คู่มือการบริหาร จัดการหนี้แผนบริหารประจําวันโคตรเจ๋ง 12 คู่มือ?
คู่มือการบริหาร จัดการหนี้ แผนบริหารจัดการหนี้ ตาราง จัดการหนี้ การบริหารจัดการหนี้ หมายถึง การวางแผนการใช้เงินในชีวิต ประ จํา วัน การจัดการหนี้สินที่มีประ
Verb (กริยา) คือคำที่แสดงถึงการกระทำหรือถูกกระทำของคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน(หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาด้วยก็ได้) เพื่อบอกถึง Tense (ช่วงเวลาที่กระทำ) Voice (ผู้พูด) Mood (อารมณ์)
Verb แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. สกรรมกริยา Transitive Verb กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ.
2. อกรรมกริยา Intransitive Verb กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ.
3. กริยานุเคราะห์ Auxiliary Verb กริยาที่บอก Tens, Voice, Mood.
1. สกรรมกริยา คือกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น Kick (เตะ), Eat (กิน) เป็นต้น.
คำที่นำมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ก็คือ
1. นามทุกชนิด เช่น A mango.
2 สรรพนาม เช่น Him.
3. กริยาสภาวมาลา(สภาวะที่เกิดอยู่กับชีวิต) เช่น To study.
4. กริยาที่เติม ing แล้วนำมาใช้เป็นนาม เช่น sleeping.
5. วลีทุกชนิด เช่น I don’t know what to do.
6. อนุประโยค เช่น I know who will come tomorrow.
*อนึ่ง สกรรมกริยาบางตัวหรือบางประโยค ต้องมีตัวขยายกรรมมารับ จึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น The people made him king. (ประชาชนแต่งตั้งให้เขาเป็นพระราชา) เป็นต้น.
2. อกรรมกริยา คือกริยาที่มีเนื้อความอยู่ในตัวสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น Run, sleep, swim, sit. เป็นต้น แต่อกรรมกริยาบางตัวก็ต้องมีตัวขยายกิริยาเพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์ ซึ่งอกรรมกริยานั้นก็ได้แก่ Verb to be (เป็น, อยู่, คือ) Verb to have (เฉพาะแปลว่า มี) Become กลายเป็น), Seem (ดูเหมือนว่า), Feel (รู้สึก) Look (ดูเหมือน) Taste (มีรส) Appear (ปรากฏ,รุสึก) Smell (มีกลิ่น) , Grow (เจริญ) เป็นต้น.
3. กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย ได้แก่กริยาที่ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อให้เป็น Mood, Voice, Tense ซึ่งกริยาเหล่านี้ใช้เป็นกริยาแท้ก็ได้ ใช้เป็นกริยาช่วยก็ได้ มีอยู่ทั้งหมด 24 ตัว คือ.
Is, am, are, was, were
Have, has, had,
Do, dose, did
Will, would
Shall, should
Can, could
May, might
Must
Need
Dear
Ought to, us to.
*ข้อสังเกตว่าจะเป็นกริยาแท้หรือเป็นกิริยาช่วยก็ให้ดูว่า ถ้ากริยาตัวใดตัวหนึ่งจาก 24 ตัวนี้อยู่ในประโยคเพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นกริยาแท้ แต่ถ้ามีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วยก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย เช่น.
Ladda is a beautifily girl. (แท้).
Ladda is drinking water. (ช่วย).
หน้าที่ Verb to be
Verb to be ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้
1. วางไว้หน้ากริยาที่เติม Ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous tense.
2. วางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(เอากรรมขึ้นต้นประโยค) มีสำเนียงว่า ถูก เช่น A glass is broken. แก้วถูกทำให้แตกเสียแล้ว เป็นต้น.
3. วางไว้หน้ากริยา สภาวมาลา Infinitive แปลว่า จะต้อง มีความหมายเป็นอนาคต เพื่อแสดงความจงใจ เช่น I am to see my home every year. ฉันต้องไปเยี่ยมบ้านของฉันทุกๆปี เป็นต้น.
