ศีล8

ศีล 8 มีอะไรบ้างถือที่บ้านได้ไหมข้อห้ามที่ไม่มีใครพูดจบครบ?

Click to rate this post!
[Total: 280 Average: 5]

ศีลแปด

ศีลทั้งแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระอนาคามีโดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า “ปกติอุโบสถ” และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า “ปฏิชาครอุโบสถ”

ศีล แปด มี อะไร บ้าง

ศีล 8 มีอะไรบ้าง พร้อมคําแปล

ศีล 8
ข้อที่ บทสวดศีล8 คำแปล

1

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 

เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

2

อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 

เว้นจากการขโมยสิ่งของที่คนอื่นไม่ได้ให้

3

อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 

เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์​ เว้นจากเรื่องที่ทำให้จิตเศร้าหมอง เว้นจากการผิดลูกผิดเมีย

4

มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการพูดโกหก ไม่พูดหยาบคาย ส่อเสียด เพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นสัมมาวาจา วาจาสุภาษิต

5

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการกินเหล้า ที่เป็นที่ตั้งของความไม่ระมัดระวัง

6

วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการกินในยามวิกาล (หลังเที่ยงวันถึงรุ่งเช้าของวันใหม่)

7

นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ 

เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม

8

อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการขโมยสิ่งของที่คนอื่นไม่ได้ให้
  3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์​ เว้นจากเรื่องที่ทำให้จิตเศร้าหมอง เว้นจากการผิดลูกผิดเมีย
  4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการพูดโกหก ไม่พูดหยาบคาย ส่อเสียด เพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นสัมมาวาจา วาจาสุภาษิต
  5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการกินเหล้า ที่เป็นที่ตั้งของความไม่ระมัดระวัง
  6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการกินในยามวิกาล (หลังเที่ยงวันถึงรุ่งเช้าของวันใหม่)
  7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
  8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี

ถือศีล 8

ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีล กับ ศีล 8

  1. อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้องดเว้น 8 ข้อเหมือนกัน
  2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
  3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
  4. อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
  5. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี

ศีลแปดมีอะไรบ้าง

ถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง

ศีล 8 มีความหมายคือสำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล 5 แต่เปลี่ยนข้อ 3 และเติมข้อ 6 – 7 – 8 คือ

  1. เว้นจากทำลายชีวิต
  2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
  3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
  4. เว้นจากพูดเท็จ
  5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
  6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
  7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
  8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

การ รักษา ศีล 8

อุโบสถศีล คือ

อุโบสถศีล หมายถึง ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ มาจากคำว่า อุโบสถ และ ศีล

มีความหมายดังนี้

  • อุโบสถ หมายถึง การเข้าจ า หรืออยู่จ า เพื่อหยุดการงานทางโลก พักการงานทางบ้าน เป็นอุบายควบคุมกาย วาจา ใจให้สงบและขัดเกลากิเลส เป็นการเข้าอยู่จำรักษาศีลประพฤติพรหมจรรย์ ใช้ชีวิตตามวิถีพุทธด้วยวัตรปฏิบัติที่พิเศษยิ่งขึ้น
  • ศีล หมายถึง เจตนาหรือความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย มีค าแปลหลายอย่างตามรูปศัพท์ภาษาบาล

อุโบสถศีล เปรียบเสมือน ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นเดียวกับศีล 8 อุบาสกอุบาสิกาจะ สมาทานรักษาเป็นประจำในวันพระ คือ วันขึ้น และแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ (แรม 14 ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบท และองค์แห่งศีลเหมือนกัน ต่างกันแต่คำอาราธนา คำสมาทาน และกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น

