ปก ภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง สพม 7 TAX ภาษีโรงเรือนมีอัพเดทใหม่ๆ

Click to rate this post!
[Total: 126 Average: 5]
ในหน้านี้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ทั้งที่ใช้ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยภาษีที่ได้รับการชำระนั้น จะนำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกประกาศเมื่อมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และยกเลิกภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ฉบับเก่าที่ใช้มานานหลายสิบปี โดยการชำระภาษีตามประกาศใหม่ครั้งแรกนี้ เลื่อนมาเดือน สิงหาคม 2563 จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  1. เจ้าของที่ดิน / เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
  2. เจ้าของห้องชุด
  3. ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)

บุคคลดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี

  1. ผู้จัดการมรดกหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย
  2. ผู้จัดการทรัพย์สิน ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ไม่อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยสาบสูญ
  3. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี
  4. ผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคล
  5. ผู้ชำระบัญชี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการช าระบัญชี
  6. เจ้าของรวมคนหนึ่งคนใด ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน

ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล กรุงเทพ และเมืองพัทยา)

อำนาจในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง

5 ความหมายสำคัญที่ควรรู้!!

พรบ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 5 ให้ความหมายของคำ

  • “ภาษี” หมายความว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง “ผู้เสียภาษี” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือท าประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ และให้หมายความรวมถึงผู้มีหน้าที่ช าระภาษีแทนผู้เสียภาษี ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
  • “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย
  • “สิ่งปลูกสร้าง” หมายความว่า โรงเรือน อาคาร ตึก หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่บุคคล อาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม และให้หมายความรวมถึงห้องชุดหรือแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย
  • “ห้องชุด” หมายความว่า ห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่ได้ออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ ห้องชุดแล้ว
  • “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง แต่ไม่หมายความรวมถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ต้องเสียภาษี

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษี มีดังนี้

    • หน่วยงานของรัฐกิจการสาธารณะ
    • องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ (ดูสนธิสัญญา หรือความตกลงอื่นร่วมด้วย)
    • สถานทูตหรือสถานกงสุลของต่างประเทศ
    • สภากาชาดไทย
    • ศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใด สุสานสาธารณะ หรือฌาปนสถานสาธารณะ
    • มูลนิธิหรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังประกาศกำหนด
    • ส่วนกลางที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของอาคารชุด

ทั้งนี้ต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ 

ภาษีที่ดิน
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

อัตราภาษี

การจัดเก็บภาษีแบ่งได้ 4 ประเภท

  1. ที่ดินเกษตรกรรม (เพดานภาษี 15 %)
  2. ที่ดินอยู่อาศัย (เพดานภาษี 30 %)
  3. ที่ดินอื่น ๆ พาณิชยกรรม (เพดานภาษี 20 %)
  4. ที่ดินรกร้างไม่ใช้ประโยชน์ตามแต่สภาพ (เพดานภาษี 20 %)

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    • ที่ดินเกษตรกรรม (เพดานภาษี 15 %)
    • ที่ดินอยู่อาศัย (เพดานภาษี 30 %)
    • ที่ดินรกร้าง และที่ดินอื่น ๆพาณิชยกรรม (เพดานภาษี 20 %)
      • ที่ดินเกษตรกรรม   การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด
      • ที่ดินอยู่อาศัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด
      • ที่ดินรกร้าง และที่ดินอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ประโยชน์  0.3% สูงสุดไม่เกิน 3 %

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ในปีที่ 4 ให้เพิ่มขึ้น 0.3 % จากอัตราภาษีเดิมที่จัดเก็บ ในทุก 3 ปี แต่เสียรวมแล้วต้องไม่เกิน 3 %

กรณี มีที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ใช้ประกอบเกษตรกรรม

บุคคลธรรมดา

ปี 2563-2565 ได้รับยกเว้น ไม่เสียภาษี

ปี 2566 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 50ได้รับยกเว้น
50 ขึ้นไปไม่เกิน 0.15
หรือตามที่พนักงานประเมิน

อื่น ๆ / นิติบุคคล

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 750.01
75 – 1000.03
100 – 5000.05
500 – 1,0000.07
1,000 ขึ้นไป0.10

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – ไม่จำกัดไม่เกิน 0.15
หรือตามที่พนักงานประเมิน

“ บุคคลธรรมดา ที่ทำเกษตรกรรม ไม่ต้องเสียภาษีภายใน 3 ปีแรก ตั้งแต่ประกาศกำหนด ส่วนในปีที่ 4 หากมีที่ดินมูลค่าเกิด 50 ล้านบาท ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.15 ”

กรณี มีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

บุคคลธรรมดา บ้านหลังหลัก ( มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่ 1 มกราคม ปีภาษี )

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 250.03
25 – 500.05
50 ขึ้นไป0.10

