CSR

CSR ยกตัวอย่างประโยชน์ประเภทของแบบนี้คุณไม่รู้ครบจบ 6 CSR?

Click to rate this post!
[Total: 215 Average: 5]

CSR คือ

  • CSR (Corporate Social Responsibility) คือ การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม
  • CSV (Creating Shared Value) คือ การสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม

CSR ย่อมาจาก 

Corporate Social Responsibility

  • Corporate หมายถึง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายคน หรือหน่วยหลายหน่วย
  • Social หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่และกว้างขวางในปัจจุบัน
  • Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ,ภาระ,ภาระหน้าที่,สิ่งที่รับผิดชอบ,สิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ องค์กรหรือหน่วยงาน จัดกิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

CSR ในปัจจุบันคืออะไร ?

  • European Commission Green Paper CSR เป็นแนวคิดที่ บริษัทจะบูรณาการ งานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกิจการของประเทศ และการปฏิสัมพันธ์ ของผู้เกี่ยวข้อง ( Stakeholder) โดยสมัครใจ”
  • UNCTAD CSR คือการที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องและมีผลกระทบเชิงบวกต่อความต้องการและเป้าหมาย ของสังคม”
  •  World Business Council on Sustainable Development CSR คือคำมั่นของบริษัทที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยทำงานร่วมกับลูกจ้างและครอบครัวของพวกเขา ชุมชน และสังคมโดยกว้าง เพื่อจะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคมโดยรวม”

ISO

“C S R เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม   โดยมุ่งที่การ ให้ ประโยชน์กับ คน ชุมชน และสังคม นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผล ทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

กรณีศึกษาด้าน CSR ในประเทศไทย

เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย ณ ปี 2548 นี้ คำว่า C S R ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับคนไทย เพราะเพิ่งจะเข้ามาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง โดยหลายๆ องค์กร ทำเพื่อแสดงความเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล ในขณะที่อีกหลายๆ องค์กร ทำเพราะถูกบีบจากกำแพงทางเศรษฐกิจโลกที่บริษัทต่างชาติจะดำเนินธุรกิจกับบริษัทที่มาตรฐานด้านแรงงาน สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อมฯ เท่านั้น จึงทำให้บริษัทไทยโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก จำเป็นต้องพัฒนาแนวคิดการทำ C S R เข้ามาใช้ในบริษัทของตน

ซึ่งถึงแม้ว่าการทำ C S R จะเป็นเรื่องใหม่ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่บริษัท และองค์กรด้านการพัฒนาหลายองค์กรที่เป็นผู้บุกเบิกริเริ่มทำ C S R ก็มีไม่น้อย ดังนั้นในส่วนนี้ จะขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมจากหลายๆ สถาบัน เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำ C S R ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน

Creating Shared Value

สร้าง “คุณค่า” เหนือ “คุณค่า”

ไมเคิล อี. พอตเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขันและเป็นผู้นำกฎการแข่งขันมาเชื่อมโยงกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (C  SR) ที่เคยเสนอแนวคิด triple bottom line ที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่ความยั่งยืนย่อมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังยอมรับว่า “triple bottom line อาจจะเป็นได้แค่แรงบันดาลใจ แต่ creating shared value (CSV) กำลังพยายามสร้างวิธีการที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มให้แก่สังคมและผู้ถือหุ้นได้จริง”

“แนวคิด CSV จะก้าวข้ามไปอีกขั้น คือการที่องค์กรธุรกิจมุ่งมั่นดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้”

ตัวอย่างเช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา ได้จัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร วิธีการคิดง่ายๆ ในการจัดซื้อ ก็คือให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ต่ำที่สุด ซึ่งสำหรับแนวคิดแบบ CSV จะบอกว่า ก้าวข้ามไปอีกขั้น ลองหันมาถามว่า เราจะสามารถทำงานร่วมกันกับเกษตรกรเหล่านั้นได้อย่างไร ช่วยเหลือพวกเขาปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มพูนผลิตผล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ”

