รายการบัญชี
รายการบัญชีเกี่ยวกับเงินสดและการควบคุมภายใน (Cash and Internal Control)
เมื่อเริ่มดำเนินกิจการ เงินสดเป็นสิ่งแรกที่ทุกธุรกิจต้องมีอยู่ เงินสดถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่หมุนเวียนเร็วที่สุดและสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อื่นๆได้ง่าย เงินสดเป็นที่ทุกคนต้องการ รายการทางบัญชีเกี่ยวกับเงินสดเป็นรายการที่เกิดขึ้นมากและผิดพลาดได้ง่ายในกิจการ จึงจำเป็นต้องมีระบบการควบคุม วิธี ควบคุมและการจัดการเกี่ยวกับเงินสดให้มีประสิทธิภาพ ในการจัดการเกี่ยวกับเงินสด ธุรกิจมีความจำเป็นต้องวางแผนเกี่ยวกับเงินสด โดยการจัดทำงบประมาณเงินสด (Cash Budget) งบประมาณเงินสดจะเป็นตัวเลขเงินสดที่กิจการประมาณขึ้นในอนาคต งบประมาณเงินสดจะประกอบด้วยเงินสดต้นงวด บวกเงินสดที่จะได้มาระหว่างงวด หักกับเงินสดที่จะใช้ไปในระหว่างงวดคงเหลือเป็น เงินสดปลายงวด
ถ้าหากว่าในระหว่างงวดใดงวดหนึ่งเงินสดไม่เพียงพอ ก็จำเป็นต้องหาแหล่งเงินจากภายนอกโดยจะมาในรูปแบบของการกู้ยืม การจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุน การออกหุ้นกู้ หรือโดยวิธีการอื่นๆ แต่ถ้าในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการมีเงินสดปลายงวดคงเหลือจำนวนมาก ก็จะต้องนำเงินสดที่เหลือเหล่านั้นไปลงทุนให้เกิดดอกออกผลมาสู่กิจการเนื่องจากการทิ้งเงินสดไว้กิจการมากเกินไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการ และอาจนำมารซึ่งความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือถูกโจรกรรมได้ นอจากนี้ในวันสิ้นงวด กิจการยังจัดทำงบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) งบกระแสเงินสดจะแสดงถึงกระแสการไหลของเงินสดที่เกิดขึ้นแล้วในรอบการดำเนินงานที่ผ่านมาของกิจการ งบกระแสเงินสดแสดงว่าในรอบการดำเนินงานที่ผ่านมากิจการได้เงินสดมาจากแหล่งใดบ้าง และใช้เงินสดไปเพื่อการใดบ้าง เงินสดที่เหลืออยู่ในวันต้นงวดและปลายงวด
เงินสด และรายการเทียบเท่า
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของธุรกิจประกอบด้วยรายการต่างๆดังนี้
- ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ (Coins and Bank Notes)
- เอกสารทางการเงินที่สามารถซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนหรือเปลี่ยนมือเป็นเงินสดได้ ประกอบด้วย
- เช็ค (Cheques) เช็คสั่งจ่ายของธนาคาร (Cashier Cheques) เช็คที่ธนาคารรับรอง(Certified Cheques)
- ดราฟต์ (Drafts)
- ธนานัติ (Money Orders)
- เงินฝากธนาคาร (Deposit in Bank) ทุกประเภท ได้แก่ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Saving Account) บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Account) และต้องไม่มีข้อจำกัดในการใช้เงินฝากจำนวนนี้
- เงินฝากสถาบันการเงิน (Deposit in Financial Institute) ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes) ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificated Deposit) และต้องไม่มีข้อจำกัดในการใช้เงินฝาก
- เงินรองจ่าย (Petty Cash Funds) ถือว่าเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดเพราะกิจการจะกันเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อใช้จ่ายหมุนเวียนเล็กๆน้อยๆ
รายการที่ไม่นับรวมเป็นเงินสดของกิจการได้แก่
- เงินสดที่ให้พนักงานยืมไปเพื่อทำธุรกิจให้แก่กิจการ เช่นพนักงานเก็บเงินที่เดินทางไปเก็บเงินต่างจังหวัดหรือพนักงานขายเดินทางไปแนะนำสินค้าให้แก่ลูกค้า ก่อนออกเดินทางพนักงานเหล่านี้จะต้องขอยืมเงินสดของกิจการไปใช้ล่วงหน้าก่อน รายการนี้ถือว่าพนักงานเป็นลูกหนี้เงินยืมของกิจการ
