อคติ-4

อคติ ลำเอียงคติธรรมความรักหลงโทสาคติที่ไม่มีใครพูดจบ 4 อคติ?

Click to rate this post!
[Total: 186 Average: 5]

อคติ 4

        การละ “รัก โลภ โกรธ หลง” อคติทั้ง 4 นี้เป็นความลำเอียงที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมนำความทุกข์มาสู่ใจเรา หลายคนหาทางแก้ไข เพื่อละหรือดับความรู้สึกที่เกิดขึ้น

อคติ 4

อคติ คือ 

  • ไม่ตรง ไม่ตรงทิศ ไม่ตรงทาง และไม่ตรงธรรม

อคติ 4  คือ สัญชาตญาณที่ถูกโน้มน้าวไปโดยไร้ความเที่ยงธรรม และความเอนเอียงแห่งอารมณ์ที่ผุดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และช่องว่างในสังคม 4 ประการ

ภาษาอังกฤษคือ Bias ภาษาไทย แปลว่า “ลำเอียง

ประกอบด้วย : ฉันทาคติ, โทสาคติ, โมหาคติ, ภยาคติ

อคติ 4 เป็นความลำเอียงที่ทำให้เสื่อม ข้อความจาก พระไตรปิฎกแปลไทย ฉบับหลวง พระสุตตันตปิฎก เล่ม 13 อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรคที่ 2 อคติสูตรที่ 3 ของพระธรรมคำสั่งสอยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีในตอนหนึ่งว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย

การถึงอคติ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน

บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ

ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย”

“การถึงอคติ 4 ประการนี้แลฯ

ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง

ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม

เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น ฯ”

 

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย

การไม่ถึงอคติ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน

บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ

ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

การไม่ถึงอคติ  ประการนี้แลฯ”

“ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง

ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม

ดุจพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ”

คติธรรมความรัก

        พรหมวิหาร 4 คือ คติธรรมความรักเป็นหลักคุณธรรมที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามเป็นผู้ประเสริฐ ซึ่งคำว่า “พรหมวิหาร” มีความหมายว่า ธรรมอันเป็นที่อยู่ของพรหม การยึดถือหลักธรรมดังกล่าวจะทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยเชื่อว่ามนุษย์จะประเสริฐได้ก็ต่อเมื่อมีคุณธรรม พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่

  1. เมตตา คือ ความรักความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความปรารถนาดีมอบให้ผู้อื่น รวมถึงมีเมตตาต่อสัตว์
  2. กรุณา คือ ความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มีความสงสาร และเห็นใจผู้อื่นที่ประสบทุกข์
  3. มุทิตา คือ ความปีติยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยา ร่วมชื่นชม และยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น
  4. อุเบกขา คือ ความวางเฉย วางใจเป็นกลาง ไม่ซ้ำเติมคนที่กำลังทุกข์ หรือเพลี่ยงพล้ำ

            พรหมวิหาร 4 ไม่ได้เป็นหลักธรรมที่เข้าใจยาก หรือซับซ้อน เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปในชีวิตประจำวัน หากปรับเปลี่ยนทัศนคติ และหมั่นสร้างนิสัยความเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นประจำ ทุกคนก็สามารถมีพรหมวิหาร 4 ในใจได้ ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขไม่เกิดความไม่ยุติธรรมหรือกี่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนไม่รับฟังหรือไม่ยอมรับเหตุผลใดๆ