ประเด็นที่น่าสนใจสําหรับ หัวข้อ Corporate Social Responsibility (C S R)

1.จากคุณลักษณะที่สําคัญของ C S R 6 ประการ ได้แก่

  1. ต้องมีใบอนุญาตให้ดําเนินการ
  2. เป็นการลงทุนระยะยาว
  3. เป็นพาหนะในการบรรลุเป้าประสงค์และชื่อเสียง
  4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้องค์กรพ้นจากการโจมตี
  5. เป็นเศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์
  6. เป็นการขัดกันของถ้อยคํา

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรทั้ง

  • ในระยะสั้นและระยะยาว
  • ทั้งในแบบที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และ
  • ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. ความรับผิดชอบต่อสังคมสร้างความวางไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความไว้วางใจเป็นรากฐานสําคัญในการทําธุรกิจ  

  1. ถ้าลูกค้าไว้ใจบริษัท ลูกค้าก็จะใช้สินค้าและบริการด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์องค์กรสามารถวางตําแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ได้อย่างที่ต้องการ โดยมีกิจกรรมซีเอสอาร์เป็นตัวช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือมากขึ้น  นอกจากนี้ภาพพจน์ขององค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมก็จะมีความแข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่ง
  2. องค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะทําให้พนักงานที่ทํางานอยู่เห็นถึงความจริงใจขององค์กรที่มีต่อสังคม ไม่หน้าไหว้หลังหลอก พนักงานก็มีความสบายใจในการที่จะทําหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และมีความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกหนึ่งขององค์กร ทําให้องค์กรสามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถร่วมงานได้ง่ายขึ้น และทําให้ต้นทุนขององค์กรลดลง
  3. ในแง่ของผู้ถือหุ้น นักลงทุนหรือเจ้าของกิจการ ซีเอสอาร์จะทําให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพ และมีส่วนล้ํามูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่มีซีเอสอาร์ ซึ่งเรียกกันเฉพาะว่า SRI (Socially Responsible Investment) นั้น มีมูลค่าเกินสองล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสที่องค์กรสามารถเข้าถึง แหล่งทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทําให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มที่ต่ํากว่าเกณฑ์ปกติของตลาด 

4. ประเด็นสังคม (Social  Issue) คือ ประเด็นที่เป็นเหตุ (Cause) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะสุดท้ายจะก็กลายเป็นปัญหาสังคมซึ่งมี มากมากแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและสังคม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาอย่างนาวนาน ประเด็นทางสังคมที่ได้รับความสนใจสําหรับ กิจกรรม C S R ได้แก่

  1. ภาวะโลกร้อน
  2. พลังงานทางเลือก
  3. สิ่งแวดล้อม
  4. สังคมผู้สูงวัย
  5. แรงงาน
  6. คอร์รัปชัน
  7. ความยากจน
  8. ชีววิทยาศาสตร์

5. การแบ่ง C S R ตามทรัพยากร เป็นการแบ่งโดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ขององค์กร ดังนี้ 

  1.  ซีเอสอาร์ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์กร (Corporate-Driven C S R): เป็นการดําเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก 
  2.  ซีเอสอาร์ที่ขับเคลื่อนด้วยสังคม (Social-Driven C S R):   เป็นการดําเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก  

6. การแบ่ง C S R ตามรูปแบบ การแบ่งลักษณะนี้เป็นการแบ่งซีเอสอาร์ตามรูปแบบของการทําซีเอสอาร์

  1. ซีเอสอาร์เชิงตอบสนอง (Responsive CSR)
  2. ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR)
  3. ซีเอสอาร์เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR)

7.สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้ออกแนวปฏิบัติทางด้านซีเอสอาร์ชื่อ “เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม” โดยได้แบ่งแนวปฏิบัติในเรื่องซีเอสอาร์ได้เป็น 8 หัวข้อ ดังนี้

