ปก ประเพณีไทย

ประเพณีไทย 4 TRADITION ภาคของไทยรวมเหนือกลางใต้เกิดขึ้นใหม่ๆ?

Click to rate this post!
[Total: 344 Average: 5]

ประเพณีไทย

ประเพณี คืออะไร นิยามความหมายของประเพณีไทย คือ ระเบียบแบบแผนที่ถูกที่ควรในทางปฏิบัติที่ทุกคนล้วนเห็นว่าดี และเป็นที่ยอมรับของผู้คนส่วนใหญ่ นำหลักระเบียบแบบแผนนั้นมาปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา อีกทั้งยังรวมถึงความเชื่อ ,ความคิด ,การกระทำ ,ค่านิยม ,ทัศคติ ,ศีลธรรมจริยธรรม ,จารีต ,วัฒนธรรม และการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีตสืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ จนถึงยุคสมัยปัจจุบัน

ประเพณีไทยมีอะไรบ้าง ? 

วัฒนธรรม ประเพณีไทย 4 ภาค

วัฒนธรรม ประเพณีไทย 4 ภาค

หากพูดถึงประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อในเรื่องลี้ลับหรืออำนาจเหนือมนุษย์ ก็มีเรื่องเล่าขานเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางเรื่องที่เล่าขานสืบต่อกันมาก็มีเรื่องของพระพุทธเจ้าแฝงอยู่ในเรื่องนั้นด้วย หรือเรื่องเกี่ยวกับฟ้าดินอากาศที่สามารถดลบันดาลตามคำขอของคนได้ก็มีเช่นกัน อาทิเช่น ขอพลังเหนืออำนาจจากฟ้าให้ฝนตก หรือขอพลังเหนืออำนาจจากฟ้าให้ฝนหยุดตก เป็นต้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล) และพจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้นิยามของคำว่าประเพณีของไทยไว้ว่า ‘ขนบธรรมเนียมแบบแผน’

พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้

วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน

วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึงนำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็นวัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม

ประเพณีต่างๆ ในประเทศไทยหากแบ่งตามหลักอย่างเป็นทางการจะสามารถแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,ภาคตะวันตก ,ภาคกลาง ,ภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะแบ่งกลุ่มตามลักษณะประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายกันแบบกว้างๆ กล่าวคือมีการรวมภูมิภาคให้เหลือเพียง 4 ภูมิภาค โดยจัดแบ่งดังนี้ วัฒนธรรมไทย 20 ตัวอย่าง

  1. ภาคเหนือ
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ภาคกลาง : จะรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้าไปด้วย
  4. ภาคใต้

ประเพณีภาคเหนือ

  • ประเพณีทานขันข้าว
  • ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
  • ประเพณีสลากภัต
  • ประเพณียี่เป็ง
  • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
  • ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
  • ประเพณีจุดบ้องไฟ
  • ประเพณีพิธีสู่ขวัญวัวควาย
  • ประเพณีแห่นางแมว
  • ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ
  • ประเพณีอู้สาว
  • ประเพณีทานหลัวผิงไฟ
  • ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
  • ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า
  • ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง
  • ประเพณีดำหัว
  • ประเพณีเข้าอินทขีล
  • ประเพณีแฮกนา (แรกนา)
  • ประเพณีการปลูกเรือน
  • ประเพณีสืบชาตา

ประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตัวอย่าง ประเพณีสำคัญของไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ประเพณีแห่นางแมว
  • ประเพณีแห่ผีตาโขน
  • ประเพณีบุญเบิกฟ้า
  • ประเพณีบุญผะเหวด
  • ประเพณีแซนโฎนตา
  • ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
  • ประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา
  • ประเพณีไหลเรือไฟ
  • ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ
  • ประเพณีไหลเรือไฟ
  • ประเพณีงานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
  • ประเพณีฮีตสิบสอง
  • ประเพณีงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี
  •  ประเพณีบุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ)
  •  ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
  • ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
  •  ประเพณีการแข่งเรือพิมาย
  •  ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
  • ประเพณีบุญผะเหวด

ประเพณีภาคกลาง

ตัวอย่าง ประเพณีสำคัญของไทยในภาคกลาง

  • ประเพณีกวนข้าวทิพย์
  •  ประเพณีทำขวัญข้าว
  • ประเพณีโยนบัว
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้
  • ประเพณีตักบาตรเทโว
  • ประเพณีกำฟ้า
  • ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ
  •  ประเพณีรับบัว
  • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้
  • ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์
  • ประเพณีตักบาตรพระร้อย
  • ประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ
  • ประเพณีทอดกฐิน
  • ประเพณีลอยกระทง
  • ประเพณีวิ่งควาย
  • ประเพณีการทำบุญโคนไม้
  • ประเพณีรำพาข้าวสาร
  •  ประเพณีกำฟ้า
  • ประเพณีทอดพระป่าโจร

ประเพณีภาคใต้

ตัวอย่าง ประเพณีสำคัญของไทยในภาคใต้

  • ประเพณีกวนข้าวยาคู
  • ประเพณีให้ทานไฟ
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ
  • ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • ประเพณีลากพระ
  • ประเพณีอาบน้ำคนแก่
  • ประเพณีสวดด้าน
  • ประเพณีแห่นางดาน
  • ประเพณีถือศีลกินเจ
  • ประเพณียกขันหมากพระปฐม
  • ประเพณีการแห่นก
  • ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
  • ประเพณีอาบน้ำคนแก่
  • ประเพณีลอยเรือ
  • ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง
  • ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
  • ประเพณีแห่พระแข่งเรือ
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ
  • ประเพณีการแข่งโพน
  • ประเพณีการเดินเต่า

เราได้รวบรวมประเพณีไทยเพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาเบื้องต้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประเพณีในประเทศไทยส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีประเพณีต่างๆ ของไทยที่น่าสนใจให้คุณได้ค้นคว้าถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อส่วนบุคคล ความลี้ลับ ส่งผลให้ประเพณีไทยมีความน่าค้นหา น่าพิศวง และน่าสนุกยิ่งขึ้น

ประเพณีวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ขอยกตัวอย่างประวัติความเป็นมาของประเพณีในประเทศไทยแต่ละภูมิภาค เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความศรัทธาของผู้คนในแต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน และได้สืบทอดการปฏิบัติประเพณีนั้น ๆ จากรุ่นสู่รุ่น

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีท้องถิ่นภาคเหนือ

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ความเป็นมาประเพณีอุ้มพระดำน้ำของภาคเหนือ

เมื่อราวประมาณ 400 ปีก่อน เหล่าชาวบ้านได้ออกหาปลาที่แม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ทำเป็นประจำทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งไม่มีชาวบ้านคนใดสามารถจับปลาได้เลยสักตัว หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น อยู่ดีๆ บริเวณน้ำที่มักจะไหลหลากกลับหยุดนิ่ง ปรากฏขึ้นเป็นพรายน้ำผุดขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จากนั้นชาวบ้านจึงนำพะพุทธรูปนั้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ บูชาให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้มีการจัดประเพณีอุ้มพระดำน้ำนี้ขึ้นทุกปีในวันแรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ เพื่อเป็นการบูชาสักการะหนองน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และได้มีการสืบเนื่องการปฏิบัติประเพณีนี้จนมาถึงปัจจุบัน

ประเพณีแห่นางแมว

ประเพณีแห่นางแมว

ประเพณีแห่นางแมว

ความเป็นมาประเพณีแห่นางแมวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วยความเชื่อที่ว่าสาเหตุที่ฝนไม่ตกมีหลายปัจจัยอาจเป็นเพราะ ฟ้าดินมีการเปลี่ยนแปลง ,ประชาชนไม่ปฏิบัติตามศีลธรรม หรือเจ้าเมืองหรือผู้ปกครองเมืองไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม ทำให้ฟ้าดินลงโทษส่งผลให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือฝนไม่ตกเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ผืนดินแห้งแล้งทำการเพาะปลูกไม่ขึ้นเพราะขาดน้ำที่จะมาหล่อเลี้ยงนาไร่ นาสวน ชาวบ้านจึงมีความคิดที่ว่าแมวเป็นสัตว์ที่กลัวน้ำ กลัวฝน แมวจะร้องทันทีหากโดนน้ำ เลยนำแมวมาแห่เพื่อแก้เคล็ด เพราะเชื่อว่าหากฝนตกแมวจะร้องทันที จึงนำแมวมาแห่และสาดน้ำใส่ทำให้แมวร้องสุดเสียงหลังจากนั้น 3-7 วันฝนจะตกตามคำร้องขอ ก่อให้เกิดเป็นประเพณีแห่นางแมว แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอย่างฝนเทียมทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นการประเพณีแห่นางแมวในสังคมไทยสักเท่าไหร่

ประเพณีทำขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว

ความเป็นมาประเพณีทำขวัญข้าวของภาคกลาง

ถือเป็นพิธีกรรมที่ชาวไร่ ชาวนาต่างมีความเชื่อที่ว่า การบูชาแม่โพสพหรือทำพิธีกรรมทำขวัญข้าว จะเป็นสิริมงคลให้กับพื้นไร่ พื้นนาให้ความอุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกง่าย มีผลผลิตที่ดีงาม อีกทั้งยังเชื่อว่าแม่โพสพยังคอยคุ้มครองให้การทำไร่ ทำนาปราศจากโรคภัยจากศัตรูต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแมลงหรือภัยจากธรรมชาติอีกด้วย ประเพณีทำขวัญข้าวนี้ยังถือเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชาวไร่ ชาวนา เป็นขวัญและกำลังใจให้มีพลังกำลังในการเพาะปลูกต่อไป

ประเพณีกวนข้าวยาคู

ประเพณีกวนข้าวยาคู

ประเพณีกวนข้าวยาคู

ความเป็นมาประเพณีกวนข้าวยาคูของภาคใต้

มีความเชื่อที่ว่า ในพุทธประวัตินางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาสยาคูให้แก่พระพุทธเจ้า หลังพระพุทธเจ้าเสวยก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ชาวไทยจึงมีความเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ ผู้ใดได้กินจะมีสมองที่เป็นเลิศ ,สติปัญญาดี ,ขจัดโรคร้าย ,อายุยืนยาน อีกทั้งยังสมความปรารถนาในทุกๆ เรื่องที่หวังอีกด้วย

และนี่เป็นตัวอย่างประวัติความเป็นมาของประ เพณีไทยต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค จะเห็นได้ว่าประ เพณีไทยนั้น นอกจากการปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมา ก็ยังมีความเชื่อที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งความเชื่อต่างๆ เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลเพียงเท่านั้น ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านข้อมูล แต่ประเพณี ไทยทั้งหมดล้วนมีเจตนาที่ดีที่อยากให้คนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามและรักษาประเพณีที่ดีงามไปชั่วรุ่นลูกรุ่นหลาน

ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามา

วัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้ วัฒนธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 165814: 2216