วิธีการทางประวัติศาสตร์

7 ขั้นตอน หลักๆวิธีการทางประวัติศาสตร์กระบวนการ?

วิธีการทางประวัติศาสตร์

ซึ่งใช้ข้อมูลจากส่วนประกอบต่างๆ ทั้งเอกสาร จดหมายเหตุ โบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งสถานที่ต่างๆ การบอกเล่า การถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง สำหรับการนำมาใช้อ้างอิง เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์และการเกี่ยวข้องกันให้ได้มากที่สุด เพื่อสำหรับนำมาประกอบการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์

อธิบาย วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับ ประวัติศาสตร์ ได้ว่าอย่างไร

ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยอดีต เป็นเหตุการณ์ที่อาจมีหลักฐานยืนยันการเกิดทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน หรือเป็นเหตุการณ์ที่อาจไม่มีหลักฐานยืนยันการเกิดทางประวัติศาสตร์ สำหรับนักประวัติศาสตร์แล้วการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีขั้นตอนเฉพาะเรื่องราวที่ผ่านกระบวนการวิธีที่เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ สามารถมาเชื่อมโยงกัน อย่างไร

เนื่องจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มีความละเอียดอ่อนต่อข้อมูล ทำให้ผู้ทำงานศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ต้องมีความรอบคอบ มีความรอบรู้ มีความช่างสังเกต และชอบตั้งคำถามอยู่เสมอๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัดหรือชัดเจนมากที่สุด การค้นหาหลักฐานจากหลายๆแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูลสำหรับการใช้อ้างอิง เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลานั้น การดำเนินชีวิต วัฒนธรรมขนมธรรมต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการเป็นอยู่มีความแตกต่างกัน

ดังนั้นการมีขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ สามารถใช้หลักเหตุและผลมาเชื่อมโยงกัน ตลอดจนสามารถนำข้อมูลมาประติประต่อเรียบเรียงตีความอย่างเป็นระบบ จะทำให้ได้วิธีทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีคุณภาพตรวจสอบได้ และเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ตรงกับห้วงเวลาของเหตุการณ์ในยุคสมัยของช่วงนั้นๆ กับทางประวัติศาสตร์มากที่สุด

วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน

การศึกษา ค้นคว้า สืบค้น และต่อยอดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวในอดีต มีความรักเห็นคุณค่า ชื่นชอบใส่ใจในประวัติศาสตร์ สามารถนำแนวทางวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเรียนรู้ และเป็นขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในสายงานอาชีพนี้ นำขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ มาใช้ทำงานในสายอาชีพของการปฏิบัติงานจริงทั้ง 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. การกำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาข้อมูล
  2. การนำหลักฐานมารวบรวม
  3. การนำหลักฐานที่ได้มาประเมินคุณค่า
  4. การนำหลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่
  5. การนำข้อมูลมาเรียบเรียงและการนำเสนอ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน
วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน

การอธิบาย วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการศึกษา สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสนใจในทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น เพราะประวัติศาสตร์ คือศาสตร์ที่สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ หากผู้ศึกษาได้เปิดใจยอมรับและชื่นชอบในประวัติศาสตร์

การกำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาข้อมูล

สำหรับเรื่องราวในประวัติศาสตร์มีลักษณะกว้างมาก เนื่องจากหลักฐานในแต่ละยุคสมัยมีมากมายสำหรับการสืบค้นหา และในบางครั้งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ยังเป็นลักษณะข้อมูลที่กระจัดกระจาย ควรเริ่มวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ ด้วยการกำหนดเป้าหมาย การตั้งจุดประสงค์ให้ตรงกับเป้าหมายที่เลือกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัด มีความชัดเจน ไม่หลงประเด็นทางประวัติศาสตร์ และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

การกำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาข้อมูล
การกำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาข้อมูล

ซึ่งกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือผู้ศึกษาต้องมีกระบวนการตั้งคำถามเมื่อเกิดความสงสัยและหาความตอบจากการตั้งคำถามนั้น เนื่องจากผู้ศึกษาทางประวัติศาสตร์อาจต้องมีจุดเด่นเสียสักหน่อยในเรื่องของการเป็นคนช่างสังเกต มีทักษะชอบการอ่าน ชอบการสืบค้น และไม่ท้อแท้ต่อการนำข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆที่ได้จากการอ่าน การสืบค้น หรือการลงสถานที่จริง เพื่อให้ได้หลักฐานที่มากเพียงพอต่อการตอบคำถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องคือใคร ผลกระทบของเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร ตลอดจนการมีข้อเสนอแนะต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ\

การนำหลักฐานมารวบรวม

เอกสารหลักฐานในวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อได้ข้อมูลมา จะเป็นลักษณะของข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏชัดเจนหรือเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้การรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้มานั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ หลักฐานหลัก (หลักฐานชั้นปฐมภูมิ) และหลักฐานรอง (หลักฐานชั้นทุติภูมิ)