รัก หรือ หลง

       ความรักกับความหลงมีความแตกต่างกันอย่างไร

ความรัก คือ

  • ความปรารถนาดีต่ออีกฝ่าย อยากให้คนที่เรารักมีความสุข
  • การที่เราจะรักคนๆ หนึ่งได้นั้นต้องใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ต่างๆ นอกเหนือไปจากรูปลักษณ์ภายนอก
  • หากเรารักใครสักคนเราจะยินดีที่เขามีความสุข แม้ว่าความสุขนั้นจะเป็นความสุขที่ไม่ได้มีเราอยู่ด้วยหรือเราไม่ใช่ผู้ที่มอบความสุขนั้นให้เขาหรือเธอ
  • เมื่อเจออุปสรรค ความรักจะทำให้เราอยากต่อสู้เคียงข้างอีกฝ่ายเพื่อผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปด้วยกัน
  • เมื่อทะเลาะกัน แม้ช่วงแรกจะใช้อารมณ์ แต่เมื่อมีสติ ต่างฝ่ายจะพูดคุยเปิดอกและหาทางออกร่วมกันอย่างมีเหตุผล
  • หากเรารักใครสักคนเราจะหันมาปรับปรุงข้อเสียของตัวเองเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ยั่งยืน
  • ความสบายใจ ยินดีเมื่อได้เห็นอีกฝ่ายมีความสุขและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการ
  • ต้องการที่จะเข้าใจและเรียนรู้ตัวตนที่แท้จริงของอีกฝ่ายเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
  • เข้าใจและให้เกียรติอีกฝ่ายเสมอ ไม่ก้าวล้ำความเป็นส่วนตัวและเว้นช่องว่างให้ความสัมพันธ์เพื่อให้อีกฝ่ายมีอิสระและเวลาส่วนตัว
  • ความรักให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความสัมพันธ์

ความหลง คือ

  • ความปรารถนาที่อยากให้อีกฝ่ายทำให้เรามีความสุข
  • ความรู้สึกหลงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นได้แค่ชั่ววินาทีเดียวเพราะเป็นการหลงใหลเสน่ห์หน้าตาหรือรูปร่างภายนอกเท่านั้น
  • หากเราหลงใครสักคนเราจะอยากเป็นคนสำคัญที่สุดของพวกเขา และไม่ต้องการให้เขาหรือเธอเห็นใครดีกว่าเรา และไม่ยินดีที่จะให้คนอื่นมาสร้างความสุขให้คนที่เราหลง
  • ความหลงจะยินดีเมื่ออีกฝ่ายประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่พร้อมจะต่อสู้เคียงข้างกันเมื่อมีปัญหาอุปสรรค เป็นอีกหนึ่งความแตกต่างสำหรับคนที่อยากรู้ว่ารักกับหลงต่างกัน
  • เวลาทะเลาะหรือมีปัญหาจะไม่รับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย แต่ต้องการให้เขาหรือเธอรับฟังความอึดอัดของตัวเองแบบไม่สนใจใคร
  • ความหลงนั้นคือความต้องการให้อีกฝ่ายเปลี่ยนแปลงและปรับตัวหาเรา โดยที่ตัวเราเองไม่เคยปรับปรุงตัวเพื่ออีกฝ่าย
  • เอาแต่ใจตัวเองและไม่ต้องการให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่ตัวเองไม่มีส่วนร่วมหรือไม่ชอบ
  • ไม่แคร์ว่าจะได้รู้จักเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือเข้าใจตัวตนของอีกฝ่ายจริงๆ หรือเปล่าตราบใดที่คบกันแล้วยังมีความสุข ก็คืออีกความแตกต่างของความรักกับความหลง
  • หึงหวงแบบไร้เหตุผล ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวบางอย่าง เช่น เช็ก LINE หรือ Facebook, ไม่ชอบให้อีกฝ่ายคุยกับเพศตรงข้าม
  • ความหลงให้ความสำคัญกับเรื่องเพศและความสุขชั่วครั้งชั่วคราว

อคติ 4 ประการ

        ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดอคติ มี ๔ อย่าง คือ

  1. ความรักใคร่ชอบพอ คือ ฉันทาคติ
  2. ความโกรธ เกลียดชัง คือ โทสาคติ
  3. ความหลง เขลา เบาปัญญา คือ โมหาคติ
  4. ความเกรงกลัว ขลาด คือ ภยาคติ

อคติ 4 คือ คุณธรรม ข้อ ใด

          อคติ จึงเป็น ความ ลำเอียง สาเหตุหลักของความผิดพลาดในกระบวนการคิด และตัดสินใจของมนุษย์ทุกคนธรรมสำหรับปุถุชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเป็นข้าราชการ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นสัจจะความจริงที่มักเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้ และมีผลอย่างมากต่อการบริหารงาน ต่อการปกครอง และความสงบสุขของสังคม