  1. การกํากับดูแลกิจการที่ดี 
  2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  3. การเคารพสิทธิมนุษย์ชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 
  5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
  6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  7. นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดําเนินความรับผิดชอบต่อสังคม  
  8. การจัดทํารายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

8. จริยธรรมธุรกิจ คือหลักการและมาตรฐานที่เป็นแนวทางพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในโลกธุรกิจ 

ระดับของจริยธรรม  ประเด็นทางด้านจริยธรรมหรือศีลธรรมสามารถมองแยกได้เป็น  5 ระดับ คือ 

  • ระดับปักเจกบุคคล (Individual Level) 
  • องค์กร (Organizational Level)
  • สมาคม (Association Level)
  • ในสังคม (Societal Level)
  • ระหว่างประเทศ (International Level)  

9. หน้าที่ของผู้นําเชิงกลยุทธ์ จากความหมายของภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ สามารถกําหนดหน้าที่ของผู้นําเชิงกลยุทธ์ได้ เป็น 4 ประการคือ (Vision, Social Architecture, Trust and Alignment : ViSTA)

  • การกําหนดวิสัยทัศน์
  • การออกแบบสถาปัตยกรรมสังคม
  • การสร้างความไว้วางใจ
  • การสร้างแนวร่วม 

10. C S R เชิงกลยุทธ์ การตัดสินใจทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมีแนวทางแบ่งความรับผิดชอบต่อสังคมออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ

  1. แนวทางการขัดขวาง (Obstructionist Approach)
  2. แนวทางการตั้งรับ (Defensive Approach)
  3. แนวทางการปรับตัว (Accommodative Approach)
  4. แนวทางเชิงรุก (Proactive Approach)  

11. ไทยประกันชีวิต  สร้างแบรนด์ด้วย C S R บนปรัชญาแบบตะวันออก

“ไทยประกันชีวิต” ได้พยายามสร้างมาตรฐานในการดําเนินธุรกิจให้เป็นที่ได้รับความไว้วางใจ แต่รวมถึงความต่างของแบรนด์ ชูความเป็นไทย เพราะอาจจะถือได้ว่า “ความเป็นไทย” ที่เป็นจุดแข็งและสร้างความแตกต่างให้กับบริษัทที่ทําให้เกิดความใกล้ชิดและผูกพันระหว่างผู้บริ โภคและแบรนด์มากยิ่งขึ้น  ภายใต้ปรัชญาการดําเนินธุรกิจ “บริษัทคนไทย เพื่อคนไทย” 

เนื่องจาก “เมื่อก่อนธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ขายตรงไม่ได้เพราะคนไม่มีความเชื่อถือ  และไม่มีความศรัธทาต่อเจ้าของธุรกิจที่เป็นคนไทย  หรือบริษัทที่เป็นคนไทยด้วยกัน  เพราะภาพคน ขายประกันสมัยก่อนคือ bad guy หรือคนที่หลอกลวง ดังนั้นการแก้ในเรื่องนี้ จึงต้องทําควบคู่ไปกับการสร้างความไว้วางใจ” 

ภาพที่ปรากฎในช่วงที่ผ่านมาในการสร้างแบรนด์ของไทยประกันชีวิตจึงเป็นการตอกย้ําจุดยืนการเป็นบริษัทของคนไทยที่ชูในเรื่องคุณค่าของความรักและคุณค่าของชีวิต

“Corporate Social Responsibility (C S R) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ระดับของ CSR

ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ C S R ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง C S R ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม

ประเภทของ CSR

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ

หลักแนวคิดของ CSR

  1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
  2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
  6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
  7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
  8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

ที่มา:คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปก การบริหารจัดการเวลา
คำคุณศัพท์ beautiful
ปก การสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า
สระเสียงสั้นมีบทบาทในการระบุคำต่างๆ
ประกันสังคมเยียวยามาตรา 33
การทำบุญ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 167961: 1489