เพิ่มเติม : อุโบสถ เป็นการเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจำศีล การถืออุโบสถจะมีเวลากำหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกำหนดเอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นหรือเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น ซึ่งมีสองระยะ คือ มีแสงขาว เรื่อๆ (แสงเงิน)และแสงแดง (แสงทอง) ในเวลาย่ำรุ่ง เป็นการหมดเขตการสมาทานหรือหมดเวลา การรักษาอุโบสถศีล ส่วนศีล 8 ไม่มีเวลากำหนด สามารถรักษาได้ตลอดเวลา

บทสวดศีล8

การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน ดังนั้นการรักษา อุโบสศีลจึงต้องรักษารวมกันทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไปก็คือว่าศีลขาดจากความเป็นผู้รักษา อุโบสถศีล ประเภทของอุโบสถศีล

อุโบสถศีล 3 ช่วงเวลา

แบ่งออกตามช่วงเวลาในการรักษาศีลได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ปกติอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลา 1 วัน กับ 1 คืน โดยมากรักษากันในวันขึ้น หรือแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ หรือเป็นการรักษากันในวันพระนั่นเอง ปกติอุโบสถ จัดเป็นอุโบสถขั้นต้น
  2. ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลานานถึง 3 วัน ตัวอย่างเช่น วัน 7 ค่ำ เป็นวันรับอุโบสถ วัน 8 ค่ำเป็นวันรักษาอุโบสถ วัน 9 ค่ำ เป็นวันส่งอุโบสถ รวมเป็น 3 วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง ปฏิชาครอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นกลาง
  3. ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่มีกำหนดเวลาดังนี้
    • อย่างต่ำ เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึง แรม 14 ค่ำ เดือน 11 รวม 14 วัน
    • อย่างสูง เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวม 4 เดือน ปาฏิ- หาริยอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นสูง

อุโบสถ 3 ประเภท

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขาเรื่องอุโบสถศีลไว้ใน อุโปสถสูตร1) ว่ามี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งออกตามวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ คือ
 
  1. โคปาลกอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค
  2. นิคัณฐอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์
  3. อริยอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างอริยสาวก

โคปาลกอุโบสถ เป็นของคนที่รักษาไม่จริง เมื่อสมาทานศีลอุโบสถแล้ว แทนที่จะรักษาและ ปฏิบัติธรรมตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืน กลับไปคุยกันถึงเรื่องไร้สาระ เช่น วันนี้ได้กินอาหารอร่อยถูกปากอย่างนี้ พรุ่งนี้เราจะต้องเตรียมอาหารอย่างนี้มากินอีก เพราะอาหารอย่างนี้ใครๆ ก็ปรารถนา

ดังนั้น จึงเรียกการรักษาอุโบสถประเภทนี้ว่า เป็นเหมือนคนเลี้ยงโคที่มอบโคคืนเจ้าของในตอนเย็น แล้วคิดว่า วันนี้โคเที่ยวหากินหญ้าที่ทุ้งหญ้าโน้น ดื่มน้ำที่ลำธารโน้น วันพรุ่งนี้จะต้อนไปทุ่งหญ้าโน้น ดื่มน้ำลำธารสายโน้น เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อยๆ

นิคัณฐอุโบสถ เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนิกายหนึ่งที่มีนามว่า นิครนถ์Ž (นักบวชนอกศาสนา ที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร ปัจจุบันคือศาสนาเชนที่ยังอยู่ในอินเดีย) มีวิธีการ คือ ชักชวนสาวกให้ต้อนตี สัตว์ไปในทิศทางต่างๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิด บ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิด บ้างก็ ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ ฯลฯ พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติอุโบสถทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

อริยอุโบสถ เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียร คือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิตเสียได้ ครั้นแล้วก็ระลึกถึงพระธรรมคุณ พระสังฆคุณตามลำดับ หรืออีกอย่างหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างพร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกติเตียน เป็นทางแห่งสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมละอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ หรืออีกอย่างหนึ่งระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดาว่า เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี พรหมกายิกา และเหล่าเทวดาที่สูงขึ้นไป กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้นๆ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นนั้นของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติ ปราโมทย์ ละกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้