ความหมายที่ครอบคลุมของอคติ

  • วิถีในทางที่ผิด เช่น เพราะเกลียดจึงรัก
  • แนวทางที่ผิด
  • สิ่งที่เป็นไปในทางที่ไม่ดีงาม
  • การดำเนินไปในทางที่ผิด
  • ความลำเอียง เช่น ความ หลง
  • ความไม่เที่ยงธรรม
  • ความไม่เป็นกลาง

อคติ 4 คืออะไร

อคติ 4 มี อะไร บ้าง

  1. ฉันทาคติ หมายความว่า เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยความลำเอียง เช่น ลำเอียงเพราะรัก หรือชอบสิ่งนั้น
  2. โทสาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียงเนื่องจากความหงุดหงิด ไม่ชอบใจ
  3. โมหาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียง เพราะเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร
  4. ภยาคติ หมายความว่า เราลำเอียงต่อสิ่งนั้นเพราะความกลัว หรือเกรงใจ

อคติ หมายถึง

        อคติ มาจากภาษาบาลี คำว่า

  • อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร
  • คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก
  • คติ มีความแตกต่างกับ ทัศนะ คือ
  • ทัศนะ หมายถึง ความเห็น, ความคิดเห็น, มุมมอง ส่วน คติ หมายถึง ดังข้างต้น ดังนั้น ทัศนคติ จึงหมายถึง การแสดงออก หรือ วิถีที่ดำเนินไปอันเกิดจากความคิดหรือความเห็น

คน อคติ

     ความหมายของคนอคติ เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความไม่ยุติธรรม ความลำเอียง 4 ประการ

  1. ฉันทาคติ
  2. โทสาคติ
  3. โมหาคติ
  4. ภยาคติ

ฉันทาคติ

คือ ความลำเอียง เพราะชอบพอ รักลำเอียง เกิดความรักทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมเข้าข้าง

ฉันทาคติ มาจากคำว่า ฉันทะ + อคติ

ฉันทะ หมายถึง ความชอบใจ หรือ ความพอใจ

ต้องแยกให้ออกระกว่าง ความ รัก ความ หลง

      • ความรัก คือความ “ปรารถนาดี” ต่ออีกฝ่ายอยากให้อีกฝ่ายมีความสุข
      • ความหลง คือ ความปรารถนา “อยาก” ให้อีกฝ่ายมาทำให้เรามีความสุข

      • ความรัก คือ การ “สนับสนุน” เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน เป็นแรงผลักดันให้ฝันของอีกฝ่ายเป็นจริง
      • ความหลง คือ การอยากให้อีกฝ่ายทำ “ตามใจฉัน” โดยไม่สนว่าเขาจะอยากทำหรือไม่

      • ความรัก คือ การให้ “ความสบายใจ” เมื่ออยู่ใกล้ ไม่ต้องบังคับมาครอบครอง เพราะทั้งสองต่าง อยากเป็นของกันและกัน
      • ความรัก คือ การถามตัวเองอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรให้เรา “ทั้งสอง” มีความสุข ให้ความสัมพันธ์ของเราราบรื่น ดำเนินไปด้วยดี
      • ความหลง คือ การถามตัวเองว่า ฉันจะต้อง “ได้” อะไรจากเขา ฉันจึงจะมีความสุข
      • ความรัก คือ การทำสิ่งที่อีกฝ่ายชอบด้วยความ “เต็มใจ” เพราะเรารู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้เขายิ้มได้
      • ความหลง คือ การ “อยาก” ให้อีกฝ่ายทำสิ่งที่เราชอบ เพื่อที่เราจะได้ยิ้มออก
      • ความรัก คือ การยอมรับใน “ตัวตน” ของคนที่เรารัก หลง คือ การคิดว่าตัวเองรักในตัวตนของเขา แต่จริงๆแล้วเรารัก “เปลือก” ของเขามากกว่า

