ทักษะของนักบัญชี

ทักษะ ของนักบัญชีคุณสมบัติที่ไม่เคยมีใครบอกคุณครบ 3 ทักษะ?

Click to rate this post!
[Total: 192 Average: 5]

นักบัญชี

นักบัญชี

นักบัญชี

อยากเป็นนักบัญชีต้องรู้ ไขข้อสงสัยเรื่องนักบัญชี

            อาชีพบัญชีสำหรับใครที่เป็นนักบัญชีอยู่แล้ว หรือกำลังมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนักบัญชีควรจะต้องรู้จักกับเส้นทางของการเป็นนักบัญชีเสียก่อน เพราะการเป็นนักบัญชีแท้จริงแล้วไม่ได้ทักงานอยู่แค่กับตัวเลขเท่านั้น แต่รวมไปถึงการทำงานที่ครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ต่าง ๆ อีกหลายอย่างด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การเป็นนักบัญชียังสามารถทำสายงานที่เกี่ยวข้องได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี หรือที่เราเรียกว่าเป็น Audit ก็ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจะไขข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับการเป็นนักบัญชีว่ามีอะไรกันบ้าง ไปดูกันได้เลย

นักบัญชี คืออะไร ?

งานบัญชี (Accounting) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางบัญชี รวมถึงการบันทึก จัดเก็บ รวบรวม และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี  บันทึกรายรับรายจ่าย ตลอดจน การจัดทำรายงานทางการเงิน

ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เรียกว่า “นักบัญชี” ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เรียนจบมาทางสายงานบัญชี และต้องมีประสบการณ์ด้านบัญชีมาพอสมควร ซึ่งนักบัญชีคือผู้จัดการงานบัญชีของบุคคล องค์กรธุรกิจ โดยดูแลทั้งรายรับรายจ่าย รายการเดินบัญชีให้ถูกต้องและทันเวลา เพื่อให้ทราบถึงผลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกำไรและขาดทุน การทำบัญชีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ เพื่อเป็นแนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต

นักบัญชีมีลักษณะงานอย่างไร ?

  1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) เน้นการนำเสนอแก่ทั้งบุคคลภายในและภายนอกธุรกิจองค์กร ได้แก่ บุคคลในภายในบริษัททั่วไปลูกจ้าง สามารถดูรายการบันทึกบัญชีได้ นำเสนอแก่นักลงทุน นำเสนอแก่เจ้าหนี้ นำเสนอแก่ผู้ถือหุ้น หน่วยงานราชการเช่น กรมสรรพากร เป็นต้น
  2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) เพื่อนำเสนอแก่คนภายในองค์กรในระดับผู้บริหารโดยเฉพาะ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน วางกลยุทธ์องค์กรได้ ลักษณะข้อมูลเป็นข้อมูลเฉพาะเพื่อให้สะดวกต่อการเรียกดูข้อมูลเพื่อประชุมเพื่อวางแผน ฯลฯ ขององค์กรต่อไปได้ ได้แก่ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก เป็นต้น

ประเภทงานของการเป็นนักบัญชี มี 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. งานบัญชีของธุรกิจ (Private Accounting) คือ ลักษณะงานบัญชีแบบบัญชีทั่วไป หรือเป็นนักบัญชีที่รับทำให้แก่บริษัทเอกชนทั่วไปโดยจะมีตำแหน่งงานเฉพาะในบริษัทเอกชน หรือทำงานในสำนักงานบัญชีสักแห่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นนักบัญชีส่วนใหญ่เลยที่ได้ทำงานบัญชีธุรกิจเอกชน เพราะธุรกิจหน่วยงานเอกชนมีความต้องการนักบัญชีสังกัดของตนเองค่อนข้างสูง ยิ่งนักบัญชีที่มีประสบการณ์ก็จะถูกซื้อตัวผ่านหน่วยงานธุรกิจได้เช่นกัน
  2. งานบัญชีสาธารณะ (Public Accounting) คือ งานบัญชีอิสระ ที่ผู้ทำบัญชีจะให้บริการด้านการบัญชีโดยไม่ต้องเป็นลูกจ้างของหน่วยงาน หรือองค์กรใด โดยนักบัญชีสามารถรับทำอาชีพนักบัญชีอิสระตัวเองได้เลย เช่น เป็นนักบัญชีอิสระรับทำบัญชีเฉพาะด้าน รับจดบันทึกบัญชี ไม่ต้องขึ้นอยู่กับองค์กรใด โดยจะสามารถรับทำบัญชีได้ในหลายหน่วยงานองค์กร แต่นักบัญชีจะต้องรักษาความลับของแต่ละหน่วยงานให้ได้ นอกจากนี้การเป็นนักบัญชีอิสระยังสามารถเลือกรับงานสอนได้เอง โดยจะต้องมีวินัยการทำงานการเป็นนักบัญชีอิสระอย่างมาก เพราะถือว่าไม่ได้สังกัดหน่วยงานธุรกิจไหนเลย
  3. งานบัญชีของรัฐบาล (Governmental Accounting) คือ ลักษณะงานบัญชีที่ทำให้กับหน่วยงานรัฐบาล โดยนักบัญชี จะมีฐานะเป็นข้าราชการประจำของหน่วยงานราชการนั้น โดยการเข้าทำงานจะต้องกับหน่วยงานของรัฐฯ จะต้องผ่านการคัดเลือกไม่ว่าจะต้องผ่านการสอบคัดเลือก หรือสอบสัมภาษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เข้าทำงานหน่วยงานรัฐฯ