อริยอุโบสถนั้น เป็นอุโบสถของพระอริยบุคคลผู้เว้นได้เด็ดขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลัก ทรัพย์ เว้นจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ เว้นจากการกล่าวคำเท็จ เว้นจากการเสพของมึนเมา เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และการทัดทรง ตกแต่ง เครื่องประดับ เครื่องไล้ทา และเว้นจากการนั่ง หรือนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี แล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก

ที่ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบให้นางวิสาขาเห็นว่า พระราชา เสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ถือว่า การเสวยราชสมบัตินี้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว แต่ยังไม่ได้ถึงเศษเสี้ยวที่ 16 ของอานิสงส์ที่เกิดจากการสมาทาน รักษาอุโบสถศีลเลย 1) อุโปสถสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 510 หน้า 382.

อุโบสถศีล เป็นกุศลวิธีที่นำพามนุษย์ไปสู่ สวรรค์มาตั้งแต่มนุษย์ยุคต้นกัป ถ้าเป็นอุโบสถในพระพุทธศาสนา เรียกว่า อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ซึ่งก็หมายถึงรักษาศีล 8 ในวันพระนั่นเอง ในยุคสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา ผู้ปรารถนาสวรรค์จะชักชวนกันรักษาอุโบสถศีล เพราะถือว่าเป็นอริยประเพณีที่มีมาช้านาน แม้กระทั่งพระเจ้าจักรพรรดิราช ก่อนจะทรงครองความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง 4 ก็ต้องสมาทานอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัดทุกๆ วันขึ้น 15 ค่ำ อานิสงส์ของอุโบสถศีลทำให้ รัตนะทั้ง 7 ประการ มีจักรแก้ว เป็นต้น บังเกิดขึ้น เป็นของคู่บุญ ทำให้พระองค์ทรงสามารถปกครองโลกให้เกิดสันติสุข ครั้นละโลกแล้วก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติโลกสวรรค์

อุโบสถศีล มี 8 ประการ

อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ 8 มีดังนี้ คือ 

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
  2. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
  3. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์
  4. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ
  5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
  6. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล
  7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่อง ทาอันจัดว่าเป็นการแต่งตัว
  8. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่

อาราธนาศีล 8

มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)

 คำอาราธนาศีล8

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)

บทไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

บทไตรสรณคมน์

คำสมาทานศีล 8 หมายถึง คำรับศีลจากพระภิกษุ

  1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เจตนา เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
  2. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว,ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล
  3. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
  4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น
  5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
  6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ( ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ )
  7. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆและดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
  8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณและที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ

ถ้าให้อุโบสถศีล พึงว่าตามพระผู้ให้ศีลทีละท่อนดังต่อไปนี้

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ, ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, อันประกอบด้วยองค์ 8 ประการนี้, เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาดไม่ให้ทำลาย, ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้ )

พระว่าต่อ

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ

(พึงรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต

แล้วพระสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไป ดังนี้

สีเลนะ สุคะติง ยันติ
(บุคคลจะมีความสุขเพราะศีล)
สีเลนะ โภคสัมปะทา
(บุคคลจะมีโภคทรัพย์เพราะศีล)
สีเลนะ นิพพุติงยันติ
(บุคคลจะตรัสรู้เข้าสู่นิพพานได้เพราะศีล)
ตัสมา สีลัง วิโสธะเยฯ
(จงพากันทำศีลให้บริสุทธิ์ แล้วจะมีความสุขตลอดไป)

การรักษาอุโบสถศีล มีผลมาก มีอานิสงส์มาก แม้ความสุขของพระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน 16 แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของอุโบสถ
ที่ประกอบด้วยองค์ 8 เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์” เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีล เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้น ก็เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวชโดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัดจนกว่าจะครบกำหนด ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล ด้วยตนเอง จะเปล่งวาจาสมาทานหรือเพียงแต่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ทั้งนั้น

