วิธีการสร้าง และบำรุงสุขภาพจิตผ่านศิลปะและความสนใจจบ 7 วิธี?
การทำ กลุ่ม ศิลปะ บำบัด ศิลปะ บำบัด ความเครียด ศิลปะบําบัด วัตถุประสงค์ ศิลปะบำบัด ระบายสี กิจกรรมศิลปะบําบัด จิตเวช กลุ่มศิลปะบําบัด จิตเวช ศิลปะบำบัด โรคซึมเศร้า ศิลปะ บำบัด มีอะไรบาง
รางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่แพทย์แผนโบราณหรือแพทย์แผนไทย ใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ใช้เป็นยาแก้พิษจากสัตว์และพืช ใช้ถอนพิษเบื่อเมาจากอาหาร ยา สุรา และสารเคมีมาแต่โบราณ (Pongbunrod, 1979 ; Prommanee, 1996 ; Wuttithamavej, 1997) ในปี พ.ศ.2552 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส โดยเป็นการบูรณาการร่วมกัน 4 กรม ได้แก่ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมสุขภาพจิต ในการด าเนินโครงการดังกล่าว ทำให้ประชาชนรู้จักสมุนไพรรางจืดกันมากขึ้น ต่อมาในปี 2554 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้บรรจุ เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2554 หมวดบัญชียาจากสมุนไพร ในรูปแบบยาแคปซูล และชาชง โดยมีข้อบ่งใช้ คือ ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน และถอนพิษเบื่อเมา จึงมีสถานะเป็นยาสมุนไพรต้านพิษที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติตลอดมาจนถึงปัจจุบัน (NLEM, 2019)
ลักษณะของรางจืด
ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
การปลูกทำได้ไม่ยากเพราะว่าไม่ต้องดูแลอะไรมากและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกนั้นทำโดยใช้กิ่งปักชำ กิ่งตอน หรือต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงดินรอบบ้านหรือกำแพงรั้ว สิ่งที่ผู้ปลูกจะได้รับก็คือมียาไว้ใช้ในครอบครัวแล้วมีไม้ประดับที่มีดอกอันสวยงามไว้ประดับบ้าน
ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวังที่ผู้ใช้ต้องรู้คือเนื่องจากราง จืดเป็นสมุนไพรเดี่ยวจึงไม่เหมาะ สำหรับกินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเพราะอาจมีผลกับตับ ไต และระบบเลือด อย่างไรก็ตามพืชสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์มากมายมหาศาลหากปลูกไว้ตามบ้านก็เหมือนมียาที่รักษาได้สารพัดโรค การปลูกต้นราง จืดนั้นทำได้ไม่ยากเพราะว่าไม่ต้องดูแลอะไรมากและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกนั้นทำโดยใช้กิ่งปักชำ กิ่งตอน หรือต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงดินรอบบ้านหรือกำแพงรั้ว สิ่งที่ผู้ปลูกจะได้รับก็คือมียาไว้ใช้ในครอบครัวแล้วมีไม้ประดับที่มีดอกอันสวยงามไว้ประดับบ้าน
จากการศึกษาพบว่าโรคหรืออาการที่สามารถใช้รางจืดรักษาได้ มีดังนี้
โดยรูปแบบการใช้รางจืดมีทั้งชนิดรับประทำนและใช้ภายนอก เช่น ใช้เป็นชำชง ใบสดเคี้ยวกลืนน้ำ กากใช้พอกแผล ใบเถาหรือรากใช้ต้มดื่ม ใบสดผสมเหล้าขาวใช้ทำแผล ส่วนระยะเวลาการหายจากโรคหลังจากใช้รางจืด พบว่าเริ่มมีอาการดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 20 นาที และอาการหายเป็นปกติเฉลี่ยภายใน 60 นาที (ผลจาก งานวิจัยรางจืด)
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากการศึกษา อาจพบได้ดั้งนี้
หมายเหตุ : มีสาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ, เมา กลอย และแพ้กุ้ง ซึ่งอาการดังกล่าวกลับมาเป็นปกติในภายหลัง สอดคล้องกับ การศึกษาความปลอดภัยจากการ รับประทานยาแคปซูลสารสกัดสมุนไพรรางจืด ในอาสาสมัครสุขภาพดี ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาความปลอดภัยระยะสั้น และอาการข้างเคียง (Sittiprom, Amnauypattanapon, Pattaraarchachai, Itharat, Kietinun, 2012) (ผลจาก งานวิจัยรางจืด)
ที่มา:cmu.ac.th