คุณสมบัตินักบัญชี

คุณสมบัติอะไร ..ที่ทำให้คุณเป็นนักบัญชีที่ดี

คุณสมบัตินักบัญชี

คุณสมบัตินักบัญชี

หากพูดถึงอาชีพนักบัญชีทุกคนก็คงจะนึกถึงนักบัญชีที่ต้องทำงานอยู่กับการทำงานกับเอกสารตัวเลขหรือคอมพิวเตอร์โปรแกรมเพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วนักบัญชีนั้นจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการเพื่อทำให้นักบัญชีนั้นเป็นบัญชีที่ดีและมีคุณภาพหรือเรียกง่ายๆว่าเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณของอาชีพนักบัญชีที่ดีนั้นเอง เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจรรยาบรรณในอาชีพครู จรรยาบรรณในอาชีพหมอและพยาบาล เป็นต้น นักบัญชีที่ดีได้จะต้องมีคุณสมบัตินักบัญชีเหล่านี้เพื่อให้บุคคลเป็นนักบัญชีที่ เรียกได้ว่ามีศักยภาพในการเป็นนักบัญชีที่ดีอย่างเต็มตัวได้นั่นเอง

  1. ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ

กล่าวคือนักบัญชีจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง  คำว่าซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของนักบัญชีจึงหมายความรวมไปถึงซื่อสัตย์ในอาชีพ นักบัญชีต้องซื่อสัตย์ในตัวเองไม่ว่าบริษัทหรือองค์กรที่ทำงานร่วมด้วยจะทราบข้อมูลเชิงลึกขนาดไหนนักบัญชีก็ต้องให้ข้อมูลอย่างเป็นความจริงตรงไปตรงมารวมทั้งนักบัญชีจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือความลับของบริษัท หรือแสดงตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินให้กับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องคนอื่นได้รู้ข้อมูลเป็นอันขาด ไม่ใช่แค่กระปุกคนภายนอกแต่หมายถึงในบริษัทเองด้วยเช่นกันนักบัญชีจะต้องให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นและเฉพาะกับบุคคลที่ได้ทำการตกลงกับบริษัทไว้แล้วเท่านั้น

  1. รอบคอบและรับผิดชอบ

กล่าวคือในการทำงานจำเป็นจะต้องอาศัยความละเอียดความรู้ความสามารถประกอบกับความรอบคอบจะทำงานอย่างลวก ๆ ให้เสร็จโดยเร็วโดยไม่ได้ไต่ตรองหรือพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหากไม่แน่ใจนักบัญชีไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่มีโอกาสผิดพลาด เพราะอาจจะส่งผลถึงการทำงานในระยะยาวทั้งต่ออาชีพนักบัญชีรวมทั้งบุคคลที่ทำงานร่วมด้วย นักบัญชีจะต้องรอบคอบด้วยการเก็บหลักฐานเอกสารอยู่เสมอ รวมทั้งจะต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี

