รัฐประศาสนศาสตร์ 5 PUBLIC ADMINISTRATION จบมาทำงานอะไร?
รัฐประศาสนศาสตร์ คือ
รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการเรียนการสอนวิชาในด้านการบริหารรัฐกิจ การ บริหารและการจัดการภาครัฐ หลักสูตรการเรียนมีอยู่ในหลากหลายลักษณะ ที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนซึ่งมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือ โครงการความร่วมมือกับส่วนราชการ และ ภาคเอกชน
- รปศ คือ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
- ชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศา สตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสร์
- ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public Administration
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม ( ไทย ) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ( รัฐประศาสนศาสตร)
- ชื่อย่อ ( ไทย ) : รป.บ. (รัฐประ ศาสนศาสตร์)
- ชื่อเต็ม ( อังกฤษ ) : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
- ชื่อย่อ ( อังกฤษ ) : B.P.A. (Public Administration)
- คณะ : คณะนิติศาสตร์
- สถานที่เรียน : มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาเขตเมืองฯ
- หลักสูตร : หลักสูตรรัฐประศาสน ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
รัฐประศาสนศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร
รัฐประศาสนศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง ทั้งด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมในด้านปรัชญา อุดมการณ์ทางการเมือง โครงสร้าง สถาบันและกระบวนการการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีจุดเด่นที่สำคัญ 3 ประการคือ
- ความรู้ความเข้าใจแนวคิดทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง
- ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
- หลักสูตรมีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานทักษะความรู้ ทั้งในรูปแบบที่เน้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติงาน (สหกิจศึกษา) และรูปแบบที่เน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การวิจัย (รัฐศาสตร์ศึกษา) เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับคุณลักษณะและความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคมโดยเน้นการสร้างบุคลากรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับคุณลักษณะและความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคม โดยเน้นการสร้างบุคลากรที่สามารถตอบสนองต่อความ
- ลักษณะของสาขาวิชา ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและจัดการของภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำการศึกษาในเรื่องของ นโยบายสาธารณะ การปฏิรูประบบราชการ องค์การกับการบริการสาธารณะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การคลังและงบประมาณ รวมถึงธรรมาภิบาล
- เรียนเกี่ยวกับ การบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบราชการและหน่วยงานของรัฐ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน
- คุณลักษณะของผู้สนใจผู้ที่มีความสนใจด้านการบริหารและจัดการของภาครัฐโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนสายศิลป์ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจสาขาวิชานี้ เพราะผู้เรียนจะต้องสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพ ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
- แนวทางการประกอบอาชีพ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพทางงานบริหารและสายสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังต่ออไปนี้ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น
รัฐประศาสนศาสตร์ ทํางานอะไร
- งานภาคการเมือง : ระดับท้องถิ่น ได้แก่ นักการเมืองระดับท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ระดับประเทศ ได้แก่ นักการเมืองระดับชาติ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการการเมือง เป็นต้น
- งานภาครัฐ : หน่วยงานระดับท้องถิ่น ได้แก่ เจ้าหน้าที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับต่าง ๆ เช่น ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการเขต เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน เป็นต้น หน่วยงานส่วนภูมิภาค ได้แก่ ข้าราชการส่วนภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ปลัดจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด นักปกครอง พัฒนาการจังหวัด จัดหางานจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ท้องถิ่นอำเภอ ท้องถิ่นจังหวัด เป็นต้น หน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง เช่น ปลัดกระทรวง เลขานุการกรม อธิบดี นักการทูต เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานบุคคล เป็นต้น
- งานภาคเอกชน : พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้จัดการในสายงานต่าง ๆ ได้แก่ ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ฝ่ายบุคคล ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายตรวจสอบและควบคุม ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายงบประมาณ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา รวมทั้งผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการบริษัท สื่อมวลชน เป็นต้น
- งานวิชาการ : ครู ผู้ช่วยนักวิจัย นักวิเคราะห์ นักเขียน เป็นต้น งานภาคองค์การทางสังคมอื่น ๆ : องค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ (NGOs) มูลนิธิ และนักข่าวการเมือง
ตัวอย่าง
- สมัครรับราชการในหน่วยงาน ภาครัฐ กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำรวจ ทหาร ปลัดอำเภอ ฯลฯ
- สมัครทำงาน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
- สมัครทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารออมสิน ฯลฯ
- สมัครทำงานในบริษัทเอกชน เช่น บริษัทธุรกิจต่างๆ ธนาคาร ฯลฯ
- ประกอบธุรกิจของตนเอง
คุณสมบัติสมัครเรียน
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ / หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยตาปีการ
คัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- นักเรียนที่เข้าศึกษาโดยระบบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- นักเรียนที่มหาวิทยาลัยตาปี เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง ให้เป็นไปตามระเบียบ
เพิ่มเติม : ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบแต่ละสถานศึกษาที่อาจจะกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วย
ความแตกต่าง รัฐศาสตร์ กับ รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐศาสตร์ จะเรียนเรื่องการเมือง การปกครอง การเข้าสู่อำนาจ การลงจากอำนาจ ส่วน รัฐประศาสนศาสตรเรียนเรื่องการบริหาร การบริหารภาครัฐทั้งหมด อย่างของประเทศไทยจะเรียนเรื่องการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น สาขาเอกย่อยๆ 1.นโยบายสาธารณะ 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3.องค์การและการจัดการ 4.กระบวนการยุติธรรม และยังเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ Thailand 4.0 ประชาคมอาเซียน ทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยีทางด้านไอที เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานของบัณฑิตในอนาคต
ขอบคุณที่มา:sites.google.com/a/tapee.ac.th/pa-bachelor/home วันอังคาร, 3 พฤษภาคม 2565
https://tlp.eqd.cmu.ac.th/openhouse/faculty-content.php?fid=19
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 174707: 1908