ต้นทุนขาย

ต้นทุนขาย งบต้นทุนการผลิตสิ่งต้องรู้ก่อนคำนวณไม่พลาดครบจบ?

Click to rate this post!
[Total: 228 Average: 5]

ต้นทุนขาย

ต้นทุนขาย

ต้นทุน ขาย

ต้นทุนขาย คือ ( cost of good sold ) ต้นทุนที่ได้มาของสินค้า เช่น หากประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ต้นทุนขายจะหมายรวมถึง ต้นทุนในกระบวนการผลิตทั้งหมด เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆเป็นต้น โดยต้นทุนขายจะปรากฏอยู่บนงบกำไรขาดทุนของกิจการ และยังเป็นส่วสหนึ่งของ งบต้นทุนการผลิตอีกด้วย

ต้นทุนขาย-คือ

ต้นทุน ขาย-คือ

cost of good sold หรือ cogs คือ ต้นทุนที่ใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้านั้น หากว่าบริษัทหรือผู้ขายเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นเอง ต้นทุนขายจะเป็นการรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ค่าต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าโดยตรง แต่หากเป็นกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ต้นทุนขาย มักจะเป็นราคาต้นทุนที่มาจากการจ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมาขาย โดยตัวต้นทุน ขายจะปรากฏอยู่บนงบกำไรขาดทุนของบริษัท

สูตร การหาต้นทุนขาย 

ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

การบันทึกบัญชีต้นทุนต้นทุน ขาย คือ ต้นทุนของสินค้าที่กิจการได้ขายไปในระหว่างงวดบัญชี กิจการสามารถคํานวณ ต้นทุน ขายได้โดยตรงด้วยการนําจํานวนหน่วยที่ขายมาคูณกับราคาต่อหน่วย หรือคํานวณโดยอ้อม ด้วยการนําราคาทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวดไปหักออกจากต้นทุนสินค้าที่มีไว้ขาย

ประกอบด้วยรายการ 3 รายการด้วยกัน คือ

  1. สินค้าคงเหลือวันต้นงวด
  2. ต้นทุนการซื้อ สุทธิ
  3. และสินค้าคงเหลือปลายงวดที่ยังขายไม่ได้

เจ้าของกิจการส่วนใหญ่อยาก มักจะทราบว่าต้นทุนสินค้าที่ขายได้ในแต่ละงวดบัญชีสูงขนาดไหน เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเพื่อวางแผน และนำไปปรับใช้ในกิจการต่อไป

สมการบัญชี

สมการบัญชี

ต้นทุนขาย-

ต้นทุน ขาย

สูตรต้นทุนขาย ต้นทุน ขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ต้นทุนการซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

  • สินค้าคงเหลือต้นงวด และสินค้างคงเหลือปลายงวด
    • สินค้าคงเหลือต้นงวดนั้น ถ้ากิจการเพิ่งเริ่มดําเนินการในปีที่ 1 จะไม่มีสินค้าคงเหลือต้นงวดในงบกําไรขาดทุน ถ้าสินค้าซื้อมาแล้ว ขายไม่หมดจึงจะมีสินค้าคงเหลืออยู่ในปีที 1
    • สินค้านี้จะเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดได้โดยการปิดบัญชี บริษัททำการตรวจนับ ในปีถัดไปสินค้าคงเหลือปลายงวดของปีที่ 1 จะกลายเป็นสินค้าคงเหลือต้นงวดของปีที่ 2
  • ต้นทุนการซื้อสุทธิ (Purchases of Merchandise)
    • การซื้อที่นํามาคํานวณหาต้นทุนขายคือ ยอดต้นทุนสินค้าที่ซื้อมา ยอดซื้อสินค้านี้เน้น ในเรื่องซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อ มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
      • ซื้อสุทธิ = ซื้อ ส่งคืนสินค้าส่วนลดรับ + ค่าขนส่งเข้า