  1. มุ่งมั่นตั้งใจและอดทน

อาจจะฟังดูเป็นคำที่ปกติไม่มีอะไรมากมายแต่แท้จริงแล้วในการทำงานระบบบัญชีจะต้องอาศัยความตั้งใจในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดีประกอบกับความอดทนจะย่อท้อแล้วทิ้งงานไปการคันไม่ได้เด็ดขาด

วันนี้คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีเหล่านี้จะต้องอาศัยความมุ่งมั่นและตั้งใจรวมไปทั้งจิตใจของนักบัญชีเองที่จะต้องรักในอาชีพของการเป็นนักบัญชีที่ดี ไม่ใช่แค่การคำนึงถึงผลประโยชน์แต่ตัวเองรับเงินเดือนและทำงานแต่ตัวเลขบัญชีเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นนักบัญชีก็ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นนักบัญชีที่ดีจะต้องเอาความเป็นมนุษย์ผสมผสานรวมลงไปกับการทำงานในอาชีพบัญชีได้เป็นอย่างดีการทำงานอาชีพบัญชีจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับตัวของนักบัญชีเอง รวมทั้งสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดกับตัวของผู้ที่ทำงานร่วมด้วยเช่นกัน

นักบัญชีทำงานอะไร

หน้าที่นักบัญชี

หน้าที่นักบัญชี

เลือกเป็นนักบัญชีแล้ว ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง

ใครหลายคนคงคิดว่านักบัญชีก็คงทำงานเหมือน ๆ กัน แค่ทำงานอยู่แต่กับตัวเลขเท่านั้น ทำเรื่องเกี่ยวกับงบการเงิน การบัญชีทั่วไปไม่ต่างกันมาก แท้จริงแล้วสำหรับนักบัญชีนั้นจะมีหน้าที่ด้วยกันหลายอย่างซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนักบัญชีเป็นหลักด้วยเช่นกัน และตำแหน่งของการทำงานนักบัญชีนั้นก็จะมีเหมือนตำแหน่งย่อย ๆ หลายตำแหน่งด้วยกัน ก่อนอื่นเลยเราต้องไปรู้จักกับนักบัญชีกันก่อนว่าเมื่อได้ตัดสินใจเรียนบริการธุรกิจ โดยเลือกเรียนด้านบัญชีการเงินแล้วจะมีสายงานหลัก ๆ อะไรกันบ้าง และเมื่อได้รู้จักกับสายงานแล้วก็จะชี้แจงหน้าที่ของนักบัญชีในตำแหน่งนั้นในลำดับถัดไป

เมื่อเลือกอาชีพเป็นนักบัญชีนักการเงินแล้ว ก็จะมองเห็นภาพได้ว่าสามารถเลือกเส้นทางอาชีพสายตรงได้ 4 สายหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. สายการธนาคาร (Banking)

มีหน้าที่ทำงานเป็นนักการเงินมีตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อธนาคาร ขายประกันภัยให้ธนาคาร แนะนำสินเชื่อให้ลูกค้า วิเคราะห์เครดิต วิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ การจัดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ต้องอาศัยทั้งความรู้การปล่อยสินเชื่อ งานบริหารเงิน ทั้งเงินบาทและสกุลต่างประเทศ การเป็นดีลเลอร์และเทรดเดอร์ โดยจะต้องมีไหวพริบการตัดสินใจ เพื่อเป็นที่ปรึกษาได้ด้วยเช่นกัน หากมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยจะมีประโยชน์อย่างมาก

  1. การเงินของบริษัท (Corporate Finance)

นักบัญชี นักการเงินที่ทำหน้าที่นี้จะเป็นเสมือนกระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแค่นักบัญชีเท่านั้น แต่อาจจะมีความสำคัญถึงขั้นเป็น Partner ให้ผู้บริหารด้วยเช่นกัน หน้าที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาเงินเพื่อนำเงินมาใช้บริหารจัดการของบริษัท โดยจะแบ่งเป็นใช้เงินทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า (Supplier’s Credit) รวมทั้งดูแลการใช้เงินและจ่ายเงินของธุรกิจองค์กร เรียกง่าย ๆ ว่าดูแลการเงินของบริษัทนั้นเอง

  1. สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking)