ศีล 10 ข้อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส อุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง 16 แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญอันเกิดจากการ รักษาอุโบสถเลย เพราะสมบัติมนุษย์เป็นสมบัติ หยาบเหมือนสมบัติของคนกำพร้า มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพรากซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวยทิพยสมบัติอันยาวนานในสวรรค์ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ การรักษาอุโบสถศีลนี้ แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน แต่กลับสามารถส่งผลให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้ ดังเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัยพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า

ศิลแปด

ศีล 8 กินอะไรได้บ้าง

ศีล 8 ที่บ้าน

ถึงแม้ว่าอยู่บ้าน แต่ก็ควรจะมีการวางแผนตั้งโปรแกรมการปฏิบัติธรรมให้พร้อม ด้วยการเตรียมพานดอกไม้เครื่องสักการะ ให้เรียบร้อย ซึ่งสิ่งของสำหรับเครื่องสักการะที่จำเป็น เช่น ดอกไม้สด ธูป 3 ดอก เทียนเหลือง 2 เล่ม สำหรับไว้บูชา ถ้าบ้านไหนมีห้องพระ ก็ถือปฏิบัติในห้องนั้นเลยยิ่งดี แล้วตามด้วยการอาราธนาศีล 8

ถือศีล 8 เล่นโทรศัพท์ได้ไหม

โดยปกติแล้ว ศีล 8 ถือ กำเนิดมาก่อนที่จะมีโทรศัพท์ จึงไม่ได้มีระบุไว้ในการถือศีลต่างๆ แต่หากเราตั้งใจจะถือศีลแล้ว ก็ไม่ควรที่จะเล่นโทรศัพท์ ที่อาจจะทำให้จิตใจไขว้เขว ไปทำในสิ่งที่ผิดศีลแปดที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้นเอง และบางวันก็ถือเป็นกฎที่ห้ามเล่นโดยเด็ดขาด หากเราถือ อุโบสถศีล8 ที่วัด
สรุป เล่นได้แต่ไม่ควรเล่น และบางวัดก็ถือเป็นกฎหมายเล่นมือถือเลย

การทาครีมกันแดดผิดการรักษาศีล 8 ไหม

การถือศีล 8 หากเราถือ อุโบสถศีล8 ที่วัดหรือที่บ้าน ไม่ควรทาครีมกันแดด ตามที่ระบุไว้ในข้อ 7 คือ นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม

คำค้น : มีอะไรบ้าง บทสวด การรักษา ทาครีมได้ไหม อาราธนาศีล คำอาราธนาศีลบทสวด กับศีล10ต่างกันอย่างไร ภาษาอังกฤษ น้ําปานะ พร้อมคําแปล ทาครีมได้ไหม ศีล๘ ข้อห้าม มี-อะไร-บ้าง ข้อ น้ำปานะ ภาษาบาลีพร้อมคำแปล บทสวดมนต์ pantip ความหมายของ อุโบสถศีลกับ คํากล่าวลา การสมาทาน ได้แก่อะไรบ้าง คือ แปล กินกาแฟได้ไหม สวดมนต์ การรับ คําลาสิกขา ลาสิกขา อานิสงส์ของ อาราธนา ให้ ข้อมีอะไรบ้าง การสมาทานด้วยตนเอง อุโบสถศีลกับต่างกันอย่างไร คําสมาทานคนเดียว ศีลแปด ศีล5 คืออะไร เป็นศีลที่ หมายถึง รักษามีอะไรบ้าง กินอะไรได้บ้าง คำอาราธนาศีล5 พุทธวจน ถอน

ที่มา:wikipedia.org
https://www.dmc.tv/pages/praying/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5-8-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5-8-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5.html

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

TCAS
แจ้งหนี้
คำประสบ
กำแพงเบอร์ลิน
personal finance
เลี้ยงหมา
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172575: 659