เลิกบริษัทปิดบริษัท รับปิดงบเปล่า 10 ชำระบัญชีวิธีเลิกกิจการ
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
สรุปมาตรการเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมา ประเด็นปัญหา ..แล้วยังมีโครงการเราไม่ทิ้งกันต่ออีกหรือไม่
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ทำให้ประชาชนคนไทยรวมทั้งทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจในทุกย่อมหญ้า รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อมาเยียวยาประชาชนทุกคนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยสินเชื่อกู้ยืมให้กับประชาชน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยหนี้สินครัวเรือนต่าง ๆ เป็นต้น และมาตรการสำคัญที่ประชาชนเฝ้าจับตามองเลยก็คือ การให้เงินเยียวยาเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน เรียกเป็นสิทธิจากรัฐฯ บางส่วนที่ให้กับประชาชนบางส่วน นั้นก็คือโครงการชดเชยรายได้ หรือโครงการที่เป็นเงินเยียวยาซึ่งก็จะให้เฉพาะกลุ่มผู้ลงทะเบียน หรือกลุ่มเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งโครงการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากที่ผ่านมาและไม่ถูกพูดถึงกันไม่ได้เลยก็คือ โครงการเราไม่ทิ้งกัน และก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับโครงการนี้กันก่อนว่าคืออะไรที่มาอย่างไร
เราไม่ทิ้งกันคือมาตรการให้เงินเยียวยาประชาชนโดยรัฐบาล โดยจากมาตรการโครงการเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมาให้เงินเยียวยาเป็นเวลาทั้งหมด 3 เดือนด้วยเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,000 บาท และมีการยื่นเสนอปรับช่วงเวลาให้เงินเยียวยาเป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือนด้วยเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ซึ่งโครงการเราไม่ทิ้งกันสามารถลงทะเบียน, เช็คสิทธิ์, ตรวจสอบสิทธิ์ได้ผ่านทางเว็บไซด์เท่านั้น คือ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
ผู้สมัครโครงการเราไม่ทิ้งกันต้องเป็นคนไทยที่มีสัญชาติไทย ตามกฎหมาย และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปแล้ว
ผู้สมัครจะต้องมีอาชีพแรงงาน รับจ้าง ลูกจ้าง หรือเป็นผู้ประกอบการอาชีพอิสระ
ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้รายได้ลดลง
กรณีมีประกันสังคมอยู่ ผู้สมัครลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกันได้จะต้องอยู่ในประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 เท่านั้น ส่วนกรณีผู้สมัครอยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคมเป็นกรณีอื่น ๆ แทน
อาชีพนักเรียน และนักศึกษา เพราะถือว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
คนว่างงาน ซึ่งเป็นผู้ที่ว่างงานก่อนสถานการณ์โควิด-19 มาก่อนแล้ว จะไม่อยู่ในเงื่อนไข
กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับเงินชดเชยกรณีการว่างงาน จากประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว
อาชีพเกษตรกร เพราะถือว่าได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการอื่นเรียบร้อยแล้ว
อาชีพผู้ค้าขายออนไลน์ เพราะถือว่าไม่ได้กระทบเรื่องกิจการ
อาชีพ คนงานก่อสร้าง เพราะถือว่าการดำเนินการก่อสร้างยังดำเนินการได้ตามปกติ
อาชีพโปรแกรมเมอร์ ไม่ถือเป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
อาชีพข้าราชการ ไม่ถือเป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
เป็นผู้ที่ได้รับชำนาญ เพราะยังได้รับเงินเดือนจากรัฐเหมือนเดิม รายได้ไม่เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการเราไม่ทิ้งกัน 2563
จากมาตรการเยียวยาประชาชนของโครงการเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมาเฟส 1 จากปี 2563
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยข้อมูลว่า สรุปผลการลงทะเบียน ณ วันที่ 22 เมษายน 2563 โครงการเราไม่ทิ้งกัน มียอดลงทะเบียนรวมทั้งสิ้น 28,849,725 คน และได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยามีจำนวนกว่า 10 ล้านคน
ข้อมูลสรุปผลการลงทะเบียน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 โครงการเราไม่ทิ้งกันมีทั้งสิ้นจำนวน 15.3 ล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ลงทะเบียนสำเร็จจำนวน 15.1 ล้านคน และอีก 2 แสนคนถือว่าลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จแต่เข้าข่ายได้รับสิทธิ์ โดยจากการคาดการณ์ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการไว้ประมาณ 16 ล้านคน