ตัวอย่างเช่นเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และวาณิชธนากรจะต้องทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ทำหน้าที่จัดโครงสร้างทางการเงิน หรือทำหน้าที่ด้าน Corporate Finance ดูแลการเงินของบริษัทอาจไม่สามารถดสินใจได้ แต่จะเป็นการให้คำแนะนำให้กับบริษัท

  1. สายจัดการลงทุน (Fund Management)

การทำงานที่เกี่ยวกับจัดการลงทุนเป็นงานวิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายบริหารเงิน หรืออาจจะจัดการลงทุนเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรที่มีเงินเหลือ เช่น ธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานสายจัดการลงทุนเพื่อให้องค์กรบริษัทอื่นได้ เช่น องทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย

นอกจากสายงานอาชีพเหล่านี้แล้วยังสามารถทำงานอาชีพหน้าที่อื่นได้ ตัวอย่างสายงานอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ครูสอนงานบัญชีการเงิน นักการเงินอิสระ เป็นต้น

ทักษะนักบัญชี

4 ทักษะของนักบัญชีที่ต้องมี เพื่อปิดบัญชีให้ทันและมีประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบกันดีว่าตำแหน่งนักบัญชีนั้นต้องมีความละเอียด รอบคอบ รวมทั้งความรู้ความสามารถมากพอ จึงจะสามารถนำทักษะ ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่นั้นมาเพื่อช่วยในการทำระบบบัญชีและรวมทั้งเพื่อปิดบัญชีให้ทันกำหนดได้ ทั้งนี้ทักษะที่นักบัญชีต้องมีเพื่อปิดบัญชีให้เสร็จสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพจะต้องประกอบไปด้วยทักษะอะไรบ้าง ไม่รอช้าเราไปดูกันเลย

  1. ขั้นตอนแรกนักบัญชีจะต้องวันกำหนดส่งให้ดี

สำหรับขั้นตอนที่ 1 นี้ผู้ที่ทำบัญชีทุกคนก่อนที่จะมีการปิดบัญชีจะต้องทำการยืนยันวันที่กำหนดส่งซึ่งเป็นวันสำคัญในการที่จำเป็นจะต้องยื่นเอกสาร เช่นจะมีการปิดงบการเงินงวดวันที่ 31 ธันวาคม วันสุดท้ายของการยื่นงบการเงินได้ก็คือวันที่  31 พฤษภาคม แล้ววันสุดท้ายของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  150 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งนับเป็นแบบยื่นออนไลน์ก็จะสามารถขยายเวลาเพิ่มขึ้นไปได้อีกประมาณ 8 วัน เป็นต้น Deadline ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ทำระบบบัญชีทุกคนทักษะของนักบัญชีในข้อนี้จึงจำเป็นจะต้องขาดไม่ได้เป็นอันขาดจะต้องคอยเช็ควันกำหนดส่งงานหรือวันเดธไลน์ในการทำเอกสารต่างๆให้ชัดเจน

  1. ต้องมีทักษะในการตกลงทำเอกสารที่ชัดเจน

กล่าวคือ เอกสารเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการทำระบบบัญชีในทุกอย่างเพราะการส่งเอกสารให้ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบการจะต้องส่งมอบเอกสารให้นักบัญชีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นักบัญชีจึงต้องมีความชัดเจนจะสร้างความคลุมเครือให้กับบริษัทธุรกิจหรือผู้ประกอบการไม่ได้เด็ดขาดจะต้องมีความพร้อมในเรื่องการเตรียมเอกสารจะต้องสามารถแนะนำเอกสารให้กับผู้ประกอบการได้ว่าเตรียมเอกสารอย่างไรถึงจะถูกต้อง รวมทั้งจะต้องสามารถที่จะตกลงทำเอกสารระบุวันรับเอกสารได้อย่างชัดเจนเพื่อเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นบริษัทจะต้องส่งเอกสารอะไรให้กับนักบัญชีบ้างนักบัญชีจะต้องแจ้งผู้ประกอบการเช่น รายการเดินบัญชีธนาคารของบริษัท เอกสารบัญชีประจำเดือนในเดือนสุดท้ายของบริษัท เป็นต้น