      • สำหรับผู้ชาย ลองคิดดูว่าถ้าแฟนเราแก่ตัวขึ้นมา หน้าเหี่ยว ผิวหนังหย่อนยาน เราจะยังรักเขาอยู่ไหม
      • สำหรับผู้หญิง ลองคิดดูว่าถ้าเกิดวิกฤติ ฝ่ายชายล้มละลาย ไม่มีรถหรู บ้านสวย เราจะยังอยู่เคียงข้างเขาในวันที่เขาล้มอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ ลองกลับมาคิดกับตัวเองดีๆว่าเรารักเขาเพราะอะไร

      • ความรัก คือ การ “ปรับปรุง” ข้อเสียของเราเองเพื่อให้อีกฝ่ายมีความสุข แต่ต้องไม่ทุกข์ ไม่งั้นการเปลี่ยนแปลงไปไม่นาน เราก็จะกลับมาเป็นคนเดิมอีก
      • ความหลง คือ การบอกให้อีกฝ่าย “เปลี่ยนแปลง” ตัวเองเพื่อให้เรามีความสุข
      • ความรัก คือ ความ “เข้าใจ” ในความไม่สมบูรณ์แบบของเขา
      • ความหลง คือ ความ “ต้องการ” ให้เขาสมบูรณ์แบบตามภาพที่เราวาดไว้
      • ความรัก คือ การ “ปรับตัว” ให้เข้าหากันทั้งสองฝ่าย
      • ความหลง คือ การ “อยาก” ให้อีกฝ่ายปรับตัวเขาหาเรา
      • ความรัก คือ การ “ให้” โดยไม่ได้หวังว่าเราจะต้องได้อะไรตอบแทนในขณะเดียวกัน ผู้รับก็จะอยากตอบแทนความรักหากได้มันมา ดังนั้น ถ้าได้คบคนที่มีจริตของ Give & Take ที่เหมือนกันจะอยู่กันได้นานกว่าคนที่มีความคิดเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน (เพราะฝ่ายที่ให้อยู่อย่างเดียวก็จะรู้สึกไม่ค่อยโอเคแม้ว่าเขาจะไม่หวังก็ตาม)
      •  ความหลง คือ การให้โดย “คาดหวัง” ว่าเขาจะต้องให้เราตอบแทน ถ้าเขาไม่ให้ตอบ เราก็เป็นทุกข์

โทสาคติ

คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง ไม่รักไม่เข้าข้าง

โทสาคติ มาจากคำว่า โทสะ + อคติ

โทสะ หมายถึง ความโกรธ

ปัจจัยที่ก่อเกิดความโกรธหรือชิงชังในคัมภีร์ปริวาร

    • ความโกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    • ความโกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    • ความโกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    • ความโกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
    • ความโกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
    • ความโกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรักเข้าข้าง
    • ความโกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
    • ความโกรธเพราะกำลังทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
    • ความโกรธเพราะคิดจะทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง

โมหาคติ

คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา หลงอำนาจ

โมหาคติ มาจากคำว่า โมหะ + อคติ

โมหะ หมายถึง ความหลง ความลุ่มหลง

ภยาคติ

คือ ความลำเอียงเพราะกลัว

ภยาคติ มาจากคำว่า ภยะ + อคติ

ภยะ หมายถึง ความกลัว ความหวาดหวั่น หรือ มักเรียกกลายเป็นศัพท์ว่า ภัย

          คนที่ถูกอคติ แปลว่า ครอบงำ ย่อมเป็นคนที่ความคิดเห็นไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เป็นมิจฉาทิฐิ ทำให้เป็นคนที่มีความพยาบาทในจิตใจ ก่อความวุ่นวายเบียดเบียนผู้อื่นอยู่เสมอ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง โดยจะแสดงอคติในจิตใจออกมาทางวาจา

    • ด้วยประพฤติวจีทุจริต 4 คือ การพูดเท็จ การพูดคำหยาบ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ เป็นนิสัย
    • ทางกาย ด้วยการประพฤติกายทุจริต 3 คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม

         อคติย่อมทำให้อาชีพที่ทำอยู่เป็นอาชีพทุจริต อคติย่อมทำให้ขวนขวายในสิ่งที่ทุจริตเสมอ จิตใจย่อมหมกมุ่นนึกคิดแต่เรื่องการประพฤติทุจริต แล้วจดจ่อแต่จะทำทุจริตด้วยอำนาจของอคตินั้น คนที่ถูกอคติครอบงำอยู่ ย่อมไม่รู้สึกตัวว่าทำทุจริตดังกล่าวมา ด้วยสำคัญผิดว่าตนได้ทำถูกแล้ว

อคติ คือ

แนวทางการละอคติ 4

  1. ไม่คบคนพาล
  2. จักกสูตร 4 ประการ
    • อยู่ในประเทศอันสมควร หมายถึง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นคนดี
    • การคบสัตบุรุษ
    • การตั้งตนไว้ชอบ คือ ยึดมั่นในการประพฤติตนให้เป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอ
    • ความเป็นผู้มีบุญที่ทำไว้ในปางก่อน คือ เชื่อถือในความดีงามที่ทำมาว่าจะเกิดกุศลกรรมที่ดีงามต่อเราในภพนี้ และภพหน้า
  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ตั้งมั่นในความเห็นชอบ
  2. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาสภาพจิตของตนเอง
  3. กุศลวิตก 3 คือ การตรึกตรองถึงสิ่งที่เป็นกุศล 3 อย่าง คือ
    • การตรึกตรองที่เว้นจากกาม
    • การตรึกตรองที่เว้นจากพยาบาท
    • การตึกตรองที่เว้นจากการเบียดเบียน

            ใจที่อคติจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง คลายทุกข์ภายในใจได้ด้วยการยอมรับ ตามหลักการใช้ศีล มีสมาธิ และสร้างปัญญาที่จะน้อมนำมาให้เกิดความตื่นรู้ และความสงบในจิตใจ

            การแก้ไขตนเองไม่ให้มีอคติเกิดขึ้นในจิตใจ จึงจำเป็นต้องทำตนเองให้เป็นผู้มีสติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวปฏิบัติเรื่องสติ ไว้ในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 16 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ความว่า

“ความรู้สึกระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไร หรือเรียกสั้นๆว่า “สติ” นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้บุคคลหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด และแม้แต่จะคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว มีคุณมีประโยชน์หรือเสียหาย ควรกระทำหรือควรงดเว้นอย่างไร เมื่อยั้งคิดได้ ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างละเอียดประณีต และสามารถกลั่นกรองเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์ ออกได้หมด คงเหลือเนื้อแท้ที่ถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งเป็นของควรคิดควรพูดควรทำแท้ๆ”

คำค้น : คือ ประการ มีอะไรบ้าง อคติ4 คือ คุณธรรมข้อใด คือ คุณธรรม อคติ4 คือ คืออะไร อคติ4 ความหมาย อคติ4 คือคุณธรรมข้อใด วิบัติ 4 อคติ4 มีอะไรบ้าง อคติ4 ประกอบด้วย อคติ4 หมายถึง อคติ4 คืออะไร สมบัติ 4 หมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง หมายถึง ประกอบด้วย คือ คุณธรรมในข้อใด คือ คุณธรรมอะไร คือคุณธรรมข้อใด อคติ ๔ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และหมายความว่าอย่างไร อคติ ๔ ได้แก่ อคติ4 ประการ คืออะไรและประกอบด้วยอะไรบ้าง การ์ตูน ตัวอย่าง

 

แหล่งอ้างอิง :
พระไตรปิฎกแปลไทย ฉบับหลวง พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรคที่ 2อคติสูตรที่ 3
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม : สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พ.ศ.2546
thai.luxurysocietyasia.com/klwtt/
https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000113423
shopback.co.th/blog/sm-hi-ความรักกับความหลง/
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2112730
https://board.postjung.com/1049622

 

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
คําอวยพรวันคริสต์มาส
ปก ฝันเขียนเลข
บัญชี1
ปก การเลือกซื้ออุปกรณ์ไอที ใช้งานที่บ้าน
เกมส์นี้มีกราฟิกและภาพสวยงาม
ทฤษฎีเกมหมากรุกคืออะไร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ดูดวง
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 171641: 1330