การนำหลักฐานมารวบรวม
การนำหลักฐานมารวบรวม
  • หลักฐานหลัก (หลักฐานชั้นปฐมภูมิ) คือ หลักฐานที่เป็นข้อมูลที่มีความชัดเจน มีที่มาจากแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น จากเอกสารของทางราชการ, จากอัตชีวประวัติ, จากภาพถ่ายในเหตุการณ์, จากภาพเคลื่อนไหววีดีทัศน์, จากร่องรอยที่ปรากฏในสถานที่จริงเช่นประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือร่องรอยทางอารยธรรมของสถานที่จริงในเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์, จากข่าวที่บันทึกไว้, จากการจดบันทึกลงบนจดหมายเหตุ, จากทายาทหรือเชื้อสายผู้สืบสายโลหิต, จากหลักฐานพยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือจากบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น หรือจะอธิบายแบบง่ายๆก็คือ กรณีของประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายจากการสร้างรถไฟสายแรกจากกรุงเทพถึงอยุธยา สร้างสาธารณูปโภค อย่างไฟฟ้า ประปา ไปรษณีย์ การก่อสร้างถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว มีความเป็นจริงมากที่สุด เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ปรากฏอยู่จริง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรประทับตราครุฑจากทางราชการ
  • หลักฐานรอง (หลักฐานชั้นทุติภูมิ) คือ หลักฐานจากทางประวัติศาสตร์ ที่ผ่านขั้นตอนการศึกษา ประวัติศาสตร์จากการวิจัยงานเขียนของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ จากการถ่ายทอดที่ผู้อื่นเล่าสืบๆต่อๆกันมา ซึ่งบุคคลผู้ทราบเหตุการณ์อาจไม่ได้รับรู้เหตุการณ์โดยตรง ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลผู้อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง จากการสืบค้นข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต

ข้อแตกต่างระหว่างหลักฐานหลักและหลักฐานรอง คือ หลักฐานหลักเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการบันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์จริงจากผู้ที่เห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นๆ หรือจากการที่ได้รับฟังโดยตรงจากคนใกล้ชิดกับผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์นั้นๆในทางประวัติศาสตร์ ส่วนหลักฐานรองก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

เพราะเป็นตัวสนับสนุนช่วยทำให้หลักฐานหลักมีน้ำหนักครบถ้วนและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถช่วยในการอธิบายขยายความเพื่อให้ครบองค์ประกอบของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นได้  ตลอดจนหลักฐานทั้งสองประเภทนี้ที่ได้จากการรวบรวมนั้นสามารถนำมาใช้ในทางวิธีการประวัติศาสตร์ได้อย่างมีคุณค่า มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อไปสำหรับเยาวชนและคนรุ่นหลัง

การนำหลักฐานที่ได้มาประเมินคุณค่า

เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้มาว่านอกจากความสอดคล้อง ความเชื่อมโยงของหลักฐานหลักและหลักฐานรองที่ปรากฏแล้ว ยังเป็นการเมินด้วยว่า หลักฐานทั้งหมดนั้นเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็นหลักฐานที่เสริมปรุงแต่ง ดัดแปลงจากความเป็นจริงเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ข้อมูลที่คาดเคลื่อนหรือเข้าใจในเชิงประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์นั้นๆเปลี่ยนไป หรือการนำมาตัดต่อด้วยวิธีการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ

การนำหลักฐานที่ได้มาประเมินคุณค่า
การนำหลักฐานที่ได้มาประเมินคุณค่า

แม้ว่าหลักการทางประวัติศาสตร์สามารถถูกค้นพบได้เรื่อย ๆ จากหลักฐานใหม่ๆที่เป็นข้อมูลจริงแต่ยังไม่มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์หรือผู้ที่สนใจในศาสตร์นี้ยังไม่ได้ถูกค้นพบ เช่น หลักฐานในทางประวัติศาสตร์บางชิ้นที่อาจยังถูกฝั่งอยู่ใต้พื้นแผ่นดินแต่ยังไม่มีผู้ใดขุดหรือค้นพบเจอหลักฐานชิ้นนั้น อาจจะเป็นด้วยเรื่องของข้อจำกัดของสถานที่ ข้อจำกัดของเวลา ข้อจำกัดของกฎหมาย และข้อจำกัดอื่น ๆ เป็นต้น

การนำหลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่

สำหรับนักวิชาการในทางประวัติศาสตร์หรือผู้ที่มีความสนใจในทางประวัติศาสตร์ การนำหลักฐานที่ผ่านการตรวจสอบว่าเป็นความจริงแล้ว ในขั้นตอนการนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวนั้น แม้ว่าหลักๆแล้ววิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์แล้วก็ตาม

การนำหลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ สำหรับนักวิชาการในทางประวัติศาสตร์หรือผู้ที่มีความสนใจในทางประวัติศาสตร์ การนำหลักฐานที่ผ่านการตรวจสอบว่าเป็นความจริงแล้ว ในขั้นตอนการนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวนั้น แม้ว่าหลักๆแล้ววิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์แล้วก็ตาม
การนำหลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่