หน้าที่ของ Verb to do
Verb to ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้.
1. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม ตามหลักที่ว่า
Verb to have ไม่มี
Verb to be ไม่อยู่
Verb to do มาช่วย
2. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธเหมือนกรณีข้อ 1 (เติม ing หลัง do, dose )
3. ช่วยหนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้ความสำคัญกับกริยาตัวนั้น ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น
จริงๆ โดยเรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน.
4. ใช้แทนกริยาตัวอื่นในประโยค เพื่อต้องการมิให้กล่าวกริยานั้นๆซ้ำๆซากๆ.
5. Verb to do ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า ทำ.
หน้าที่ของ Verb to have
Verb to have ใช้ทำหน้าที่ดังนี้คือ
1. เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect tense.
2. ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลาตามหลัง มีสำเนียงแปลว่า ต้อง ตลอดไป เช่น
I have to meet you tomorrow. ฉันต้องไปพบท่านวันพรุ่งนี้.
3. ใช้ในประโยคที่ให้ผู้อื่นทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ในกรณีนี้ต้องใช้รูปประโยค Have + noun + Verb 3 . เช่น He has his house repaired. เขาให้ช่างซ่อมแซมบ้านของเขา.
หน้าที่ของ Will, shall, would, should.
Will ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 2, 3.
Shall ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 1 คือ I, We.
Would ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.
1. ใช้เป็นอดีตของ will ในประโยคที่เปลี่ยนจากคำพูดของผู้อื่นมาเป็นของตน
2. ใช้เป็นกริยาช่วยในสำนวนการพูด “อยากจะ” “อยากให้”.
3. ใช้ในสำนวนการพูดว่า” ควรจะ…ดีกว่า” ควบกับ Better หรือ rather
Should ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.
1. เป็นอดีตของ Shall ได้.
2. Should เมื่อแปลว่า “ควร” หรือ “ควรจะ” ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกประธาน
หน้าที่ของ May, Might
May นำมาช่วยได้ดังนี้.
1. เพื่อแสดงความมุ่งหมาย (เพื่อ)
2. เมื่อแสดงความปรารถนา หรืออวยพรให้(ขอให้) *ต้องวางไว้หน้าประโยค.
3. เพื่อช่วยถึงการอนุญาต หรือขออนุญาต(ควรจะ)
4. เพื่อแสดงความคาดคะเน (อาจจะ).
5. ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย (อาจจะ).
Might นำมาช่วยได้ดังนี้.
1. ใช้เป็นอดีตของ May.
2. ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างนั้นจริง(แต่ถ้าแน่ใจใช้ May แทน).
Need
Need ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า “จำเป็นต้อง” ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ (ส่วนมากใช้เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้น และกริยาแท้ที่ตามหลัง Need ไม่ต้องใช้ To นำหน้า).
Need ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า “ต้องการ” และใช้เหมือนกริยาแท้ทั่วๆไป (ต้องมี To ตามหลัง Need ตลอดไป).
Dear
Dear ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า “กล้า” ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ และเป็น “ปัจจุบันกาล” คำตามหลังไม่มี To.
Ought to
Ought to แปลว่า “ควรจะ” เป็นกริยาพิเศษเหมือน is หรือ do นั่นเอง อาจใช้ should แทนก็ได้ แต่ความหมายอาจจะอ่อนกว่า.
Used to
Used to แปลว่า “เคย” เป็นกริยาพิเศษหมายความว่า “เคยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำ แต่บัดนี้ไม่ได้กระทำแล้ว”(กริยาตามหลัง ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไป และใช้ used to เหมือน is หรือ do).
คำค้น : มีอะไรบ้าง 3 ช่อง คําอ่าน คําแปล คือ พร้อมรูปภาพ pdf
ที่มา:https://sites.google.com/site/englishprogram406/adverb-kha-kriya-wisesn/verb-kha-kriya,www.omnilexica.com
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com