วิเคราะห์ปัญหาโครงการเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมา 2563
แน่นอนว่าโครงการที่ออกมามีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เราจะมามองเชิงของอุปสรรคด้านการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผลของโครงการเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมา เพื่อหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์และแนวทางร่วมแก้ไขปัญหาที่อาจจะเดขึ้นในอนาคตได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อนโยบายการให้เงินเยียวยาจากรัฐบาล ประชาชนก็จะถือว่าตนเองจะได้รับเงินฟรีจากภาครัฐฯ ซึ่งทำให้คนทั้งประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากมีมาตรการเราไม่ทิ้งกันออกมา โครงการเราไม่ทิ้งกัน ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซด์จนเว็บล่มเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับโครงการเราไม่ทิ้งกันนี้มีให้เฉพาะกลุ่มคนที่เป็น กลุ่มลูกจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งกลุ่มงานอาชีพอิสระทั่วไป และผู้ประกอบการอิสระรายย่อยเท่านั้น ทำให้หลายคนมองว่าเงินเยียวยาลักษณะแบบนี้ไม่ได้เข้าถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อวไวรัสโคโรน่า COVID-19 แต่อย่างใด
ทั้งนี้มีกรณีตัวอย่างจากนางฐิติกาญจน์ เรณู อาชีพขายลอตเตอรี่จากจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่าเธอมีความเครียดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจึงเดินทางมาที่กระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 และบอกกับสำนักข่าวบีบีซีไทยว่า เธอเองก็ได้รับผลกระทบจากการเลื่อนการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล 2 งวด คืองวดวันที่ 1 และ 16 เมษายน 2563 ทำให้ปกติรายได้น้อย ตอนนี้เธอก็แทบจะไม่เพียงพอสำหรับหนี้สินต่าง ๆ เธอหวังว่าจะได้รับเงินเยียวยาโครงการเราไม่ทิ้งกัน แต่กลับถูกปฏิเสธสิทธิ์
ผศ.ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา นักวิชาการอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาวิเคราะห์ถึงอุปสรรคได้กล่าวว่า นี่คือตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งในปัญหาที่เปิดขึ้นภายใต้การบริหารจัดการที่ของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจึงต้องคิดมาตรการช่วยเหลือรูปแบบ “สงเคราะห์” เพื่อเน้นไปที่กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหนัก ๆ บางกลุ่มเท่านั้น รวมไปถึงเรื่องมาตรการปิดสถานประกอบการที่ล่าช้า และไม่มีการประเมินปลกระทบล่วงหน้าด้วยเช่นกัน
สถิติกลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้านการทำงานจากวิกฤต COVID-19
ขอบคุณข้อมูลสถิติจาก ผลการสำรวจ “คนจนในเมืองภาวะวิกฤตโควิด-19 และข้อเสนอต่อรัฐบาล” โดยอาจารย์ 6 มหาวิทยาลัย โดยมีการสำรวจกลุ่มคนจนในเมืองของ 18 จังหวัด ระหว่างวันที่ 9-13 เมษายน 2563
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มคนทำงานที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจริง ๆ ว่ามีประเด็นไหนบ้าง ซึ่งหากเรามองแล้วก็จะพบว่ามาตรการเยียวยาเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนควรได้รับการจัดสรรเพื่อกลุ่มคนที่เดือดร้อนตามลำดับ ภาครัฐรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อการรับมือจากสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากโครงการเราไม่ทิ้งกัน รวมทั้งโครงการเยียวยาอื่น ๆ ที่จะออกมาไม่ได้ตอบสนองความต้องการที่เป็นกลุ่มประชากรที่วิกฤตก็จะเป็นเพียงตัวเลข GDP เท่านั้นที่พุ่งสูงขึ้น โดยไม่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงรากหญ้าอย่างแท้จริง ดังนั้นวันนี้เราจึงต้องมามองประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาคส่วนที่วิกฤตก่อนอย่างแท้จริง เพื่อการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมนั้นเอง