สูตรบัญชี

  • สินค้าส่งคืนและสวนลด (Purchases Returns and Alowances) เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะทําการตรวจและนับจํานวนสินค้าว่าตรงตามใบกํากับสินค้า และตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ บางครั้งผู้ซื้อพบว่าสินค้าที่ส่งมาเสียหายชํารุด สีและขนาดไม่ตรงตามสั่งจะมีการส่งคืนทันที ถ้ามีการส่งคืนสินค้าเรียกว่า Returns แต่ในบางครั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลง กันได้โดยผู้ขายยินยอมลดราคาให้เรียกว่า Allowances ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการส่งคืนตัวสินค้าหรือการให้
  • ส่วนลด ผู้ซื้อจะบันทึกไว้ในบัญชีสินค้าส่งคืนและส่วนลด และนําไปแสดงหักจากยอดซื้อสินค้าใน งบกําไรขาดทุน เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบถึงการทํางานของฝ่ายจัดซื้อว่ามีประสิทธิภาพมากน้อย แค่ไหน ถ้าตัวเลขส่งคืนเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ต้องนํามาพิจารณาเพื่อหาลู่ทางลดตัวเลขนี้ลงโดยการเปลี่ยน ระบบการจัดซื้อ วิเคราะห์และตรวจสอบการจัดซื้อ เป็นต้น
  • ส่วนลดรับ (Purchase Discounts) ส่วนลดรับเหมือนส่วนลดจ่ายตามที่ได้กล่าวมาแล้วคือ ส่วนลดจ่ายเกิดจากผู้ขายให้กับผู้ซื้อ ฝ่ายผู้ขายเรียกว่าส่วนลดจ่าย ฝ่ายผู้ซื้อเมื่อได้รับส่วนลดจะเรียกส่วนลดนี้ว่าส่วนลดรับ ส่วนลดนี้จะ ได้รับเมื่อมีการชําระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเชื่อให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้
    • ตัวอย่าง บริษัท ตัวอย่าง จํากัด ซื้อเชื่อสินค้ารวมเป็นเงินเชื่อทั้งสิ้น 1,012,500 บาท โดย เงื่อนไขชําระเงิน 2/10, n/30 บริษัทสามารถชําระหนี้ได้ภายในกําหนดเวลา 10 วัน เป็นเงินเพียง 512,500 บาท ได้รับส่วนลด 2%
    • เพราะฉะนั้น ส่วนลด = 0.02 x 512,500 = 10,250 บาท (รายการที่ 7) เงินที่จ่ายชําระหนี้ = 512,500 – 10,250 = 502,250
  • ค่าขนส่งเมื่อซื้อ (Freight-in) การซื้อขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทําความตกลงกันในเงื่อนไขการขนส่งขาย (Term of sale) ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ว่าใครเป็นผู้ขนส่ง แบ่งได้ ดังนี้
    • F.O.B. Shoping point (Free on board at the shipping point) ผู้ขายรับผิดชอบค่าขนส่ง จากประตูของผู้ขายไปถึงท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้น ผู้ซื้อต้องเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งจากท่าเรือขนถ่าย สินค้านั้นจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกําหนดให้ไปส่ง
    • F.O.B. Destination ผู้ขายรับผิดชอบจ่ายค่าขนส่งจากประตูโรงงานของ ผู้ขายจนถึงที่ทําการของผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อกําหนดให้ ราคาสินค้าที่ซื้อตามเงื่อนไขนี้ผู้ขายย่อมบวกค่า ขนส่งเข้าไปในราคาขายเรียบร้อยแล้ว
    • C.F. (Cost insurance and Freight) เป็นการระบุเงื่อนไขนี้ค่าขนส่งจะเป็นจาก จุดไหนถึงจุดไหนจะต้องเขียนไว้ให้ชัดเจน เช่น “ค่าขนส่งนี้ผู้ขายจะส่งให้ท่านถึงท่าอากาศยาน ดอนเมือง กรุงเทพฯ” ค่าขนส่งดอนเมืองถึงสถานที่ทําการของผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องจ่ายเอง