  1. ทักษะการสื่อสารต้องดีเพื่อสื่อสารให้ผู้ประกอบการหรือธุรกิจองค์กรเข้าใจง่าย

ในการทำบัญชีอาจจะมีภาษาทางด้านบัญชีในการทำงานแต่ในการสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้ประกอบการเพื่อแจ้งข้อมูลที่รับการตรวจสอบหรือการบันทึกบัญชี ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนเข้าใจง่ายและตรงไปตรงมารวมกระทั่งนักบัญชีจะต้องชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องของผลประกอบการและภาษีที่ต้องชำระหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ร่วมด้วย นักบัญชีไม่ควรคิดว่าเรื่องนี้ผู้ประกอบการรู้อยู่แล้วหรือธุรกิจจะต้องรู้แต่นักบัญชีจะต้องชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดได้เป็นอย่างดี

  1. ทักษะการวางแผนและทำงานร่วมกับผู้สอบบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้

ในการทำงานทางด้านระบบบัญชีนั้นนักบัญชีไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียวอยู่แล้วเพราะฉะนั้นผู้สอบบัญชีเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการปิดงบการเงินเพราะจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินประจำปี ดังนั้นนักบัญชีจะต้องมีการทำงานที่มีขั้นตอนตั้งแต่วางแผนไปจนถึงตกลงและเตรียมตัวในการทำเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับทั้งผู้ประกอบการผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ตรวจสอบบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องไม่มองว่าตัวเองทำงานแค่ระบบบัญชีกับคนที่ตัวเองสนใจเท่านั้นแต่นักบัญชีจะต้องทำงานแบบประสานงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน

แล้วนักบัญชีได้เงินเดือนเท่าไร เงินเดือนนักบัญชีสูงมากจริงหรือไม่?

นักบัญชีถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญในทุกแวดวงธุรกิจองค์กร ขาดนักบัญชีไปไม่ได้อย่างเด็ดขาดเพราะถือเป็นบุคคลที่จะช่วยทำให้องค์กรได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกและการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยทั่วไปของบริษัทได้ด้วย ไม่ว่าจะภาครัฐและภาคเอกชนองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ล้วนแต่ต้องการนักบัญชีเพื่อไปช่วยในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับนักบัญชีมืออาชีพหรือนักบัญชีมือสมัครเล่นหรือนักบัญชีที่เพิ่งจบใหม่คงมีคำถามว่าปัจจุบันนี้อาชีพนักบัญชีมีเงินเดือนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ วันนี้เราจึงนำตัวอย่างของรายได้ของนักบัญชีที่ใช้กันโดยทั่วไปทั้งนักบัญชีมือใหม่และนักบัญชีมืออาชีพ ว่ามีฐานเงินเดือนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับนักบัญชีโดยทั่วไปได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้วนักบัญชีนั้นจะได้เงินเดือนเท่าไหร่กัน

กลุ่มงานนักบัญชีที่ไม่มีประสบการณ์ (เป็นเด็กจบใหม่) สามารถแบ่งประเภทนักบัญชีออกเป็นตำแหน่งงาน ดังต่อไปนี้

  1. เจ้าหน้าที่บัญชี (Accounting Executive / Officer)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  15,000 – 25,000 บาท

  1. ผู้ช่วยฝ่ายบัญชี (Accounting Assistant)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  15,000 – 25,000 บาท

  1. นักวิเคราะห์บัญชี (Accounting Analyst)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  18,000 – 25,000 บาท

  1. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  20,000 – 28,000 บาท

สำหรับฐานเงินเดือนของผู้ที่มีประสบการณ์หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นเด็กจบใหม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสังกัดองค์กรหรือบริษัทที่ทำงานร่วมด้วยเช่นกันหากนักบัญชีเข้าไปในทำงานบริษัทที่เป็นเอกชนและต้องควบตำแหน่งถึง 2 ตำแหน่งฐานเงินเดือนก็อาจจะไม่ได้เป็นฐานเงินเดือนดังกล่าวข้างต้นก็ได้เช่นกัน

กลุ่มงานนักบัญชีที่มีประสบการณ์ สามารถแบ่งประเภทนักบัญชีออกเป็นตำแหน่งงาน ดังต่อไปนี้

  1. เจ้าหน้าที่บัญชี (Accounting Executive / Officer)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  28,000 – 40,000 บาท

  1. ผู้ช่วยฝ่ายบัญชี (Accounting Assistant)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  28,000 – 40,000 บาท