- เช็คลงวันที่ล่วงหน้า (Postdated Checks) จะไม่นับรวมเป็นเงินสดของกิจการจนกว่าจะนำเช็คไปขึ้นเงินสดได้จากะนาคาร และได้รับชำระเงินจากลูกหนี้เงินยืม กิจการบางแห่งได้นำเช็คลงวันที่ล่วงหน้าไปบันทึกบัญชี ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ผิด
- เช็คที่ธนาคารคืน (Not Sufficient Fund Cheques) เป็นเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเจ้าของเช็คมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย เช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่ลูกค้าจ่ายชำระหนี้ให้แก่กิจการ กิจการนำไปขึ้นเงินกับธนคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
- เงินมัดจำตามสัญญา (Deposit) เช่น บางครั้งที่กิจการประมูลได้งานรับเหมาก่อสร้าง กิจการอาจต้องมีการวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง หรือกรณีกิจการว่าจ้างทำของอาจต้องจ่ายเงินล่วงหน้าส่วนหนึ่ง เงินจำนวนนี้ไม่นับรวมเป็นเงินสด
- เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดของการใช้เงิน เช่น เงินกองทุนเลี้ยงชีพ เงินฝากเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ เงินสำรองตามกฎหมาย เงินสำรองอื่นๆเป็นต้น
- อากรแสตมป์คงเหลือไม่นับรวมเป็นเงินสดให้ถือเป็นวัสดุสิ้นเปลือง
การควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน (Internal Control)
การควบคุมภายในเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสินทรัพย์ซึ่งครอบคลุมถึง
- การป้องกันสินทรัพย์ของกิจการเอง จากการทุจริตของพนักงาน การที่พนักงานนำสินทรัพย์ของกิจการไปใช้ส่วนตัว และการอนุมัติเกินอำนาจของพนักงาน
- เพื่อก่อให้เกิดความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ของการบันทึกบัญชี โดยช่วยลดข้อผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ และความผิดที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือการตีความผิดในขบวนการทางการบัญชี
หลักการควบคุมภายใน (Principles of Internal Control) คือการควบคุมภายในซึ่งจะมีการออกแบบระบบและวางหลักเกณฑ์ต่างๆขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ และจิตวิทยาในการควบคุมของฝ่ายจัดการ อย่างไรก็ตามหลักการควบคุมภายในประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
- การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
- การแบ่งแยกหน้าที่ ไม่ควรให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับผิดชอบทั้งการเก็บบันทึกและการเก็บรักษาสินทรัพย์ตัวจริง เพราะจะก่อให้เกิดโอกาสของความผิดพลาดและการทุจริต
- ขบวนการใช้เอกสาร ต้องมีกำหนดเล่มที่ เลขที่ไว้ล่วงหน้าและมีทะเบียนควบคุมเพื่อป้องกันการบันทึกรายการซ้ำ
- การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ช่วยในการควบคุม
- การสอบทานอย่างอิสระ ควรจะสอบทานทุกงวดบัญชี และการตรวจสอบที่ไม่บอกล่วงหน้า
- การควบคุมอื่นๆ ในบางครั้งการที่กิจการจะรับพนักงานต้องมีการวางเงินค้ำประกันไว้ให้แก่กิจการ
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
Tag : 5, pdf, กระแส, การ, การบัญชี, ขึ้น, ค่าใช้จ่าย, งบ, งบการเงิน, จัดทำ, จุฬา, ตรวจสอบ, ตาม, ถูกต้อง, ที่, บทที่9, บัญชี, บันทึก, พร้อม, รอบ, รายการ, รายได้, ว่า, สรุป, หมวด, หลัก, เกณฑ์, เข้าใจง่าย, เงินสด, เฉลย, เบื้องต้น, เป็น, เรียกว่า, เหตุการณ์, และ, โจทย์, ใน, ได้
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158905: 1582