบเกินไปอาจทำให้มีปัญหาเพราะหาข้อมูลได้ไม่เพียงพอดังนั้นการจำกัดขอบเขตของเรื่องจึงมีความสำคัญซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
- จำกัดโดยแขนงวิชา คือ ทำขอบเขตของเรื่องให้แคบเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของแขนงวิชานั้นๆเช่น “การพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย” เปลี่ยนเป็น “การพัฒนาด้วยการท่องเที่ยวในประเทศไทย”
- จำกัดโดยบุคคล คือ ทำขอบเขตโดยยึดบุคคลเป็นหลัก เช่น “สภาพการทำงานของสตรีและเด็ก”
- จำกัดโดยสถานที่ คือ ทำขอบเขตโดยยึดสถานที่เป็นหลัก เช่น “สภาพการทำงานของนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร” เป็นต้น
3. แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ ผู้เขียนต้องสำรวจแหล่งความรู้ที่จะใช้ศึกษาค้นคว้า เช่น จากหนังสือ การสัมภาษณ์ผู้มีความรู้ การทำแบบสอบถาม เช่น
- มีการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นเฉพาะสำคัญ
- ควรบอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน ( อาจจดบันทึกจากประสบการตรงก็ได้ )
- ควรจดบันทึกให้ถูกต้องโดยใช้สำนวนภาษาของตนเอง
- อาจใช้บัตรบันทึกหรือบรรณนิทัศน์ที่ขนาดที่แตกเท่าๆ กัน
4. วางโครงเรื่อง
การวางโครงเรื่องนั้นนับว่ามีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะการวางโครงเรื่อง จะช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียนทำให้งานมีเอกภาพไม่ออกนอกเรื่องและทำให้ผู้เขียนไม่ต้องพะวงในขณะที่เขียนว่าจะลืมประเด็นนอกจากนี้การวางโครงเรื่อง ยังช่วยให้งานเขียนมีสัมพันธภาพอีกด้วย
การวางโครงเรื่องนี้สามารถทำได้ทั้งก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลและหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลการวางโครงเรื่องก่อนแล้วจึงเก็บข้อมูลนั้น จะเป็นแนวทางขณะเก็บรวบรวมข้อมูลให้ว่าเรื่องใดมีความเกี่ยวข้อง เรื่องใดไม่เกี่ยวข้องข้อมูลตอนใดที่ควรเก็บและไม่ควรเก็บ ส่วนการวางโครงเรื่องหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นมีผลดีคือการที่ได้เห็นข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะวางโครงเรื่องจะช่วยให้เห็นว่าควรจะวางโครงเรื่องในแนวใดจึงจะเอื้อต่อข้อมูลที่มีอยู่ประเด็นใดควรกล่าวถึง ประเด็นใดไม่ควรกล่าวถึงวิธีนี้จะช่วยให้การลำดับความมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดี
5.ลงมือเขียนรายละเอียดและตรวจทานเนื้อหา
- เขียนตามโครงเรื่อง และข้อมูลที่ค้นคว้า
- คำนึงถึงความถูกต้องในเรื่องภาษา ได้แก่ตัวสะกด สำนวนภาษา การใช้คำและประโยค แหล่งอ้างอิงข้อมูลและรูปแบบของงาน
- มีความชัดเจนในเรื่องสำนวนภาษาและการอธิบายเรื่องราวต่างๆ
- มีความต่อเนื่อง หรือสัมพันธภาพในด้านเนื้อหาและการเรียงลำดับตามรูปแบบของงาน
- มีสัมพันธภาพของเนื้อหาขอบเขต ขั้นตอน สาระการอ้างอิง และประโยชน์ที่ได้รับ
เนื้อหาที่ดีประกอบไปด้วย
- ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย ย่อหน้า
- รูปแบบอักษรที่พิมพ์เนื้อหาหรือเนื้อเรื่องใช้ ควรใช้แบบอักษรเดียวกันทั้งฉบับ
- สีอักษรที่ใช้พิมพ์ควรเป็นสีดำ
- ควรมีรูปภาพประกอบเนื้อหาบางส่วน หรือเท่าทีจำเป็น
- ใส่เลขกำกับหน้าหรือรูปภาพ เพื่อจัดทำสารบัญ
คำนำรายงาน
การเขียนคำนำ ในส่วนของย่อหน้าแรก เราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่อง หัวข้อที่น่าสนใจ โดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจหรือพูดที่มาที่ไปก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อ ต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้างหรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์กับใครที่จะได้มาอ่าน บทความนี้ และอาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้ดีขึ้น
ลักษณะการเขียนคำนำรายงานที่ดี
- เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
- เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
- เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
- เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
- เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
- เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
- เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
- เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
- การอ้างอิงเนื้อเรื่อง
การเขียนเชิงวิชาการ
ความหมายของงานเชิงวิชาการ รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง เอกสารซึ่งเป็นผลจากการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางวิชาการ โดยเรียบเรียงจากการเก็บข้อมูล การค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศและประสบการณ์ต่าง ๆ มาเรียบเรียงอย่างมีแบบแผนที่สมบูรณ์และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้ งานเขียนทางวิชาการมักจะเขียนอยู่ในรูปร้อยแก้วที่เป็นความเรียงในลักษณะการบรรยายหรืออธิบายความ มีการใช้ภาพ แผนภูมิ กราฟ ตารางและตัวเลขสถิติต่าง ๆ มาประกอบเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหา ที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น
วัตถุประสงค์ และความสำคัญของทางวิชาการ
ความสำคัญต่อผู้ศึกษา ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องที่ สนใจได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง
- ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลต่างๆ และเกิดทักษะรู้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลนั้นๆ ได้อย่างถูกวิธี
- ช่วยฝึกทักษะด้านการอ่าน โดยอ่านได้เร็วอ่านแล้วสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ สามารถสรุปได้ วิเคราะห์ได้ และจดบันทึกได้
- ช่วยฝึกทักษะทางด้านการเขียน สามารถสื่อความหมายโดยการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพรู้ขั้นตอน รู้รูปแบบของการเขียนแล้วนำเอาหลักการและแบบแผนในการเขียนไปปรับใช้ในการเขียนงานทางวิชาการอื่นๆ ได้ เช่น ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตำราเป็นต้น
- ช่วยฝึกทักษะทางด้านการคิด คือสามารถคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้ โดยใช้วิจารณญาณของตนเองแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลโดยมีหลักฐานอ้างอิงแล้วรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลความคิดที่ได้ให้เป็นเรื่องราวได้อย่างมีขั้นตอน มีระบบ เป็นระเบียบ
- สามารถเขียนประกอบการเรียนได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนและเป็นพื้นฐานใน การศึกษาขั้นสูงต่อไป
- ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของแต่ละวิชา
ตัวอย่างการเขียนราย งานเชิงวิชาการ
การเขียนสารบัญ
วิธีการเขียน ให้เขียนหรือพิมพ์คาว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลังคำนำจัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์งานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่หรือ หัวข้อย่อยเรียงตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ
การเขียนราย งาน กศน.
ตัวอย่างของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตจตุจักร ส่วนประกอบ ดังนี้
- หน้าปก
- คำนำ
- สารบัญ
- เนื้อหาสาระ 15-20 หน้า กระดาษ
- สรุป 1หน้ากระดาษง
- เอกสาร/แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนน
- มีส่วนประกอบครบถ้วน 1 คะแนน
- สะอาด และ เป็นระเบียบเรียบร้อย 2 คะแนน
- ข้อมูลเนื้อหาสาระตรงตามเรื่อง มีรูปภาพประกอบหรือตารางตามความเหมาะสม 5 คะแนน
- เขียนถูกต้องตามอักขระ 2 คะแนน
ตัวอย่าง โหลดฟรี
ทำ ปกรายงาน
word
ตัวอย่างหน้า
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์