  1. นักวิเคราะห์บัญชี (Accounting Analyst)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  30,000 – 50,000 บาท

  1. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  30,000 – 60,000 บาท

ทั้งนี้ในเรื่องของเงินเดือนของนักบัญชีที่มีประสบการณ์จะได้เพิ่มตามวุฒิการศึกษาประกอบกับประสบการณ์ที่ได้ทำงานมารวมทั้งตำแหน่งงานที่ได้ทำงานในขณะนั้นด้วยเช่นกันหากนักบัญชีมีความรู้ความสามารถและผ่านประสบการณ์การทำงานมาในหลายบริษัทหรือหลายการทำงานในตำแหน่งนักบัญชีก็อาจจะมีเงินเดือนที่มากไปถึงระดับหลักแสนเลยก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามในการเป็นนักบัญชีนั้นขึ้นอยู่กับสังกัดบริษัทหรือองค์กรด้วยเช่นกัน ความแตกต่างในเรื่องของรายได้นั้นก็คือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆเรื่อง ทั้งประสบการณ์ บริษัทองค์กร เป็นต้น ยังไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น

การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

คงมีหลายคนหรือบางคนสับสนว่านักบัญชีการเงินกับนักบัญชีการบริหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรเพราะฟังดูแล้วก็ควรจะทำงานคล้ายๆกันแต่ทั้งนี้การทำงานของนักบัญชีการเงินและบัญชีการบริหารนั้นมีความแตกต่างกันหลายประการด้วยกันในเรื่องวัตถุประสงค์และหลักการทำงานก็มีความแตกต่างกัน ถึงนักบัญชีการเงินหรือได้ไงว่าเป็นการทำงานด้านบัญชีการเงิน (Financial Accounting) คนอื่นเราต้องรู้จักความหมายของการบัญชีการเงินกันก่อน

            ความหมายของการบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำข้อมูลทางการบัญชีโดยทั่วไป เพื่อนำข้อมูลทางบัญชีเหล่านั้นเสนอต่อบุคคลภายในหน่วยงานองค์กรเฉพาะแห่ง อาทิเช่น มีการจักทำงบบัญชีการเงินเพื่อเสนอต่อผู้บริหารของหน่วยงาน ABC หรือกรณีมีการจัดทำบัญชีขึ้นเพื่อนำเสนอต่อบุคคลภายนอกหน่วยงานเพื่อให้ทราบข้อมูลบางส่วน เช่น นำเสนอข้อมูลงบกระแสเงินสดหรืออื่น ๆ ต่อนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อมูลแสดงต่อเจ้าหนี้ ข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อเปิดเผยต่อหน่วยงานของรัฐอย่างกรมสรรพากร รวมทั้งจัดทำข้อมูลบัญชีขึ้นเพื่อให้บุคคลภายนอกทั่วไปที่ต้องการข้อมูลทางการเงินไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยในการจัดทำข้อมูลทางการบัญชีการเงินจะต้องมีการจัดทำไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ได้กำหนดเอาไว้แล้วเท่านั้น และจะต้องเป็นที่รับรองโดยทั่วไปด้วย จะไม่สามารถคิดแบบใหม่ขึ้นมาเองได้ เพื่อให้ความเข้าใจในการอ่านหรือตรวจสอบงานบัญชีที่ได้จัดทำ รวมทั้งการส่งมอบงานบัญชีการเงินที่จัดทำขึ้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความเข้าใจตรงกัน

            แล้วบัญชีบริหารต่างจากการบัญชีการเงินอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วนักบัญชีการเงินจะต้องทำบัญชีการเงินขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในงบการเงินต่าง ๆ โดยจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดที่มีมาทำระบบบัญชีขึ้น ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น และนักบัญชีการเงินจะมีการทำบัญชีการเงินเพื่อให้ทั้งคนในองค์กรหรือคนนอกองค์กรได้ดูข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับการบัญชีบริหารหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Management Accounting เป็นการทำบัญชีขึ้นเฉพาะเพื่อนำเสนอต่อบุคคลภายในองค์กรซึ่งเป็นในระดับผู้บริการเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลจะเป็นการดึงข้อมูลที่ได้สรุปมาแล้วบางส่วนเพื่อช่วยให้นักบริหารในองค์กรสามารถวางแผนและตัดสินใจดำเนินการอะไรบางอย่างต่อไปได้ ทั้งนี้นักบริการโดยทั่วไปแล้วจะขอเรียกดูข้อมูลเพียงบางส่วนซึ่งผู้ที่ทำงานบัญชีบริหารก็ต้องมีความเข้าใจเรื่องการบริหารว่าข้อมูลส่วนใดที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดเพื่อช่วยประกอบการวางแผนได้บ้าง