แต่การนำมาจัดเป็นหมวดหมู่นั้น ประโยชน์เพื่อง่ายต่อการค้นหา ต่อการนำไปใช้ และต่อการศึกษาวิจัยต่อยอดเส้นทางของประวัติศาสตร์ ตลอดจนเป็นการอัพเดทข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ใหม่ๆที่ได้จากการค้นคว้าเพิ่มน้ำหนักความน่าเอถือของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาของประวัติศาสตร์นั้นๆ หรือเป็นการเพิ่มข้อมูลหลักฐานใหม่ๆที่ยังไม่เคยถูกค้นพบทำให้เหตุการณ์นั้นๆในประวัติศาสตร์มีความสมจริงและตรงประเด็นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจุดเด่นๆเลยของนักวิชาการและผู้ที่มีความสนใจในเส้นทางประวัติศาสตร์ต้องมีวางตัวให้มีความเป็นกลาง ไม่เบี่ยงเบนประเด็นหรือข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับมา ใส่ใจในรายละเอียด มีความรอบคอบถี่ถ้วน มีทัศนคติการเปิดใจยอมรับ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางประวัติศาสตร์ มีความกระตือรือร้นสนใจหาความรู้และแหล่งข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอๆ ตลอดจนสามรถนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน การจัดเรียงลำดับความสำคัญของเหตุการณ์อย่างเที่ยงธรรม ถูกต้องและสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุด

การนำข้อมูลมาเรียบเรียงและการนำเสนอ

ในการนำข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ที่ได้มาทั้งหมด มาเรียบเรียงเชื่อมโยงทางความสัมพันธ์ของหลักฐานข้อมูลให้เกิดความสอดคล้อง มีเหตุผลหลักฐานในประวัติศาสตร์รองรับมิใช่การอ้างมาลอยๆ นี่คือขั้นตอนประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมากๆ ในขั้นตอนนี้ผู้เรียบเรียงต้องละความอคติและความรักความชอบส่วนตนออกไป มีความเป็นกลางความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์ จริงใจต่อข้อมูล นี่คือสิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากในการเรียบเรียบให้ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนต้น เพื่อสู่การนำเสนอให้ตรงประเด็น เข้าใจง่ายและมีความสมจริงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การนำข้อมูลมาเรียบเรียงและการนำเสนอ
การนำข้อมูลมาเรียบเรียงและการนำเสนอ

สู่ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์นั้นก็คือ การนำเสนอหลักฐานและข้อมูลในทางประวัติศาสตร์ จากการถ่ายทอดข้อมูลที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้รับฟังหรือผู้อ่าน ข้อมูลใหม่ที่ได้สนับสนุนข้อมูลเดิมที่มีในทางประวัติศาสตร์ เพื่อทำให้มีน้ำหนักและมีความน่าเชื่อถือ สู่การยอมรับในทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น ขั้นตอนของการนำเสนอนี้การอธิบาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การเชื่อมโยงจึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

แม้ว่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์จะผ่านมาแล้ว ไม่สามารถย้อนเวลากับไปเพื่อแก้ไขอดีตได้ แต่การศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอีกหนึ่งของการสร้างความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพราะประวัติศาสตร์คือศาสตร์ของอารยประเทศที่มีเสน่ห์

แม้ว่าประวัติศาสตร์ไม่ใช่แค่ตำนานและนิทานหลอกเด็กเหมือนแต่เดิมที่เคยเข้าในกัน เพราะมีวิธีการทางประวัติศาสตร์และมีขั้นตอนในการศึกษามากมาย ประวัติศาสตร์จึงเป็นทั้งศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางศิลปะ ที่ประกอบด้วยหลักเหตุผลรองรับด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงที่สามารถสืบค้นได้ มีมนต์เสน่ห์ของกลิ่นไอทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ เรื่องราวดีๆและเรื่องราวๆต่างๆที่น่าสนใจในทางประวัติศาสตร์ และที่สำคัญหากได้ศึกษาในเรื่องของประวัติศาสตร์อย่างจริงจังจะค้นพบว่า สนุก ตื่นเต้น ไม่น่าเบื่อ มีความน่ามหัศจรรย์ในการดำเนินชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนสามารถมีวิวัฒนาการที่พัฒนาขึ้นเจริญเติบโตมาเรื่อยๆ

นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏหลักฐานเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนคนรุ่นหลังสำหรับการสืบค้นและการศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนเรื่องราวจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นนั้นยังสามารถนำมาเป็นบทเรียน เป็นแบบอย่าง และใช้เป็นเครื่องเตือนสติ สอนใจ ในการดำเนินชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประวัติศาสตร์คือสิ่งที่น่าจดจำ ทุกๆเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบเสมอ บางเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลทำให้เปลี่ยนแปลงหรือสิ้นสุดระบบต่างๆไปและเปลี่ยนนำไปสู่ในสิ่งใหม่ๆที่ดีขึ้น ที่พัฒนาทันสมัยมากยิ่งขึ้นได้