งบต้นทุนขาย

ต้นทุน ขาย (Cost of Goods Sold/Cost of Sales) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่กิจการจำหน่ายไปในระหว่างงวดบัญชี ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

สินค้าคงเหลือต้นงวด+ซื้อสุทธิ (ซื้อสินค้า+ค่าขนส่งเข้า-ส่งคืนสินค้า-ส่วนลดรับ) – สินค้าคงเหลือปลายงวด

ต้นทุนขาย


ตัวอย่าง งบต้นทุนขายตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต

งบต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold Statement) เป็นงบที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าขาย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 หัวงบ 3 บรรทัด
  • ส่วนที่ 2 สินค้าคงเหลือต้นงวด      
  • ส่วนที่ 3 ซื้อสุทธิ
  •  ส่วนที่ 4 สินค้าคงเหลือปลายงวด
การ-บัญชี-ต้นทุน

การ-บัญชี-ต้นทุน

สินค้าคงเหลือ หมายถึง

ถ้าพูดถึงต้นทุน ขายจะไม่พูดถึงสินค้าคงเหลือคงไม่ได้ เนื่องจากเป็นบัญชีที่ที่ต้องนำไปคำนวณในการหาต้นทุน ขายหรือแม้กระทั้งอยู่ในงบต้นทุนการผลิต ก็มีส่วนที่ต้องใช้บัญชีสินค้าคงเหลือ เช่นกัน

มาตราฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ ได้ให้คำนิยามความหมายของสินค้าคงเหลือไว้ดังนี้

สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. 1. ถือไว้เพื่อขายตามลักาณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ
  2. 2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
  3. 3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ

สรุปง่าย ๆ หากสินค้ามีลักษณะที่เข้าจ้อใดข้อหนึ่งก็ให้ถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือตาม มาตราฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ

งบต้นทุนการผลิต

ตัวอย่างต้นทุนการผลิต

ตัวอย่างต้นทุนการผลิต

ต้นทุนผลิตสินค้า (Cost of Goods Manufactured)

ต้นทุนผลิตสินค้าของกิจการอุตสาหกรรม หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิต หรือแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 3 ประเภท คือวัตถุดิบ ค่าแรงงานโดยตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต

  1. 1.วัตถุดิบ (Raw Materials) หมายถึง สิ่งของที่กิจการอุตสาหกรรมนำมาทำการผลิตหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อผลิตเสร็จแล้ววัตถุดิบจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า วัตถุดิบที่จัดเป็นต้นทุนผลิตสินค้าประเภทแรกนี้หมายถึงเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต (Materials Consumed) เท่านั้น
  2. 2.ค่าแรงงานโดยตรง (Direct Labour) หมายถึง ค่าแรงงานของคนงานที่ทำการผลิตหรือแปรสภาพวัตถุดิบขึ้นเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยตรง
  3. 3.ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าแต่ไม่รวมถึงวัตถุดิบและค่าแรงงานโดยตรง

ตัวอย่าง งบต้นทุนการผลิต

งบต้นทุนการผลิต

งบต้นทุนการผลิต

การคํานวณ ต้นทุนการผลิต

  1. ต้นทุน-ขาย-คือ

การคิดต้นทุน กําไร การกําหนดราคาขาย

การกำหนดกำไร

การกำหนดกำไร

ราคาเป็นองค์ประกอบของส่วนประสมการตลาดที่นำรายได้ให้กับกิจการ ขณะที่องค์ประกอบอื่น ๆ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ดังนั้น การกำหนดราคาที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อกำไรของกิจการแต่การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้า    พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้า  ลูกค้าบางรายเลือกอาจซื้อสินค้าที่ราคาสูงแทนการเลือกสินค้าที่ราคาต่ำ ทั้งนี้เพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากคุณค่าของสินค้าไม่ใช่ราคา