นอกจากนี้เราต้องยอมรับว่าภาครัฐเองมีข้อมูลของแรงงานนอกระบบที่น้อยมาก ขณะที่จำนวนแรงงานนอกระบบแท้จริงแล้วมีจำนวนคนที่มาก มาตรการเยียวยากลุ่มคนเหล่านี้ก็จะตกไป ไม่ได้รับสิทธิ์เข้าถึงแต่อย่างใด พบว่าจากข้อมูลของสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ระบุว่า แรงงานนอกระบบ มีจำนวนมากกว่า 20.4 ล้านคน เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนภายใต้การประกันสังคม นอกจากประเด็นเรื่องฐานข้อมูล ยังสัมพันธ์กับเรื่องการดำเนินการที่ไม่ได้เป็นรูปแบบการบูรณาการอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่รวมถึงการสื่อสารและปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบที่ภาครัฐฯ จะต้องวางกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องและรับมือกับนโยบายเรื่องเกี่ยวกับการเยียวยาประชาชนให้ได้ด้วยเช่นกัน
นาทีนี้คงกล่าวได้ว่าประชาชนรอการเยียวยาจากภาครัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นโครงการลักษณะไหนก็ตาม ซึ่งในขณะนี้รัฐฯ เองก็ยังคงมีมาตรการให้เงินเยียวยาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สำหรับนโยบายโครงการเราไม่ทิ้งกันล่าสุด มีมาตรการช่วยเหลือดังต่อไปนี้
ลดค่าไฟฟ้าตามใบแจ้งหนี้ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 โดยให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก สำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัยที่ได้ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเดือนละ 150 หน่วยเท่านั้น
ลดค่าน้ำเป็นระยะเวลา 2 เดือนตามใบแจ้งหนี้ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 แรก สำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก โดยไม่ใช้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
สนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ตให้เร็วขึ้นทั้งอินเตอร์เน็ตบ้านและมือถือ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home โดยการสนับสนุนโหลดแอปพริเคชันฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 3 เดือน
โครงการคนละครึ่งให้ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์ เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 25 ม.ค.2564 และโครงการคนละครึ่งระยะที่ 2 ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อ 31 มีนาคม 2564 โดยมียอดการใช้งานรวมทั้งสิ้นจำนวนเงิน 102,065 ล้านบาท ผุ้ใช้งาน 14,793,502 คน
โครงการเราชนะจ่ายเงินเยียวยาสูงสุดรายละ 7,000 บาท โดยเฉลี่ยแบ่งจ่ายอาทิตย์ละ 1,000 บาทจนครบจำนวนเงินเข้าสู่แอปเป๋าตัง
ครม.เตรียมเปิดมาตรการถัดไป 2564
จากความคืนหน้าเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติหลักการมาตรการเยียวยาประชาชน โดยมีโครงการช่วยเหลือดังต่อไปนี้
โดยจะเป็นการให้วงเงินเพิ่มกรณีที่ผู้สมัครได้รับสิทธิในโครงการอยู่แล้ว
ทั้งนี้ขอให้ประชาชนทุกคนรับข่าวคราวอัพเดตอยู่อย่างต่อเนื่องจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้น ส่วนจะมีวิธีการลงทะเบียนหรือเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมนั้นก็คงต้องรอติดตามกันอีกที ซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนหลังจากเสร็จสิ้นโครงการเราชนะ และโครงการม.33เรารักกัน ที่สำคัญเตือนประชาชนไม่ควรหลงเชื่อเว็บปลอมหรือมิจฉาชีพที่ให้กรอกข้อมูล ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ในภายหลัง ดังนั้นควรรอการแถลงการณ์จากภาครัฐฯ เรื่องการลงทะเบียนอีกที
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
คนเล่นหมากรุก นิสัย หมากรุก ฝึกสมอง ประโยชน์ของหมากรุก หมากรุก ฝึกสมองส่วนไหน ผู้หญิง เล่น หมากรุก Pantip อุปกรณ์ในการเล่นหมากรุก ประกอบด้วย คอร์ส หมากรุก วิธีเล่นหมากรุก ใกล้ฉัน ออนไลน์
มะนาวเป็นกรดหรือด่าง น้ํามะนาว เป็นกรดหรือด่าง มะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง วิธีกินน้ำมะนาวที่ถูกต้อง น้ําอุ่นผสมมะนาว ตอนเช้า แต่แร่ธาตุในกรดของมะนาว ทำ
บ้านเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัว พิธีการขึ้นบ้านใหม่ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ อย่างหนึ่งของคนไทยเรา ถือเป็นเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาอย่างหนึ่ง เพื่อความ
ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญ
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างไร อริยสัจ 4 ได้แก่ อริยสัจ 4 ใน-ชีวิต-ประ-จํา-วัน อริยสัจ 4 คือ อริยสัจ 4 สรุป อริยสัจ 4 มีความสําคัญ
มงคล 38 คือ มูลเหตุแห่งความสุข จำนวน 38 ข้อ ที่ช่วยส่งเสริมความสุข และความก้าวหน้า ทำให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงคลชีวิต ซึ่งไม่ใช่แนวคิดที่พึ่งพาปาฏิหาริย์