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 50 ยกเว้น
50 ขึ้นไปไม่เกิน 0.30
หรือตามที่พนักงานประเมิน

บุคคลธรรมดา บ้านหลังอื่น ๆ (ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 500.02
50 – 750.03
75 – 1000.05
100 ขึ้นไป0.10

       ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 50ยกเว้น
50 ขึ้นไปไม่เกิน 0.30
หรือตามที่พนักงานประเมิน

กรณี มีแต่สิ่งปลูกสร้าง ใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง)

บุคคลธรรมดา บ้านหลังหลัก ( มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่ 1 มกราคม ปีภาษี )

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 400.02
40 – 650.03
65 – 90 0.05
90 ขึ้นไป0.10

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 10ยกเว้น
10 ขึ้นไปไม่เกิน 0.30
หรือตามที่พนักงานประเมิน

บุคคลธรรมดา บ้านหลังอื่น ๆ (ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 500.02
50 – 750.03
75 – 1000.05
100 ขึ้นไป0.10

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 50 ยกเว้น
50 ขึ้นไปไม่เกิน 0.30
หรือตามที่พนักงานประเมิน

กรณี มีที่ดินเชิงพาณิชย์ (นอกเหนือ เกษตกรรม และที่อยู่อาศัย)

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 500.30
50 – 2000.40
200 – 5000.50
500 – 1,0000.60
1,000 ขึ้นไป0.70

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – ไม่จำกัดไม่เกิน 1.20
หรือตามที่พนักงานประเมิน

กรณี มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ (รกร้าง)

ปี 2563 และ ปี 2564

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – 500.30
50 – 2000.40
200 – 5000.50
500 – 1,0000.60
1,000 ขึ้นไป0.70

ปี 2565 เป็นต้นไป

มูลค่า (ล้านบาท)อัตรา (%)
0 – ไม่จำกัดไม่เกิน 1.20
หรือตามที่พนักงานประเมิน

กรณีที่ดินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกกัน ในปีที่ 4 ให้เพิ่มขึ้นจากอัตราภาษีที่จัดเก็บ ในอัตราร้อยละ 3 ในทุก ๆ 3 ปี แต่เสียรวมแล้วต้องไม่เกินร้อย 3


ฐานภาษี

การคำนวณหามูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. ที่ดิน ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
  2. สิ่งปลูกสร้าง ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
  3. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ

หากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ ให้ใช้ราคาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงประกาศและวิธีการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้ประโยชน์ใน การประกอบเกษตรกรรม ได้รับสิทธิยกเว้นไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านวันที่ 1มกราคมของปีภาษี ได้รับยกเว้นไม่เกิน ได้รับสิทธิยกเว้นไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • ในกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน และใช้สิ่งปลูกสร้าง ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านวันที่ 1มกราคมของปีภาษี ได้รับสิทธิยกเว้นไม่เกิน 10 ล้านบาท

สิทธิลดหย่อยภาษี

  • ลดภาษี 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย สำหรับกรณีดังนี้
    • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาได้มาจากมรดกโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นก่อนวันที่ 13 มีนาคม2562
    • ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้ารวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์ เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า
  • ลดภาษี 90% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย สำหรับกรณีดังนี้
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน สถาบนั การเงิน เฉพาะกจิที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นสถาบันการเงินประชาชน หน้าที่ 6 บริษัท บริหารสินทรัพย์ เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของหน่วยงาน
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรเพื่ออยู่อาศัย หรืออุตสาหกรรม เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นอาคารชุด เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาตก่อสร้าง
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษา
    • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นนสถานบริการประชาชนทั่วไป เช่น ลานเล่นกีฬา สวนสัตว์ สวนสนุกที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

สถานที่ชำระภาษี

  • สำนักงานเทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร
  • ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด

ให้ตรวจสอบพื้นที่เราว่าขึ้นกับหน่วยงานใด โดยชำระภาษีได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ

เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

  • กรณีไม่ได้จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด ให้เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ ยกเว้นว่าได้จ่ายภาษีก่อนรับหนังสือแจ้งเตือน กรณีนี้จะเสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
  • กรณีไม่ได้จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด แต่ต่อมาได้จ่ายภาษีภายในกำหนดเวลาของหนังสือแจ้งเตือน จะเสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีค้างชำระ กรณีไม่ได้จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างช าระ เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน แต่ไม่ต้องนำเบี้ยปรับมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย

ระยะเวลาชำระภาษี

  • ปี 2563 : ภายในเดือนสิงหาคม
  • ปีต่อไป : ภายในเมษายนของทุกปี

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
มารยาทางสังคม
219464
การปรับใช้สิ่งแวดล้อม
สมุทัยเป็นความรู้สึกหรือสถานะใจ
ปก การพัฒนาทักษะการสื่อสาร
การใช้แผนที่เป็นประโยชน์ในการวางแผน
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 149741: 1467