การกำหนดราคาขาย

การกำหนดราคาขาย

ขั้นตอนการกำหนดราคา

  • การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา
  • การพิจารณาอุปสงค์
  • การคาดคะเนต้นทุน
  • การวิเคราะห์ต้นทุน ราคา และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน
  • การเลือกวิธีการกำหนดราคา
  • การตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย

1.การกำหนดราคาจากต้นทุน (Cost Based Pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่ง่ายและสะดวกที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยมาเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีวิธีการกำหนดรารา ดังนี้

  • 1.1  วิธีการกำหนดราคาแบบ Cost-Plus การกำหนดราคาวิธีนี้มาใช้ในกรณีที่กิจการไม่สามารถคาดการณ์ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าได้ หรือต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่แน่นอน กิจการจึงต้องกำหนดกำไรที่แน่นอนขึ้นมาก่อน และเมื่อทราบต้นทุนต่อหน่วยแล้วจึงนำต้นทุนนั้นไปบวกกับกำไรที่ต้องการ

ราคาขาย = กำไรต่อหนาวยที่ต้องการ + ต้นทุนต่อหน่วย

  • 1.2 วิธีกำหนดราคาแบบ Mark up เป็นการบวกส่วนเพิ่มโดยใช้สมการ ดังนี้

Price =  Cost + Mark up หรือ ราคา = ทุน + ส่วนเพิ่ม

                            วิธีการคำนวณ Mark up มีดังนี้

    • 1)  Mark up on Cost หรือ Mark on คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาทุน
    • 2)  Mark up on Selling Price หรือ Mark up คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาขายวิธีนี้ใช้มากในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง โดยมีพื้นฐานการคำนวณมาจากต้นทุนเช่นเดียวกัน
  • 1.3 วิธีกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอยแทนตามเป้าหมาย (Target Pricing) เป็นการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment : ROI) โดยต้องการกำไรเป็นร้อยล่ะเท่าใดของเงินลงทุน (Target Profit) เข้าไปในต้นทุนของสินค้าหรือเงินลงทุน โดยใช้สมการดังนี้

ราคา = ต้นทุนต่อหน่วย + อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ * เงินลงทุนจำนวนสินค้าที่ขาย

2. การกำหนดราคาจากอุปสงค์ (Demand Based Pricing) เป็นการกำหนดราคาโดยคำนึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)

3. วิธีบวกเพิ่มแบบลูกโซ่ (Mark up Chain) เป็นการตั้งราคาขายสินค้าโดยบวกเพิ่มจากซึ่งการตั้งราคาของคนกลางจะต่างกับผู้ผลิต   เพราะต้นทุนของคนกลางมักจะเป็นค่าเช่าคลังสินค้า ค่าเก็บรักษาสินค้า ค่าเช่าร้าน  เป็นต้น ซึ่งยากที่จะแยกออกมาเป็นต่อหน่วยของสินค้าได้ นอกจากนี้แล้ว คนกลางมักจะจำหน่ายสินค้าหลายชนิด ดังนั้น   ในการตั่งราคาที่ง่ายที่สุดจึงเป็นการบวกเพิ่มเข้าไปในต้นทุน    หรือราคาขายของสินค้าที่ซื้อมาโดยการกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่คิดว่าจะบวกเพิ่มให้กับสินค้าต่าง ๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าด้วย

ตัวอย่าง  บริษัทผู้ผลิตใช้ต้นทุนการผลิต 27 บาทต่อหน่วย ผู้ผลิตต้องการส่วนบวกเพิ่ม 10% ของราคาขาย ดังนั้น  จะขายสินค้าในราคา 27+3 = 30 บาท

การบัญชี ต้นทุน

ต้นทุน คือ จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอนตั้งแต่การแปรสภาพวัตถุดิบจนแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าสำเร็จรูป

การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) จึงหมายความถึง วิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 143060: 1898