ดังนั้นข้อมูลบัญชีการบริหารจะมักเป็นข้อมูลที่สรุปไม่เน้นรายละเอียดเน้นเชิงลึกเพื่อประกอบการตัดสินใจและสร้างกลยุทธ์ ส่วนข้อมูลบัญชีการเงินจะมีความละเอียดกว่าและสามารถดูเชิงลึกได้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ที่ต่างกันกับบุคคลที่ต่างกันนั้นเอง

อยากเป็นนักบัญชี ต้องจบคณะอะไร?

อยากเป็นนักบัญชีต้องจบคณะ

อยากเป็นนักบัญชีต้องจบคณะ

อาชีพบัญชีใครที่ต้องการทำงานสายบัญชีจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าสายงานบัญชีไม่ได้เปิดกว้างให้กับคนที่เรียนจบมาจากสาขาอื่น เนื่องจากงานบัญชีเป็นงานเฉพาะทาง ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของงานอย่างลึกซึ้ง เพราะสายงานบัญชีไม่สามารถฝึกหัดกันได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เหมือนสายงานอื่น ๆ การเป็นนักบัญชีต้องอาศัยความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญประมาณหนึ่งเลยเพื่อให้สามารถเป็นนักบัญชีที่ดีได้ สามารถทำงานเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณต่องานวิชาชีพของตนเอง

ผู้ที่หางานบัญชีควรเป็นผู้ที่จบการศึกษามาจากคณะต่าง ๆ ดังนี้

  1. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาการบัญชี)
  2. คณะเศรษฐศาสตร์ (สาขาการบัญชี)
  3. คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการบัญชี)
  4. คณะสังคมศาสตร์ (สาขาการบัญชี)
  5. คณะวิทยาการจัดการ (สาขาวิชาการบัญชีบริหาร)
  6. คณะบริหารศาสตร์ (สาขาการบัญชี)

จบแล้ว ทำงานตำแหน่งอะไรได้บ้าง?

  1. นักบัญชี / พนักงานบัญชีอยู่ในสำนักงานบัญชี (มีหน้าที่ดูแลบัญชีต่าง ๆ ของบริษัทที่มาจ้าง ซึ่งหนึ่งคนอาจจะดูแลบัญชีมากกว่า 1 บริษัท)
  2. ที่ปรึกษาทางบัญชี / ผู้ตรวจสอบบัญชี / ผู้สอบภาษี
  3. ผู้วางระบบหรือเขียนโปรแกรมบัญชี
  4. นักวิเคราะห์ต้นทุน
  5. เจ้าหน้าที่ทางการเงิน / เจ้าหน้าที่ทางการตลาด
  6. เจ้าหน้าที่ของธนาคาร / เจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  7. วิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี
  8. ภาษีอากร
  9. นักการตลาด / นักวิจัยการตลาด / นักลงทุน และอื่น ๆ 

เช็คมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านการบัญชี

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อย่างไรก็ตามตัวอย่างคณะและสาขาดังกล่าวอาจจะมีการอัพเดตข้อมูลได้ เพื่อให้ได้อัพเดต ผู้ที่สนใจเลือกคณะเข้าเรียนจึงควรเข้าไปที่เว็บไซด์ของสถาบันโดยตรงก่อนการสมัครเรียน

