ทะเบียนพาณิชย์
ทะเบียนพาณิช
ทำธุรกิจต้องรู้เรื่อง “การจดทะเบียนพาณิชย์”
หลายคนได้ยินคำว่าทะเบียนพาณิชย์ก็ต้องกลัวกันแล้ว เพราะกลัวจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเสียเวลา กลัวเสียภาษี ทำให้หลายธุรกิจแอบดำเนินกิจการแบบที่ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือบางธุรกิจก็อาจจะดำเนินกิจการไปแบบไม่รู้ตัวว่ากิจการตนเองเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็มีเช่นกัน ซึ่งเป็นผลเสียทำให้สรรพากรต้องติดต่อมาหา ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะต้องจดทะเบียนการค้าหมดเพราะมีกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์เช่นกัน แล้วอย่างนี้ธุรกิจเราเข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนพาณิชย์นั้นแท้จริงแล้วเป็นประโยชน์และเป็นผลดีกับธุรกิจและผู้ประกอบการเสียอีกด้วยซ้ำ นอกจากจะป้องกันไม่ให้เสียค่าปรับแล้ว ก็ยังสามารถเลี่ยงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นต่อธุรกิจได้อีกด้วย ใครที่กำลังลังเลว่ากลัวเรื่องภาษีอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจไป เรามาค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ อย่างง่าย ๆ อ่านจบเข้าใจ ทำตามไปได้อย่างไม่ยากอีกด้วย
จดทะเบียนพาณิชย์
จดทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์
รู้จักความหมายการจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตาม “พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2549” ซึ่งมีการระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่า ธุรกิจของบุคคลนั้นดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจของบุคคลนั้นด้วย ลูกค้าหรือคู่ค้าเกิดความไว้วางใจว่าธุรกิจมีอยู่จริงและดำเนินกิจการอย่างถูกกฎหมาย โดยจะแบ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ออกเป็น 2 รูปแบบได้ ดังต่อไปนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา
การจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีสำหรับธุรกิจบางประเภทที่รับชำระเงินทางออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซด์และแอปพริเคชัน)
หมายเหตุเพิ่มเติมในเรื่องการค้าขายทางออนไลน์ผ่านทางช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการชำระเงินตามแพรตฟอร์ม ธุรกิจสามารถทำการจดทะเบียนพาณิชย์แบบธรรมดา และมีการยื่นภาษีได้ตามปกติไม่ต้องใช้วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทำความเข้าใจเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์และการเสียภาษี
ก่อนอื่นเลยผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังดำเนินธุรกิจทั้งหลายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ และเรื่องการเสียภาษีนั้นเป็นคนละเรื่องกัน มีความแตกต่างกันบางประการ หลายคนเข้าใจว่าการจดทะเบียนพาณิชย์นั้นคือการเสียภาษีเรียบร้อยแล้ว โดยจะสามารถจำแนกความเข้าใจอย่างชัดเจนได้ ดังนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อจดแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า ธุรกิจหรือร้านค้าของบุคคลนั้นได้ดำเนินธุรกิจจริง มีตัวตนอยู่จริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการ
การเสียภาษี เพื่อเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ทางกฎหมายภาษีว่าด้วย ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจต้องมีการยื่นเสียภาษีแก่กรมสรรพากร และดำเนินการเสียภาษาเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด
ธุรกิจอะไรบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ), นิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย, ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งประเภทกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดที่ต้องมีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มประเภทธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาคนเดียว (กล่าวคือธุรกิจที่ดำเนินกิจการที่มีเจ้าของกิจการคนเดียว), ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ได้แก่ธุรกิจดังต่อไปนี้
(1) กิจการเกี่ยวกับโรงสีข้าว, โรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
(2) กิจการเกี่ยวกับขายสินค้าทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสต็อกเพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม โดยที่สินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
(4) กิจการเกี่ยวกับหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และได้ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งได้เงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(5) กิจการเกี่ยวกับขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
(6) กิจการเกี่ยวกับขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(7) กิจการเกี่ยวกับขายอัญมณี หรือเครื่องประดับด้วยอัญมณี
(8) กิจการเกี่ยวกับซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(9) กิจการเกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต, การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(10) กิจการเกี่ยวกับบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ด้วยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(11) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการฟังเพลง, กิจการร้องเพลงคาราโอเกะ
(14) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(15) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการตู้เพลง
(16) กิจการเกี่ยวกับโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
(1) กิจการเกี่ยวกับขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(2) กิจการเกี่ยวกับขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) กิจการเกี่ยวกับซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) กิจการเกี่ยวกับให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(5) กิจการเกี่ยวกับบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(6) และกิจการเกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(7) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(8) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(9) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการตู้เพลง
(10) กิจการเกี่ยวกับโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
กรณีธุรกิจที่มีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นชาวต่างชาติ
กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมาดำเนินกิจการหรือมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่าธุรกิจที่ดำเนินการจะต้องอยู่ภายใต้การได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หากเป็นธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนเพื่อให้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าอย่างถูกกฎหมาย
ธุรกิจพาณิชยกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ประเภทของกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังต่อไปนี้
การค้าเร่ การค้าแผงลอย
พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
เอกสารสำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์
งานทะเบียนพาณิชย์
ธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องนำเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สามารถดาวน์โหลดดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์ ในรูปแบบพิมพ์เพื่อใช้ในการประกอบจดทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือจะขอรับแบบพิมพ์เองได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขตทุกเขต, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, เมืองพัทยา โดยมีเอกสารสำคัญ ดังต่อไปนี้
คำขอจดทะเบียน :แบบ ทพ. (ทั้งหมด 2 แผ่น)
หลักฐานประกอบคำขอ
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบดำเนิน กิจการในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ) ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัว
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุที่ประสงค์ ทุน ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการ และอำนาจกรรมการ
(กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ
(กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)ใบอนุญาตทำงานของผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ
(กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิตามสนธิสัญญา (ถ้ามี) เอกสารตามข้อ 2.4 และข้อ 2.5 หากทำขึ้นในต่างประเทศ จะต้องมีคำรับรองของโนตารีพับลิคหรือบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจรับรองเอกสาร พร้อมด้วยคำรับรองของเจ้าหน้าที่กงสุล หรือสถานฑูตไทย
ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่น วีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ต้องแจ้งข้อมูลและส่งเอกสารประกอบเพิ่มเติม ดังนี้
แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
สำเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของ สินค้าที่ขายหรือให้เช่า หรือ สำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขาย จากต่างประเทศ
ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี ต้องดำเนินการและ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน (กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยกเว้น เนื่องจากนาย ทะเบียน สามารถตรวจสอบหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลได้จากระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้วสำหรับ
บุคคลธรรมดา ให้เชิญผู้ประกอบพาณิชยกิจมาให้ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวแทนก็ได้)
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจ หลักฐานการประกอบอาชีพหุ้นส่วนจำพวก
ไม่จำกัดความรับผิดหรือกรรมการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
กรณีประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการ ผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (พิมพ์ 1 เว็บไซต์ ต่อ 1 แผ่น)
หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย
ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด
ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
ธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
การเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการเปลี่ยนแปลง ดังนี้เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่
เพิ่มหรือลดเงินทุน
ย้ายสำนักงานใหญ่
เปลี่ยนผู้จัดการ
เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่
ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้น จำนวนเงินลงทุนของห้าง
จำนวนเงินทุน จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่
รายการอื่น ๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ
เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
สถานที่จดทะเบียน
กิจการในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945 หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/finance
กิจการในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
สรุป
ทั้งนี้หากใครยังรู้สึกว่าการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นเรื่องยุ่งยาก และมีความกังวลอยู่อีก ก็ไม่ต้องห่วง เพราะในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่รับเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะคอยจัดการเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ทุกขั้นตอนให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งหลาย ไม่ต้องเสียเวลามาดำเนินการอีกด้วย
นอกจากนี้ประชาชนรวมทั้งผู้ประกอบกิจการสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการบังคับใช้ และการจัดทำร่างกฎหมายพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ที่เว็บไซด์ https://forms.gle/vwVfac2KLhjb11fp7 ซึ่งเป็นของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยตรง
ลักษณะของพระอรหันต์ พระอรหันต์ไทย พระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ แปลว่า พระอรหันต์ มี กี่ ขั้น พระอรหันต์ ปัจจุบัน พระอรหันต์ 4 ประเภท พระอรหันต์
อาหารที่มีโปรตีรสูง อาหารที่มีโปรตีรสูง 7-11 อาหารที่มี โปร ตี ร สูง ลดน้ำหนัก อาหารที่มี โปร ตี ร สูง เพิ่มน้ำหนัก ผลไม้ที่มีโปรตีรสูง อาหารที่มีโปรตีรสูงคน
สุภาษิตไทยและคําพังเพย หมายถึง สํานวนเตือนใจที่มีความหมาย พร้อมความหมายทั้งหมด รวมถึงคําสุภาษิต 200 คํา สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จากยุคโบราณจนถึง
จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ในปี 2567 ด้วยตัวเองและแก้ไขทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์ผ่าน dbd รวมถึงการจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดาและการจดทะเบียนมีกี่แบบ
ว่า ส ลี น. ทา น้องชาย ใช้วาสลีนทาหน้าก่อนนอน โลชั่นวาสลีนตัวไหนขาวเร็ว วาสลีนทาอะไรได้บ้าง วาสลีนทาปาก อันตราย วาสลีนทาตรงไหนได้บ้าง ประโยชน์
โดเมน .cc คือเว็บไซต์ของประเทศใด หน่วย cc ย่อมาจาก cc ย่อมาจาก แพทย์ cc คืออะไรในเกม cc แปลว่า rov Bcc คือ cc ในเมลคือ 500cc คืออะไร Creative
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 157025: 1594