เงินสดย่อย

คุมเงินเงินสดย่อย 5 DUTY ล่าสุดตัวอย่างวิธีเขียนอย่างง่ายๆ?

Click to rate this post!
[Total: 163 Average: 5]

ระบบเงินสดย่อย หมายถึง

ระบบเงินสดย่อย  (Petty Cash) เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย) เพื่อให้กิจการจ่ายชำระในรายจ่ายที่ไม่สะดวกจ่ายด้วยเช็ค ที่เป็นรายจ่ายเร่งด่วน เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ค่ารับรอง ค่าไปรษณีย์ ค่าพาหนะ

เงินสดย่อย
ระบบเงินสดย่อยที่นิยมใช้คือ Impress System  โดยจะมีการกำหนดวงเงินสดย่อยไว้ในจำนวนที่เหมาะสม และวงเงินนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่จะเปลี่ยนเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มหรือลดวงเงินสดย่อย เท่านั้น

หน้าที่ของผู้รักษาเงินสดย่อย

ผู้รักษาเงินสดย่อยมีหน้าที่ดังนี้

  1. เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ เมื่อมีผู้มาขอเบิกก็จะจ่ายเงินตามหลักฐานนั้น
  2. จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เมื่อมีผู้มาขอเบิกเงินตามเอกสารที่ได้รับอนุมัติการจ่ายแล้ว พร้อม กับเก็บรักษาและรวบรวมใบสําคัญจ่ายเงินสดย่อย (Petty Cash Voucher)
  3. บันทึกรายการจ่ายเงินสดย่อย ลงในสมุดเงินสดย่อย (Petty Cash Book)
  4. จัดทำรายการจ่ายเงินสดย่อย และรวบรวมใบสําคัญจ่ายเงินสดย่อย เพื่อเตรียมขอเบิก ชดเชยเงินสดย่อยที่จ่ายไป
  5. ขออนุมัติเบิกชดเชยเงินสดย่อย

ประโยชน์ของเงินสดย่อย

  1. แบ่งเบาหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่ายเงินภายในบริษัท
  2. ช่วยในการควบคุมเงินสดเป็นไปได้ง่ายขึ้น ที่เป้นรายจ่าย เล็ก ๆ น้อย ๆ
  3. ลดการบันทึกบัญชีที่ไม่จำเป็นในบางกิจกรรม
  4. สะดวกต‑อการตรวจสอบความถูกต้อง การจ่ายเงินสดสำหรับรายการจ่าย

การควบคุมวงเงินสดยอย

  1. กําหนดวงเงินสดย่อย ให้เข้ากับรูปแบบกิจการ ในการเบิก ถอน จ่าย ให้เป็นระยะเวลา
  2. กําหนดผู้รักษาเงินสดย่อย  และหน้าที่ให้ชัดเจน
  3. กําหนดวงเงินสดย่อย ว่าจะใช้แบบ จำกัด หรือไม่จำกัด
  4. กําหนดประเภทของรายจ่ายที่จะจ่ายจากเงินสดย่อย
  5. ทุกครั้งที่มีการจ่ายจากเงินสดย่อย ให้ทําใบสําคัญเงินสดย่อยขึ้นพร้อมทั้งแนบเอกสาร หลักฐานประกอบ
  6. เมื่อเงินสดย่อยเหลือน้อย หรือใกล้สิ้นระยะเวลาที่กําหนด ให้รวบรวมใบสําคัญเงินสดย่อยเพื่อขอเบิกชดเชย
  7. ตรวจสอบและยืนยันยอดการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเงินสดย่อยอย่างสม่ำเสมอ

ระบบควบคุมภายในที่ดี  กิจการไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย  แต่การจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ  และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น  และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมาก ๆ

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชี ตั้งวงเงินสดย่อย

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย

ดาวน์โหลดใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150721: 2039