มาทำความรู้จักกับนักบัญชีที่มีชื่อเสียงระดับโลก

แม้ว่าบนโลกจะมีนักบัญชีการเงินที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญมากมายอย่างนับไม่ถ้วน แต่หากพูดถึงบุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็นนักบัญชีในระดับโลกจริง ๆ ก็ไม่ได้มีจำนวนที่มากมายเท่าไรนัก เพราะนักบัญชีการเงินที่เป็นนักบัญชีระดับโลกมักจะเป็นคนที่ทำชื่อเสียงให้กับองค์กรหน่วยงาน หรือกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมานั้นเอง กล่าวคือการเป็นนักบัญชีการเงินระดับโลกนั้นไม่ได้มีความง่ายดายเท่าไรนัก เพราะจำเป็นจะต้องมีทักษะเรื่องอื่นเพื่อช่วยให้สามารถจัดการบริหารองค์กร หรือการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี และจะมีใครกันบ้าง ไปดูกันเลย

            ต่างประเทศ

  • Frederick Whinney

นักบัญชีที่มีชื่อเสียงของบริษัท Whinney Smith & Whinney ในประเทศอังกฤษ ศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ. 1849 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษกำลังเฟื่องฟู

  • พี่น้องนักบัญชีตระกูล Ernst คือ Alwin และ Theodore

บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อว่า Ernst & Ernst ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

            ประเทศไทย

  • นางสาวพรรทิตา รัตนจีนะ

นักบัญชีไทยที่มีชื่อเสียงได้รับรางวัลที่ประเทศสิงค์โปร์ Procter & Gamble (P&G) Singapore ได้รับรางวัล Pearl Act as Owner โดยจบการศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการบัญชี รุ่นที่ 2 รหัส 46

  • คุณบุญเลิศ กมลชนกกุล

ตำแหน่งผู้สอบบัญชี ซึ่งหลายคนต้องทำควาเมข้าใจว่าเรียนจบในสายบัญชี สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่นักบัญชีเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นผู้สอบบัญชีได้ด้วยเช่นกัน โดยจบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ปริญญาโทด้านบัญชีที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อที่ Leicester Polytechnic (ปัจจุบันคือ De Montfort University) ที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก็จบปริญญาตรีด้านบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance)

ตัวอย่างนักบัญชีที่มีชื่อเสียงข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพบัญชีเท่านั้น ยังมีนักบัญชีที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในอีกหลายคนที่ยังไม่ได้นำมาเสนอในบทความนี้

ทั้งนี้ใครหลายคนอาจจะมองว่าอาชีพนักบัญชีมีความจำกัดในการเติบโตทางด้านสายอาชีพหรือที่เรียกว่า Career Path ซึ่งเราจะสามารถยกตัวอย่างของคุณบุญเลิศ กมลชนกกุล ที่ทำตำแหน่งผู้สอบบัญชี Audit Assistant โดยเริ่มแรกทำตำแหน่งเป็นสอบบัญชีได้ประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นคุณบุญเลิศ กมลชนกกุลก็ได้เติบโตเป็นระดับ Senior Auditor หลังจากนั้นก็ได้ขยับเป็น Manager ในการทำงานอาชีพขณะนั้น ซึ่งการมาถึงตำแหน่งนี้จะต้องอาศัยเรื่องทักษะการบริการจัดการที่ต้องมีทักษะความสามารถประมาณหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถจัดการเรื่องอื่น ๆ จัดการเรื่องของเวลา จัดการเรื่องของคน จัดการเรื่องของทีม ตามคำกล่าวของคุณบุญเลิศ กมลชนกกุล และจากตำแหน่ง Senior Manager ก็จะเป็นตำแหน่ง Director และจะมีจะมีโอกาสขึ้นเป็น Partner ขององค์กรได้

สรุป

อย่างไรก็ตามอาชีพหรือเส้นทางของการเป็นนักบัญชีนั้นเรียกได้ว่าเรียนมาอย่างไรก็ใช้งานได้แบบนั้นเลย เพราะเป็นสายงานที่ไม่ได้เหมือนกับสายสังคม มีความเฉพาะตัวของสายงาน มีหน้าที่ความถนัดและความสามารถที่ต้องใช้งานอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อคุณได้อ่านบทความนี้จนจบแล้วคงได้คำตอบของการเป็นนักบัญชีที่คุณต้องการเป็นอย่างดี ซึ่งก็ต้องอย่าลืมลืมการทำงานนักบัญชีนั้นต้องตระหนักถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพนี้ด้วยเช่นกัน

บริษัทมหาชนจํากัด
220462
220396
การเริ่มต้นประโยคในภาษาอังกฤษ
ประโยชน์ของขิง
plc
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 157761: 1257